พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1456/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกรรมสิทธิ์รวม: ศาลไม่อาจใช้คำพิพากษาแทนเจตนาจำเลยในการรังวัดแบ่งแยก หากทำไม่ได้ต้องขายทอดตลาด
โจทก์ฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวม การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยเพื่อทำการรังวัดแบ่งแยกนั้นขัดต่อคำพิพากษาที่ว่าหากการรังวัดแบ่งแยกไม่อาจทำได้ให้ขายเอาเงินแบ่งกัน และขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำขอในส่วนที่ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาท, การแบ่งค่าเสียหาย, ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญา, ความประมาท
โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีโดยเรียกค่าเสียหายทั้งหมดรวมกันมาเป็นจำนวน 247,600 บาท แม้ค่าเสียหายที่เป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมรถจักรยานยนต์ค่าเสื่อมราคา และค่าปลงศพ มีจำนวนรวม 37,600 บาท จะเป็นหนี้ที่โจทก์ทั้งสองมีสิทธิร่วมกันซึ่งไม่อาจแบ่งแยกเป็นหนี้ของโจทก์แต่ละคนได้ แต่ในส่วนค่าขาดไร้อุปการะที่โจทก์ทั้งสองเรียกรวมกันมาจำนวน 210,000 บาท เป็นหนี้ที่สามารถแบ่งแยกเป็นส่วนของโจทก์แต่ละคน โดยโจทก์ทั้งสองสามารถฟ้องเรียกเฉพาะส่วนของตนโดยลำพังได้ ทุนทรัพย์พิพาทชั้นฎีกาจึงต้องถือตามจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยทั้งสาม เมื่อปรากฏว่าค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์แต่ละคนมีจำนวนใกล้เคียงกัน และเมื่อแบ่งแยกค่าเสียหายส่วนนี้ของโจทก์ทั้งสองคนละครึ่งและนำไปรวมกับค่าเสียหายส่วนอื่นแล้ว ทุนทรัพย์พิพาทชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสองแต่ละคนไม่เกินคนละสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยทั้งสามในปัญหาว่าเหตุที่รถชนกันนั้นเป็นความประมาทของจำเลยที่ 1 หรือไม่และจำนวนค่าเสียหายมีเพียงใดซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248วรรคหนึ่ง จึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์ที่ 1 ได้ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการที่ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดต่อชีวิตและความผิดต่อ พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ซึ่งศาลอนุญาตให้โจทก์ที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์ ดังนี้ ข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 ด้วย ส่วนโจทก์ที่ 2 แม้มิได้เป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาดังกล่าวแต่ก็ต้องถือว่าพนักงานอัยการได้ดำเนินคดีอาญาแทนโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นมารดา ว.ผู้ตายในคดีอาญาดังกล่าว ข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่ 2ด้วยเช่นกัน เมื่อคดีอาญาดังกล่าวศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 ซึ่งโจทก์ร่วมอุทธรณ์ฝ่ายเดียว ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว และเมื่อคำพิพากษาอันถึงที่สุดดังกล่าวที่จำเลยทั้งสามอ้างอิงเป็นหลักฐานมาตั้งแต่ในชั้นอุทธรณ์และในชั้นฎีกา เมื่อคำแก้ฎีกาของโจทก์ทั้งสองมิได้โต้แย้งว่าเอกสารท้ายฎีกาไม่ถูกต้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ขับรถยนต์โดยประมาท ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ยุติในคดีอาญาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทจำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่โจทก์ทั้งสองฟ้อง
โจทก์ที่ 1 ได้ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการที่ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดต่อชีวิตและความผิดต่อ พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ซึ่งศาลอนุญาตให้โจทก์ที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์ ดังนี้ ข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 ด้วย ส่วนโจทก์ที่ 2 แม้มิได้เป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาดังกล่าวแต่ก็ต้องถือว่าพนักงานอัยการได้ดำเนินคดีอาญาแทนโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นมารดา ว.ผู้ตายในคดีอาญาดังกล่าว ข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่ 2ด้วยเช่นกัน เมื่อคดีอาญาดังกล่าวศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 ซึ่งโจทก์ร่วมอุทธรณ์ฝ่ายเดียว ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว และเมื่อคำพิพากษาอันถึงที่สุดดังกล่าวที่จำเลยทั้งสามอ้างอิงเป็นหลักฐานมาตั้งแต่ในชั้นอุทธรณ์และในชั้นฎีกา เมื่อคำแก้ฎีกาของโจทก์ทั้งสองมิได้โต้แย้งว่าเอกสารท้ายฎีกาไม่ถูกต้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ขับรถยนต์โดยประมาท ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ยุติในคดีอาญาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทจำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่โจทก์ทั้งสองฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีแชร์และการแบ่งแยกความรับผิดของจำเลยแต่ละคนตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท
โจทก์เป็นหัวหน้าวงแชร์จำเลยที่1และที่2เป็นลูกวงแชร์ของโจทก์จำเลยที่1และที่2ประมูลแชร์และรับเงินที่ประมูลได้ไปแล้วไม่ผ่อนชำระค่าหุ้นแก่โจทก์โจทก์ฟ้องจำเลยที่1และที่2เป็นคดีเดียวกันศาลชั้นต้นรับฟ้องโดยไม่ได้สั่งให้แยกฟ้องจำเลยที่2เป็นอีกคดีและได้พิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ตามที่โจทก์เสนอคำฟ้องต่อศาลจนถึงชั้นพิจารณาของศาลฎีกาเกี่ยวกับการเสนอคำฟ้องต่อศาลคดีนี้เมื่อพิจารณาถึงสภาพแห่งคำฟ้องและชั้นของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา2ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมและเมื่อพิจารณาถึงคำฟ้องปรากฏว่าคดีนี้อยู่ในเขตอำนาจศาลตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยศาลที่จะรับคำฟ้องและตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดเขตของศาลทั้งคดีเกี่ยวเนื่องกันด้วยจึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำศาลอุทธรณ์พิพากษาเฉพาะจำเลยที่2แล้วให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยที่2เป็นคดีใหม่ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่1และที่2ร่วมกันเล่นแชร์และค้างชำระเงินค่าหุ้นแชร์แก่โจทก์ตามฟ้องแต่เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับจำเลยที่1ชำระเงิน139,710บาทและบังคับให้จำเลยที่2ชำระเงิน31,063บาทจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงห้ามจำเลยที่1ฎีกาในข้อเท็จจริงส่วนคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2มีทุนทรัพย์จำนวน31,063บาทศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นข้อเท็จจริงจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยที่2จะฎีกาโต้เถียงให้รับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่1และที่2ต่างรับผิดใช้เงินจำนวนไม่เท่ากันและไม่ได้ให้จำเลยร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมค่าขึ้นศาลและค่าทนายความจึงต้องใช้ตามจำนวนทุนทรัพย์ของจำเลยแต่ละคน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2460/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้จัดการมรดกขอแบ่งแยกโฉนดที่ดินมรดก แม้ผู้รับพินัยกรรมไม่มีตัวตน และการกำหนดค่าทนายความ
โจทก์ฟ้องจำเลยเพื่อขอแบ่งแยกและลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม มิได้ฟ้องทายาทขอให้แบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ผู้รับมรดกตามพินัยกรรมดังนั้น ผู้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมจะมีตัวตนอยู่หรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นพิพาทในคดี และแม้ผู้มีชื่อรับพินัยกรรมจะไม่มีตัวตนก็ตามก็มีผลเพียงทำให้ข้อกำหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับการยกทรัพย์มรดกแก่บุคคลที่ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมสิ้นผลไปเท่านั้นส่วนข้อกำหนดที่ระบุให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมนั้นหาได้เสื่อมเสียไปไม่ เมื่อจำเลยเป็นผู้ยึดถือโฉนดที่ดินตามพินัยกรรมไว้ โจทก์ในฐานะผู้จัดการทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมย่อมมีสิทธิขอแบ่งแยกและใส่ชื่อตนในโฉนดในฐานะผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายได้
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดที่ดินซึ่งเป็นมรดก เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณราคาเป็นเงินได้ ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความเกินอัตราขั้นสูงตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้าย ป.วิ.พ. ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้อง
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดที่ดินซึ่งเป็นมรดก เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณราคาเป็นเงินได้ ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความเกินอัตราขั้นสูงตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้าย ป.วิ.พ. ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการเสียชีวิต: สิทธิเรียกร้องแบ่งแยกและข้อยกเว้นการฎีกา
โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยทั้งสองทำละเมิดเป็นเหตุให้ ส. บุตรโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระเงินแก่โจทก์เกินกว่า 200,000 บาทแต่สิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะจำนวน 187,000 บาท นั้น โจทก์แต่ละคนมีสิทธิเรียกร้องโดยลำพังคนละครึ่งหนึ่ง ส่วนค่ารักษาพยาบาลและค่าปลงศพจำนวน18,700 บาท นั้น แม้โจทก์ทั้งสองจะมีสิทธิร่วมกัน ไม่อาจแบ่งแยกเป็นหนี้แต่ละคนได้แต่เมื่อนำไปรวมกับค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์แต่ละคนดังกล่าวแล้วปรากฎว่าไม่เกิน 200,000 บาท ดังนี้ คดีย่อมต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3139/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินตามตกลงแบ่งแยกและการบังคับคดีต่อบุคคลภายนอก
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมี น.ส.3 หากผู้ร้องทั้งสองกับจำเลยได้แบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดตามคำร้องแล้ว ความตกลงที่ให้แบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดย่อมผูกมัดจำเลยและผู้ร้องทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 ผู้ร้องทั้งสองและจำเลยย่อมได้สิทธิครอบครองที่ดินตามส่วนสัดที่แบ่งกันครอบครองมานั้นโจทก์เป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญจึงมีสิทธิบังคับคดีได้เท่าที่จำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินนั้นไม่มีสิทธิเอาที่ดินส่วนของผู้ร้องทั้งสองมาขายทอดตลาดได้ ถือได้ว่าผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมีสิทธิอื่น ๆ อันอาจร้องขอให้บังคับเหนือที่ดินนั้นได้ตามกฎหมายซึ่งการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้องทั้งสอง ผู้ร้องทั้งสองย่อมมีสิทธิที่จะขอให้กันที่ดินส่วนที่ผู้ร้องทั้งสองครอบครองนั้นก่อนนำที่ดินทั้งแปลงออกขายทอดตลาดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2960/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำซ้อนหลังเลิกสัญญา: ศาลวินิจฉัยว่าการฟ้องเรียกค่าก่อสร้างแต่ละงวดเป็นการแบ่งแยกความรับผิดเป็นส่วนๆ ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้างงวดที่ 5 ตามเอกสารหมาย จ.4 และงานงวดที่ 2 ตามเอกสารหมาย จ.5 ซึ่งจำเลยมิได้ชำระให้โจทก์เป็นการโต้เถียงความรับผิดตามสัญญาและผลงานในงวดดังกล่าว โดยยังไม่ได้เลิกสัญญาต่อกัน แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้างงานงวดที่ 6 ตามเอกสารหมาย จ.4 และงานงวดที่ 3 ตามเอกสารหมาย จ.5 กับเงินที่จำเลยหักไว้ร้อยละสิบของเงินค่างวดเป็นการโต้เถียงความรับผิดตามสัญญาและผลงานคนละงวดคนละตอนกันทั้งเงินร้อยละสิบของเงินค่างวดที่จำเลยหักไว้ โจทก์จะได้รับคืนหรือไม่เมื่อเลิกทำงานกันก่อนที่งานจะเสร็จเรียบร้อย เป็นความรับผิดหลังจากเลิกสัญญาแล้ว จึงเป็นการแบ่งแยกความรับผิดเป็นส่วน ๆ ต่างหากจากกัน เมื่อมีการผิดนัดหรือความรับผิดในส่วนใดโจทก์ย่อมฟ้องส่วนนั้นได้ทันที และฟ้องในส่วนที่จะต้องรับผิดใหม่ได้อีกต่างหาก ฟ้องโจทก์จึงมิใช่เป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันอันจะเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2078/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกที่ดินร่วมกัน: คำขอให้แบ่งแยกที่ดินถือเป็นการขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนและโอนกรรมสิทธิ์ได้
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งสองรับมรดกที่ดินร่วมกันมา โจทก์ทั้งสี่ตกลงให้จำเลยทั้งสองใส่ชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินไว้แทน สิทธิครอบครองและกรรมสิทธิ์ยังเป็นของทายาททุกคนมิใช่ของจำเลยทั้งสอง การที่โจทก์ทั้งสี่มีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสองแบ่งแยกที่ดินให้โจทก์ทั้งสี่หากฟังเป็นความจริง คำขอบังคับคดีก็เป็นการขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำ-ประโยชน์โฉนดที่ดินและการให้ไปในตัว ดังนั้น โจทก์ทั้งสี่จึงไม่จำต้องไปฟ้องขอให้-เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์โฉนดที่ดินและการให้เสียก่อน และศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสี่ตามส่วนที่ได้รับมรดกได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5470/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีแบ่งแยกทรัพย์สินมรดกในกรรมสิทธิ์รวม ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอกันส่วน
ศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งแยกทรัพย์สินส่วนที่เป็นมรดกของอ.ออกจากกรรมสิทธิ์รวมระหว่างจำเลยกับอ.แล้วโดน ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของอ. ถ้าจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย และหากไม่สามารถ แบ่งแยกและโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ได้ ให้จำเลยใช้ราคาทรัพย์มรดกดังนี้โดยเนื้อแท้แห่งการบังคับคดีในเบื้องต้นเป็นเรื่องบังคับให้จำเลยแบ่งแยกทรัพย์สินในระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมด้วยกันแล้วจัดการโอนให้แก่โจทก์เท่านั้น หาได้มีการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยตามมาตรา 287 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่ ผู้ร้องจึงร้องขอกันส่วนโดยอ้างว่า ผู้ร้องเป็นทายาทของอ. มีสิทธิรับมรดกร่วมกับโจทก์คนละครึ่งหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 693/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินหลังแบ่งแยก: ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
ศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยที่ 1 แบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ร. สามีโจทก์ที่ 3 และคู่ความในคดีได้ตกลงแบ่งเขตที่ดินกันครอบครองเป็นส่วนสัดแล้ว โจทก์ทั้งสามจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามส่วนที่แบ่งกัน แม้จำเลยที่ 1จะนำเอาที่ดินพิพาททั้งหมดไปออกโฉนดเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียว ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ทั้งสาม และไม่ใช่การแย่งการครอบครอง จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิที่จะยกที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ทั้งสามให้แก่ พ. คงมีสิทธิยกให้เฉพาะส่วนของตนเท่านั้น เมื่อ พ. ตาย จำเลยที่ 2 ภรรยาผู้รับมรดกของ พ.ก็ไม่มีสิทธิดีกว่าพ. จึงไม่มีสิทธิขายที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ทั้งสามให้กับจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหมดทั้งแปลง คงได้เฉพาะส่วนที่จำเลยที่ 1ได้รับแบ่งตามคำพิพากษาตามยอมและต่อมาตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 เท่านั้น เพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน.