พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4551/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินเพิ่มเติมของศุลกากร, การส่งแจ้งประเมิน, และสิทธิลดหย่อนภาษี
หลังจากจำเลยยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าและได้ชำระภาษีอากรครบถ้วนแล้ว ถ้าความปรากฏชัดแจ้งในภายหลังว่ารายการที่ยื่นเสียภาษีอากรไว้ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินของกรมศุลกากรมีอำนาจประเมินเพิ่มเติมได้ โดยไม่จำต้องดำเนินการ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 19และ 20
ภาษีการค้าส่วนที่ประเมินเพิ่ม จำเลยไม่ได้ชำระหรือวางเงินเป็นประกัน ย่อมไม่มีสิทธิได้รับการลดภาษีร้อยละ 2 ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78เอกาทศ
เมื่อได้แจ้งการประเมินทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่จดทะเบียนไว้กับกรมทะเบียนการค้า และผู้ที่อยู่ในสำนักงานดังกล่าวซึ่งมิใช่กรรมการผู้จัดการของจำเลยเป็นผู้รับแทนก็ตาม ถือว่าการส่งแบบแจ้งการประเมินภาษีอากรชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 8 แล้ว
ภาษีการค้าส่วนที่ประเมินเพิ่ม จำเลยไม่ได้ชำระหรือวางเงินเป็นประกัน ย่อมไม่มีสิทธิได้รับการลดภาษีร้อยละ 2 ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78เอกาทศ
เมื่อได้แจ้งการประเมินทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่จดทะเบียนไว้กับกรมทะเบียนการค้า และผู้ที่อยู่ในสำนักงานดังกล่าวซึ่งมิใช่กรรมการผู้จัดการของจำเลยเป็นผู้รับแทนก็ตาม ถือว่าการส่งแบบแจ้งการประเมินภาษีอากรชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 8 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งประเมินภาษีหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์มิใช่การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ผู้คัดค้านมีสิทธิอุทธรณ์
การที่ผู้ร้องแจ้งการประเมินเพื่อเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้านเพื่อให้ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินของลูกหนี้ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้แล้วเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 เพื่อให้ผู้คัดค้านซึ่งมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ชำระภาษีดังกล่าวหรือหากเห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้องผู้คัดค้านก็อุทธรณ์โต้แย้งการประเมินต่อผู้ร้องได้ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ. 2475 ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายการที่ผู้คัดค้านมีหนังสือตอบผู้ร้องว่าผู้คัดค้านไม่อาจยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี เป็นการแจ้งความคิดเห็นของผู้คัดค้านไปยังผู้ร้องเท่านั้น ไม่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 สิทธิของผู้ร้องในการที่จะบังคับชำระค่าภาษีมิได้เปลี่ยนแปลงไปตามความเห็นของผู้คัดค้าน ผู้ร้องไม่อาจร้องคัดค้านเป็นคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2729/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีต้องอาศัยการไต่สวนตาม ม.19 และพยานหลักฐานครบถ้วนก่อนแจ้งประเมินตาม ม.20
การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 20 จะต้องมีการออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนตามมาตรา 19 ก่อน และการประเมินเจ้าพนักงานประเมินจะต้องอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏจากการไต่สวนดังนั้น เมื่อพยานหลักฐานที่ปรากฏจากการไต่สวนตามอำนาจในมาตรา19 มีอยู่เท่าใด เจ้าพนักงานประเมินจะต้องตรวจสอบให้ครบถ้วนในคราวเดียวกัน แล้วจึงจะมีการแจ้งการประเมินไป มิใช่ว่าจะให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบหลักฐานเป็นส่วน ๆ แล้วทยอยแจ้งการประเมินไปในแต่ละคราวเท่าที่เห็นสมควร หากให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจที่จะแจ้งการประเมินหลายครั้งได้ เจ้าพนักงานประเมินก็สามารถทำการประเมินได้อีกโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ความรับผิดของผู้เสียภาษีก็ไม่มีกำหนดเวลาที่จะสิ้นสุดลงได้ ทั้งการแจ้งการประเมินครั้งแรกยังเป็นการแสดงว่าพยานหลักฐานที่ปรากฏจากการไต่สวนตามมาตรา 19 ได้มีการพิจารณาเสร็จสิ้นไปแล้ว ถ้าจะมีการประเมินอีกครั้งก็ต้องมีการออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้วตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 19 ก่อน ไม่อาจที่จะอาศัยหมายเรียกมาไต่สวนครั้งเดียวนั้นเพื่อทำการแจ้งการประเมินอีกต่อไปได้ ดังนั้น การที่จำเลยประเมินครั้งหลังโดยไม่มีการออกหมายเรียกมาไต่สวนตามกำหนดเวลาที่มาตรา 19 กำหนดไว้ จึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 20 แห่งประมวลรัษฎากร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีต้องเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย หากมิได้แจ้งประเมินผู้ถูกประเมินโดยตรง หรือมีข้อเท็จจริงไม่ชัดเจน การประเมินนั้นไม่ชอบ
ถึงแม้โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 จะเป็นสามีภริยากัน และโจทก์ที่ 1 มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีตามที่ ป.รัษฎากร มาตรา 57 ตรี แต่การประเมินตาม มาตรา 20 นั้นจะต้องมีการออกหมายเรียกผู้ถูกประเมินมาทำการไต่สวนก่อนตามมาตรา 19การที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์ที่ 1 มาไต่สวนเพียงผู้เดียว จะถือเป็นการออกหมายเรียกโจทก์ที่ 2 ด้วยไม่ได้ดังนี้เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจประเมินให้โจทก์ที่ 2 ชำระภาษีเพิ่ม การประเมินโดยอาศัยอำนาจตาม ป.รัษฎากร มาตรา 20 และมาตรา 49จะต้องเป็นกรณีที่ผู้ถูกประเมินมีเงินได้พึงประเมินเกินกว่าที่ได้ยื่นรายการไว้ เมื่อโจทก์ที่ 1 และภริยามิได้มีรายได้เพิ่มขึ้นตามจำนวนในแต่ละปีภาษีที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยอ้างจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 1 ยื่นรายการเงินได้ต่ำกว่าจำนวนที่ควรต้องยื่น ดังนี้ เจ้าพนักงานของจำเลยจึงไม่อาจประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มโดยอาศัยเหตุดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ภาษี: การแจ้งประเมินสะดุดหยุดอายุความ แต่การแจ้งซ้ำอาจทำให้ขาดอายุความตามกฎหมาย
การแจ้งการประเมินภาษีอากรมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 173 เริ่มนับใหม่เมื่อพ้นระยะเวลาสามสิบวันที่กำหนดให้นำค่าภาษีไปชำระตามหนังสือแจ้งการประเมินและพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากรอันโจทก์อาจบังคับยึดทรัพย์หรือใช้สิทธิฟ้องร้องได้แต่เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน 10 ปีแล้วจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 แม้โจทก์จะมีหนังสือแจ้งการประเมินไปยังจำเลยครั้งที่สองก็ไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงแล้วสะดุดหยุดลงอีก เพราะจะมีผลเป็นการขยายอายุความที่กฎหมายกำหนดไว้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 191.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากร: การแจ้งประเมินสะดุดอายุความ แต่การแจ้งซ้ำขยายอายุความไม่ได้
การแจ้งการประเมินภาษีอากรมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 173 เริ่มนับใหม่เมื่อพ้นระยะเวลาสามสิบวันที่กำหนดให้นำค่าภาษีไปชำระตามหนังสือแจ้งการประเมินและพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากรอันโจทก์อาจบังคับยึดทรัพย์หรือใช้สิทธิฟ้องร้องได้ แต่เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน 10 ปีแล้ว จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 แม้โจทก์จะมีหนังสือแจ้งการประเมินไปยังจำเลยครั้งที่สองก็ไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงแล้วสะดุดหยุดลงอีก เพราะจะมีผลเป็นการขยายอายุความที่กฎหมายกำหนดไว้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 191.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนาเฉพาะการชำระบัญชี, การแจ้งประเมินภาษี, และความรับผิดของผู้ถือหุ้น
ในการชำระบัญชีเพื่อเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด เมื่อผู้ชำระบัญชีได้เลือกกำหนดเอาสถานที่ใดเป็นสำนักงานชำระบัญชี ต้องถือว่าสถานที่นั้นเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการในการชำระบัญชีของห้างนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 49 แม้จะเสร็จการชำระบัญชีและได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดแล้วก็ตามแต่ภูมิลำเนาเฉพาะการดังกล่าวนั้น จะยังคงอยู่ ณ สถานที่นั้นต่อไปอีกจนสิ้นระยะเวลาสองปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี เมื่อเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้แจ้งการประเมินให้ผู้ชำระบัญชีของห้างที่จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดทราบโดยชอบแล้วก็มีผลใช้ได้ แม้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ จะไม่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน ก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2736/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งประเมินภาษีไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อส่งไปยังสถานที่รื้อถอนแล้ว และขาดหลักฐานความสัมพันธ์ของผู้รับ
ไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น ข้อ 351 กำหนดว่า ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับการสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่า บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับคือ บุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือสำนักทำการงานของผู้รับเมื่อปรากฏว่าการส่งแบบแจ้งการประเมินโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับได้ส่งไปยังสถานที่อันเป็นสำนักทำการงานของผู้รับซึ่งได้รื้อถอนไปก่อนแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าผู้เซ็นรับเอกสารแทนผู้รับเป็นใครเกี่ยวพันกับผู้รับอย่างไร และการเซ็นรับกระทำที่อาคารหลังใดเช่นนี้ แม้ผู้รับจะยังมิได้จดทะเบียนเลิกห้างหรือแจ้งย้ายภูมิลำเนาไปจากเดิมก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าการแจ้งการประเมินดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2736/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งประเมินภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อสถานที่ทำการงานถูกรื้อถอนไปแล้ว และไม่มีผู้รับเอกสารที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียภาษี
ไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น ข้อ 351 กำหนดว่า ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับการสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่า บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับคือ บุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือสำนักทำการงานของผู้รับเมื่อปรากฏว่าการส่งแบบแจ้งการประเมินโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับได้ส่งไปยังสถานที่อันเป็นสำนักทำการงานของผู้รับซึ่งได้รื้อถอนไปก่อนแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าผู้เซ็นรับเอกสารแทนผู้รับเป็นใครเกี่ยวพันกับผู้รับอย่างไร และการเซ็นรับกระทำที่อาคารหลังใดเช่นนี้ แม้ผู้รับจะยังมิได้จดทะเบียนเลิกห้างหรือแจ้งย้ายภูมิลำเนาไปจากเดิมก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าการแจ้งการประเมินดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 913/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหนังสือแจ้งประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมาย และผลของการได้รับแจ้งความเพื่อยื่นคำร้องคัดค้าน
โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบเรื่องการย้ายภูมิลำเนาของโจทก์เพื่อให้จำเลยจัดส่งหนังสือแจ้งความแก่โจทก์ตามภูมิลำเนาใหม่ตรงกันข้ามในการยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษี โจทก์ระบุภูมิลำเนาเดิม แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ใช้ภูมิลำเนาเดิมเป็นภูมิลำเนาของโจทก์อีกแห่งหนึ่งโดยเฉพาะในการติดต่อกับจำเลยดังนี้การที่จำเลยส่งหนังสือแจ้งการประเมินแก่โจทก์ ณภูมิลำเนาเดิมจึงเป็นการส่งโดยชอบแล้ว
การส่งหนังสือแจ้งความและหมายเรียกตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 36 วรรคแรก หมายความว่าหากมีการส่งโดยทางจดหมายไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ถือว่าเป็นการส่งที่ชอบแล้ว ส่วนผู้รับหนังสือไว้แทนกฎหมายมิได้บัญญัติว่าต้องมีอายุเกินยี่สิบปี ซึ่งเป็นกรณีบังคับใช้เฉพาะในกรณีให้คนนำไปส่งเท่านั้น ดังนี้เมื่อได้ความว่าบุรุษไปรษณีย์นำส่งหนังสือแจ้งรายการประเมินให้แก่เด็กหญิงส.อายุ 14 ปีเศษซึ่งเป็นผู้แทนของโจทก์ การส่งหนังสือดังกล่าวจึงชอบแล้ว
การยื่นคำร้องขอให้พิจารณาประเมินใหม่ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินมาตรา 26 นั้น จะต้องยื่นภายในเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งความ หมายความถึงวันที่โจทก์หรือตัวแทนของโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งรายการประเมินนั่นเอง มิใช่ให้นับแต่วันที่โจทก์ทราบ.
การส่งหนังสือแจ้งความและหมายเรียกตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 36 วรรคแรก หมายความว่าหากมีการส่งโดยทางจดหมายไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ถือว่าเป็นการส่งที่ชอบแล้ว ส่วนผู้รับหนังสือไว้แทนกฎหมายมิได้บัญญัติว่าต้องมีอายุเกินยี่สิบปี ซึ่งเป็นกรณีบังคับใช้เฉพาะในกรณีให้คนนำไปส่งเท่านั้น ดังนี้เมื่อได้ความว่าบุรุษไปรษณีย์นำส่งหนังสือแจ้งรายการประเมินให้แก่เด็กหญิงส.อายุ 14 ปีเศษซึ่งเป็นผู้แทนของโจทก์ การส่งหนังสือดังกล่าวจึงชอบแล้ว
การยื่นคำร้องขอให้พิจารณาประเมินใหม่ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินมาตรา 26 นั้น จะต้องยื่นภายในเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งความ หมายความถึงวันที่โจทก์หรือตัวแทนของโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งรายการประเมินนั่นเอง มิใช่ให้นับแต่วันที่โจทก์ทราบ.