คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แหล่งที่มา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1332/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน: โจทก์ไม่ต้องแสดงหลักฐานในชั้นฟ้อง หากระบุแหล่งที่มาของกรรมสิทธิ์แล้ว
ฟ้องโจทก์ขอให้แสดงว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ โดยกล่าวว่า โจทก์ได้ที่ดินมาโดยนางทุ่มยกให้แปลงหนึ่ง อีกแปลงหนึ่งซื้อจากนายดำ ดังนี้ การให้และการซื้อนี้จะเป็นอย่างไรเป็นประเด็นจะต้องว่ากล่าวกัน โจทก์ไม่จำต้องแสดงหลักฐานในชั้นฟ้อง ฟ้องของโจทก์สมบูรณ์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2487

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองฝิ่นโดยไม่ได้รับอนุญาตและการพิพากษายกฟ้องเมื่อแหล่งที่มาของฝิ่นต่างจากที่กล่าวอ้าง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยพาฝิ่นออกจากร้านฝิ่นที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ตั้งจำหน่าย แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยพาฝิ่นมาจากที่อื่น ดังนี้ศาลพิพากษายกฟ้อง
เมื่อจำเลยมีฝิ่นของกลางไว้ในครอบครองโดยแสดงไม่ได้ว่าได้รับใบอนุญาตให้มีได้ตามกฎหมาย ศาลสั่งริบฝิ่นของกลางนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1666/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกเก็บของตก: จำเลยต้องพิสูจน์แหล่งที่มาของทรัพย์สิน หากไม่สามารถทำได้ถือว่าผิด
ในคดีเรื่องยักยอกเก็บของตกนั้นเมื่อโจทก์นำพะยานมาสืบแสดงได้ว่าของนั้นหายไปเองแล้วไปตกอยู่ที่จำเลยและจำเลยขายไปโดยทุจจริตแล้วเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องนำสืบหักล้าง เมื่อจำเลยนำสืบหักล้างมิได้หรือไม่นำพะยานมาสืบในข้อนี้เสียเลยแล้วจำเลยก็ต้องมีความผิดฐานยักยอกเก็บของตก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2473

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองกระบือที่ได้มาโดยไม่ปรากฏแหล่งที่มา ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
มีของร้ายในเวลาใกล้ชิด เจ้าทรัพย์ออกตามรอยกระบือที่หาย พบจำเลยกำลังจูงกระบือนั้นอยู่ ทั้งจำเลยแสดงไม่ได้ว่า ได้กระบือไว้จากผู้ใดต้องมีผิดฐานลักทรัพย์(เทียบฎีกาที่833/69)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11089/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายแร่เหล็กโดยไม่มีแหล่งที่มาที่ชัดเจน ไม่ถือเป็นการฉ้อโกง หากไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้เป็นเพียงการผิดสัญญา
สัญญาซื้อขายแร่เหล็กระหว่างจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจผู้ขายกับโจทก์ผู้ซื้อ ไม่ได้ระบุว่าแร่เหล็กที่จะขายให้โจทก์นั้นจะต้องนำมาจากที่ใด โดยกำหนดแต่เพียงคุณภาพ ขนาด ราคา การขนส่ง การตรวจสอบ ตลอดจนการชำระราคาเท่านั้น แม้จำเลยที่ 2 นำหนังสือมอบอำนาจจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ท.เหมืองแร่ ที่ให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนในการติดต่อกับพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 ตลอดจนภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินแสดงต่อโจทก์ แต่ตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 นำแร่เหล็กไปขาย เพียงแต่ให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนไปติดต่อกับพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 ในกิจการที่ระบุไว้เท่านั้น โจทก์ก็มีแร่เหล็กในที่ดินของโจทก์แต่ไม่มีประทานบัตรจึงนำออกมาไม่ได้ ต้องอาศัยประทานบัตรของบุคคลอื่นโดยต้องเสียค่าตอบแทน แสดงว่าโจทก์เองก็ทราบดีว่าการที่จำเลยที่ 1 นำประทานบัตรและหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมาแสดง ก็เพื่อยืนยันว่าจำเลยที่ 1 สามารถขนแร่เหล็กของจำเลยที่ 1 มาขายให้แก่โจทก์ได้ โดยอาศัยประทานบัตรดังกล่าว เช่นเดียวกับโจทก์ที่ต้องขนแร่เหล็กในส่วนของตนไปขายให้แก่ลูกค้าที่ประเทศจีนก็ใช้วิธีการเดียวกัน ดังนี้ หากจำเลยที่ 1 ไม่สามารถหาแร่เหล็กมาส่งให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้ก็เป็นการผิดสัญญาเท่านั้น หาใช่เป็นการกระทำโดยทุจริตปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่โจทก์อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22674/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้ายาเสพติด: การครอบครองยาเสพติดเมื่อเดินทางเข้าประเทศถือเป็นการนำเข้า แม้แหล่งที่มาไม่ชัดเจน
