คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แจ้งข้อหา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาและการสอบสวนความผิดต่างกรรมกัน ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยได้ แม้ไม่ได้แจ้งข้อหาทุกกระทง
พนักงานสอบสวนไม่จำต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดแม้เดิมตั้งข้อหาหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วยก็เรียกว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาหลังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา120และศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดข้อหานี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 796/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาต่อเนื่อง: แม้ถูกดำเนินคดีก่อนหน้า แต่หากแจ้งข้อหาใหม่ถือเป็นการจับกุมใหม่ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้
แม้ชั้นแรกพนักงานสอบสวนจะดำเนินคดีกับจำเลยในข้อหาปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266,268ซึ่งเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดอุดรธานีที่จะพิจารณาพิพากษา แต่เมื่อศาลจังหวัดอุดรธานีปล่อยตัวจำเลยแล้ว ต่อมาพนักงานสอบสวนได้สอบสวนและแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่าแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 กรณีย่อมถือว่าจำเลยเพิ่งถูกจับในข้อหาของคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงตั้งแต่วันแจ้งข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 เมื่อพนักงานสอบสวนส่งตัวจำเลยต่อพนักงานอัยการและพนักงานอัยการได้ขอผัดฟ้องและฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ภายในกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 7วรรคสอง จึงไม่มีเหตุที่จะต้องขออนุญาตอธิบดีกรมอัยการก่อนฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3863/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาเพิ่มเติมและการขอให้ศาลฎีกาพิพากษาต่างจากศาลอุทธรณ์ต้องทำโดยการยื่นฎีกา ไม่ใช่คำแก้ฎีกา
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจำเลยมิได้ฎีกา แต่ทำคำแก้ฎีกาว่ายังไม่มีการสอบสวนในความผิดฐานนี้ ซึ่งเท่ากับขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับเป็นไม่ลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้นั้น จำเลยจะต้องทำโดยยื่นเป็นคำฟ้องฎีกา การที่จำเลยมีคำขอมาในคำแก้ฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2276/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์: การแจ้งข้อหาและการรวบรวมพยานหลักฐาน
ในชั้นสอบสวนเมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาจำเลยว่าทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์และเป็นของทางราชการและได้สอบปากคำพยานเกี่ยวกับข้อหาว่า จำเลยทำให้เสียหายทำลายท่อส่งน้ำคอนกรีต และก้านพวงมาลัยปิดเปิดประตูน้ำและได้ไปตรวจสถานที่เกิดเหตุพร้อมทำบันทึกความเสียหายไว้ด้วยเช่นนี้ แสดงว่าพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 แล้วโดยไม่ต้องแจ้งทุกกระทงความผิด และได้รวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาจำเลยแล้ว จึงถือว่า ได้มีการสอบสวนในข้อหาดังกล่าวโดยชอบ พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องจำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2119/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาและการฟ้องคดีอาญา: การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดที่เกี่ยวเนื่องกัน
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกฐานความผิดไม่ แม้เดิมพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาจำเลยฐานตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานตั้งสถานบริการโดยมิได้แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนจัดตั้งไม่น้อยกว่า 15 วัน อันเป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องในเรื่องการจัดตั้งสถานบริการเหมือนกัน ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2119/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสถานบริการ: แม้แจ้งข้อหาไม่ครบถ้วน หากสอบสวนความผิดอื่นที่เกี่ยวเนื่องแล้ว โจทก์ยังมีอำนาจฟ้องได้
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกฐานความผิดไม่ แม้เดิมพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาจำเลยฐานตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานตั้งสถานบริการโดยมิได้แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนจัดตั้งไม่น้อยกว่า15 วัน อันเป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องในเรื่องการจัดตั้งสถานบริการเหมือนกัน ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2119/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: การแจ้งข้อหาเปลี่ยนแปลงจากการสอบสวน
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกฐานความผิดไม่ ดังนั้น แม้เดิมพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาจำเลยฐานตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานตั้งสถานบริการโดยมิได้แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนจัดตั้งไม่น้อยกว่า 15 วัน อันเป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องในเรื่องการจัดตั้งสถานบริการเหมือนกัน ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับก่อนแจ้งข้อหาเป็นโมฆะ พยานหลักฐานโจทก์อ่อนแอ ไม่พอฟังลงโทษ
คำรับของจำเลยต่อเจ้าพนักงานสอบสวนที่ถามจำเลยก่อนที่จะแจ้งข้อหาแก่จำเลยนั้น จำเลยยังไม่ได้อยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องหา โจทก์จะอ้างเอาคำรับดังกล่าวเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง จึงเป็นการมิชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาความผิด – ไม่จำเป็นต้องระบุทุกบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ที่ ป.วิ.อ. มาตรา 134 กำหนดให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหานั้นก็เพื่อประสงค์ให้ผู้ต้องหาทราบว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิด และเพื่อให้ผู้ต้องหาเข้าใจถึงการกระทำของผู้ต้องหาซึ่งเป็นความผิดนั้น โดยไม่ต้องระบุอ้างถึงตัวบทกฎหมายที่ผู้ต้องหากระทำผิด ในกรณีที่การกระทำอันหนึ่งผิดกฎหมายหลายบท พนักงานสอบสวนไม่จำต้องระบุถึงกฎหมายที่เป็นความผิดทุกบทมาตรา ในเมื่อได้แจ้งข้อหาอันเป็นหลักความผิดทั่วไปแล้ว ไม่จำต้องแจ้งข้อหาความผิดอันเกี่ยวพันกันด้วย พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนความผิดทุกข้อหาได้เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาว่า จำเลยพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควรแล้ว แม้ไม่แจ้งข้อหาว่าพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้านหรือทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตด้วย ก็มีอำนาจสอบสวนความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตได้ ถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิดฐานนี้แล้ว พนักงานอัยการย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาความผิดเกี่ยวพัน พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนความผิดอื่นได้ แม้ไม่แจ้งข้อหาโดยเฉพาะ
ที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134กำหนดให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหานั้นก็เพื่อประสงค์ให้ผู้ต้องหาทราบว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิด และเพื่อให้ผู้ต้องหาเข้าใจถึงการกระทำของผู้ต้องหาซึ่งเป็นความผิดนั้น โดยไม่ต้องระบุอ้างถึงตัวบทกฎหมายที่ผู้ต้องหากระทำผิด ในกรณีที่การกระทำอันหนึ่งผิดกฎหมายหลายบท พนักงานสอบสวนไม่จำต้องระบุถึงกฎหมายที่เป็นความผิดทุกบทมาตรา ในเมื่อได้แจ้งข้อหาอันเป็นหลักความผิดทั่วไปแล้ว ไม่จำต้องแจ้งข้อหาความผิดอันเกี่ยวพันกันด้วย พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนความผิดทุกข้อหาได้ เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาว่า จำเลยพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควรแล้วแม้ไม่แจ้งข้อหาว่าพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตด้วย ก็มีอำนาจสอบสวนความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตได้ ถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิดฐานนี้แล้ว พนักงานอัยการย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดดังกล่าวได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120
of 8