คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2299/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดทางแพ่ง: การรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้ต้องชดใช้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบแบบแผนที่ราชการกำหนดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยต้องรับผิดคืนเงินให้โจทก์ฟ้องของโจทก์ไม่ใช่การฟ้องคดีเพื่อติดตามเอาทรัพย์สินของโจทก์คืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือเงินของโจทก์ไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์ใช้สิทธิเช่นนั้นเว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิแต่เป็นการฟ้องคดีให้จำเลยรับผิดในการละเมิดของจำเลยต่อโจทก์ตามมาตรา420ซึ่งอยู่ในบังคับอายุความ1ปีตามมาตรา448วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดทุนทรัพย์ฎีกา: คดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาทในชั้นฎีกา ทำให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเป็นที่รับไม่ได้
โจทก์ทั้งสองต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคนฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดและการรับประกันภัยค้ำจุนซึ่งทำให้โจทก์แต่ละคนเสียหาย แม้จะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยถึงวันฟ้องให้แก่โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 คนละไม่ถึงสองแสนบาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน การที่จำเลยทั้งสองฎีกาให้กลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นพิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรกที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า คนขับรถของโจทก์ที่ 2 มีส่วนประมาทด้วยค่าต่อตัวถังกับห้องเย็นรถยนต์บรรทุกของโจทก์ที่ 2 ไม่เกิน100,000 บาท และรถยนต์ของโจทก์ที่ 2 ไม่เสื่อมสภาพนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแพ่งของผู้ค้ำประกัน ยึดตามอายุความอาญาเมื่อมูลหนี้เกิดจากความผิดทางอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน ส. ดังนั้นจำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่ง ส. มีต่อโจทก์ รวมทั้งเรื่องอายุความที่โจทก์อาจฟ้อง ส.เป็นคดีแพ่งขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694 การที่โจทก์จะฟ้องให้ ส. ชดใช้เงินที่ยักยอกคืนโจทก์นั้นเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดซึ่งเกิดจากการกระทำความผิดฐานยักยอกของ ส. ตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีอายุความที่จะต้องฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายใน 10 ปีนับแต่วันกระทำความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3)กำหนดอายุความทางอาญาจึงยาวกว่าอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก ที่กำหนดไว้เพียง 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงต้องเอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาใช้บังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสองโจทก์จึงฟ้องจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกัน ส. ได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ ส. กระทำความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4246/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ฟ้องเคลือบคลุมที่ไม่ตรงกับข้อต่อสู้เดิม และการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทางแพ่ง
แม้จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม แต่ประเด็นที่จำเลยที่ 2 กล่าวในอุทธรณ์ไม่ตรงกับที่เคยให้การไว้ ปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ข้อนี้จึงมิใช่ข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น และมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยจึงชอบแล้ว การวินิจฉัยพยานหลักฐานในทางแพ่งเป็นการชั่งน้ำหนักพยานทั้งสองฝ่ายว่าฝ่ายใดมีน้ำหนักให้เชื่อฟังมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจึงชี้ขาดให้ฝ่ายนั้นชนะคดี โจทก์มี ด. เจ้าหน้าที่ของโจทก์มาเบิกความเป็นพยานประกอบเอกสารได้ความสอดคล้องตรงกันแม้โจทก์ไม่ได้ตัวลูกค้าของโจทก์มาเบิกความเป็นพยาน ก็มีน้ำหนักน่าเชื่อกว่าฝ่ายจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่มีพยานมานำสืบแต่ประการใดเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 600/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิดและการยกอายุความของผู้ค้ำประกัน คดีนี้ใช้อายุความอาญามากกว่าอายุความแพ่ง
โจทก์ฟ้องบรรยายแสดงสภาพข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ลูกจ้างโจทก์ยักยอกเงินค่าขายสินค้าของโจทก์ไป เป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายในมูลละเมิดอันเป็นความผิดมีโทษทางอาญา มีอายุความ 10 ปี กำหนดอายุความทางอาญายาวกว่าอายุความละเมิด จึงต้องเอาอายุความที่ยาวกว่ามาบังคับแก่คดี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง โจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้นกำหนด 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1ไม่อาจยกอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 448 วรรคแรก ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้จำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจยกอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้ได้เช่นเดียวกันจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การเพียงว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมไม่บรรยายให้ชัดแจ้งว่าวันเวลาใดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าฟ้องโจทก์เกี่ยวกับค่าเสียหายเคลือบคลุม จึงเป็นที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1963/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานนอกประเด็น และการประวิงคดีในคดีแพ่ง
จำเลยทั้งสองให้การแต่เพียงว่า ไม่เคยขายตั๋วสัญญาใช้เงินกับโจทก์ไม่เคยทำสัญญาใด ๆ กับโจทก์ เอกสารท้ายคำฟ้องเป็นเอกสารปลอม จำเลยทั้งสองมิได้ให้การต่อสู้เกี่ยวกับเรื่องดอกเบี้ย หรือการซื้อขายตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ถูกต้องหรือผิดแบบประเพณีการค้าแต่อย่างใด การที่จำเลยทั้งสองขอให้ส่งประเด็นไปสืบผู้จัดการธนาคารแห่งประเทศไทยสาขาขอนแก่นในเรื่องการคิดดอกเบี้ยและวิธีการซื้อขายตั๋วสัญญาใช้เงิน จึงเป็นการขอสืบพยานนอกประเด็น พฤติการณ์ของจำเลยเห็นได้ชัดว่าเป็นการประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6061/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิดทางแพ่ง และความรับผิดร่วมกันของจำเลยหลายคนในกรณีละเมิด
นายสุรพลเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ในสังกัดของจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์โดยสารของจำเลยที่ 2 ในทางการที่จ้างคนทั้งสองต่างขับรถด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถยนต์ทั้งสองคันชนกัน รถยนต์ที่จำเลยที่ 3ขับเสียหลักแฉลบไปชนรถยนต์ของโจทก์ซึ่งนายสุภาพเป็นผู้ขับได้รับความเสียหาย เกิดเหตุแล้วนายสุภาพได้รายงานให้เลขาธิการสำนักงานของโจทก์ทราบเหตุมีใจความสำคัญว่า "ได้มีรถยนต์โดยสารประจำทางสายขอนแก่น - หล่มสัก หมายเลขทะเบียน 10 - 1806 ขก. ชนกับรถยนต์บรรทุกเล็กราชการของกรมป่าไม้ หมายเลขทะเบียน น - 2691 ชย...ฯลฯ... แล้วรถยนต์โดยสารประจำทางเสียหลักพุ่งมาชนรถยนต์ราชการของ ศปอ. หมายเลขทะเบียน 2 ง - 9601 ซึ่งวิ่งมาตามเลนปกติด้วยความเร็วประมาณ 50 กม/ชม. เนื่องจากสภาพถนนไม่ดี... รายละเอียดปรากฏตามภาพถ่ายและแผนผังแสดงสถานที่เกิดเหตุที่แนบมาพร้อมนี้" และยังได้รายงานด้วยว่าได้แจ้งความต่อร้อยเวรประจำสถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุเป็นหลักฐานเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายต่อไปแล้ว รายงานของนายสุภาพระบุชัดว่ารถยนต์คันหมายเลขทะเบียน น - 2691 ชัยภูมิ เป็นรถยนต์ราชการของจำเลยที่ 1 ซึ่งตามปกติจำเลยที่ 1 ย่อมจะต้องใช้รถยนต์ดังกล่าวในราชการ รายงานระบุด้วยว่ารถยนต์ของโจทก์แล่นอยู่ในทางเดินรถตามปกติ และได้แจ้งความเป็นหลักฐานในการเรียกร้องค่าเสียหายแล้ว เป็นการแสดงว่ารถยนต์อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายกระทำผิด โจทก์จึงทราบถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าคือจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่เลขาธิการสำนักงานของโจทก์ทราบรายงานของนายสุภาพ คือวันที่ 15เมษายน 2528 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 เกิน 1 ปี นับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ส่วนคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2ที่ 3 รายงานของนายสุภาพมิได้ระบุว่าคนขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุคือใครและเป็นลูกจ้างกระทำในทางการที่จ้างของบุคคลผู้ใด ปรากฏว่าเลขาธิการสำนักงานของโจทก์ทราบชื่อคนขับและนายจ้างของคนขับรถยนต์โดยสารเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2528 คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ต้องร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
จำเลยที่ 3 และนายสุรพลผู้ขับรถของจำเลยที่ 1 ขับรถคนละคันแล่นสวนทางกันโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถชนกันและรถยนต์ของโจทก์เสียหาย เป็นกรณีต่างคนต่างกระทำละเมิด แต่ละฝ่ายต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นตามสัดส่วนของความร้ายแรงแห่งการกระทำละเมิดของฝ่ายตน มิใช่ร่วมกันรับผิด ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 หรือนายสุรพลฝ่ายใดมีความประมาทเลินเล่อยิ่งกว่ากัน จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงรับผิดในจำนวนเงินค่าเสียหายแต่เพียงกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินค่าเสียหายทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2158/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำเนาเอกสารทางแพ่ง: การรับฟังพยานหลักฐานจากสำเนาที่ไม่ใช่การถ่ายเอกสาร
ป.วิ.พ. มาตรา 90 วรรคแรก มิได้บังคับว่า สำเนาเอกสารที่ส่งให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะต้องเป็นเอกสารที่ถ่าย จากต้นฉบับ ดังนั้น สำเนาเอกสารที่ทนายโจทก์พิมพ์ข้อความลงในแบบพิมพ์สัญญากู้ซึ่งเป็นแบบพิมพ์อย่างเดียวกับต้นฉบับสัญญากู้ และมีข้อความเช่นเดียวกับสัญญากู้เงินต้นฉบับ โดยทนายโจทก์ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง ก็ถือเป็นสำเนาเอกสารตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้วเมื่อโจทก์ได้แนบสำเนาเอกสารดังกล่าวมาท้ายฟ้องและส่งให้จำเลยพร้อมสำเนาคำฟ้องแล้ว สัญญากู้เงินต้นฉบับ จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5489/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาในทางแพ่งต้องพิจารณาจากความประมาทเลินเล่อ ไม่ใช่หน้าที่ควบคุมดูแล
ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาในทางแพ่งจะต้องเป็นไปตามหลักเรื่องละเมิดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 420 อันได้แก่การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการปฏิบัติหน้าที่แล้วโดยมิได้ประมาทเลินเล่อ จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินให้โจทก์ การที่ อ. กระทำการทุจริตรับเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวได้เป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบของโจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้เงินให้โจทก์โดยจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้บังคับบัญชาโดยตรงของจำเลยที่ 4 รู้แล้วว่าจำเลยที่ 4 จ่ายเงินโดยไม่ปฏิบัติตามระเบียบ แต่ปล่อยปละละเลยให้จำเลยที่ 4 กระทำเช่นนั้นจึงต้องร่วมรับผิดในเงินที่จำเลยที่ 4 เป็นผู้จ่ายด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2102/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าไฟฟ้า: สัญญาแพ่งและอายุความทั่วไป
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระราคาค่ากระแสไฟฟ้า โดยอ้างว่าจำเลยเบียดบังให้เครื่องวัดหน่วยกระแสไฟฟ้าลดน้อยลงกับเรียกค่าปรับตาม สัญญาที่จำเลยได้ ผิดเงื่อนไขการใช้ ไฟฟ้าตาม ที่ตกลง ไว้กับโจทก์ ไม่ใช่เป็นการฟ้องจำเลยว่าละเมิดต่อ โจทก์และไม่มีกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้ อายุความทั่วไปบังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164ซึ่ง มีอายุความ 10 ปี.
of 5