พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7695/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคัดค้านผลเลือกตั้ง: ศาลชั้นต้นมีคำสั่งถึงที่สุดเมื่อแจ้งเทศบาลแล้ว ไม่อุทธรณ์ได้
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 57และ 58 ต่างบัญญัติอยู่ในหมวดเดียวกันว่าด้วยการคัดค้านการเลือกตั้ง มาตรา 57 เป็นเรื่องตัวบุคคลผู้มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งและระยะเวลาการคัดค้าน ส่วนมาตรา 58 เป็นเรื่องการดำเนินการพิจารณาและการมีคำสั่งของศาลซึ่งอาจทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครของจำเลยที่ 1 และประกาศเรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครของจำเลยที่ 1เป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองดังกล่าวก็เพื่อจะให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 58 นั่นเอง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ต้องถือว่าศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องและมีคำสั่งตามมาตรา 58 แล้ว ดังนั้น ไม่ว่าศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอย่างไรก็ตาม หากศาลได้แจ้งคำสั่งไปยังเทศบาลผู้ประกาศให้มีการเลือกตั้งแล้วคำสั่งที่แจ้งไปนั้นย่อมเป็นที่สุด คู่ความไม่สามารถอุทธรณ์ต่อไปได้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์โดยเห็นว่าไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 58 จึงไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครของจำเลยที่ 1 และประกาศเรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครของจำเลยที่ 1เป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองดังกล่าวก็เพื่อจะให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 58 นั่นเอง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ต้องถือว่าศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องและมีคำสั่งตามมาตรา 58 แล้ว ดังนั้น ไม่ว่าศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอย่างไรก็ตาม หากศาลได้แจ้งคำสั่งไปยังเทศบาลผู้ประกาศให้มีการเลือกตั้งแล้วคำสั่งที่แจ้งไปนั้นย่อมเป็นที่สุด คู่ความไม่สามารถอุทธรณ์ต่อไปได้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์โดยเห็นว่าไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 58 จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6061/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย: การแจ้งคำสั่ง, การนำสืบหลักฐาน, และการบังคับคดีโดยคำขอฝ่ายเดียว
การที่ผู้ร้องนำสืบแสดงสำเนาคำสั่งเอกสารหมาย ร.1 ต่อศาลผู้คัดค้านก็มิได้นำสืบโต้แย้งว่าผู้ร้องมิได้ส่งต้นฉบับคำสั่งเอกสารหมาย ร.1 เมื่อศาลวินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าว ถือได้ว่าศาลได้อนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบได้ในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยประการอื่น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา93 (2) แล้ว โดยผู้ร้องไม่จำต้องขออนุญาตศาลก่อน และการที่ ส. หัวหน้าเขตหรือผู้อำนวยการเขตมาเบิกความยืนยันว่าได้รับมอบอำนาจตามสำเนาคำสั่งเอกสารหมายร.1 จากผู้ร้อง ก็เป็นอันเพียงพอให้รับฟังได้ว่า ผู้ร้องมอบอำนาจให้หัวหน้าเขตหรือผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทนตามสำเนาคำสั่งเอกสารหมาย ร.1 ผู้อำนวยการเขตจึงมีอำนาจปฏิบัติราชการแทนผู้ร้องตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง
ผู้ร้องจัดให้มีการส่งคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาของผู้คัดค้านตามสำเนาทะเบียนบ้าน โดยปรากฏว่าเป็นการส่งให้แก่บุคคลที่มีชื่อกับที่อยู่ของผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับ และมีผู้รับแทนเป็นพี่ของผู้คัดค้านกับคนในบ้านของผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านมิได้นำสืบโต้เถียงความถูกต้องแท้จริงแห่งสำเนาเอกสารดังกล่าวจึงเพียงพอรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านทราบคำสั่งของผู้ร้องแล้ว ตามวิธีการแจ้งคำสั่งที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 47 ก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติม
เมื่อผู้ร้องได้ออกคำสั่งถูกต้องตามขั้นตอนชอบด้วยกฎหมายและผู้คัดค้านทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว เพิกเฉยไม่รื้อถอนอาคารพิพาทภายในเวลาที่กำหนดไว้ในคำสั่ง ผู้ร้องชอบที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาล ขอให้จับกุมและกักขังผู้คัดค้านซึ่งมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งให้รื้อถอนดังกล่าวได้ โดยให้นำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยผู้ร้องไม่จำต้องทำเป็นคำฟ้องและไม่จำต้องร้องขอออกคำบังคับแก่ผู้คัดค้าน กับไม่ต้องคำนึงว่าผู้ร้องมีอำนาจรื้อถอนอาคารพิพาทอยู่แล้ว หรือผู้คัดค้านขัดขวางการรื้อถอนอาคารพิพาทหรือไม่ ทั้งนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 43 (1) แห่งพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
ผู้ร้องจัดให้มีการส่งคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาของผู้คัดค้านตามสำเนาทะเบียนบ้าน โดยปรากฏว่าเป็นการส่งให้แก่บุคคลที่มีชื่อกับที่อยู่ของผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับ และมีผู้รับแทนเป็นพี่ของผู้คัดค้านกับคนในบ้านของผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านมิได้นำสืบโต้เถียงความถูกต้องแท้จริงแห่งสำเนาเอกสารดังกล่าวจึงเพียงพอรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านทราบคำสั่งของผู้ร้องแล้ว ตามวิธีการแจ้งคำสั่งที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 47 ก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติม
เมื่อผู้ร้องได้ออกคำสั่งถูกต้องตามขั้นตอนชอบด้วยกฎหมายและผู้คัดค้านทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว เพิกเฉยไม่รื้อถอนอาคารพิพาทภายในเวลาที่กำหนดไว้ในคำสั่ง ผู้ร้องชอบที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาล ขอให้จับกุมและกักขังผู้คัดค้านซึ่งมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งให้รื้อถอนดังกล่าวได้ โดยให้นำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยผู้ร้องไม่จำต้องทำเป็นคำฟ้องและไม่จำต้องร้องขอออกคำบังคับแก่ผู้คัดค้าน กับไม่ต้องคำนึงว่าผู้ร้องมีอำนาจรื้อถอนอาคารพิพาทอยู่แล้ว หรือผู้คัดค้านขัดขวางการรื้อถอนอาคารพิพาทหรือไม่ ทั้งนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 43 (1) แห่งพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6061/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งรื้อถอนอาคารและการบังคับตามกฎหมายควบคุมอาคาร: การรับฟังพยานหลักฐานและการแจ้งคำสั่ง
การที่ผู้ร้องนำสืบแสดงสำเนาคำสั่งเอกสารหมาย ร.1ต่อศาลผู้คัดค้านก็มิได้นำสืบโต้แย้งว่าผู้ร้องมิได้ส่งต้นฉบับคำสั่งเอกสารหมาย ร.1 เมื่อศาลวินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าว ถือได้ว่าศาลได้อนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบได้ในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยประการอื่น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93(2) แล้ว โดยผู้ร้องไม่จำต้องขออนุญาตศาลก่อนและการที่ส.หัวหน้าเขตหรือผู้อำนวยการเขตมาเบิกความยืนยันว่าได้รับมอบอำนาจตามสำเนาคำสั่งเอกสารหมายร.1 จากผู้ร้อง ก็เป็นอันเพียงพอให้รับฟังได้ว่า ผู้ร้องมอบอำนาจให้หัวหน้าเขตหรือผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทนตามสำเนาคำสั่งเอกสารหมาย ร.1 ผู้อำนวยการเขตจึงมีอำนาจปฏิบัติราชการแทนผู้ร้องตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ผู้ร้องจัดให้มีการส่งคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาของผู้คัดค้านตามสำเนาทะเบียนบ้านโดยปรากฏว่าเป็นการส่งให้แก่บุคคลที่มีชื่อกับที่อยู่ของผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับ และมีผู้รับแทนเป็นพี่ของผู้คัดค้านกับคนในบ้านของผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านมิได้นำสืบโต้เถียงความถูกต้องแท้จริงแห่งสำเนาเอกสารดังกล่าวจึงเพียงพอรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านทราบคำสั่งของผู้ร้องแล้วตามวิธีการแจ้งคำสั่งที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 47 ก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติม เมื่อผู้ร้องได้ออกคำสั่งถูกต้องตามขั้นตอนชอบด้วยกฎหมายและผู้คัดค้านทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว เพิกเฉยไม่รื้อถอนอาคารพิพาทภายในเวลาที่กำหนดไว้ในคำสั่ง ผู้ร้องชอบที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาล ขอให้จับกุมและกักขังผู้คัดค้านซึ่งมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งให้รื้อถอนดังกล่าวได้โดยให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยผู้ร้องไม่จำต้องทำเป็นคำฟ้องและไม่จำต้องร้องขอออกคำบังคับแก่ผู้คัดค้าน กับไม่ต้องคำนึงว่าผู้ร้องมีอำนาจรื้อถอนอาคารพิพาทอยู่แล้ว หรือผู้คัดค้านขัดขวางการรื้อถอนอาคารพิพาทหรือไม่ ทั้งนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 43(1) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4417/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายและการแจ้งคำสั่งศาล: โจทก์ยังไม่ทิ้งอุทธรณ์ แม้ไม่ได้รับแจ้งโดยตรงจากความล่าช้าของเจ้าหน้าที่
พนักงานเดินหมายได้นำหมายและสำเนาอุทธรณ์คำสั่งไปส่งแก่จำเลย และพบภูมิลำเนาที่อยู่ของจำเลย ทั้งปรากฏตามหมายนัดของศาลชั้นต้นประทับตรายางไว้ชัดเจนว่า ไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหมาย ตามคำสั่งศาลชั้นต้นแต่พนักงานเดินหมายไม่ทำการปิดหมาย การที่เจ้าหน้าที่งานอุทธรณ์ฎีกาประทับตรายางในอุทธรณ์คำสั่งในวันที่ ท.ผู้รับมอบฉันทะโจทก์นำอุทธรณ์มายื่น โดย ท.ลงชื่อรับทราบไว้ว่าให้ ท.มาทราบคำสั่งในวันที่ 14 มีนาคม 2540 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว คงมีผลว่าโจทก์ได้รับทราบคำสั่งที่ศาลชั้นต้นสั่งไว้ว่าการส่งหมายหากไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหมาย หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วันเท่านั้น แต่คดีนี้ทนายโจทก์ได้ติดตามผลการส่งหมายอยู่ตลอดเวลา ทั้งโจทก์ได้ชำระค่าส่งรายงานการส่งหมายมาให้ทนายโจทก์ทราบทางไปรษณีย์แก่พนักงานเดินหมายเมื่อปรากฏด้วยว่าระยะเวลาตั้งแต่ส่งถึงวันที่พนักงานเดินหมายรายงานถึงศาลชั้นต้นเป็นเวลานานถึง 3 เดือนเศษ ย่อมเป็นการยากที่โจทก์จะติดตามรับทราบผลการส่งหมายได้ ทั้งพนักงานเดินหมายมิได้ปฏิบัติในการส่งหมายด้วยวิธีปิดหมายตามคำสั่งศาลชั้นต้นตามที่ถือว่าโจทก์รับทราบ กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์คำสั่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7513/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลให้ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มเติมและการทิ้งคำร้องของผู้ร้องที่ไม่ได้รับการแจ้งคำสั่งโดยชอบ
ผู้ร้องมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยระบุในคำร้องว่ายื่นคำร้องขอเลื่อนคดี รับทราบคำสั่งศาลกำหนดวันนัด แก้ไขคำผิดเล็กน้อย แถลงต่อศาลและตรวจสำนวนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำร้องขอเลื่อนคดีโดยเฉพาะ หาได้มอบหมายให้ดำเนินการนอกเหนือไปจากการขอเลื่อนคดีไม่ที่โจทก์ยื่นคำแถลงคัดค้านเกี่ยวกับจำนวนทุนทรัพย์ที่ดินพิพาทว่ามีราคาน้อยกว่าราคาที่เป็นจริง ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งในวันเดียวกันนั้นให้ผู้ร้องชำระค่าขึ้นศาลในส่วนที่ขาดเพิ่มขึ้นให้ถูกต้อง ให้ผู้ร้องนำเงินมาวางศาลในนัดต่อไปแม้เสมียนทนายผู้ร้องจะลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลก็จะถือว่าทนายผู้ร้องหรือผู้ร้องรับทราบคำสั่งของศาลโดยชอบแล้วหาได้ไม่ เพราะเป็นการนอกเหนือจากที่เสมียนทนายผู้ร้องจะรับทราบตามที่ทนายผู้ร้องได้มอบฉันทะมาและกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ที่จะถือว่าผู้ร้องทิ้งคำร้องนั้นต้องได้ความว่าผู้ร้องเพิกถอนไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่ผู้ร้องโดยชอบแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้ส่งคำสั่งให้ผู้ร้องชำระค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่จะถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งของศาลโดยชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องไม่นำค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่มาชำระถือว่าผู้ร้องทิ้งคำร้องทันที โดยไม่ได้มีคำสั่งให้ทนายผู้ร้องและผู้ร้องที่มาศาลในวันดังกล่าวรับทราบคำสั่งโดยกำหนดเวลาตามสมควรให้ปฏิบัติ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่ในชั้นอุทธรณ์ตามอุทธรณ์ของผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่าผู้ร้องทิ้งคำร้องด้วยเหตุดังกล่าว คงเพียงแต่โต้แย้งเรื่องการประเมินราคาที่ดินพิพาทว่าเป็นการไม่ชอบเท่านั้น ซึ่งเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ฎีกาผู้ร้องจึงไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5551/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งรับฎีกาและการแจ้งคำสั่งศาล โจทก์ไม่ทราบคำสั่ง ถือมิได้ทิ้งฎีกา
