พบผลลัพธ์ทั้งหมด 251 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 361/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินต่อศาลเพื่อขอเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน นายจ้างต้องวางเงินตามจำนวนที่สั่ง หรือส่วนที่โต้แย้ง
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 125 วรรคสาม กำหนดไว้อย่างชัดแจ้งว่า ในกรณีที่นายจ้างไม่พอใจคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้าง และนายจ้างประสงค์จะนำคดีไปสู่ศาลแรงงานเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งนั้น นายจ้างจะต้องวางเงินตามจำนวนที่นายจ้างประสงค์จะโต้แย้งต่อศาลซึ่งอาจเป็นจำนวนทั้งหมดตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานหรือเพียงบางส่วนก็ได้ และในกรณีที่เป็นการโต้แย้งคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานเพียงบางส่วน นายจ้างจะต้องชำระเงินส่วนที่ไม่ติดใจโต้แย้งแก่ลูกจ้างเสียก่อนนายจ้างจึงจะมีอำนาจฟ้อง เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้โจทก์จ่ายเงินให้แก่ ฐ. กับพวกรวม 43 คน ซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์เป็นเงิน 6,505,487 บาท โจทก์เพียงแต่อ้างว่าโจทก์ควรจ่ายเงินให้แก่ ฐ. กับพวกเพียง 497,801 บาท เท่านั้น แต่ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ ฐ. กับพวกแต่อย่างใด ดังนั้น หากโจทก์ต้องการนำคดีไปสู่ศาลแรงงานเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 2 โจทก์ต้องวางเงินจำนวน 6,505,487 บาท มิใช่จำนวน 497,801 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3221/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลที่ไม่ให้เลื่อนคดีและการไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องโต้แย้งทันทีจึงจะอุทธรณ์ได้
โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การ และจำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องแย้งโดยขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา เมื่อถึงวันนัดไต่สวน ทนายจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนการไต่สวน กับมีคำสั่งยกคำร้องขอฟ้องแย้งอย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 ดังนี้คำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองเลื่อนคดีเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งในระหว่างพิจารณาหากจำเลยทั้งสองไม่เห็นด้วย และประสงค์จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในภายหลัง จำเลยทั้งสองจะต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตามความใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) คดีนี้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2546 ว่าไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองเลื่อนการไต่สวน และนัดฟังคำสั่งสำหรับคำร้องของโจทก์ในวันที่ 26 สิงหาคม 2546 โดยผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยทั้งสองได้ลงลายมือชื่อทราบคำสั่งในวันนั้นแล้ว ดังนั้น ในช่วงเวลาก่อนที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะอ่านคำสั่ง จำเลยทั้งสองย่อมมีเวลาเพียงพอที่จะโต้แย้งคัดค้านไว้ แต่ก็หาได้มีการโต้แย้งคัดค้านไม่ จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา โดยถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีพยานมาไต่สวน เท่ากับได้วินิจฉัยเนื้อหาแห่งคำร้องของจำเลยที่ 1 แล้วว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช่คนอนาถา ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า คดีนี้แม้จำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนดแล้ว แต่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์เฉพาะประเด็นที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 เลื่อนคดีแต่เพียงประเด็นเดียว โดยมิได้อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนอนาถา คำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงเป็นอันยุติ
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา โดยถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีพยานมาไต่สวน เท่ากับได้วินิจฉัยเนื้อหาแห่งคำร้องของจำเลยที่ 1 แล้วว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช่คนอนาถา ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า คดีนี้แม้จำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนดแล้ว แต่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์เฉพาะประเด็นที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 เลื่อนคดีแต่เพียงประเด็นเดียว โดยมิได้อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนอนาถา คำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงเป็นอันยุติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3221/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตเลื่อนคดีและการยกคำร้องคนอนาถาเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา อุทธรณ์ต้องโต้แย้งทันที
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางนัดไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาของโจทก์และคำร้องขอฟ้องแย้งอย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 ในวันที่ 22 สิงหาคม 2546 เมื่อถึงวันนัดจำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดี ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีกับมีคำสั่งยกคำร้องขอฟ้องแย้งอนาถาของจำเลยที่ 1 และนัดฟังคำสั่งสำหรับคำร้องของโจทก์ในวันที่ 26 สิงหาคม 2546 โดยผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อรับทราบนัดแล้ว เมื่อถึงวันนัดศาลมีคำสั่งอนุญาตให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาของโจทก์ คำสั่งของศาลที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองเลื่อนคดีเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นระหว่างพิจารณา หากจำเลยทั้งสองไม่เห็นด้วยและประสงค์จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นในภายหลังจำเลยทั้งสองจะต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) ซึ่งในช่วงก่อนถึงวันที่ 26 สิงหาคม 2546 ที่ศาลจะอ่านคำสั่ง จำเลยทั้งสองย่อมมีเวลาเพียงพอที่จะโต้แย้งคัดค้านได้ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีได้
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางนัดไต่สวนคำร้องขอฟ้องแย้งอนาถาของจำเลยที่ 1 จำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดี ศาลไม่ให้เลื่อนคดีและถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีพยานมาไต่สวน จึงไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา เท่ากับวินิจฉัยเนื้อหาแห่งคำร้องของจำเลยที่ 1 แล้วว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่คนอนาถา จะใช้สิทธิดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ได้ ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย แม้จำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนดแล้ว แต่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์เฉพาะประเด็นที่ศาลไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 เลื่อนคดีเพียงประเด็นเดียว โดยมิได้อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนอนาถา คำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงเป็นอันยุติแล้ว
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางนัดไต่สวนคำร้องขอฟ้องแย้งอนาถาของจำเลยที่ 1 จำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดี ศาลไม่ให้เลื่อนคดีและถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีพยานมาไต่สวน จึงไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา เท่ากับวินิจฉัยเนื้อหาแห่งคำร้องของจำเลยที่ 1 แล้วว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่คนอนาถา จะใช้สิทธิดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ได้ ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย แม้จำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนดแล้ว แต่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์เฉพาะประเด็นที่ศาลไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 เลื่อนคดีเพียงประเด็นเดียว โดยมิได้อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนอนาถา คำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงเป็นอันยุติแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 684/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง: การโต้แย้งวันแจ้งข้อกล่าวหาเพื่อพิสูจน์อำนาจฟ้อง
คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 3 เดือน ปรับ 4,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
จำเลยฎีกาว่า จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน และพนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาจำเลยเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2541 แต่พนักงานสอบสวนยื่นคำขอผัดฟ้องเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2541 เกินกำหนดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาจำเลยเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2541 ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี พนักงานสอบสวนขอผัดฟ้องภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ดังนี้ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยได้รับการแจ้งข้อกล่าวหาในวันใด เป็นการโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง หาใช่ข้อกฎหมายตามที่จำเลยฎีกาไม่
จำเลยฎีกาว่า จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน และพนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาจำเลยเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2541 แต่พนักงานสอบสวนยื่นคำขอผัดฟ้องเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2541 เกินกำหนดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาจำเลยเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2541 ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี พนักงานสอบสวนขอผัดฟ้องภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ดังนี้ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยได้รับการแจ้งข้อกล่าวหาในวันใด เป็นการโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง หาใช่ข้อกฎหมายตามที่จำเลยฎีกาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5334/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีรังวัดที่ดิน: การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลย ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ยื่นคำขอรังวัดสอบเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยยื่นคำคัดค้านซึ่งไม่ถูกต้อง ขอให้บังคับจำเลยถอนคำคัดค้าน จำเลยให้การว่าโจทก์นำชี้แนวเขตรุกล้ำเข้าที่ดินที่อยู่ข้างเคียง ซึ่งจำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง แม้คำคัดค้านของจำเลยเป็นการใช้สิทธิตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 69 ทวิ ก็ตาม แต่ก็เป็นการโต้แย้งสิทธิในที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลย ถือว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้ว โจทก์ชอบที่จะฟ้องคดีต่อศาลได้ และคำขอให้บังคับจำเลยถอนคำคัดค้านมีความหมายรวมถึงการที่ขอให้จำเลยมิให้เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท หากโจทก์ชนะคดีศาลย่อมมีอำนาจบังคับให้ตามขอได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5049/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ระหว่างพิจารณาคดี และการปฏิบัติตามคำสั่งเพื่อใช้สิทธิโต้แย้งภายหลัง
