คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แสวงหากำไร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1340/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถาบันวิจัยฯ ไม่มีวัตถุประสงค์แสวงหากำไร ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีเลิกจ้างเพราะเกษียณอายุ
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการริเริ่ม วิจัย สนับสนุน ฝึกอบรมและให้บริการเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แม้ในการให้บริการจะเรียกเก็บเงินจากผู้ขอบริการบ้างก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงค่าใช้จ่ายซึ่งสถาบันฯ ได้ออกไปจริงกับผู้ขอบริการ และบางกรณีถ้าผลการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม สถาบันฯ ก็อาจไม่คิดค่าบริการได้ ดังนี้ไม่ถือว่ากิจการของจำเลยมีวัตถุประสงค์ในการแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2802-2805/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการคุ้มครองแรงงาน: องค์การแก้วแสวงหากำไร ไม่ได้รับการยกเว้นตามประกาศมหาดไทย และข้อบังคับกองทุนบำเหน็จไม่ขัดแย้ง
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การแก้ว มาตรา 6 ระบุวัตถุประสงค์ขององค์การแก้วจำเลยไว้ว่า จัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมแก้วและวัตถุทนไฟ ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับอุตสาหกรรมแก้วและวัตถุทนไฟ มาตรา 7 ยังให้อำนาจแก่จำเลยว่า ทำการค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของจำเลยร่วมการงานหรือสมทบกับบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ของจำเลยรวมทั้งการเข้าเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือถือหุ้นในบริษัทจำกัด หรือนิติบุคคลใด ๆ และรับเป็นสาขาตัวแทน ตัวแทนค้าต่าง อันเกี่ยวกับกิจการตามวัตถุประสงค์ของจำเลย ดังนี้ องค์การแก้วจำเลยมิได้จัดตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์เฉพาะในทางราชการทหาร หรือเพื่อช่วยเหลือประชาชนเท่านั้น แต่ยังมีวัตถุประสงค์ประกอบการในทางค้าแสวงหากำไรทางเศรษฐกิจด้วย การจ้างงานของจำเลยจึงมิได้รับการยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่มิให้ใช้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
ข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของจำเลยที่กำหนดว่าพนักงานที่ออกจากงานมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จแต่เพียงอย่างเดียว และถือว่าเป็นเงินค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานด้วย อันเป็นข้อบังคับที่มีผลไม่ให้จ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานซึ่งถือเป็นกฎหมายส่วนหนึ่ง จึงไม่มีผลบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2488-2492/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งค่าชดเชยและการพิสูจน์วัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรของกิจการประปานครหลวง
ฟ้องแย้งว่าจำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์ประเภท 2 ให้แก่โจทก์แล้วโดยตามข้อบังคับของจำเลยให้ถือว่าเป็นการจ่ายค่าชดเชยด้วย ต่อมาจำเลยทราบว่าข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์เป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินกองทุนสงเคราะห์ ขอให้บังคับโจทก์คืนเงินดังกล่าวที่รับไปให้แก่จำเลย ดังนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องเกี่ยวกับค่าชดเชยตามคำฟ้องเดิม จึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม
กิจการของการประปานครหลวงเป็นกิจการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไร ไม่ได้รับยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่จะไม่อยู่ในบังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2189-2190/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเคหะแห่งชาติมีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรหรือไม่ และต้องอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายคุ้มครองแรงงานหรือไม่
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ข้อ 28 กำหนดว่า "ในการดำเนินกิจการของการเคหะแห่งชาติให้คำนึงถึงประโยชน์ของรัฐและประชาชน" เป็นหลักของรัฐวิสาหกิจทั้งหลายของรัฐควรต้องคำนึงอยู่แล้ว หาใช่เป็นข้อแสดงวัตถุประสงค์ว่าไม่ประสงค์เพื่อแสวงกำไรอย่างเด็ดขาดไม่ กิจการของการเคหะแห่งชาติจำเลยจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2153/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กิจการสาธารณูปโภคย่อมมีวัตถุประสงค์แสวงหากำไร แม้เป็นรัฐวิสาหกิจ พนักงานยังคงเป็นลูกจ้าง
การดำเนินกิจการสาธารณูปโภคนั้น มิใช่ว่าจะเป็นการดำเนินกิจการที่มิได้มุ่งหวังกำไรโดยเด็ดขาดหรือเป็นกิจการที่ให้เปล่า กิจการของการประปานครหลวงอาจมีได้ทั้งกำไรและขาดทุน นอกจากนี้ในด้านรายได้กฎหมายก็ได้กำหนดไว้ว่า เมื่อมีเงินเหลือจากค่าใช้จ่าย ค่าสัมภาระเงินสงเคราะห์ ประโยชน์ตอบแทน โบนัส เงินสำรอง และเงินลงทุนแล้วให้นำส่งเป็นรายได้ของรัฐ ดังนั้น เงินที่นำส่งเป็นรายได้ของรัฐก็คือกำไรจากกิจการของจำเลยนั่นเอง กิจการของจำเลยจึงอยู่ภายใต้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
การที่พระราชบัญญัติการประปานครหลวงฯ กำหนดให้พนักงานของจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญานั้นเป็นเพียงกำหนดฐานะของพนักงานของจำเลย ซึ่งตามปกติถือไม่ได้ว่าเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ให้มีฐานะอย่างเจ้าพนักงานเพื่อประโยชน์ในการติดต่อและปฏิบัติงานกับบุคคลภายนอกและความรับผิดทางอาญา ซึ่งพนักงานของจำเลยได้กระทำต่อจำเลยหรือรัฐซึ่งเป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยคงเป็นไปในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างอยู่นั่นเอง ถึงหากจำเลยจะเรียกชื่อลูกจ้างประจำเป็นพนักงาน ก็หาได้เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รถพยาบาลเอกชนเก็บค่าบริการ ไม่ถือเป็นการรับจ้าง หากมีค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วย และไม่ได้แสวงหากำไรเกินควร
พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 9 (2) และมาตรา 30 บัญญัติให้รถพยาบาลที่มิใช่เป็นรถสำหรับรับจ้างได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมและไม่ต้องเสียภาษีประจำปีนั้น หมายความถึงรถของสถานพยาบาลที่ใช้รับส่งผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน หรือรถยนต์ขนาดใหญ่ที่มีแพทย์ พยาบาล และเวชภัณฑ์พร้อมสำหรับไปรักษาผู้ป่วยในท้องถิ่นต่าง ๆ คล้ายโรงพยาบาลเคลื่อนที่ การที่โจทก์ซึ่งประกอบกิจการโรงพยาบาลเอกชนเรียกเก็บค่าบริการรถพยาบาลจากผู้ป่วยหาทำให้การใช้รถพยาบาลของโจทก์เป็นการใช้รถพยาบาลสำหรับการรับจ้างไปโดยทันทีไม่ เนื่องจากโจทก์ย่อมต้องมีค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการจัดซื้อรถพยาบาลมาใช้ในการรับส่งผู้ป่วย ค่าบำรุงรักษา ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง พนักงานขับรถ เป็นต้น เมื่อจำเลยไม่มีพยานหลักฐานใดมานำสืบหักล้างพยานโจทก์ให้เห็นได้ว่าการเรียกเก็บค่าบริการรถพยาบาลของโจทก์มีลักษณะเป็นการแสวงหากำไรในเชิงพาณิชย์จากการใช้รถพยาบาลมากกว่าเป็นการช่วยเหลือผู้ป่วย หรือโจทก์นำรถพยาบาลไปดำเนินกิจกรรมอย่างอื่นนอกเหนือจากใช้รับส่งผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน จึงไม่อาจเป็นข้อแสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์ใช้รถพยาบาลสำหรับรับจ้างอันไม่เข้าข่ายที่จะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมและค่าภาษีประจำปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8087/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับซื้อทรัพย์ที่ได้จากการลักทรัพย์: เจตนาแสวงหากำไรเป็นปกติธุระหรือไม่?
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยรับของโจรเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อค้ากำไรตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคสอง เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยรับซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของกลางโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อขายหรือแลกเปลี่ยนอันเป็นการแสวงหาผลกำไรเป็นปกติธุระ การกระทำของจำเลยจึงคงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคแรก เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3782/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน: มหาวิทยาลัยเอกชนมีรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่าย ถือเป็นกิจการแสวงหาผลกำไร ต้องเสียภาษี
ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 9 โรงเรียนที่จะได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องเป็นโรงเรียนสาธารณะ กระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นกำไรส่วนบุคคลและใช้เฉพาะในการศึกษาเท่านั้น เมื่อโจทก์เป็นผู้ได้รับใบอุนญาตสามารถได้รับการจัดสรรผลกำไรตาม พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชนฯ มาตรา 61 ย่อมแสดงให้เห็นว่าการกระทำกิจการของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนอย่างเช่นมหาวิทยาลัยโจทก์เป็นกิจการที่หาผลกำไรได้ เมื่อโจทก์กระทำกิจการเพื่อหวังผลกำไรส่วนบุคคลทรัพย์สินของโจทก์จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 9 (3)
ตามคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน โจทก์มิได้โต้แย้งการประเมินในประเด็นใด แสดงว่าโจทก์พอใจการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในรายการนั้นแล้ว แม้ศาลภาษีอากรกลางจะวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 ค่ารายปีจึงยุติไปตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน โจทก์จึงต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินในอัตราตามการประเมินและคำชี้ขาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3782/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน: สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแสวงหากำไร ไม่ได้รับการยกเว้น
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 9 บัญญัติว่า ทรัพย์สินดังต่อไปนี้ ท่านให้ยกเว้นจากบทบัญญัติแห่งภาคนี้ (3) ทรัพย์สินของโรงพยาบาลสาธารณะและโรงเรียนสาธารณะซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล และใช้เฉพาะในการรักษาพยาบาลและในการศึกษา โรงเรียนที่จะได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินจึงต้องประกอบด้วยลักษณะสามประการ กล่าวคือประการแรก เป็นโรงเรียนสาธารณะ ประการที่สอง จะต้องกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล และประการที่สาม จะต้องใช้เฉพาะในการศึกษาเท่านั้น
ตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2522 มาตรา 61 แสดงให้เห็นว่า การกระทำกิจการของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนอย่างเช่นมหาวิทยาลัยโจทก์เป็นกิจการที่หาผลกำไรได้
กิจการมหาวิทยาลัยโจทก์เป็นกิจการที่กระทำเพื่อหวังผลกำไรโดยแท้ และเมื่อผู้รับใบอนุญาตสามารถได้รับการจัดสรรผลกำไรได้ตามที่พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2522 มาตรา 61 วรรคสอง บัญญัติไว้ จึงเป็นกิจการเพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล
เมื่อโจทก์กระทำกิจการเพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคลแล้ว การที่ผู้รับใบอนุญาตที่จะได้รับปันผลเงินคืนจะมีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรหรือไม่ เป็นคนละกรณีกันกับโจทก์ ดังนั้น ทรัพย์สินของโจทก์จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 9 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5231/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้าขาดอายุความหนึ่งปี และการแสวงหากำไรจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยตรงไม่เข้าข้อยกเว้น
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 32 วรรคสอง (2) ยังต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติดังกล่าวในวรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ทั้งสี่เพื่อประโยชน์ในธุรกิจของจำเลยที่ 1 คือ เพื่อใช้ในการออกแบบ เขียนแบบ และงานด้านเอกสาร เพื่อใช้ประโยชน์ด้านการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 แสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสี่โดยนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ทั้งสี่ อันเป็นการขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามปกติของโจทก์ทั้งสี่ และเป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ทั้งสี่ จึงไม่เข้าเงื่อนไขข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 32 อย่างไรก็ตาม โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ 1 เป็นการนำไปใช้ในการทำงานเกี่ยวกับเอกสารทั่วไป โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2 นำไปใช้ในการออกแบบ เขียนแบบผลิตภัณฑ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ 3 นำไปใช้ในการออกแบบซ่อมแซมเครื่องจักร และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ 4 นำไปใช้ในการแปลภาษา โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวเป็นเวอร์ชันที่ใช้สำหรับองค์กรบริษัท จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันทำซ้ำหรือดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ทั้งสี่เพื่อประโยชน์ในการประกอบธุรกิจผลิตอาหารและขนมของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้มีการนำไปใช้แสวงหากำไรจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวในเชิงพาณิชย์โดยตรง ดังนั้นจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมิได้ร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ทั้งสี่เพื่อการค้าตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 30 (1) เท่านั้น ซึ่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 66 บัญญัติแต่เพียงว่า "ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นความผิดอันยอมความได้" โดยไม่ได้กำหนดอายุความคดีอาญาไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติใน ป.อ. ภาค 1 หมวด 9 ว่าด้วยอายุความมาใช้บังคับกับความผิดคดีนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดฐานร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ทั้งสี่ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคหนึ่ง, 74 (ที่แก้ไขใหม่) ประกอบมาตรา 30 (1) และ ป.อ. มาตรา 83 ซึ่งมีระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท กรณีจึงมีกำหนดอายุความหนึ่งปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5)
of 2