โจทก์ยื่นฎีกาและยื่นคำร้องขอดำเนินคดีชั้นฎีกาอย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องดังกล่าวแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้อง หากโจทก์ติดใจที่จะฎีกาก็ให้เสียค่าขึ้นศาลภายใน 15 วัน ครบกำหนดโจทก์นำค่าขึ้นศาลบางส่วนมาชำระและขอขยายเวลาเพื่อหาเงินค่าขึ้นศาลส่วนที่เหลือมาชำระ ศาลชั้นต้นอนุญาตโจทก์นำเงินค่าขึ้นศาลส่วนที่เหลือมาชำระในวันที่ครบกำหนดคือวันที่ 26 มีนาคม 2540 ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาโจทก์ในวันที่ 27 มีนาคม 2540 กำหนดให้โจทก์นำส่งหมายเรียกให้จำเลยภายใน 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่ง ตามข้อเท็จจริงดังกล่าว ศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งรับฎีกาและสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกในวันที่โจทก์นำค่าขึ้นศาลส่วนที่เหลือมาชำระแต่ได้สั่งในวันรุ่งขึ้นและไม่ได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้โจทก์ทราบ ทั้งไม่ปรากฏหลักฐานว่าโจทก์ได้มาลงลายมือชื่อทราบคำสั่งดังกล่าวแล้วกรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ยังไม่ทราบคำสั่งศาล จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฎีกาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องชอบด้วยกฎหมาย การรับรู้คำสั่งเป็นสำคัญต่อความผิด
พระราชบัญญัติการสาธารณสุขพ.ศ.2535มาตรา28วรรคหนึ่งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ระงับเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นในสถานที่นั้นมาตรา45ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้ดำเนินกิจการนั้นแก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้องถ้าการดำเนินกิจการนั้นจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนจะสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้ทันทีเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าปราศจากอันตรายแล้วก็ได้และต้องทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ดำเนินกิจการซึ่งจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งทราบแต่ที่จำเลยยอมรับว่าจำเลยได้ดำเนินการแก้ไขเหตุเดือดร้อนรำคาญตามคำสั่งของสำนักงานเทศบาลเมืองตรังแล้วนั้นอาจเป็นการทราบคำสั่งดังกล่าวจากเจ้าพนักงานตำรวจผู้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบก็ได้เมื่อจำเลยยังไม่ได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยชอบจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาวางค่าธรรมเนียมศาล: การแจ้งคำสั่งและการนับระยะเวลาที่ถูกต้อง
การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยโดยเหตุว่าอุทธรณ์ของจำเลยยื่นต่อศาลชั้นต้นโดยไม่วางเงินค่าธรรมเนียมศาลและค่าธรรมเนียมใช้แก่โจทก์เป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา229นั้นมิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยด้วยเหตุเนื้อหาในอุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามอุทธรณ์อันจะเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา236และอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเป็นการอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่รับการวางเงินค่าขึ้นศาลของจำเลยซึ่งศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไว้ดังนี้จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาได้ การขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23จะมีผลผูกพันให้ผู้ขอต้องดำเนินกระบวนพิจารณาภายในกำหนดเวลาที่ขยายต่อเมื่อผู้ขอได้ทราบคำสั่งนั้นก่อนสิ้นกำหนดเวลาที่ขยายออกไปแต่ในคดีนี้ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขอขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมของจำเลยในครั้งที่2เมื่อวันที่18กรกฎาคม2538หลังจากวันที่17กรกฎาคม2538อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นกำหนดนัดให้จำเลยมาทราบคำสั่งและอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมให้แก่จำเลยออกไปอีก7วันนับแต่วันครบกำหนดเดิมซึ่งจะครบกำหนดในวันที่19กรกฎาคม2538จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวและศาลชั้นต้นก็มิได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้แก่จำเลยทราบและตามคำร้องขอวางเงินค่าธรรมเนียมของจำเลยอ้างว่าได้ทราบคำสั่งในวันที่21กรกฎาคม2538อันเป็นเวลาภายหลังจากกำหนดระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมที่ศาลชั้นต้นได้สั่งอนุญาตไปแล้วจำเลยจึงไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายและไม่ต้องผูกพันให้ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ขยายให้จึงต้องถือว่าระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งคือวันที่21กรกฎาคม2538ระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมจึงสิ้นสุดลงวันที่28กรกฎาคม2538เมื่อจำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอวางเงินค่าธรรมเนียมต่อศาลในวันที่25กรกฎาคม2538จึงยังไม่พ้นกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6488/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและการทิ้งฟ้อง: ศาลต้องแจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบชัดเจนก่อนจำหน่ายคดี
โจทก์ยื่นฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่ารับคำฟ้อง หมายเรียกและสำเนาให้จำเลยแบบคดีมโนสาเร่ ให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วัน ถ้าส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องซึ่งเมื่อโจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสอง ในครั้งแรกไม่ได้ โจทก์ได้ยื่นคำแถลงภายในกำหนด ขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองอีกครั้งหนึ่งอันเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวแล้ว ส่วนในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองครั้งที่สองนั้นศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดในกรณีที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองไม่ได้ ทั้งไม่ได้สั่งให้โจทก์นำส่ง และเมื่อศาลแขวงตลิ่งชันมีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2537 แต่ส่งไม่ได้ศาลชั้นต้นก็เพียงมีคำสั่งว่า "รอโจทก์แถลง" ทั้งเมื่อพนักงานเดินหมายของศาลชั้นต้นรายงานว่าส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในครั้งที่สองให้แก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้เมื่อวันที่6 กุมภาพันธ์ 2537 ศาลชั้นต้นก็เพียงมีคำสั่งเช่นเดิมว่า"รอโจทก์แถลง" โดยศาลชั้นต้นมิได้ส่งคำสั่งที่สั่งในรายงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวทั้งสองฉบับให้โจทก์ทราบ ดังนั้นแม้โจทก์มิได้แถลงว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปจนกระทั่งเจ้าหน้าที่ของศาลชั้นต้นรายงานเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2537 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากวันที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1และที่ 2 ไม่ได้ ถึง 25 วัน และ 32 วัน ตามลำดับแล้วก็ตามก็ไม่เป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4820/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งศาล: ศาลต้องแจ้งคำสั่งเพิ่มเติมโดยตรงถึงจำเลย/ทนาย ไม่ถือว่าทราบหากแจ้งผ่านเสมียนทนาย
ทนายจำเลยที่ 1 มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำบัญชีพยานที่จะใช้ไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาไปยื่นต่อศาลชั้นต้นศาลชั้นต้นเกษียณสั่งในใบมอบฉันทะว่า "ให้จำเลยที่ 1 นำส่งสำเนาคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาให้แก่โจทก์ภายใน 7 วัน การส่งหากไม่มีผู้รับแทนให้ปิดหมาย" แม้ใบมอบฉันทะมีข้อความระบุว่าให้เสมียนทนายฟังและรับทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นก็ตาม ก็จะถือว่าเสมียนทนายจำเลยที่ 1 ได้ทราบคำสั่งเรื่องที่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 1 นำส่งสำเนาคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 ให้แก่ทนายโจทก์ภายในกำหนด 7 วัน ด้วยไม่ได้เพราะตามใบมอบฉันทะฉบับดังกล่าวแปลความได้ว่า เสมียนทนายจำเลยที่ 1 มีหน้าที่เพียงฟังและรับทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นว่าจะสั่งรับหรือไม่รับบัญชีพยานของจำเลยที่ 1 หรือไม่ เท่านั้นจึงเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องแจ้งคำสั่งเพิ่มเติมดังกล่าวนั้นให้แก่จำเลยที่ 1 หรือทนายจำเลยที่ 1 ทราบโดยตรงมิฉะนั้นจะถือว่าจำเลยที่ 1 และทนายจำเลยที่ 1 ทราบคำสั่งนั้นแล้วไม่ได้ ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงถือเอาเหตุที่เสมียนทนายจำเลยที่ 1ไม่ได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ทนายจำเลยที่ 1 ทราบมาเป็นเหตุแห่งความผิดของจำเลยที่ 1 โดยสั่งว่าจำเลยที่ 1 ทิ้งคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาไม่ได้