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยวางเงินค่าธรรมเนียมภายในวันที่ 23 มิถุนายน 2546 เป็นคำสั่งที่ศาลชั้นต้นปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการเรียกจำเลยให้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แทนคู่ความตามคำพิพากษามาวางศาลให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟัง อันเป็นคำสั่งของศาลอุทธรณ์ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังตามกฎหมาย ซึ่งถือว่าเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หากจำเลยเห็นว่าคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร จำเลยชอบที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์โดยนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก่อน แล้วใช้สิทธิโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้เพื่อการใช้สิทธิฎีกาภายหลังเมื่อได้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์แล้ว การที่จำเลยฎีกาคำสั่งของศาลอุทธรณ์ทันทีในขณะที่ยังถือว่าคดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์เช่นนี้ จึงเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2137/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำเบิกความของพยาน จำเลยต้องโต้แย้งเพื่อใช้สิทธิคัดค้าน หากไม่โต้แย้งถือว่ายอมรับ
ในระหว่างที่ศาลอ่านบันทึกคำให้การให้พยานฟัง หากพยานจะขอแก้ไขคำเบิกความส่วนใดที่เห็นว่าไม่ถูกต้องย่อมเป็นสิทธิของพยานที่จะแถลงต่อศาล ถ้าคู่ความฝ่ายใดเน้นว่าการขอแก้ไขดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างไรต้องแถลงโต้แย้งไว้เพื่อศาลจะได้ใช้ดุลพินิจว่าคำเบิกความดังกล่าวว่าสมควรรับฟังได้เพียงใด เมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งไว้ ทั้งจำเลยและทนายจำเลยยังได้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องของข้อความในบันทึกคำให้การพยานที่ศาลบันทึกไว้ ซึ่งต้องถือว่าจำเลยยอมรับการแก้ไขดังกล่าวและต้องฟังเป็นยุติว่าพยานเบิกความไว้ตามที่บันทึกแก้ไขไว้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12412/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งงดไต่สวนเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องโต้แย้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226(2) จึงจะอุทธรณ์ได้
ในการไต่สวนคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดก ศาลชั้นต้นไต่สวนพยานผู้ร้องได้ 1 ปากและผู้ร้องอ้างส่งพยานเอกสาร 4 ฉบับ แล้วเห็นว่าสามารถวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้จึงมีคำสั่งให้งดการไต่สวนและให้นัดฟังคำสั่งหลังจากนั้นอีกหลายวัน โดยศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในคดีดังนี้ คำสั่งที่ให้งดการไต่สวนดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากคู่ความฝ่ายใดต้องการใช้สิทธิในการอุทธรณ์ก็ต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) เมื่อผู้จัดการมรดกมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้ ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังสำเนาเอกสารเป็นหลักฐาน การโต้แย้งความถูกต้องของเอกสาร และน้ำหนักพยานหลักฐาน
สำเนาตารางกรมธรรม์ต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ทั้งจำเลยก็ได้ต่อสู้ในคำให้การไว้ว่าโจทก์มิได้รับประกันภัยรถยนต์ แสดงว่าจำเลยได้โต้แย้งคัดค้านความถูกต้องแท้จริงของสำเนาตารางกรมธรรม์แล้ว จึงรับฟังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน ผู้เสียภาษีต้องยื่นรายการและมีสิทธิโต้แย้งการประเมินตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 18 และ 19 กำหนดให้ผู้รับประเมินหรือบุคคลผู้พึงชำระค่าภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณภาษีที่จะต้องเสียในปีต่อมา ดังนั้น ทรัพย์สินที่บริษัทจำเลยใช้ในปี 2539 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องยื่นรายการภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2540 เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมินและแจ้งจำนวนภาษีที่ต้องชำระไปยังจำเลย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินภาษีของโจทก์ทำแบบแจ้งรายการคำนวณภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2540 ให้แก่จำเลยซึ่งได้รับทราบแล้ว หากไม่พอใจจำเลยก็ชอบที่จะยื่นคำโต้แย้งคัดค้านการประเมินหรือขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ตามมาตรา 25 ได้ และหากยังไม่พอใจในการชี้ขาดการประเมินก็อาจนำคดีไปสู่ศาลเพื่อแสดงให้ศาลเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องได้แต่ต้องกระทำภายใน 30 วัน นับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดตามมาตรา 31วรรคหนึ่ง ทั้งนี้จำเลยจะต้องชำระค่าภาษีทั้งสิ้นซึ่งถึงกำหนดต้องชำระเสียก่อนตามมาตรา 39 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตาม จำเลยย่อมไม่มีสิทธิโต้แย้งคัดค้านหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2540 ของโจทก์ไม่ชอบจำเลยต้องรับผิดชำระค่าภาษีดังกล่าวพร้อมเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 10 ของค่าภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 43(4) เนื่องจากจำเลยมิได้นำเงินมาชำระภายใน 4 เดือน นับแต่วันพ้นกำหนดระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน