พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรส การโอนกรรมสิทธิ์ และการเป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนตัวหลังการเสียชีวิต
การที่คู่สมรสยกกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งเป็นสินสมรสเฉพาะส่วนของตนให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว ถือได้ว่าคู่สมรสนั้นได้ตกลงแบ่งที่ดินทั้งแปลงดังกล่าวออกเป็นของแต่ละฝ่าย ย่อมทำให้ที่ดินในส่วนที่เหลือหมดสภาพจากการเป็นสินสมรส และตกเป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง การให้อสังหาริมทรัพย์แก่ผู้รับนั้นจะสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. ก็ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่บ้านพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์ เมื่อทางพนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนิติกรรม การให้ดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายกรรมสิทธิ์ในบ้านยังคงเป็นของผู้ให้ เครื่องทองรูปพรรณ เครื่องเพชร และเครื่องประดับอื่น ๆ คือสร้อยคอ สร้อยข้อมือ แหวน เข็มขัดนาก ซึ่งเป็นของภรรยามีราคาไม่มากนักเป็นเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะแม้จะได้มาโดยสามีเป็นผู้หามาให้ หรือภรรยาหามาเองในระหว่างสมรสก็ยังคงเป็นสินส่วนตัวของภรรยา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 314/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสและทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม โดยพิจารณาจากสิทธิของคู่สมรสและผู้รับมรดก
เจ้ามรดกกับจำเลยได้อยู่กินเป็นสามีภริยากันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 จึงต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย คือสามีได้ 2 ส่วน ภริยาได้ 1 ส่วนเจ้ามรดกจึงมีสิทธิในทรัพย์สิน 2 ส่วนใน 3 ส่วน จำเลยซึ่งเป็นภริยาเจ้ามรดกได้เพียง 1 ใน 3 ส่วน แต่เมื่อเจ้ามรดกได้ระบุในพินัยกรรมให้แบ่งสินสมรสออกเป็น 2 ส่วน โดยให้ตกแก่จำเลย1 ส่วน อีก 1 ส่วนเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมยกให้โจทก์ทั้งสองคนละ 1 ส่วน ดังนี้จึงต้องแบ่งทรัพย์สินร่วมกันของเจ้ามรดกกับจำเลยออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งตกแก่จำเลย อีกส่วนหนึ่งให้ตกเป็นของโจทก์ทั้งสองคนละส่วนเท่ากัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4539/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์มรดกเฉพาะส่วน: ศาลพิพากษาตามสัดส่วนทายาท ไม่ถือว่าเป็นการโอนทรัพย์ให้ทายาทอื่น
โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์สินเฉพาะส่วนของตน การที่ศาลพิพากษาให้แบ่งทรัพย์พิพาทออกเป็น 18 ส่วน โดยคำนวณจากจำนวนทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมดเพื่อกำหนดส่วนแบ่งของโจทก์ตามฟ้อง มิได้พิพากษาให้จำเลยโอนหรือแบ่งทรัพย์พิพาทให้ทายาทอื่นด้วย ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3133/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนแบ่งทรัพย์ได้เสรีเมื่อเลิกห้าง ผู้ชำระบัญชีไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินส่วนแบ่ง
ผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนย่อมตกลงกันให้แบ่งเงินของห้างหุ้นส่วนเมื่อใดก็ได้ทำนองเดียวกับเจ้าของรวมตกลงแบ่งทรัพย์กันนั่นเอง จำเลยรับเงินส่วนแบ่งจำนวนหนึ่งมาจากศาลตามที่ศาลฎีกาพิพากษาให้แบ่งเงินค่าสินค้าของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมให้แก่โจทก์ที่1กับจำเลยผู้เป็นหุ้นส่วนโดยห้างหุ้นส่วนนั้นเลิกกันแล้วและอยู่ในระหว่างที่มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนอยู่เงินส่วนที่แบ่งให้จำเลยก็ตกเป็นของจำเลยผู้ชำระบัญชีหามีอำนาจที่จะเรียกร้องหรือเข้าเก็บรักษาเงินจำนวนนี้โดยอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1259ได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2073/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกของผู้จัดการมรดกเมื่อทายาทขัดแย้งและแบ่งทรัพย์ไม่ได้
ทายาทมีข้อขัดแย้งไม่อาจตกลงกันให้ผู้จัดการมรดกจัดการแบ่งอสังหาริมทรัพย์ส่วนใดเป็นของทายาทคนใดถ้าผู้จัดการมรดกจัดการแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวตามความต้องการของทายาทฝ่ายหนึ่งย่อมขัดกับความประสงค์ของทายาทอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งการแบ่งอาจไม่สำเร็จลุล่วงไปและอาจทำให้มีกรณีพิพาทเกิดขึ้นระหว่างทายาทกันเองและระหว่างทายาทกับผู้จัดการมรดกตามมาอีกได้ประกอบกับบำเหน็จที่ผู้จัดการมรดกได้รับก็เป็นบำเหน็จเฉพาะสำหรับผลงานที่ได้ทำสำเร็จไปแต่ละครั้งคราวกรณีมีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้จัดการมรดกลาออกจากตำแหน่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2073/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกของผู้จัดการมรดก กรณีทายาทขัดแย้งในการแบ่งทรัพย์และบำเหน็จเป็นรายครั้ง
ทายาทมีข้อขัดแย้งไม่อาจตกลงกันให้ผู้จัดการมรดกจัดการแบ่งอสังหาริมทรัพย์ส่วนใดเป็นของทายาทคนใดถ้าผู้จัดการมรดกจัดการแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวตามความต้องการของทายาทฝ่ายหนึ่งย่อมขัดกับความประสงค์ของทายาทอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งการแบ่งอาจไม่สำเร็จลุล่วงไปและอาจทำให้มีกรณีพิพาทเกิดขึ้นระหว่างทายาทกันเองและระหว่างทายาทกับผู้จัดการมรดกตามมาอีกได้ประกอบกับบำเหน็จที่ผู้จัดการมรดกได้รับก็เป็นบำเหน็จเฉพาะสำหรับผลงานที่ได้ทำสำเร็จไปแต่ละครั้งคราวกรณีมีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้จัดการมรดกลาออกจากตำแหน่ง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1241/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมสมบูรณ์แม้ไม่เป็นเอกสารฝ่ายเมือง, อายุความ, และสินสมรส
เจ้ามรดกมีเจตนาจะทำพินัยกรรมเป็นแบบเอกสารฝ่ายเมืองแต่ไม่ได้ไปทำต่อกรมการอำเภอ จึงไม่สมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658 แต่พินัยกรรมดังกล่าวเจ้ามรดกเป็นผู้เขียนขึ้นเองทั้งฉบับ จึงมีผลใช้บังคับได้ตามมาตรา 1657 หากเจ้ามรดกไม่ประสงค์ให้พินัยกรรมมีผลบังคับได้ต่อไป จะต้องเพิกถอนเสียโดยการทำลายหรือขีดฆ่าเสียด้วยความตั้งใจตามมาตรา 1695 แม้เจ้ามรดกจะได้พูดสั่งเสียต่อหน้าญาติผู้ใหญ่หลายคนเป็นทำนองเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อกำหนดในพินัยกรรม แต่ไม่มีการบันทึกและลงลายมือชื่อให้ถูกต้องสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบใดแบบหนึ่งตามมาตรา1656 ถึงมาตรา 1669 จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงแก้ไขพินัยกรรม
การที่จำเลยตกลงแบ่งที่นา บ้านและยุ้งข้าวพิพาทให้แก่โจทก์ตามพินัยกรรมแล้ว เพิ่งกลับใจไม่ยอมโอนให้ในภายหลัง ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 แม้โจทก์จะฟ้องคดีภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วเกิน 1 ปี คดีก็ไม่ขาดอายุความ
บ้านและยุ้งข้าวพิพาทเป็นของเจ้ามรดกมีมาก่อนแต่งงานกับจำเลยจึงมิใช่สินสมรสของจำเลยกับเจ้ามรดก.
การที่จำเลยตกลงแบ่งที่นา บ้านและยุ้งข้าวพิพาทให้แก่โจทก์ตามพินัยกรรมแล้ว เพิ่งกลับใจไม่ยอมโอนให้ในภายหลัง ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 แม้โจทก์จะฟ้องคดีภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วเกิน 1 ปี คดีก็ไม่ขาดอายุความ
บ้านและยุ้งข้าวพิพาทเป็นของเจ้ามรดกมีมาก่อนแต่งงานกับจำเลยจึงมิใช่สินสมรสของจำเลยกับเจ้ามรดก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินที่ได้มาจากการอยู่กินฉันสามีภริยา ศาลตัดสินแบ่งมรดกตามส่วนได้
จำเลยกับ บ. ร่วมทำมาหาทรัพย์พิพาทมาได้ในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย จำเลยกับ บ. จึงมีส่วนในทรัพย์พิพาทคนละครึ่ง เมื่อ บ. ถึงแก่กรรม ทรัพย์พิพาทส่วนที่เป็นของ บ. จึงเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์ผู้เป็น มารดาและทายาทผู้เดียวของ บ. ผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างทนายเพื่อแบ่งทรัพย์พิพาทในคดีเป็นโมฆะ
เมื่อสัญญาที่โจทก์รับจ้างว่าความแก้ต่างให้จำเลยเพื่อแบ่งทรัพย์พิพาทในคดี สัญญานี้จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2508 มาตรา 41ประกอบกับพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2477 มาตรา 12(2) การที่โจทก์จำเลยจะทำสัญญากันก่อนว่าความหรือระหว่างว่าความหาเป็นผลให้ กฎหมายดังกล่าวไม่ใช้บังคับไม่ สัญญานี้จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3613/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส vs. สินเดิม: การแบ่งทรัพย์มรดกและการหักหนี้กองมรดก
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้ว่า เมื่อชำระหนี้กองมรดกแล้วหากมีทรัพย์มรดกเหลืออยู่โจทก์จะมีส่วนได้เพียงใด ดังนั้นการที่ศาลจะคำนวณส่วนแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์จำเลยได้ ก็จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าทรัพย์สินนั้นเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสระหว่างจำเลยกับเจ้ามรดกเสียก่อน ซึ่งศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยว่าทรัพย์พิพาททั้งหมดเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับจำเลย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ทรัพย์พิพาทบางส่วนเป็นสินส่วนตัวของเจ้ามรดกจึงเป็นเรื่องที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น หาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
ทรัพย์มรดกของผู้ตายยังไม่ได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทเจ้าหนี้กองมรดกอาจบังคับชำระหนี้เต็มจำนวนจากกองมรดกได้ เมื่อจำเลยได้ชำระหนี้ที่กองมรดกจะต้องชำระไปก็ต้องหักออกจากกองมรดกใช้ให้จำเลยก่อน ทรัพย์มรดกส่วนที่เหลือจึงจะแบ่งปันให้ทายาทได้
ทรัพย์มรดกของผู้ตายยังไม่ได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทเจ้าหนี้กองมรดกอาจบังคับชำระหนี้เต็มจำนวนจากกองมรดกได้ เมื่อจำเลยได้ชำระหนี้ที่กองมรดกจะต้องชำระไปก็ต้องหักออกจากกองมรดกใช้ให้จำเลยก่อน ทรัพย์มรดกส่วนที่เหลือจึงจะแบ่งปันให้ทายาทได้