คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แพทย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1148/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย: พยานหลักฐานทางการแพทย์และข้อความเบิกความที่ไม่สอดคล้องกัน
แพทย์ผู้ตรวจบาดแผลผู้เสียหายยืนยันว่า บริเวณที่กระดูกสันหลังผู้เสียหายหักไม่ใช่บริเวณที่ถูกตี การที่กระดูกสันหลังหักเข้าใจว่าเกิดจากการล้มก้นกระแทกพื้นทำให้ข้อต่อกระดูกสันหลังได้รับการกระแทก และในวันเกิดเหตุก็ตรวจศีรษะผู้เสียหายซึ่งผู้เสียหายบอกว่าถูกตีแต่ไม่ปรากฏร่องรอยการถูกตีอย่างชัดเจน ถ้าผู้เสียหายถูกตีถึงขนาดทำให้กระดูกสันหลังหักก็จะต้องมีรอยฟกช้ำเห็นได้โดยชัดเจน เมื่อไม่ปรากฏร่องรอยดังกล่าว จึงฟังไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บจากการถูกจำเลยทำร้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4923/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินได้จากการรักษาผู้ป่วยนอกเวลาของแพทย์ประจำโรงพยาบาล ถือเป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ ตามมาตรา 40(6)
โจทก์ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะเป็นแพทย์ประจำที่โรงพยาบาลล. ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน และยังได้รับเงินจากการรักษาคนไข้ในโรงพยาบาล ล. นอกเวลาทำงานปกติ รายได้ในส่วนหลังจะต้องแบ่งเข้าโรงพยาบาล ล. ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 อย่างสูงไม่เกินร้อยละ 80จึงเป็นรายได้ที่โจทก์ได้รับจากคนไข้ ที่โจทก์รับมาทำการรักษาโดยโจทก์ใช้สถานที่ของโรงพยาบาล ล. มิใช่เงินที่โรงพยาบาลจ่ายให้เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้างแก่โจทก์ ดังนี้ จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40(6)มิใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดประเภทเงินได้จากการรักษาพยาบาลนอกเวลาทำการของแพทย์ลูกจ้าง: เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40(6)
โจทก์ได้ รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลป แผนปัจจุบันในสาขาเวชกรรมชั้นหนึ่งเป็นลูกจ้างโรงพยาบาล ล. ได้ รับค่าจ้างเป็นรายเดือน โดย นายจ้างมีข้อตกลงให้โจทก์มีสิทธิประกอบอาชีพอิสระส่วนตัวได้ โดย เสรีนอกเวลาทำงานและมีข้อตกลงพิเศษให้โจทก์ใช้สถานที่โรงพยาบาลประกอบวิชาชีพอิสระเป็นคลีนิคส่วนตัวนอกเวลาทำงานได้ ด้วย โดย แบ่งรายได้เข้าโรงพยาบาลตาม อัตราที่กำหนดดังนี้ เงินที่โจทก์ได้ รับจากคนป่วยที่มารักษาที่โรงพยาบาล ล.นอกเวลาทำการปกติของโจทก์ จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้ รับมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระ มิใช่เป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากรมาตรา 40(1) แต่ เป็นเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40(6).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินได้จากการรักษาผู้ป่วยนอกเวลาทำงานของแพทย์เป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ ไม่ใช่ค่าจ้าง
โจทก์เป็นลูกจ้างของโรงพยาบาล ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนและทางโรงพยาบาลตกลงให้โจทก์เปิดคลีนิกพิเศษนอกเวลาทำการปกติในโรงพยาบาลโดยแบ่งรายได้ให้โรงพยาบาล เงินที่โจทก์ได้รับจากคนป่วยที่มาทำการรักษาที่โรงพยาบาลนอกเวลาทำการปกตินี้มิใช่เงินที่โรงพยาบาลจ่ายให้เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้างแก่โจทก์ จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระ มิใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แต่เป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินได้จากการรักษาพยาบาลนอกเวลาทำการของแพทย์ลูกจ้าง จัดเป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ
โจทก์เป็นลูกจ้างของโรงพยาบาล ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนและทางโรงพยาบาลตกลงให้โจทก์เปิดคลีนิก พิเศษ นอกเวลาทำการปกติในโรงพยาบาลโดยเมื่อได้เงินมาก็แบ่งรายได้ให้โรงพยาบาล เงินที่โจทก์ได้รับจากคนป่วยของโจทก์เองที่มาทำการรักษาที่โรงพยาบาลนอกเวลาทำการปกตินี้มิใช่เงินที่โรงพยาบาลจ่ายให้เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้างแก่โจทก์ จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระมิใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แต่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยความสามารถในการต่อสู้คดีของจำเลย: ศาลไม่ต้องเรียกแพทย์หากไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้
การที่ศาลจะเรียกพนักงานแพทย์มาให้ถ้อยคำหรือให้การถึง ผลการตรวจในกรณีที่มีเหตุควรเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 14 ก็ต่อเมื่อพนักงานแพทย์ได้ทำการตรวจเสร็จและสามารถวินิจฉัยโรคได้. แต่เมื่อพนักงานแพทย์ได้ตรวจร่างกายของจำเลยหลายครั้งแล้ว แต่ไม่สามารถให้คำวินิจฉัยโรคได้จึงไม่มีความจำเป็นอย่างใดที่ศาลจะต้องเรียกให้แพทย์ผู้ตรวจมาให้ถ้อยคำอีก ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นนัดพร้อมกลับปรากฏข้อเท็จจริง ต่อหน้าศาลว่า จำเลยสามารถเข้าใจคำถามและตอบได้ตรงคำถาม ไม่มีกิริยาหรืออาการแสดงว่าจำเลยวิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป จึงชอบด้วย กระบวนพิจารณาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะเจ้าพนักงาน: แพทย์/ครูปฏิบัติงานโครงการพัฒนาท้องถิ่น vs. กรรมการสภาตำบล
แพทย์ประจำตำบลและครูประชาบาลมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้ว การที่นายอำเภอซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชามีคำสั่งแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานตามโครงการพัฒนาท้องถิ่น และช่วยให้ประชาชนในชนบทมีงานทำในฤดูแล้ง พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นการปฏิบัติราชการของอำเภอ เช่นนี้ ถือได้ว่าแพทย์ประจำตำบลและครูประชาบาลปฏิบัติงานในฐานะเป็นเจ้าพนักงาน
ราษฎรได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาตำบล เมื่อไม่มีกฎหมายระบุให้มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา แม้นายอำเภอมีคำสั่งแต่งตั้งให้ไปปฏิบัติราชการของอำเภอและราษฎรผู้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาตำบลได้ปฏิบัติงานดังกล่าวแล้ว ก็หาทำให้มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพในคดีขับรถประมาททำให้บาดเจ็บสาหัส ศาลพิจารณาจากบาดแผลและความเห็นแพทย์ แม้ฟ้องหลังเกิดเหตุไม่ถึง 20 วัน
ในคดีที่โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บสาหัสโดยป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาและประกอบกรณียกิจไม่ได้ตามปกติเกินกว่า 20 วัน แม้ผู้ว่าคดีจะนำจำเลยมาฟ้องหลังจากเกิดเหตุได้ 9 วัน ซึ่งยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงแน่นอนว่าผู้เสียหายจะป่วยเจ็บหรือประกอบกรณียกิจไม่ได้เกินกว่า 20 วันหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อพิเคราะห์ฟ้องประกอบบันทึกบาดแผลตามรายงานชันสูตรของแพทย์ ซึ่งประมาณการรักษาไว้เป็นเวลา 45 วัน ซึ่งต้องถือว่าจำเลยได้รับสารภาพโดยพิเคราะห์ข้อเท็จจริงตามฟ้องทั้งหมดนี้ด้วยแล้ว ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยซึ่งให้การรับสารภาพตามฟ้องไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สถานะเจ้าพนักงานทางการแพทย์ในการชันสูตรบาดแผลและการหมิ่นประมาท
รายงานชันสูตรบาดแผลนั้นไม่มีกฎหมายบังคับว่า ต้องให้เจ้าพนักงานเป็นผู้ทำ โจทก์จึงต้องนำสืบให้ศาลเห็นว่าผู้ทำเป็นเจ้าพนักงาน ต่างกับการชันสูตรพลิกศพ ป.วิ.อ. มาตรา 150 ได้บัญญัติไว้ ซึ่งเมื่อนายแพทย์ได้ทำการชันสูตรพลิกศพด้วย ศาลย่อมรับรู้ว่านายแพทย์เป็นเจ้าพนักงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานรีดลูกโดยแพทย์ที่เห็นแก่สินจ้าง: ใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
จำเลยเป็นนายแพทย์ทำการรีดลูกโดยเห็นแก่สินจ้างรางวัล เหตุเกิดขณะใช้กฎหมายลักษณะอาญา แต่ขณะศาลพิพากษานั้น มีประมวลกฎหมายอาญาใช้แล้ว จำเลยจึงมีผิดเพียงตามกฎหมายลักษณะอาญา ม.261 ส่วนที่โจทก์ขอให้ลงโทษทวีขึ้นอีก 1 ใน 3 ตามกฎหมายลักษณะอาญา ม.262 โดยจำเลยเป็นแพทย์และทำโดยเห็นแก่สินจ้างรางวัลนั้น กฎหมายที่ใช้ในการกระทำความผิดคือ ประมวลกฎหมายอาญา ไม่มีบัญญัติให้ลงโทษผู้กระทำผิดฐานรีดลูกซึ่งเป็นแพทย์หรือเป็นคนทำโดยเห็นแก่สินจ้างรางวัลทวีขึ้นดังที่บัญญัติในกฎหมายลักษณะอาญา ม.262 จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตามความใน ม.3 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ไม่ลงโทษจำเลยทวีขึ้น
of 4