พบผลลัพธ์ทั้งหมด 172 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7967/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางผ่านที่ดินเมื่อที่ดินถูกล้อม และการตีความมาตรา 1350 ที่ต้องพิจารณาการแบ่งแยกที่ดินก่อนหน้า
แม้คำฟ้องโจทก์ที่ 2 และที่ 3 และทนายความไม่ได้ลงชื่อในช่องผู้เรียงพิมพ์ เป็นคำฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ศาลมีอำนาจสั่งให้คืนหรือแก้ไขคำฟ้องได้ซึ่งต่อมาโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ได้แต่งตั้งทนายโจทก์ที่ 1 ผู้ลงลายมือชื่อในคำฟ้องเป็นทนายโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ด้วย อนุโลม ได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้แก้ไขข้อบกพร่องในคำฟ้องโจทก์แล้วจึงเป็นคำฟ้องที่ชอบ
เจ้าของที่ดินที่ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่สามารถใช้สิทธิเรียกร้องผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1350 เป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินอื่นจึงต้องแปลความโดยเคร่งครัดเมื่อที่ดินของจำเลยที่ 1 แบ่งแยกออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 1003 ไปก่อนแล้วต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1003 ที่เหลืออีกครั้งหนึ่ง ทำให้ที่ดินส่วนที่ตกเป็นของโจทก์ทั้งสามใน เวลาต่อมาไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้โดยที่ดินนี้เดิมมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ทั้งสามมีสิทธิเรียกร้องเพื่อผ่านที่ดินเฉพาะแปลงที่แบ่งแยกในครั้งหลังสุดเพื่อออกสู่ทางสาธารณะได้เท่านั้น
เจ้าของที่ดินที่ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่สามารถใช้สิทธิเรียกร้องผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1350 เป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินอื่นจึงต้องแปลความโดยเคร่งครัดเมื่อที่ดินของจำเลยที่ 1 แบ่งแยกออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 1003 ไปก่อนแล้วต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1003 ที่เหลืออีกครั้งหนึ่ง ทำให้ที่ดินส่วนที่ตกเป็นของโจทก์ทั้งสามใน เวลาต่อมาไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้โดยที่ดินนี้เดิมมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ทั้งสามมีสิทธิเรียกร้องเพื่อผ่านที่ดินเฉพาะแปลงที่แบ่งแยกในครั้งหลังสุดเพื่อออกสู่ทางสาธารณะได้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ของผู้รับโอนที่ดินในคดีประนีประนอมยอมความ การมีส่วนร่วมในการแบ่งแยกที่ดินแสดงถึงการเข้ามาในคดี
ที่ดินพิพาทมีชื่อผู้ร้องสอดกับ ย. เจ้ามรดกเป็นเจ้าของรวมกันใน น.ส. 3 หลังจากโจทก์ จำเลย และผู้ร้องสอดได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว ผู้ร้องสอดได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทส่วนของตนให้แก่ ค. ค. จึงเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาทสืบต่อจากผู้ร้องสอด ทั้งในชั้นที่เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินตามคำพิพากษาตามยอม ศาลชั้นต้นก็ให้ ค. เข้าไปมีส่วนร่วมในการนำชี้เพื่อแบ่งแยกด้วย จึงถือว่า ค. ได้เข้ามาในคดีและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้แบ่ง ที่ดินพิพาทตามที่จำเลยเป็นผู้นำชี้กระทบสิทธิของ ค. ค. ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยการครอบครองแทนและการเป็นเจ้าของรวม สิทธิในการแบ่งแยกที่ดินเมื่อมีการครอบครองแทน
เมื่อโจทก์และทายาทอื่นซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกได้ตกลงแบ่งปันมรดก แม้มรดกส่วนที่โจทก์จะได้รับโจทก์ยังไม่เข้าครอบครองในฐานะเจ้าของแต่โจทก์ได้ให้ผู้อื่นครอบครองแทน ซึ่งเปรียบเสมือนโจทก์ได้รับส่วนแบ่งและได้ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยตนเองแล้วการแบ่งปันมรดกจึงเสร็จสิ้นแล้ว โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมรดกที่ บ. มารดาจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้รับการแบ่งปันมาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกโดยไม่มีส่วนของโจทก์ บ. ได้ครอบครองทำประโยชน์โดยโจทก์ไม่เคยเข้ามายุ่งเกี่ยว ต่อมา บ. ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ครอบครองทำประโยชน์ต่อ โจทก์ไม่ฟ้องขอแบ่งมรดกภายใน 1 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความ ดังนี้ตามคำให้การจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีประเด็นเรื่องจำเลยที่ 2 และที่ 3ได้เปลี่ยนลักษณะการยึดถือที่ดินพิพาทอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์อันเป็นการแย่งการครอบครองของโจทก์ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยประเด็นนี้แล้วอ้างเป็นเหตุยกฟ้องจึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์และ บ. มารดาจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท โดย บ. ครอบครองที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ไว้แทน การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาหลังจาก บ. ถึงแก่ความตาย จึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์ด้วย โจทก์จึงยังคงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทอยู่ครึ่งหนึ่ง และมีสิทธิขอแบ่งที่ดินพิพาทตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินก่อนโฉนด: ข้อจำกัดการโอนตาม ป.ที่ดิน ไม่ห้ามการแบ่งแยกที่ดินให้เจ้าของสิทธิเดิม
สัญญาแบ่งมรดกที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยทำขึ้นก่อนมีโฉนดที่ดิน ที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นสิทธิของโจทก์ก่อนมีโฉนดที่ดิน แม้ที่ดินโฉนดที่พิพาทมีข้อความระบุว่าห้ามโอนภายใน 10 ปี ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 58 ทวิ ก็ตาม กรณีก็ไม่ต้องห้ามมิให้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินเฉพาะส่วนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตามป.ที่ดิน มาตรา 58 ทวิ วรรคห้า เพราะไม่ใช่กรณีที่ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินโอนที่ดินให้แก่ผู้อื่น แต่เป็นการฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินแก่เจ้าของที่ดินซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินที่แท้จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1224/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางเดินเมื่อแบ่งแยกที่ดิน: เจ้าของที่ดินแบ่งแยกไม่มีสิทธิเรียกร้องทางเดินเพิ่มบนที่ดินเดิม
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 151470 มีอาณาเขตทิศตะวันออกติดที่ดินโฉนดเลขที่ 181640 ของจำเลย ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดที่ 4383 ซึ่งด้านทิศใต้ของที่ดินแปลงดังกล่าวติดคลองบางกรวยอันเป็นทางสาธารณะ ที่ดินของจำเลยด้านทิศตะวันออกติดทางสาธารณะ ปี 2536 จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมที่ดินของจำเลยด้านทิศใต้เป็นทางเดินกว้างประมาณ 3 เมตรตลอดแนว ออกสู่ทางสาธารณะแก่ที่ดินโฉนดที่ 4383 และที่ดินโฉนดเลขที่ 135087ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดที่ 4383 ซึ่งอยู่ติดคลองบางกรวยอันเป็นทางสาธารณะอยู่แล้ว แม้โจทก์จะมีความจำเป็นต้องเดินทางโดยใช้รถยนต์เป็นพาหนะไม่สะดวกที่จะเดินทางโดยทางเรือ แต่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 บัญญัติให้เจ้าของที่ดินแปลงที่แบ่งแยกเรียกร้องเอาทางเดินได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกกัน ดังนี้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยเปิดทางพิพาทเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะได้อีก
การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดที่ 4383 ซึ่งอยู่ติดคลองบางกรวยอันเป็นทางสาธารณะ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านที่ดินแปลงดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350 ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อเรียกร้องเอาทางเดินในที่ดินของจำเลย เป็นการวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โดยวินิจฉัยจากเป็นข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องและจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)
การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดที่ 4383 ซึ่งอยู่ติดคลองบางกรวยอันเป็นทางสาธารณะ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านที่ดินแปลงดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350 ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อเรียกร้องเอาทางเดินในที่ดินของจำเลย เป็นการวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โดยวินิจฉัยจากเป็นข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องและจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกที่ดินเป็นภาระจำยอม ไม่ถือเป็นการฉ้อฉล โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเพิกถอน
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงหนึ่งต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ขอแบ่งแยกที่ดินแปลงดังกล่าวออกเป็นที่ดินอีกโฉนดหนึ่งเนื้อที่ 18 ตารางวาและจดทะเบียนภารจำยอมเป็นทางเดินให้แก่ที่ดินแปลงอื่น เมื่อทางภารจำยอมที่จำเลยที่ 1 แบ่งแยกออกไปจากที่ดินซึ่งโจทก์ทำสัญญาจะซื้อเป็นทางภารจำยอมที่มีมาแต่เดิม การแบ่งแยกทางภารจำยอมของจำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องโอนขายแก่โจทก์ จึงมิใช่การฉ้อฉลโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนภารจำยอมของจำเลยที่ 1 สัญญาจะซื้อจะขายที่มีการวางมัดจำเป็นการชำระหนี้บางส่วน การฟ้องร้องบังคับตามสัญญาไม่จำต้องใช้เอกสารเป็นหลักฐาน และไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้นำเอกสารมาแสดงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94ศาลจึงสามารถรับฟังคำพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสารได้ คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนภารจำยอมของจำเลยที่ 1 ก่อน แล้วจึงขอให้จำเลยที่ 1 ไปดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์เมื่อศาลมีคำวินิจฉัยไม่ให้เพิกถอนการจดทะเบียนภารจำยอมแล้วศาลจึงไม่จำต้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4305/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น การแบ่งแยกที่ดิน และสิทธิในการผ่านที่ดินของเจ้าของที่ดินติดกัน
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 5400 มี ส.และอ. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ต่อมาโจทก์ และ ร. กับพวกได้ซื้อในส่วนของ อ. โดยจดทะเบียนลงชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดกับพวก แต่มิได้มีการแบ่งแยกโฉนดที่ดิน ต่อมา ร.ได้ฟ้องเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมขอให้แบ่งแยกโฉนด แล้วมีการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาตามยอมให้แบ่ง ที่ดินดังกล่าวเป็น 3 แปลง คือแปลงโฉนดเลขที่ 94774,94775และ 5400 โดยไม่มีการตกลงให้กันส่วนเป็นถนนให้แต่ละแปลงออกสู่ถนนสาธารณะ ต่อมาได้มีการจดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เป็นเหตุให้ที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 94775 และ 5400 ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม และเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางบนที่ดินแปลงที่แบ่งแยกไปโดยมีทางออกสู่ถนนสาธารณะโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 เมื่อทางพิพาทอยู่บนที่ดินของจำเลยตามโฉนดที่ดินเลขที่ 94774 ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินของโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสามนั้น ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ เมื่อปรากฏว่าสภาพถนนลูกรังที่มีและใช้อยู่ในขณะพิพาทขนาดกว้าง 5 เมตรย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าทางพิพาทกว้างประมาณ 5 เมตร พอควรแก่ความจำเป็นของโจทก์แล้ว หาจำต้องมีไหล่ทางข้างละ1 เมตร ไม่ เมื่อโจทก์มีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลย โดยอำนาจของกฎหมายแล้ว จำเลยก็ไม่จำต้องไปจดทะเบียนทางจำเป็น ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้ทางพิพาทจะตกเป็นทางจำเป็นตามกฎหมาย แต่กรรมสิทธิ์ที่จะครอบครองดูแลทางพิพาทก็ยังเป็นของจำเลย การที่มีผู้นำดินลูกรังมากองในทางพิพาท แม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1349 วรรคสาม บัญญัติให้สิทธิผู้มีสิทธิจะผ่านทางถ้าจำเป็นสามารถสร้างถนนผ่านทางได้ โดยจำเลยไม่มีสิทธิขัดขวางการปรับปรุงรักษาทางพิพาทนั้น ก็ตาม แต่กฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติถึงวิธีทำทางผ่านจะต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็น ทั้งต้องคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดด้วย ดังนั้น การนำดินลูกรังมากองในทางพิพาท เป็นจำนวนมากพอสมควรโดยมิได้บอกกล่าวให้จำเลยทราบ อาจมีการฉวยโอกาสเกลี่ยดินลูกรังขยายทับหน้าดินริมทางเพื่อให้สภาพผิวถนนลูกรังกว้างขึ้น จำเลยจึงมีสิทธิขัดขวางได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองยังคงมีผลผูกพันถึงที่ดินที่แบ่งแยก หากไม่มีความยินยอมจากผู้รับจำนอง
แม้จะมีการแบ่งแยกที่ดินที่จำนองออกเป็นหลายแปลงก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองได้ตกลงยินยอมให้จำเลยทำการแบ่งแยกที่ดินที่จำนองออกไปโดยปลอดจากการจำนอง ต้องถือว่าการจำนองยังคงครอบไปถึงส่วนเหล่านั้นหมดทุกส่วนที่แบ่งแยกออกไปด้วยกันอยู่นั่นเอง ตามป.พ.พ.มาตรา 717 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะขอให้บังคับจำนองแก่ที่ดินทุกแปลงที่แบ่งแยกออกไปจากที่ดินที่จำนองอย่างทรัพย์ที่จำนองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8405/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการรวมและแบ่งแยกที่ดินที่กระทบต่อภาระจำยอมสาธารณูปโภค และความรับผิดทางอาญาต่อเจ้าหน้าที่
จำเลยที่ 1 และที่ 2 จัดสรรที่ดินโดยมีเจตนาจะจัดให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 เป็นถนนอันเป็นสาธารณูปโภค จึงเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 มาแต่ต้น ที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 ก่อนมีการรังวัดเพื่อรวมและแบ่งแยกโฉนดจึงเป็นถนนที่เป็นทางภาระจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ข้อ 30 เมื่อการรวมกรรมสิทธิ์และการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดดังกล่าวมีผลทำให้เนื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 ส่วนที่เป็นถนนอยู่เดิมขาดหายไปเป็นการทำให้ภาระจำยอมเปลี่ยนแปลงไปและเป็นการกระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการรวมที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 เข้ากับที่ดินแปลงอื่น และขอให้เพิกถอนการแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่6534 เฉพาะส่วนที่นำมารวมกับที่ดินแปลงย่อย 7 แปลง และกลายเป็นที่ดินแปลงใหม่โฉนดเลขที่ 106708 ได้
