พบผลลัพธ์ทั้งหมด 152 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเหนือพื้นดิน-บอกเลิกสัญญา-การครอบครอง-ความเสียหาย-การแจ้งความ
การที่จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ที่ดินของจำเลยเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการเพาะชำต้นกล้ากระท้อนเป็นการยอมให้โจทก์เข้าใช้สิทธิในที่ดินของจำเลยเป็นการชั่วคราวในลักษณะสิทธิเหนือพื้นดิน ซึ่งเป็นทรัพย์สิทธิอย่างหนึ่ง ซึ่งตามฟ้องโจทก์ก็ระบุว่าจำเลยยอมให้โจทก์เข้าใช้ที่ดินโดยไม่มีกำหนดเวลาไว้ หากจำเลยต้องการที่ดินคืนวันใดจะแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าเป็นเวลาพอสมควรโจทก์จะอ้างว่าในการเข้าใช้ที่ดินเพื่อเพาะชำต้นกล้ากระท้อนย่อมเป็นที่รู้กันดีว่าต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ซึ่งเป็นการกล่าวอ้างเพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวนั้นไม่ได้ เมื่อเป็นกรณีสิทธิเหนือพื้นดินไม่มีกำหนดเวลาและจำเลยไม่ต้องการให้โจทก์เข้าใช้ที่ดินดังกล่าวต่อไป จำเลยย่อมบอกกล่าวให้โจทก์ออกไปจากที่ดินนั้นได้ จำเลยจึงไม่ได้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และไม่ผิดสัญญาหรือละเมิดต่อโจทก์
แม้จำเลยจะบอกกล่าวให้โจทก์ออกจากที่ดินของจำเลยภายใน 2 วัน แต่โจทก์ก็ไม่ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ตรงข้ามกลับห้ามคนงานไม่ให้เข้าไป และปรากฏว่าโจทก์ได้ขนของออกไปจากที่ดินของจำเลยหลังจากจำเลยบอกกล่าวถึง 1 เดือนเศษ นับว่าจำเลยได้ให้เวลาแก่โจทก์พอสมควรแล้ว ซึ่งโดยปกติเมื่อจำเลยบอกกล่าวให้โจทก์ขนของออกไปแล้ว โจทก์ไม่ยอมขนออกไปย่อมเป็นการละเมิดต่อจำเลยจำเลยย่อมมีสิทธิไปแจ้งความให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่โจทก์ได้ แม้จำเลยจะแจ้งความระบุถึงเรื่องการที่โจทก์ไม่คืนเหรียญเงินโบราณสมัยรัชกาลที่ 5 ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากที่คนงานของโจทก์ขุดดินในที่ดินของจำเลย แล้วทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจนถึงขั้นไม่ยอมอนุญาตให้โจทก์ใช้สิทธิในที่ดินของจำเลยต่อไปนั่นเอง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยใช้สิทธิโดยไม่สุจริตกลั่นแกล้งโจทก์แต่อย่างใด แม้จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
แม้จำเลยจะบอกกล่าวให้โจทก์ออกจากที่ดินของจำเลยภายใน 2 วัน แต่โจทก์ก็ไม่ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ตรงข้ามกลับห้ามคนงานไม่ให้เข้าไป และปรากฏว่าโจทก์ได้ขนของออกไปจากที่ดินของจำเลยหลังจากจำเลยบอกกล่าวถึง 1 เดือนเศษ นับว่าจำเลยได้ให้เวลาแก่โจทก์พอสมควรแล้ว ซึ่งโดยปกติเมื่อจำเลยบอกกล่าวให้โจทก์ขนของออกไปแล้ว โจทก์ไม่ยอมขนออกไปย่อมเป็นการละเมิดต่อจำเลยจำเลยย่อมมีสิทธิไปแจ้งความให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่โจทก์ได้ แม้จำเลยจะแจ้งความระบุถึงเรื่องการที่โจทก์ไม่คืนเหรียญเงินโบราณสมัยรัชกาลที่ 5 ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากที่คนงานของโจทก์ขุดดินในที่ดินของจำเลย แล้วทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจนถึงขั้นไม่ยอมอนุญาตให้โจทก์ใช้สิทธิในที่ดินของจำเลยต่อไปนั่นเอง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยใช้สิทธิโดยไม่สุจริตกลั่นแกล้งโจทก์แต่อย่างใด แม้จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9029/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนหรือไม่? กรณีรายงานเท็จแจ้งความดำเนินคดี – การกระทำต่างกรรมต่างวาระ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้บังคับบัญชาของโจทก์แจ้งข้อความและรายงานอันเป็นเท็จต่อสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลดอนเมืองและผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นว่าโจทก์ไม่ส่งมอบสำนวนการสอบสวนคดีจราจรกับจำหน่ายคดีอาญาเป็นเท็จ เป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเพื่อจะแกล้งโจทก์ให้ได้รับโทษทางอาญาและทางวินัย ทำให้ โจทก์ได้รับความเสียหาย และต่อมาจำเลยที่ 1 แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวนทางวินัยว่า