คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แบ่งสินสมรส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3961/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาที่ยังไม่ได้หย่า การจำหน่ายสินสมรสโดยมิได้รับความยินยอม
จำเลยที่ 1 ขายรถยนต์ซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยที่ 2 โดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังเป็นสามีภริยากันอยู่และไม่ปรากฏว่าได้ทำสัญญากันไว้ในเรื่องทรัพย์สินเป็นพิเศษก่อนสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ในเรื่องทรัพย์สินนั้น จึงต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 หมวด 4 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534จะมีการแบ่งสินสมรสได้ต่อเมื่อมีการหย่ากันเท่านั้น และแม้คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะจำหน่ายสินสมรสไปเพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวหรือในกรณีอื่นตามที่มาตรา 1534 บัญญัติไว้กฎหมายก็ให้ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรส เมื่อกฎหมายให้ถือเสมือนว่ารถยนต์ยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรสแล้ว โจทก์ก็ไม่ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกร้องเงินที่ได้จากการขายรถยนต์จากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสหลังหย่า: ทรัพย์สินยังเป็นของร่วมกันจนกว่าจะแบ่ง
ฎีกาของผู้ร้องทั้งสองโต้แย้งเพียงว่า ทรัพย์พิพาทเป็นของผู้ร้องที่ 1 แต่ผู้เดียว ผู้ร้องที่ 2 มิได้โต้แย้งว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องที่ 2 ด้วย ข้อโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องที่ 2จึงยุติเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องที่ 1 กับจำเลยที่ 1 เพราะในชั้นอุทธรณ์ผู้ร้องที่ 2 ก็มิได้โต้แย้งว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องที่ 2 ดังนั้น ผู้ร้องที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องที่ 1 แต่ผู้เดียว ทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องที่ 1 กับจำเลยที่ 1เมื่อผู้ร้องที่ 1 และจำเลยที่ 1 จดทะเบียนหย่ากันโดยยังไม่มีการแบ่งสินสมรส ทรัพย์พิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องที่ 1 และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกัน หาใช่ทรัพย์สินของผู้ร้องที่ 1แต่ผู้เดียวไม่ ผู้ร้องที่ 1 จึงไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3022/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือทรัพย์สินหลังแบ่งสินสมรส การครอบครองทรัพย์สินโดยไม่สุจริต และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
ในชั้นอุทธรณ์ จำเลยอ้างแต่เพียงว่าจำเลยได้ครอบครองทรัพย์พิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาตั้งแต่วันที่โจทก์ยกทรัพย์พิพาทให้จำเลยไม่ได้อ้างว่าจำเลยเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองทรัพย์พิพาททั้งหมด ต่อมาโจทก์จำเลยทะเลาะกันจำเลยไล่โจทก์ออกจากบ้านซึ่งเป็นทรัพย์พิพาทพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทโดยการครอบครองนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทยังเป็นของโจทก์อยู่ จำเลยไม่มีสิทธินำทรัพย์นั้นไปจำหน่ายจ่ายโอน คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยนำทรัพย์พิพาทไปตีใช้หนี้ให้แก่บิดาจำเลยไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นเจ้าของทรัพย์พิพาท โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยออกไปจากบ้านพิพาทและส่งมอบทรัพย์พิพาทให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3022/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือและการครอบครองทรัพย์สินหลังหย่าและการแบ่งสินสมรส ศาลฎีกามิรับวินิจฉัยประเด็นใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์
ในชั้น อุทธรณ์ จำเลยอ้างแต่ เพียงว่า จำเลยได้ ครอบครองทรัพย์พิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาตั้งแต่ วันที่โจทก์ยกทรัพย์พิพาทให้จำเลยไม่ได้อ้างว่าจำเลยเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเป็นฝ่ายครอบครองทรัพย์พิพาททั้งหมด ต่อมาโจทก์จำเลยทะเลาะกัน จำเลยไล่โจทก์ออกจากบ้านซึ่ง เป็นทรัพย์พิพาทชิ้น หนึ่ง พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ ว่าจำเลยเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือทรัพย์พิพาท จำเลยจึงได้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทโดย การครอบครองนั้น จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทยังเป็นของโจทก์อยู่ จำเลยไม่มีสิทธินำทรัพย์นั้นไปจำหน่ายจ่ายโอนได้ คำพิพากษาตาม สัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยนำทรัพย์พิพาทไปตีใช้ หนี้ให้แก่บิดาจำเลยไม่ผูกพันโจทก์ซึ่ง เป็นบุคคลภายนอกและเป็นเจ้าของทรัพย์พิพาท โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยออกไปจากบ้านพิพาทและส่งมอบทรัพย์พิพาทให้แก่โจทก์ได้ .