ในคดีส่วนอาญา โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีนี้ว่าร่วมกับจำเลยที่ 3 ในคดีดังกล่าวสนับสนุนจำเลยอื่นในคดีนั้นอีก 6 คน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ขอให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 157 ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีนั้นจึงมีว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกับจำเลยที่ 3 ในคดีดังกล่าวสนับสนุนให้จำเลยอื่นกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157 หรือไม่ ข้อเท็จจริงที่นำไปสู่การวินิจฉัยว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 ที่เป็นถนนเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่นั้นจึงไม่ใช่ประเด็นโดยตรงในคดีดังกล่าว การพิพากษาคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งไม่จำต้อง
ในคดีส่วนอาญา โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีนี้ว่าร่วมกับจำเลยที่ 3 ในคดีดังกล่าวสนับสนุนจำเลยอื่นในคดีนั้นอีก 6 คน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ขอให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 157 ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีนั้นจึงมีว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกับจำเลยที่ 3 ในคดีดังกล่าวสนับสนุนให้จำเลยอื่นกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157 หรือไม่ ข้อเท็จจริงที่นำไปสู่การวินิจฉัยว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 ที่เป็นถนนเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่นั้นจึงไม่ใช่ประเด็นโดยตรงในคดีดังกล่าว การพิพากษาคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งไม่จำต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: การแบ่งแยกที่ดินเพื่อให้มีทางออกสู่ทางสาธารณะ และการกำหนดความกว้างของทางที่เหมาะสม
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าเดิมที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงตามสำเนาโฉนดที่ดินเลขที่7836และ7838เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข1เป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินโฉนดเลขที่1694ของจำเลยซึ่งจำเลยได้แบ่งแยกขายให้ผู้อื่นแล้วโอนต่อมาจนถึงโจทก์จำเลยได้ตกลงกับผู้ซื้อให้มีถนนยาวตลอดแนวที่ดินของจำเลยกว้างประมาณ3เมตรเพื่อออกสู่ทางสาธารณะปรากฏตามแผนที่ทางพิพาทเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข4ทางดังกล่าวเป็นทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขอให้บังคับจำเลยให้จดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดเลขที่1694ทางด้านทิศใต้ซึ่งติดกับที่ดินของโจทก์มีความกว้าง3เมตรยาวตลอดแนวที่ดินให้เป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่7836และ7838ดังนี้เมื่อพิจารณาคำฟ้องของโจทก์คำขอท้ายฟ้องภาพถ่ายโฉนดที่ดินเลขที่7836และ7838ของโจทก์เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข1แผนที่ทางพิพาทเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข4และภาพถ่ายโฉนดที่ดินเลขที่1694ของจำเลยเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข2ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องแล้วปรากฏว่าเมื่อแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่1694ของจำเลยแล้วมีจำนวนทั้งหมด17แปลงและที่ดินโฉนดเลขที่7836และ7838ของโจทก์2แปลงถูกที่ดินแปลงอื่นที่แบ่งแยกดังกล่าวอีก15แปลงล้อมอยู่ทุกด้านคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่กล่าวอ้างว่าที่ดินของจำเลยที่แบ่งแยกเป็นเหตุให้ที่ดิน2แปลงซึ่งต่อมาได้โอนมาเป็นของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะแล้วโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน2แปลงดังกล่าวย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยเปิดทางจำเป็นบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1350คดีจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่าที่ดินโฉนดเลขที่1694ของจำเลยกว้าง3เมตรยาวตลอดแนวที่ดินเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่7836และ7838ของโจทก์หรือไม่ ที่ดินของโจทก์เดิมเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินของจำเลยต่อมาเมื่อจำเลยแบ่งแยกขายที่ดิน2แปลงของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะดังนั้นการที่จำเลยแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่1694ออกเป็นที่ดินแปลงย่อยรวมทั้งที่ดินของโจทก์เป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินอันเป็นทางจำเป็นบนที่ดินโฉนดเลขที่1694ของจำเลยซึ่งอยู่ติดทางสาธารณะเพื่อออกสู่ทางสาธารณะได้โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1350 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1350บัญญัติให้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นโดยผลของกฎหมายโจทก์มีสิทธิแต่เพียงให้จำเลยเปิดทางจำเป็นให้เท่านั้นโดยจำเลยไม่จำต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก