คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แต่งตั้ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 102 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3381/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งทนายความโดยลายพิมพ์นิ้วมือที่ไม่สมบูรณ์ และผลต่อคำฟ้อง
ลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ผู้แต่ง ทนายความ ในใบแต่งทนายความมีบุคคลเพียงคนเดียวรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ ย่อมไม่เสมอกับลงลายมือชื่อ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 วรรคสองมีผลเท่ากับการแต่งตั้งทนายความของโจทก์ยังบกพร่องไม่สมบูรณ์ทนายความผู้นั้นจึงยังไม่มีอำนาจทำการแทนในฐานะทนายความของโจทก์ และไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้องแทนโจทก์ได้ เท่ากับคำฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์ กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งให้ทำมาใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสองและการแก้ไขเพิ่มเติมนี้อาจกระทำได้หลายประการ เช่นให้โจทก์มาลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้อง หรือในช่องผู้แต่งทนายความในใบแต่งทนายความ หรือให้ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์จัดให้ผู้รู้เห็นการพิมพ์ลายนิ้วมือของโจทก์ในใบแต่งทนายความมาลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในคำฟ้องโดยให้ตัวโจทก์มาลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความต่อหน้าศาลแต่ตัวโจทก์ได้ถึงแก่กรรมเสียก่อน แต่เมื่อมีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์แล้ว บุคคลดังกล่าวย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์ได้ รวมทั้งมีอำนาจแก้ไขข้อบกพร่องของใบแต่งทนายแทนโจทก์ด้วย นอกจากนี้ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ยังได้แต่งตั้งทนายความคนเดียวกันกับที่ โจทก์แต่งตั้งไว้ จึงเป็นผลให้ทนายความผู้นั้นมีอำนาจดำเนิน กระบวนพิจารณาคดีนี้แทนโจทก์ได้ และทำให้คำฟ้องคดีนี้มีลายมือชื่อของทนายความผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์มาตั้งแต่ต้น โดยไม่จำเป็นต้องให้ทนายความผู้นี้ลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ ท้ายคำฟ้องอีกคำฟ้องโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 และ 67(5) ที่ศาลชั้นต้นจะต้องรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6857/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการพิจารณาคดีตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลต้องพิจารณาเฉพาะประเด็นการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกเท่านั้น
คดีร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ประเด็นแห่งคดีมีเพียงว่าสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นเกี่ยวกับตัวทรัพย์ว่าทรัพย์ใดเป็นมรดกหรือไม่ คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่ว่าเงินค่าเสียหายที่จะได้รับจากบริษัทประกันภัย ไม่ใช่ทรัพย์มรดกจึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำขอและนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4881/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งปิดประชุมของประธานศาลฎีกาและ ก.ต. ไม่ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบ แม้มีข้อทักท้วงเรื่องการแต่งตั้ง
++ คดีสำคัญ
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ กระทรวงยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 160 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เป็นบทบัญญัติที่ต้องการเอาโทษแก่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ แต่กลับปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดตอนหนึ่ง และเอาโทษแก่เจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตอีกตอนหนึ่ง ในตอนแรก คำว่าเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดนั้น หมายความรวมถึง เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล หรือเอกชนผู้หนึ่งผู้ใดด้วย ดังนั้นหากการปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานโดยมิชอบเป็นการกระทำต่อเอกชนผู้หนึ่งผู้ใดโดยตรง และเป็นการกระทำให้บุคคลดังกล่าวได้รับความเสียหาย เอกชนผู้นั้นย่อมเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) ได้
คำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายถึงหน้าที่ตลอดจนการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติงานในหน้าที่ของจำเลยที่ 3 มาในคำฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ของจำเลยที่ 3 จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ดังนั้น ปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 3 กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงไม่จำต้องวินิจฉัย
ตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 นอกจากจะเป็นตำแหน่งทางฝ่ายตุลาการแล้ว ยังเป็นตำแหน่งทางฝ่ายบริหารมีอำนาจให้คุณให้โทษแก่ผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ธุรการผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาได้ด้วย ถือว่าเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติและศักดิ์ศรีสูงกว่าตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ซึ่งเป็นตำแหน่งทางฝ่ายตุลาการเพียงอย่างเดียว ฉะนั้น การแต่งตั้งโจทก์จากผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงเป็นการปูนบำเหน็จความดีความชอบให้แก่โจทก์เป็นการขัดกับการที่โจทก์ยังมีโทษงดบำเหน็จอยู่ การที่จำเลยที่ 2 ดำเนินการหาข้อยุติความเห็นขัดแย้งเกี่ยวกับมติ ก.ต. ที่เห็นชอบในการแต่งตั้งโจทก์ดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการใช้ดุลพินิจพิจารณาสั่งการไปตามอำนาจหน้าที่ในทางบริหารราชการแผ่นดิน และที่สำคัญยิ่งก็คือการจะนำเรื่องใดเสนอให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งนั้นเรื่องนั้นจะต้องมีข้อยุติว่าเป็นเรื่องที่ชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการแล้ว การที่จำเลยที่ 2 พยายามหาข้อยุติความเห็นที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับมติ ก.ต. ที่แต่งตั้งโจทก์และยังไม่อาจนำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไปนั้น หาใช่จำเลยที่ 2 มีเจตนาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้โจทก์เสียหายอย่างใดไม่ จำเลยที่ 2จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
จำเลยที่ 4 ดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกาและเป็นประธาน ก.ต. โดยตำแหน่ง ในการประชุม ก.ต. ประธาน ก.ต.เป็นประธานที่ประชุม โดยทั่วไปแล้วในการประชุม ประธานที่ประชุมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการประชุมและรับผิดชอบดำเนินการประชุมให้เป็นไปด้วย ความเรียบร้อยและเป็นผลดีแก่ทางราชการ หากไม่มีข้อบังคับกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น กรณีมีเหตุจำเป็นและสมควรประธานที่ประชุมจะสั่งเลื่อนหรือปิดประชุมก็ย่อมทำได้
ได้ความว่า ในตอนเช้าจำเลยที่ 4มีคำสั่งให้ดำเนินการประชุม ก.ต. ไป ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องต่าง ๆ จนกระทั่งถึงวาระการแต่งตั้งข้าราชการตุลาการจำเลยที่ 3 แถลงขอให้ที่ประชุมเลื่อนวาระนี้ไปก่อน โดยชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นว่ามีเรื่องที่จะต้องปรึกษาหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมอยู่อีกและเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง ส่วนจำเลยที่ 4 ก็ได้พยายามชี้แจงและขอร้องให้ที่ประชุมเลื่อนวาระดังกล่าวออกไป โดยแจ้งว่าการเลื่อนออกไปจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม แต่ในที่สุดส่วนใหญ่ของที่ประชุมเห็นว่าไม่สมควรให้มีการเลื่อน จำเลยที่ 4 จึงอาศัยอำนาจของประธาน ที่ประชุมสั่งให้เลื่อนและปิดประชุมทั้งนี้โดยมีมูลเหตุมาจากการขอร้องของพลเอก ส. นายกรัฐมนตรีผู้ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อให้เกิดผลดีต่อบ้านเมืองในทุก ๆ ด้าน ตามรัฐประศาสโนบายโดยเฉพาะ เป็นผู้มีหน้าที่นำมติ ก.ต. ที่เห็นชอบในการแต่งตั้งโจทก์ขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เมื่อพลเอก ส. เห็นว่าโจทก์ยังมีโทษทางวินัยอยู่และการแต่งตั้งโจทก์เป็นการขัดต่อพระราชกระแสเช่นนี้ การที่จำเลยที่ 4 ขอให้ที่ประชุมเลื่อนการพิจารณาออกไปก่อนโดยแจ้งว่าการเลื่อนจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 4 ได้พิจารณาถึงเหตุผลและความเหมาะสมในหลาย ๆ ด้านแล้ว จึงได้สั่งให้เลื่อนและปิดประชุม หากจำเลยที่ 4 มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ จำเลยที่ 4 จะไม่นำเรื่องการแต่งตั้งโจทก์บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมก็ย่อมได้ ทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 4 ก็รู้อยู่ว่าโจทก์มีโทษทางวินัยอยู่ การที่ภายหลังต่อมามีเหตุจำเป็นต้องเลื่อนการประชุมดังกล่าวแล้ว กรณีจึงไม่เชื่อว่าจำเลยที่ 4 สั่งเลื่อนและปิดประชุมโดยมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4125/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินการอุทธรณ์โดยทนายความที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ และการแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ถูกต้อง
อ. ลงลายมือชื่อในช่องผู้อุทธรณ์ในฐานะทนายจำเลยโดยไม่ปรากฏว่ามีใบแต่งทนายความในสำนวนคำฟ้องอุทธรณ์ของ จำเลยจึงเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7) การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยส่งขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)ประกอบมาตรา 225 แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้แต่งตั้ง อ.เป็นทนายจำเลยให้มีอำนาจอุทธรณ์และฎีกาแทนจำเลยก่อนยื่นฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องสั่งแก้ไขและถือว่าจำเลยยื่นคำฟ้อง อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยเสียโดยเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ ที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาพิพากษาใหม่เพื่อให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7499/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะเจ้าพนักงานคุมประพฤติ: การแต่งตั้งโดยคำสั่งกระทรวงยุติธรรมเพียงพอ แม้ไม่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
จำเลยเป็นลูกจ้างชั่วคราวได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการในกรมคุมประพฤติ เป็นพนักงานคุมประพฤติตามคำสั่งกระทรวงยุติธรรมจำเลยเป็นพนักงานคุมประพฤติประจำศาลและได้รับมอบหมายจากหัวหน้าสำนักงานคุมประพฤติประจำศาลให้ไปสืบเสาะความประพฤติของ ว. เมื่อตามพระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2522 มาตรา 4บัญญัติว่า "พนักงานคุมประพฤติ" หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 5 บัญญัติให้รัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนพนักงานคุมประพฤติตามพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา 10 บัญญัติว่าในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานคุมประพฤติเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และไม่มีบทบัญญัติบทใดบัญญัติให้การแต่งตั้งพนักงานคุมประพฤติต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาดังนั้น คำสั่งแต่งตั้งจำเลยให้เป็นพนักงานคุมประพฤติจึงไม่จำต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา แม้จำเลยไม่ได้ลงชื่อรับทราบคำสั่งแต่งตั้งดังกล่าว แต่จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อมา ถือได้ว่าจำเลยทราบคำสั่งแล้ว จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการตามสัญญาซื้อขายข้าว การแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ และคำชี้ขาดที่ใช้บังคับได้
ตามสัญญาซื้อข้าวเอกสารหมาย จ.4 และ ร.5 ได้วางข้อกำหนดและเงื่อนไขไว้ว่า สัญญานี้ทำขึ้นโดยให้ใช้ข้อกำหนดและเงื่อนไขทั่วไปตามที่ระบุในสัญญาของสมาคมกาฟต้าเลขที่ 119 ยกเว้นในส่วนที่ได้กำหนดไว้ในสัญญานี้เป็นอย่างอื่น ทั้งผู้ซื้อ (ผู้ร้อง) และผู้ขาย (ผู้คัดค้าน) ได้ยอมรับโดยชัดแจ้งซึ่งข้อกำหนดเรื่องการประนีประนอมยอมความรวมทั้งข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่ 125 ของสมาคมกาฟต้าด้วย ผู้คัดค้านได้รับสัญญาเอกสารหมายร.4 และ ร.5 จากผู้ร้องก่อนจะส่งมอบข้าวที่ขายให้แก่ผู้ร้อง แสดงว่าผู้คัดค้านได้ทราบและยอมรับจะปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาทั้งสองฉบับแล้วและตามข้อกำหนดทั่วไปของสัญญาซื้อขายของสมาคมกาฟต้าเอกสารหมาย ร.6ข้อ 29 มีใจความว่า หากมีข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งใด ๆ ซึ่งเกิดจากหรือภายใต้สัญญาดังกล่าวให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการตามนัยกฎข้อบังคับเลขที่ 125ของสมาคมกาฟต้าฉบับที่ใช้อยู่ในวันทำสัญญา กฎข้อบังคับดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาและเป็นกฎข้อบังคับที่ถือว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายรับทราบอยู่แล้ว นอกจากนั้นทางสมาคมกาฟต้าก็เคยรับรองกับผู้ร้องว่า กฎข้อบังคับของสมาคมเลขที่ 125สามารถใช้บังคับตามสัญญาระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านได้ เมื่อมีข้อพิพาทตามสัญญาเอกสารหมาย ร.4 และ ร.5 เกิดขึ้น ผู้ร้องได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบว่าจะเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดโดยผู้ร้องเสนอ อ.เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้ร้องแต่ผู้เดียว ผู้คัดค้านจะยอมรับหรือไม่ หรือจะแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการอีกคนแต่ผู้คัดค้านไม่ได้แจ้งให้ผู้ร้องทราบ ผู้ร้องจึงร้องขอให้สมาคมกาฟต้าแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้าน ทางสมาคมได้แต่งตั้ง อ.เป็นอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นการแต่งตั้งตามเงื่อนไขของข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่ 125ข้อ 3.7 และทางสมาคมได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบแล้ว การแต่งตั้ง อ.เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้คัดค้านจึงชอบแล้ว และไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530
ในชั้นอนุญาโตตุลาการ ผู้คัดค้านได้ยื่นคำคัดค้านต่อสู้คดีของผู้ร้องและร้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากผู้ร้องต่อ อ. การยื่นเอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพียงการโต้แย้งการดำเนินการของอนุญาโตตุลาการเนื่องจากผู้คัดค้านยื่นคำร้องแย้งเรียกค่าเสียหายด้วย แสดงให้เห็นว่าผู้คัดค้านต้องการให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดข้อเรียกร้องของผู้คัดค้านพร้อมกับข้อเรียกร้องของผู้ร้องพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าผู้คัดค้านยอมรับ อ.เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้คัดค้านแล้ว
ตามสัญญาซื้อขายข้าวมีข้อตกลงให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการตามกฎข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่ 125 ของสมาคมกาฟต้า โดยผู้คัดค้านได้ทราบและยอมรับจะปฏิบัติตามกฎข้อบังคับดังกล่าวด้วย ดังนั้น เมื่อมีข้อพิพาทตามสัญญาซื้อขายข้าวเกิดขึ้นและผู้ร้องได้ยื่นข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดจึงเป็นการกระทำไปตามเงื่อนไขข้อตกลงของคู่สัญญา คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงใช้บังคับผู้คัดค้านได้ เมื่อสมาคมกาฟต้าแต่งตั้งให้ อ.เป็นอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้านแล้ว สมาคมได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบพร้อมกับแจ้งว่าหากผู้คัดค้านประสงค์จะเข้าฟังการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ให้ผู้คัดค้านติดต่อกับ อ.เพื่อทราบวันและเวลาดังกล่าวแต่ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านได้แสดงความประสงค์จะเข้าฟังการพิจารณาต่อ อ.แต่อย่างใด ผู้คัดค้านเพียงแต่ยื่นคำคัดค้านต่อสู้คดีไปยัง อ.เท่านั้นต่อมาประธานอนุญาโตตุลาการสอบถามไปยังผู้ร้องและผู้คัดค้านว่าจะส่งเอกสารเพิ่มเติมอีกหรือไม่ แสดงว่าทางอนุญาโตตุลาการได้เปิดโอกาสให้ผู้คัดค้านเข้าฟังการพิจารณาและนำพยานหลักฐานเข้าต่อสู้คดีได้ ก่อนที่จะชี้ขาดข้อพิพาทแล้วและเมื่ออนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยข้อพิพาทโดยพิจารณาจากพยานหลักฐาน และข้อต่อสู้ของทั้งสองฝ่าย คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งให้เหตุผลในการชี้ขาดข้อพิพาทเป็นที่เข้าใจดีและถูกต้องแล้ว จึงไม่มีเหตุให้ฟังได้ว่าคณะอนุญาโตตุลาการได้กระทำการเข้าข้างฝ่ายผู้ร้องโดยไม่สุจริต
ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอให้อนุญาโตตุลาการที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้น โดยเป็นไปตามเงื่อนไขที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านได้ตกลงกันไว้ก่อนเกิดข้อพิพาทตามเอกสารหมาย ร.4 และ ร.5 และตามกฎหมายประเทศอังกฤษได้แก่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการบริหารงานยุติธรรม ค.ศ.1982บัญญัติไว้ว่า หากอนุญาโตตุลาการเห็นสมควรอาจชี้ขาดให้ชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราที่เหมาะสม การที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ซึ่งเป็นการใช้ดุลพินิจไปตามขอบเขตของกฎหมาย กรณีจึงยังฟังไม่ได้ว่าอนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทโดยไม่สุจริตและขัดต่อกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น กำหนดให้ผู้คัดค้านชำระดอกเบี้ยถึงวันที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทเท่านั้น เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง การที่ผู้ร้องเพียงแต่ทำคำแก้ฎีกาในทำนองขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้ผู้คัดค้านชำระดอกเบี้ยเพิ่มจนถึงวันที่ผู้คัดค้านชำระเงินให้ผู้ร้องเสร็จตามคำร้องของผู้ร้อง จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของการแต่งตั้งกรรมการ, ระเบียบเบี้ยปรับ, และการมอบหมายหน้าที่ในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
ตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา 10เป็นบทกำหนดคุณสมบัติของข้าราชการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมจะแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่า ผู้ได้รับแต่งตั้งดังกล่าวจะต้องไม่เป็นชาวไร่อ้อย กรรมการ ผู้จัดการ หรือพนักงานหรือลูกจ้างของโรงงานเท่านั้น ส่วนมาตรา 11 เป็นบทกำหนดคุณสมบัติของผู้แทนชาวไร่อ้อยและผู้แทนโรงงานที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยคุณสมบัติ ฯลฯ(5) ไม่เป็นข้าราชการการเมืองหรือดำรงตำแหน่งทางการเมือง (6) ไม่เป็นกรรมการพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง การแต่งตั้งข้าราชการแม้เป็นวุฒิสมาชิกแต่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 10 จึงมิได้มีข้อห้ามในการเป็นกรรมการในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
กรรมการที่มาจากข้าราชการ 3 กระทรวง ซึ่งรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องแต่งตั้งนั้น พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา 9 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับกรณีการแต่งตั้งดังกล่าวมิได้มีข้อกำหนดว่าให้ระบุชื่อเฉพาะของข้าราชการนั้น ๆ และไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นใดบังคับว่าการแต่งตั้งข้าราชการให้เป็นกรรมการจะต้องระบุชื่อโดยเฉพาะ ทั้งตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดินการแต่งตั้งข้าราชการให้ปฏิบัติหน้าที่พิเศษอื่นใด ย่อมแต่งตั้งโดยระบุตำแหน่งได้โดยถือว่าผู้ได้รับแต่งตั้งโดยตำแหน่งนั้นเป็นตัวแทนของส่วนราชการหน่วยนั้น ๆ และเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะตำแหน่ง ไม่ติดตัวและสิ้นสภาพไปเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งนั้นตาย โอนย้ายหรือลาออกจากราชการไปฉะนั้นหากผู้ดำรงตำแหน่งไม่อยู่ ผู้อยู่ในลำดับรองลงไปก็สามารถรับมอบหมายให้รักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ ได้ การแต่งตั้งจึงชอบแล้ว
การออกระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ระเบียบหรือพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 แม้ชื่อระเบียบดังกล่าวจะไม่มีคำว่าเงินรางวัลนำจับ แต่ข้อกำหนดในระเบียบดังกล่าวก็ได้กำหนดระเบียบการจ่ายเงินรางวัลนำจับ การแจ้งความและการรับเงินรางวัลนำจับไว้โดยละเอียดแล้ว และการกำหนดระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับดังกล่าวเนื่องจากพ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา 17 (25) บัญญัติให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมีหน้าที่กำหนดระเบียบว่าด้วยเบี้ยปรับและเงินรางวัลสำหรับการนำจับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือประกาศที่คณะกรรมการกำหนด คณะกรรมการจึงมีอำนาจที่จะกำหนดระเบียบที่สอดคล้องและไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.ดังกล่าวการที่คณะกรรมการได้นำข้อความตามมาตรา 44 บางส่วนมากำหนดเป็นระเบียบของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ในมาตรา 17 (25)และการกำหนดเบี้ยปรับสำหรับผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้เป็นบทบังคับทางแพ่งเฉพาะโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบ และกำหนดให้ชำระเฉพาะเงินเบี้ยปรับ มิได้มีการลงโทษทางอาญาแต่ประการใด ส่วน พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 เป็นบทบังคับบุคคลหรือนิติบุคคลรวมทั้งโรงงานซึ่งหมายความถึงผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งและประกอบกิจการโรงงานผลิตน้ำตาลทรายด้วยและบทบังคับมีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับอันเป็นโทษทางอาญา ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับจึงมิใช่การลงโทษซ้ำซ้อนกับ พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527
ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับ...ฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 ได้มีการนำเสนอเพื่อขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจและรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจได้เห็นชอบในหลักการ จึงได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบถึงการออกระเบียบดังกล่าว และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับ...ฉบับที่ 1 พ.ศ.2528 ดังกล่าวจึงถูกต้องและเป็นไปตามขั้นตอนตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา 17 แล้ว
การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องมอบหมายให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายแต่งตั้งผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายนั้น ตามนัยมาตรา 80 วรรคสอง บัญญัติว่าในระหว่างที่ยังไม่มีสถาบันชาวไร่อ้อยที่จะเสนอผู้แทนชาวไร่อ้อย ให้รัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 แต่งตั้งผู้ซึ่งปลูกอ้อยเพื่อขายให้แก่โรงงานเป็นผู้แทนชาวไร่อ้อย และมาตรา 11 วรรคสี่ การเสนอและการถอดถอนผู้แทนชาวไร่อ้อยให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีต่อมารัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้ออกประกาศระเบียบว่าด้วยการเสนอผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารกองทุน คณะกรรมการอ้อย และคณะกรรมการน้ำตาลทรายโดยให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายแต่งตั้งผู้แทนชาวไร่อ้อยในคณะกรรมการต่าง ๆ ดังกล่าว เป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527ระเบียบดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
ขณะที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมีมติยกอุทธรณ์ของโจทก์ยังไม่มีกรรมการชุดใหม่เข้ารับหน้าที่ คณะกรรมการชุดเดิมจึงมีอำนาจดำเนินงานประชุมและลงมติได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้มอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทน จ.รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรมฉ.รองปลัดกระทรวงพาณิชย์แทนปลัดกระทรวงพาณิชย์ทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ และ ป.รองอธิบดีกรมการค้าภายในแทนอธิบดีกรมการค้าภายในทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ เป็นการปฏิบัติหน้าที่แทนผู้บังคับบัญชาในกระทรวงที่ตนสังกัดตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดินเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการแทนกันโดยชอบด้วยกฎหมาย บุคคลดังกล่าวจึงมีอำนาจเข้าร่วมประชุมแทนได้
โจทก์ฟ้องว่าคณะกรรมการบริหารมีมติให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับเป็นเงิน 32,786,000 บาท โจทก์อุทธรณ์ แต่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายยกอุทธรณ์ โจทก์จึงมาฟ้องตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 มาตรา58 ขอให้ศาลเพิกถอนมติและคำวินิจฉัยดังกล่าวที่ให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับ ผลของคำพิพากษาก็คือเมื่อโจทก์ชนะคดี ทำให้โจทก์ไม่ต้องชำระเบี้ยปรับจำนวนดังกล่าวกรณีจึงเป็นคำฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการวินิจฉัยการประพฤติผิดมรรยาททนายความเพื่อพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง และการแต่งตั้งทนายความ
พระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2528มิได้บัญญัติห้ามศาลที่จะวินิจฉัยว่าทนายความผู้มีพฤติกรรมที่ขัดต่อมรรยาททนายความตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความพ.ศ.2529เป็นผู้ประพฤติ ผิดมรรยาททนายความเพื่อวินิจฉัย ความรับผิดทางแพ่งในกรณี ละเมิด แม้จำเลยทั้งสองจะเป็น ลูกจ้างของบริษัทประกันภัยและรับเข้าเป็นทนายความแก้ต่างให้โจทก์ในฐานะลูกจ้างของบริษัทประกันภัยก็ตามแต่การที่ได้ลงลายมือชื่อใน ใบแต่งทนายความแต่งตั้งจำเลยทั้งสองถือว่าโจทก์ได้แต่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นทนายความว่าความให้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7188/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งสมุห์บัญชีสุขาภิบาลต้องโดยผู้ว่าฯ นายอำเภอไม่มีอำนาจ สั่งให้ปฏิบัติหน้าที่จึงไม่ชอบ
การที่จะแต่งตั้งเสมียนตราอำเภอให้เป็นสมุห์บัญชีสุขาภิบาลนั้น จะต้องทำเป็นเรื่องเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง นายอำเภอแม้จะเป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลอยู่ด้วยก็ไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะแต่งตั้งเสมียนตราอำเภอให้เป็นสมุห์บัญชีสุขาภิบาลได้ด้วยตนเอง ดังนั้นการที่นายอำเภอสั่งให้จำเลยไปปฏิบัติหน้าที่สมุห์บัญชีสุขาภิบาล จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ จำเลยไม่มีฐานะเป็นพนักงานของสุขาภิบาลและไม่เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และ 157 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6712/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการลูกจ้างยังไม่พ้นตำแหน่ง หากยังไม่มีการเลือกตั้ง/แต่งตั้งกรรมการชุดใหม่
ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 48บัญญัติว่า "นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งเมื่อมีการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างใหม่ทั้งคณะ" เมื่อจำเลยแถลงรับว่า ขณะที่เลิกจ้างโจทก์ ยังไม่มีการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างใหม่ทั้งคณะ โจทก์จึงยังไม่พ้นจากตำแหน่งกรรมการลูกจ้าง
of 11