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3980/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสกรณีคู่สมรสสมรสก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ และการโอนสินสมรสโดยเสน่หา
ในคดีฟ้องขอให้แยกสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย เมื่อคำฟ้องโจทก์บรรยายไว้พอเข้าใจได้ว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างก็มีสินเดิม ดังนี้หากจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีสินเดิมประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ในข้อมีสินเดิมหรือไม่จึงไม่เกิดขึ้น จำเลยไม่มีสิทธินำพยานมาสืบได้ แม้ศาลชั้นต้นให้จำเลยสืบก็เป็นการสืบนอกประเด็น และหากศาลรับวินิจฉัยก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยนอกประเด็นและยังมีประเด็นข้ออื่นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยต่อไป แต่ศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยมาและข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์จำเลยเพียงพอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปเลยทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองพิพากษาใหม่
โจทก์จำเลยที่ 1 สมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 (เดิม) ความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแต่การสมรส กฎหมายลักษณะผัวเมียไม่ได้บัญญัติไว้ว่าให้มีการแยกสินสมรสโดยไม่ได้ฟ้องหย่า แต่ก็ไม่มีบังคับไว้ว่าถ้ายังไม่หย่าจะต้องบริคณห์ทรัพย์สินกันเสมอไปจะแยกมิได้ ฉะนั้นการที่จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1475 และ 1484 มาใช้แก่คู่สมรสซึ่งสมรสกันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 (เดิม)จึงไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงการสมรสหรือความสัมพันธ์ในครอบครัวตามความหมายที่พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4(1) และพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 4ได้ยกเว้นนั้นแต่อย่างใด จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 โดยเสน่หาโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งสินสมรสดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3980/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังสมรสก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ ศาลฎีกาพิพากษากลับให้แบ่งสินสมรสเป็นธรรม
ในคดีฟ้องขอให้แยกสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย เมื่อคำฟ้องโจทก์บรรยายไว้พอเข้าใจได้ว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างก็มีสินเดิม ดังนี้หากจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีสินเดิมประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ในข้อมีสินเดิมหรือไม่จึงไม่เกิดขึ้น จำเลยไม่มีสิทธินำพยานมาสืบได้ แม้ศาลชั้นต้นให้จำเลยสืบก็เป็นการสืบนอกประเด็น และหากศาลรับวินิจฉัยก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยนอกประเด็นและยังมีประเด็นข้ออื่นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยต่อไป แต่ศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยมาและข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์จำเลยเพียงพอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปเลยทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองพิพากษาใหม่ โจทก์จำเลยที่ 1 สมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5(เดิม) ความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแต่การสมรส กฎหมายลักษณะผัวเมียไม่ได้บัญญัติไว้ว่าให้มีการแยกสินสมรสโดยไม่ได้ฟ้องหย่า แต่ก็ไม่มีบังคับไว้ว่าถ้ายังไม่หย่าจะต้องบริคณห์ทรัพย์สินกันเสมอไปจะแยกมิได้ ฉะนั้นการที่จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1475 และ 1484 มาใช้แก่คู่สมรสซึ่งสมรสกันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5(เดิม)จึงไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงการสมรสหรือความสัมพันธ์ในครอบครัวตามความหมายที่พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4(1) และพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 4ได้ยกเว้นนั้นแต่อย่างใด จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 โดยเสน่หาโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งสินสมรสดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5245/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกทรัพย์สินระหว่างสินเดิม สินสมรส และการช่วงทรัพย์ในการแบ่งสินสมรส
ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะแต่งงานกับ ส. บิดามารดาของจำเลยที่ 1ได้ยกบ้านและที่ดินที่ถนนทรัพย์ให้จำเลยที่ 1 หนึ่งแปลง บ้านและที่ดินนั้น จึงเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 เมื่อแต่งงานกันแล้วได้มาอยู่กินที่บ้านหลังนี้จนมีบุตร 3 คน ก็ขายบ้านและที่ดินที่ถนนทรัพย์นำเงินส่วนหนึ่งไปซื้อที่ดินที่ถนนสาธรเหนือและปลูกบ้านอยู่ ต่อมาได้ขายที่ดินและบ้านที่ถนนสาธรเหนือนำเงินส่วนหนึ่งไปรับซื้อฝากที่ดินแปลงพิพาท และผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการได้มาโดยขายสินเดิมไป และนำเงินที่ขายได้มาซื้อ ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ต้องเอามาแทนสินเดิมที่ขายไป แม้ก่อนจะนำเงินมารับซื้อฝากที่พิพาทจำเลยที่ 1 ได้นำเงินที่ได้จากการขายสินเดิมไปซื้อที่ดินที่ถนนสาธรเหนือไว้ชั้นหนึ่งก่อนก็ไม่ทำให้ผลในทางกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป เพราะที่ดินแปลงที่ถนนสาธรเหนือก็ถือว่าเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 นั่นเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1465 ก่อนทำการแก้ไข แต่อาคารโรงเรียนและตึกแถวจำเลยที่ 1 ออกเงินสร้างขึ้นบนที่ดินพิพาทหลังจากที่ที่ดินดังกล่าวตกเป็นของจำเลยที่ 1 แล้วและไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้เงินที่ได้จากการขายที่ดินแปลงที่ถนนสาธรเหนือมาทำการก่อสร้าง จึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสและมรดกก่อน/หลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, อายุความฟ้องร้อง
ฟ้องโจทก์กล่าวว่า สินสมรสระหว่างนาย ห. และนาง ก. มีจำนวนเท่าใด ตกเป็นมรดกของนาง ก. 2 ใน 3 ส่วน คิดเป็นเงินเท่าใด ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ชัดแจ้งว่า ส่วนที่ตกเป็นส่วนแบ่งของนาย ห. เท่ากับ 1 ใน 3 ส่วน และสามารถคำนวณออกมาเป็นเงินได้โดยง่าย ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สามีภรรยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 การแบ่งสินสมรสต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 68 ซึ่งกำหนดว่า ถ้าทั้งสองฝ่ายมีสินเดิมให้แบ่งสินสมรสเป็น 3 ส่วน ชายได้ 2 ส่วน หญิงได้ 1 ส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภรรยาที่อยู่กินก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการคำนวณสิทธิในมรดก
ฟ้องโจทก์กล่าวว่า สินสมรสระหว่างนายห.และนางก.มีจำนวนเท่าใด ตกเป็นมรดกของนางก. 2 ใน 3 ส่วนคิดเป็นเงินเท่าใด ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ชัดแจ้งว่า ส่วนที่ตกเป็นส่วนแบ่งของนายห.เท่ากับ 1 ใน 3 ส่วน และสามารถคำนวณออกมาเป็นจำนวนเงินได้โดยง่าย ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม สามีภรรยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5การแบ่งสินสมรสต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 68ซึ่งกำหนดว่า ถ้าทั้งสองฝ่ายมีสินเดิมให้แบ่งสินสมรสเป็น 3 ส่วนชายได้ 2 ส่วน หญิงได้ 1 ส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5183/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังแยกกันอยู่ แม้ยังไม่ได้หย่า ถือว่าสินสมรสยังไม่ถูกแบ่ง
การที่โจทก์จำเลยยังไม่ได้หย่ากัน เพียงแต่แยกกันอยู่ จึงถือไม่ได้ว่ามีการแบ่งสินสมรสกันแล้ว ฉะนั้นเมื่อที่นาและยุ้งข้าวเป็นสินสมรสจึงต้องแบ่งให้โจทก์และจำเลยได้ส่วนเท่ากันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1533 โจทก์ฟ้องขอหย่ากับจำเลยและขอแบ่งสินสมรส เป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว แม้ราคาทรัพย์สินที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงเล็กน้อยก็ตาม ก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง.
of 5