โจทก์ไม่ส่งสำนวนการสอบสวนคดีอาญาให้พนักงานอัยการและโจทก์เขียนจำหน่ายคดีดังกล่าวลงในสมุดคุมคดีเป็นเท็จว่าได้ส่งสำนวนการสอบสวนดังกล่าวให้พนักงานอัยการแล้วเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเพื่อจะแกล้งให้โจทก์ได้รับโทษทางอาญาและทางวินัย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงรายงานผลการสอบสวนต่อผู้บังคับการตำรวจนครบาลพระนครเหนือตามคำสั่งของผู้บัญชาการตำรวจนครบาลว่า โจทก์ไม่ส่งมอบสำนวนการสอบสวนกับจำหน่ายคดีอาญาดังกล่าวข้างต้นซึ่งเป็นความเท็จ เป็นการร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายและเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด และเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา กระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด ๆ ในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบเพื่อจะแกล้งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดต้องรับโทษ หรือรับโทษหนักขึ้นจึงเป็นการรายงานคนละฐานะต่อบุคคลคนละคนและคนละครั้งคราวกันแม้จะรายงานในเรื่องเดียวกันก็เป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5440-5441/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ สัญญาประกันภัย การผิดสัญญา และผลกระทบจากการแจ้งความผิดพลาด
จำเลยที่ 1 เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันที่เช่าซื้อที่สูญหายไป แต่ให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ จึงเป็นสัญญาเพื่อบุคคลภายนอกอันมีผลบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374,375 และ 376 เมื่อโจทก์ผู้รับประโยชน์ได้เรียกร้องให้บริษัทรับประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว เป็นการถือเอาประโยชน์ตามสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยโดยตรงในนามของตนเอง ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ฟ้องผู้รับประกันภัย แต่ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปถึง2 ปีเศษ จนขาดอายุความจึงเป็นความผิดของโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ เมื่อทะเบียนรถยนต์ที่โจทก์มอบให้จำเลยที่ 1 เป็นทะเบียนรถยนต์คันที่หายไปจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธินำแผ่นป้ายเลขทะเบียนดังกล่าวมาใช้กับรถยนต์คันที่ตนครอบครองอยู่ แม้จำเลยที่ 1 จะชำระค่าเช่าซื้อต่อไปจนครบทุกงวดก็ไม่สามารถจดทะเบียนโอนให้แก่กันได้ จำเลยที่ 1 จึงมีเหตุที่จะอ้างไม่ต้องชำระค่าเช่าซื้อจนกว่าโจทก์จะดำเนินการแก้ไขให้จำเลยที่ 1 สามารถใช้และได้รับประโยชน์จากรถยนต์คันที่ครอบครอง และสามารถจดทะเบียนโอนให้แก่กันได้โดยชอบ จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันย่อมไม่ต้องรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3737/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจยังคงมีผลแม้ผู้มอบอำนาจพ้นตำแหน่ง และผู้รับมอบอำนาจแจ้งความหลังพ้นกำหนด
ขณะ ร. ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการเคหะแห่งชาติ ร. ทำหนังสือมอบอำนาจให้ พ. เป็นผู้มีอำนาจร้องทุกข์ หรือถอนคำร้องทุกข์ใด ๆ ต่อพนักงานสอบสวนในกรณีที่มีการกระทำความผิดอาญาต่อทรัพย์สินของการเคหะแห่งชาติ รวมทั้งกระทำการใด ๆ เพื่อให้กิจการดังกล่าวสำเร็จ และในตอนท้ายของหนังสือมอบอำนาจยังระบุว่าการเคหะแห่งชาติยอมรับผิดตามที่ พ. ได้กระทำไปภายในขอบเขตอำนาจที่ได้รับมอบทุกประการ การมอบอำนาจของ ร. จึงเป็นการมอบอำนาจทั่วไปในนามของการเคหะแห่งชาติโจทก์ร่วม แม้ พ. ไปร้องทุกข์คดีนี้เมื่อ ร. พ้นตำแหน่งไปแล้ว หนังสือมอบอำนาจก็ยังมีผลใช้บังคับอยู่ พ. จึงมีอำนาจร้องทุกข์แทนโจทก์ร่วมให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5600/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ: การแจ้งข้อเท็จจริงตามที่รับรู้ ไม่ใช่ความผิด แม้ต่อมาพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง
จำเลยนำความไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า โจทก์ขับรถยนต์ เฉี่ยวชนจำเลยได้รับบาดเจ็บเป็นการแจ้งความตามข้อเท็จจริง ที่ปรากฏ ส่วนการกระทำของโจทก์จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่ จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะการแจ้งข้อความ ย่อมหมายถึงแจ้งข้อเท็จจริง ไม่เกี่ยวกับกฎหมาย แม้ต่อมา พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องโจทก์ก็ยังถือไม่ได้ว่าข้อความ ดังกล่าวเป็นความเท็จจำเลยไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5778/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องทุกข์กล่าวโทษยักยอกทรัพย์: เพียงพอด้วยการแจ้งความด้วยวาจา แม้ไม่มีตราบริษัท
บันทึกคำร้องทุกข์ของโจทก์ระบุว่า ศ. (จำเลย) ซึ่งเป็นลูกจ้างได้ยักยอกเงินของผู้แจ้งไป เท่าที่ตรวจพบขณะนี้เป็นจำนวนเงิน 230,000บาท ทำให้ผู้แจ้งได้รับความเสียหาย จึงมาแจ้งความร้องทุกข์มอบคดีให้กับพนักงาน-สอบสวนเพื่อดำเนินคดีกับผู้ต้องหาจนกว่าคดีจะถึงที่สุด และลงชื่อกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ แม้มิได้ระบุว่ากระทำในนามโจทก์ ทั้งไม่ปรากฏรอยตราเครื่องหมายโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลในช่องผู้ร้องทุกข์ก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์โดย ส.กรรมการผู้จัดการได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนด้วยวาจา มิได้ยื่นคำร้องทุกข์เป็นหนังสือ โดยพนักงาน-สอบสวนได้จัดทำคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษตามแบบฟอร์มของกรมตำรวจไว้และพนักงานสอบสวนจดบันทึกในคำร้องทุกข์ไม่ครบถ้วนตามที่ ส.แจ้งไว้ แล้วให้ส.ลงชื่อไว้โดยไม่ได้ประทับตราบริษัทโจทก์ ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ยกบันทึกคำร้องทุกข์ซึ่งพนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เป็นหลักฐานมาตำหนิและวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำของ ส.เป็นส่วนตัว ทั้งที่ก่อนหน้านี้ศาลอุทธรณ์ได้เคยวินิจฉัยปัญหานี้ไว้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า การร้องทุกข์ของโจทก์เป็นไปโดยชอบและพิพากษาให้คดีมีมูลจึงเป็นการไม่ชอบ
การที่ ส.กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้พบพนักงาน-สอบสวนแล้วแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ของโจทก์ ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีนั้นเป็นการเพียงพอที่จะฟังได้แล้วว่า โจทก์ในฐานะผู้เสียหายได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยว่ากระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่ ส.กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้พบพนักงาน-สอบสวนแล้วแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ของโจทก์ ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีนั้นเป็นการเพียงพอที่จะฟังได้แล้วว่า โจทก์ในฐานะผู้เสียหายได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยว่ากระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5088/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีลักทรัพย์เมื่อทรัพย์สินของผู้เสียหายหลายคนถูกลักไปพร้อมกัน แม้ผู้เสียหายบางรายไม่ได้แจ้งความ
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ไม่ใช่เป็นความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความกันได้ ไม่จำต้องร้องทุกข์ ดังนี้ เมื่อพนักงานสอบสวนทราบว่ามีการกระทำความผิดดังกล่าวเกิดขึ้นจากการแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหายที่ 1 ว่าคนร้ายเข้าไปลักทรัพย์ในบ้านและรายการทรัพย์สินที่ถูกลักไปมีโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายที่ 2 รวมอยู่ด้วย พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนเรื่องเกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าว พนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3997/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต และการแจ้งความร้องทุกข์ ไม่ถือเป็นการละเมิด
จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งให้ขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้มีชื่อ เป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 โต้แย้งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทกัน ส่วนการที่จำเลยที่ 2 รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ก็โดยอาศัยหลักฐานการครอบครองที่ดินพิพาทอันได้แก่ ส.ค.1 เป็นการใช้สิทธิตามที่ ป.วิ.อ.มาตรา 2 (7) และมาตรา 3ให้อำนาจไว้ และเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นผู้เสียหายมีสิทธิแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีได้ ส่วนการที่พนักงานสอบสวนกระทำการสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดมาดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิด ก็เป็นเรื่องที่พนักงานสอบสวนได้กระทำไปตามอำนาจแห่งบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อำนาจไว้อันเป็นเรื่องการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนเอง หากโจทก์จะต้องเสียหายจากการไปที่สถานีตำรวจหรือจะต้องเสียหายประการใด ก็เป็นผลโดยตรงอันเนื่องมาจากการวินิจฉัยของพนักงานสอบสวน สำหรับการที่จำเลยที่ 1 ฟ้องคดีโจทก์เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนากลั่นแกล้งเพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 เชื่อโดยสุจริตใจว่าหลักฐานการครอบครองที่ดินพิพาท ส.ค.1 เป็นหลักฐานการครอบครองซึ่งจำเลยที่ 1 เห็นว่าตนมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริตฟ้องโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 ที่ให้ผู้ถูกโต้แย้งสิทธิใช้สิทธิฟ้องร้องผู้โต้แย้งสิทธิทางศาลได้ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำผิดต่อกฎหมาย หรือไม่ได้ใช้สิทธิอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย จึงมิได้เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์แต่แจ้งความโดยสุจริต ไม่ถือเป็นการละเมิด - ความผิดทางแพ่ง
เมื่ออธิบดีกรมทะเบียนการค้าออกสิทธิบัตรการประดิษฐ์ม่านเหล็กบังตาชนิดติดกับประตูเหล็กแบบยืดและพับได้ให้แก่จำเลยแล้วต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำร้องรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ใบม่านบังตาสำหรับเหล็กยืดจำเลยได้ยื่นคำคัดค้านต่ออธิบดีกรมทะเบียนการค้าอธิบดีกรมทะเบียนการค้าวินิจฉัยให้ยกคำคัดค้านของจำเลยจำเลยอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อคณะกรรมการสิทธิบัตรในระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการสิทธิบัตรจำเลยได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจให้ดำเนินคดีกับโจทก์เจ้าพนักงานตำรวจได้ยึดผลิตภัณฑ์ของโจทก์เป็นของกลางเมื่อผลิตภัณฑ์ของโจทก์มีลักษณะส่วนใหญ่หรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของจำเลยมีข้อแตกต่างกันเพียงในรายละเอียดปลีกย่อยอาจทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าเป็นผลิตภัณฑ์ของจำเลยจึงมีเหตุที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ.2522มาตรา36ให้มีสิทธิผลิตผลิตภัณฑ์หรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรหรือขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตหรือใช้กรรมวิธีผลิตแต่เพียงผู้เดียวการแจ้งความร้องทุกข์ของจำเลยจึงมิใช่เป็นการนำข้อความอันเป็นเท็จซึ่งจำเลยรู้อยู่แล้วไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานแต่เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตเพื่อคุ้มครองสิทธิของจำเลยจึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ การที่เจ้าพนักงานตำรวจอายัดและยึดทรัพย์สินต่างๆของโจทก์เป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนได้ใช้ดุลพินิจอายัดและยึดสิ่งของซึ่งน่าจะเป็นพยานหลักฐานเพื่อเป็นประโยชน์หรือยันผู้ต้องหาในคดีอาญาตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายของพนักงานสอบสวนไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์หากเจ้าพนักงานตำรวจผู้ยึดมิได้ดูแลรักษาทรัพย์ของกลางเหมือนเช่นวิญญูชนพึงดูแลรักษาทรัพย์สินของตนเองก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องดำเนินคดีแก่เจ้าพนักงานตำรวจให้รับผิดต่อโจทก์ฐานละเมิดโจทก์จะมาเรียกร้องจากจำเลยไม่ได้แม้ตามบันทึกการตรวจค้นระบุว่าจำเลยยอมรับผิดต่อโจทก์ในการยึดและอายัดสิ่งของทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีบุกรุก: การเริ่มต้นความผิดและผลของการไม่แจ้งความทันที
โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบไม่ได้ว่าจำเลยเริ่มบุกรุกเข้าไปปลูกสร้างบ้านในที่ดินของโจทก์ร่วมในเวลากลางวันหรือกลางคืนจึงฟังให้เป็นคุณแก่จำเลยว่าจำเลยบุกรุกในเวลากลางวันและความผิดนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่จำเลยบุกรุกเข้าไปส่วนการครอบครองที่ดินดังกล่าวต่อมาเป็นเพียงผลของการบุกรุกไม่ใช่เป็นความผิดต่อเนื่องจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา362บทเดียวหาเป็นความผิดตามมาตรา365(3)อีกบทหนึ่งไม่โจทก์ร่วมร้องทุกข์วันที่7พฤษภาคม2534ทั้งที่ทราบเรื่องแล้วตั้งแต่ต้นปี2526คดีโจทก์จึงขาดอายุความ