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4 ได้ให้บทนิยามคำว่า "นำเข้า" หมายความว่า นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร การที่จำเลยเดินทางจากประเทศกัมพูชาเข้ามาในประเทศไทย โดยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางติดตัวมาด้วยดังกล่าวไม่ว่าจำเลยจะได้เมทแอมเฟตามีนมาจากใครและด้วยวิธีการอย่างไร หรือเป็นการนำติดตัวจากประเทศไทยดังที่จำเลยอ้างหรือไม่ ก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นการนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว แหล่งที่มาและการได้มาซึ่งเมทแอมเฟตามีนก่อนการนำเข้าจึงมิใช่ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญในการพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า หลักสำคัญอยู่ที่การบ่งบอกแหล่งที่มาและลักษณะสินค้า
หน้าที่หลักของเครื่องหมายการค้า คือหน้าที่บอกแหล่งที่มาของสินค้าและความแตกต่างระหว่างสินค้า หมายความว่า เครื่องหมายการค้าจะต้องบ่งบอกได้ว่า สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้ามีแหล่งกำเนิดมาจากที่ใดและสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างจากสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าอีกเครื่องหมายหนึ่ง
เสียงเรียกขานบางคำในเครื่องหมายการค้าซ้ำกันมิใช่เหตุให้เครื่องหมายการค้าเหมือนหรือคล้ายกันจนไม่อาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้ได้ เพราะการเรียกขานสินค้าย่อมจะขึ้นอยู่กับผู้บริโภคว่าจะเรียกขานเช่นใด ทั้งการเรียกขานก็ไม่ใช่สาระสำคัญประการเดียวที่จะใช้ในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์สามารถทำหน้าที่บ่งบอกว่า สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีแหล่งกำเนิดมาจากที่ใด และสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างจากสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าอีกเครื่องหมายหนึ่งเช่นใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5432/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้า: การพิจารณารูปแบบรวมและการสื่อถึงแหล่งที่มา
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีลักษณะบ่งเฉพาะโดยรูปลักษณะและมีการใช้จนเป็นที่แพร่หลายทั่วไปแล้ว จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้ด้วย แต่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยโดยแยกพิจารณาตัวอักษรโรมันกับรูปทรงกลมทึบออกจากกัน และวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ทั้งไม่วินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้หรือไม่ เท่ากับว่าโจทก์ได้โต้แย้งแล้วว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่ถูกต้องตามกฎหมายและไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำวินิจฉัยดังกล่าวจึงยังไม่เป็นที่สุด และโจทก์มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลได้
โดยหลักทั่วไปเครื่องหมายการค้าจะต้องมีหน้าที่สำคัญ เช่น บอกแหล่งที่มาของสินค้า บอกความแตกต่างของสินค้า และประกันคุณภาพสินค้า เป็นต้น หลักสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การพิจารณาให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแก่บุคคลใดในลักษณะของเครื่องหมายการค้าเช่นนี้จะต้องไม่เป็นอุปสรรคหรือขัดขวางบุคคลอื่นในการใช้อักษร ภาพ หรือสิ่งสามัญใดๆ เพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่สังคมสามารถใช้ประโยชน์เป็นเครื่องหมายการค้าได้เช่นกัน หลักการดังกล่าวจึงเป็นเหตุผลในการไม่ยอมรับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ อันเป็นข้อจำกัดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 6 และมาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2770/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟอกเงิน: การซุกซ่อนเงินที่ได้จากการค้ายาเสพติดโดยไม่มีเจตนาปกปิดแหล่งที่มา ไม่ถือเป็นความผิด
ตามมาตรา 5 (2) แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ บัญญัติว่า "การกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อปกปิดหรืออำพรางลักษณะที่แท้จริงการได้มา แหล่งที่ตั้ง การจำหน่าย การโอน การได้สิทธิใด ๆ ซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฟอกเงิน" ในข้อนี้แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าจำนวนเงิน 710,000 บาท ดังกล่าว จำเลยที่ 1 ได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แต่ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์ได้ความเพียงว่าเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยที่ 1 และตรวจค้นพบเงินจำนวนดังกล่าวบรรจุอยู่ในกล่องสุราที่จำเลยที่ 1 ถืออยู่ และจำเลยที่ 1 รับว่าเป็นเงินที่ได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อปกปิดหรืออำพรางลักษณะที่แท้จริงการได้มาของเงินจำนวนนี้ในลักษณะที่เป็นการฟอกเงิน กล่าวคือ ทำให้เงินที่ได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวแปรสภาพเป็นเงินที่ได้มาโดยเสมือนหนึ่งถูกต้องตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดฐานฟอกเงินตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักยึดสินค้านำเข้าที่สงสัยแหล่งที่มา และความผิดสำแดงเท็จ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ก่อนที่จะนำของใด ๆ ไปจากอารักขาของศุลกากร ผู้นำของเข้าต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามพระราชบัญญัตินี้ และตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร กับต้องยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้อง และเสียภาษีอากรจนครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกัน การขอวางเงินประกันให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด คดีนี้เหตุที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยกักและยึดรถยนต์โดยสารที่พิพาทไว้ก็เพื่อตรวจสอบถึงแหล่งที่มาของสินค้า โดยมีการสืบสวนทราบว่ารถยนต์โดยสารที่พิพาททั้งหมดมีต้นทางส่งออกมาจากสาธารณรัฐประชาชนจีนมายังประเทศมาเลเซีย และทางราชการของประเทศมาเลเซียได้ออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form D) สำหรับรถยนต์โดยสารที่พิพาทให้กับบริษัท อ. หลังจากนั้น รถยนต์โดยสารที่พิพาทถูกจัดส่งมายังประเทศไทย พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเห็นว่ากรณีเป็นการสำแดงประเทศกำเนิดของสินค้าเป็นเท็จ (Form D) และใช้สิทธิลดอัตราอากรของที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอาเซียนเพื่อหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากร อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 99 และมาตรา 27 ซึ่งตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 16/2558 เรื่อง หลักเกณฑ์และพิธีการการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากอาเซียน ข้อ 4 วิธีปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ศุลกากร (2.8) กำหนดว่า กรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยในถิ่นกำเนิดสินค้าว่า สินค้าที่นำเข้าไม่อยู่ในข่ายได้รับยกเว้นอากรหรือลดอัตราอากร...หากสินค้านั้นมิได้เป็นสินค้าต้องห้ามหรือต้องกำกัดในการนำเข้าและไม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการฉ้อฉลให้ท่าหรือที่หรือด่านศุลกากรหรือสำนักงานศุลกากรสั่งการปล่อยสินค้าไปก่อน โดยให้วางประกันให้คุ้มค่าภาษีอากร ส่วนหลักเกณฑ์ประมวลระเบียบปฏิบัติศุลกากร พ.ศ. 2556 ข้อ 2 01 09 09 การปฏิบัติเกี่ยวกับข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าที่ตรวจพบความผิดหรือที่มีการจับกุมและของยังไม่ได้ตรวจปล่อยจากอารักขาศุลกากร ข้อ (1) กำหนดว่า เมื่อมีการตรวจพบความผิดตามกฎหมายศุลกากรหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และของยังไม่ได้ตรวจปล่อยพ้นไปจากอารักขาศุลกากร ให้หน่วยงานที่ตรวจพบความผิดดังกล่าวส่งเรื่องที่ตรวจพบความผิดไปให้หน่วยบริการศุลกากรทำการประเมินราคาและอากรของที่ตรวจพบความผิด เพื่อเรียกเก็บค่าภาษีอากรที่ขาดและค่าปรับ ให้ครบถ้วนก่อนตรวจปล่อยของต่อไป หากผู้นำของเข้าไม่ยินยอมชำระค่าภาษีอากรที่ขาดและค่าปรับ (หากมี) ให้แจ้งหน่วยงานด้านคดีส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อไป ในกรณีที่ผู้นำของเข้ามีความประสงค์จะขอให้ตรวจปล่อยของออกไปก่อนแล้วพิจารณาความผิดภายหลัง เมื่อได้ทำการประเมินอากรของที่ตรวจพบความผิด และได้ค่าภาษีอากรที่ขาดแล้วให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกำหนดยอดเงินประกันให้คุ้มค่าภาษีอากรที่ขาดและกำหนดเงินค่าเปรียบเทียบปรับค่าภาษีอากร ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้โดยเร็ว ซึ่งเกณฑ์การพิจารณาเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ข้อ 1 03 03 01 (10) กำหนดให้ความผิดฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากร หรือความผิดฐานหลีกเลี่ยงอากรให้ปรับสองเท่าของอากรที่ขาด และให้ชำระค่าภาษีอากรที่ขาดให้ครบถ้วน พร้อมเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีเพื่อมหาดไทยที่ขาด (ถ้ามี) ดังนั้น เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการฉ้อฉลในการนำเข้ารถยนต์โดยสารที่พิพาท หากโจทก์ต้องการนำรถยนต์โดยสารที่พิพาทออกไปจากอารักขาของจำเลย โจทก์จึงต้องวางประกันค่าภาษีอากรและค่าปรับสองเท่าของอากรที่ขาดให้ครบถ้วนก่อนที่จะนำสินค้าพิพาทออกไปจากอารักขาของจำเลยได้ หาใช่แต่เพียงวางเงินประกันให้คุ้มค่าภาษีอากรอย่างเดียวไม่ โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยแจ้งให้โจทก์วางประกันค่าภาษีและค่าปรับดังกล่าวแล้ว แต่โจทก์ไม่วางประกันค่าภาษีอากรและค่าปรับดังกล่าว ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ คดีอยู่ระหว่างการสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ดังนั้น การที่พนักงานศุลกากรของจำเลยกักยึดสินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้าไว้เพื่อดำเนินคดีแก่โจทก์ในความผิดฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรจึงเป็นการกักยึดสินค้าไว้โดยมีเหตุอันควรสงสัยที่ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 24 และ 25 ให้อำนาจไว้ และสินค้าพิพาทที่ถูกกักยึดนี้ก็เป็นของใด ๆ อันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรา 27 อันอาจถูกศาลริบได้ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 17 ซึ่งพนักงานศุลกากรของจำเลยมีอำนาจกักยึดไว้ได้จนกว่าคดีอาญาถึงที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 85 วรรคสาม ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยไม่เคยกล่าวหาว่าโจทก์ฉ้อฉลนั้น ปรากฏว่าจำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบแล้วว่าสินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้าเป็นการสำแดงประเทศกำเนิดของสินค้าที่ตัวสินค้าเป็นเท็จเป็นเหตุให้ค่าภาษีอากรขาดอันเป็นความผิดฐานสำแดงเท็จ แต่ ช. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์อ่านบันทึกแล้วไม่ประสงค์จะลงนาม การกักยึดสินค้าพิพาทจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจขอให้ตรวจปล่อยสินค้าพิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
of 2