คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โต้แย้งสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาเช่าและภารจำยอม: ศาลฎีกาชี้ว่าการถูกโต้แย้งสิทธิจากคดีภารจำยอมทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องได้
จำเลยรับรองต่อโจทก์ที่ 1 ผู้เช่าที่ดินว่า ที่ดินที่ให้เช่าไม่มีภาระผูกพัน แต่ต่อมาโจทก์ที่ 1 และจำเลยถูกฟ้องให้เปิดทางภารจำยอม และศาลมีคำสั่งให้รื้อรั้วที่ปิดทางผ่านเข้าออก ทำให้โจทก์ที่ 1 ไม่ได้รับความสะดวกและปลอดภัยในการใช้ที่ดินที่เช่าถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว ส่วนข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามฟ้องหรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องนำสืบต่อไปในชั้นพิจารณา โจทก์ที่ 1 มีอำนาจฟ้อง
สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องโจทก์ที่ 1 เป็นเรื่องจำเลยผิดสัญญาเช่าเพราะที่ดินที่เช่าถูกบุคคลภายนอกฟ้องว่าตกอยู่ในภารจำยอม ทำให้โจทก์ที่ 1 ไม่อาจใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ซึ่งผิดจากคำรับรองของจำเลย ปัญหาที่ว่าที่ดินที่เช่าตกอยู่ในภารจำยอมหรือไม่จึงเป็นประเด็นโดยตรงไปสู่การวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าตามฟ้องหรือไม่ และการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในคดีอื่นให้รื้อรั้วกั้นทางเดินออกจนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นนั้น นับว่าทำให้โจทก์ที่ 1 ไม่อาจใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ แต่เมื่อคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาซึ่งยังไม่ถึงที่สุดว่าที่ดินที่เช่ามีภาระผูกพันจริง ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาเช่า กรณีต้องอาศัยทั้งหมดหรือแต่บางส่วนซึ่งคำชี้ขาดตัดสินบางข้อของศาลในคดีดังกล่าวนั้นเอง จึงมีเหตุสมควรที่ต้องเลื่อนการพิจารณาต่อไปจนกว่าจะได้มีการพิพากษาหรือชี้ขาดในข้อนั้น ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 39 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3064/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องร้องเมื่อถูกโต้แย้งสิทธิในที่ดิน แม้ยังมิได้ถูกบังคับคดี
การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ว่าจำเลยยื่นฟ้องขับไล่ ส. และจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี ให้โจทก์ในฐานะบริวารของ ส. ออกจากที่พิพาท เมื่อโจทก์เห็นว่าตนมิใช่บริวารของ ส. แต่เป็นเจ้าของครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทมานานแล้ว แสดงว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างโจทก์กับจำเลยตามกฎหมายแพ่งอันเกี่ยวกับสิทธิในที่พิพาทแล้ว โจทก์มีสิทธิเสนอคดีของตนต่อศาลโดยยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 ได้ แม้โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะปิดประกาศกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3)ในคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่ ส. ออกจากที่พิพาทก็ตาม เพราะบทบัญญัติดังกล่าวแม้หากบุคคลนั้นไม่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในเวลาตามที่กฎหมายกำหนด ก็เป็นเพียงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลนั้นเป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหาได้มีผลเป็นการตัดสิทธิห้ามบุคคลนั้นจะฟ้องร้องเป็นคดีใหม่ไม่ และเมื่อโจทก์มิได้ร้องขอเข้าไปในคดีที่จำเลยบังคับขับไล่ ส. โจทก์จึงมิได้อยู่ในฐานะเป็นคู่ความในคดีนั้นย่อมไม่ผูกพันในผลแห่งคดีดังกล่าวหรือจะถูกต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องไม่ว่าจะด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายในเรื่องฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2373/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ในบ้านผู้อื่น: สิทธิของผู้ร้องเมื่อยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ ศาลไม่อาจเพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดี
ตามคำร้องของผู้ร้อง ข้อเท็จจริงปรากฏเพียงว่าโจทก์ได้ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกไปทำการยึดทรัพย์สินของจำเลยในบ้านของผู้ร้อง และเจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตตามที่โจทก์ร้องขอเท่านั้น แต่ยังมิได้ทำการยึดทรัพย์สินใด ๆ ในบ้านของผู้ร้องกรณียังฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิ เมื่อไม่มีการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องตามกฎหมายแพ่งศาลจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยห้ามมิให้ดำเนินการบังคับคดีภายในบ้านของผู้ร้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7405/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีไม่แน่นอน โจทก์ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ แม้จำเลยอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
จำเลยอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้แต่ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดี คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังมิได้มีคำวินิจฉัย ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อาจมีคำวินิจฉัยให้เพิกถอนหรือแก้ไขคำสั่ง ของเจ้าพนักงานประเมินได้ หนี้ค่าภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินที่โจทก์นำมาฟ้องจึงเป็นหนี้ที่ยังไม่แน่นอนว่าจะมีอยู่จริงหรือไม่เพียงใด ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ แม้คดีของโจทก์ไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 แต่ก็ต้องอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 17 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 55 เมื่อหนี้ยังไม่แน่นอนจึงหาอาจถือว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้วได้ไม่ แม้การที่จำเลยอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7405/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: หนี้ยังไม่แน่นอน แม้มีการอุทธรณ์ ไม่ถือว่าถูกโต้แย้งสิทธิ
ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังมิได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อาจมีคำวินิจฉัยให้เพิกถอนหรือแก้ไขคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินได้หนี้ค่าภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าว จึงเป็นหนี้ที่ยังไม่แน่นอนว่าจะมีอยู่จริงหรือไม่เพียงใด จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 แม้ว่าการที่จำเลยอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ตาม โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6703/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งพักงานทางวินัยและการโต้แย้งสิทธิ: การตั้งกรรมการสอบสวนไม่กระทบคำสั่งพักงานหากยังไม่มีผลกระทบต่อสถานภาพ
คำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยของจำเลยที่ 1จะชอบด้วยระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 หรือไม่ก็ตาม ตราบใดที่จำเลยที่ 1 ยังมิได้ใช้อำนาจในฐานะนายจ้างมีคำสั่งอันเนื่องมาจากการสอบสวนตามคำสั่งดังกล่าวให้มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ หาถือได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ไม่ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิจากจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย
โจทก์ถูกกล่าวหาว่าทุจริตเบิกค่าเช่าบ้านซึ่งเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการการประปาส่วนภูมิภาคจึงมีอำนาจสั่งให้พักงานโจทก์ไว้ก่อนได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 1 จะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ไม่มีผลกระทบต่อคำสั่งให้พักงานคำสั่งที่ให้พักงานโจทก์เพื่อรอฟังผลการสอบสวนทางวินัยจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4561/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส, การโต้แย้งสิทธิ, เพิกถอนนิติกรรม: กรณีจำเลยขายทรัพย์สินส่วนของโจทก์โดยไม่ยินยอม
บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสินสมรสต่อท้ายทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ตกลงยกบ้านพิพาทให้แก่บุตรทั้งสามนั้นเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 วรรคหนึ่ง แต่บุตรทั้งสามไม่ได้แสดงเจตนาต่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นตามมาตรา 374 วรรคสอง กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์กับจำเลยที่ 1 คนละครึ่ง นอกจากนี้โจทก์ยังอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรส ซึ่งหากฟังได้ตามที่โจทก์อ้าง โจทก์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทคนละครึ่งหนึ่งเช่นเดียวกัน การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งโจทก์มีกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้
ว. ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ระหว่างปี 2514 ถึง 2516ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิม มาตรา 1466 เพราะการให้มิได้แสดงว่าให้ไว้เป็นสินส่วนตัวตามมาตรา 1464(3) และกรณีเป็นการยกให้ก่อนปี 2519 จึงไม่อาจใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 บังคับ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 เคยขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่ ท. เมื่อปี 2525 และมิได้ไถ่คืนภายในกำหนด ต่อมาจึงได้ซื้อคืนจาก ท. เมื่อปี 2526 แม้จะใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียว ก็ต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 1474(1) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519
ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 จะทำสัญญาดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนสัญญาดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ตามมาตรา 1361 วรรคสอง แต่ยังคงมีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 1361 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจสอบสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านของข้าราชการ มิใช่การโต้แย้งสิทธิโดยตรง จึงไม่สามารถฟ้องร้องได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เช่าบ้านและใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตลอดมา ต่อมาจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นคณะกรรมการตรวจสอบการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านของข้าราชการได้ทำรายงานเท็จเสนอต่อสำนักงานสามัญศึกษาขอให้เพิกถอนเช่นนี้ รายงานและคำวินิจฉัยของจำเลยทั้งสามที่เสนอต่อสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ เป็นเพียงความเห็นหรือข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสามเสนอไปตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ยังไม่มีผลเป็นการชี้ขาดหรือบังคับให้โจทก์ต้องปฏิบัติตาม ทั้งจะต้องมีการพิจารณาว่าสมควรจะตั้งกรรมการสอบสวนความผิดของโจทก์หรือไม่อีกชั้นหนึ่ง หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรมอย่างไร ก็ชอบที่จะดำเนินการโต้แย้งคัดค้านตามระเบียบที่ทางราชการกำหนดไว้ กรณียังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรง
แม้เรื่องนี้โจทก์จะเคยฟ้องจำเลยและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับฟ้องมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่ภายหลังโจทก์ขอถอนฟ้องไป ก็หาผูกพันมีผลบังคับให้ศาลต้องรับฟ้องคดีนี้ด้วยไม่
แม้ในคดีเดิมศาลรับฟ้องไว้แล้ว ถ้าต่อมาศาลเห็นว่าตามคำฟ้องยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ ศาลก็มีอำนาจที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมที่รับฟ้องเป็นไม่รับฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายงานผลการตรวจสอบสิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน ไม่ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิโดยตรง จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
รายงานและคำวินิจฉัยของจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นคณะกรรมการตรวจสอบการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านของโจทก์ที่เสนอต่อสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัด เป็นเพียงความเห็นหรือข้อเท็จจริงที่เสนอไปตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ยังไม่มีผลเป็นการชี้ขาดหรือบังคับให้โจทก์ต้องปฏิบัติตาม ทั้งจะต้องมีการพิจารณาว่าสมควรจะตั้งกรรมการสอบสวนความผิดของโจทก์หรือไม่อีกชั้นหนึ่ง หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม ก็ชอบที่จะดำเนินการโต้แย้งคัดค้านตามระเบียบที่ทางราชการกำหนด กรณียังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรง จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แม้ในเรื่องนี้โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับฟ้องมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่ภายหลังโจทก์ขอถอนฟ้องไป ก็หาผูกพันมีผลบังคับให้ศาลต้องรับฟ้องคดีนี้ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7139/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดและการโต้แย้งสิทธิ: อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะการเอาโลงไปโดยไม่มีสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์อันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แสดงตนต่อโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 เพื่อขอรับศพ ฉ. ผู้ตาย โดยแสดงหลักฐานเพียงใบแทนบัตรประจำตัวประชาชนของจำเลยที่ 3 เท่านั้น ส่วนหลักฐานอื่นตามระเบียบของโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 ที่แจ้งให้โจทก์นำมาแสดงไม่มี แต่โรงพยาบาลจำเลยที่ 1กลับมอบศพผู้ตายให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 โดยมีจำเลยที่ 4 เป็นผู้ลงลายมือชื่อรับศพไป นอกจากนั้นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้นำศพผู้ตายใส่ในโลงที่โจทก์เป็นผู้เตรียมมานำออกไปจากโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 ก่อนที่โจทก์จะกลับมาแต่โจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่มีสิทธิในการรับศพผู้ตายออกจากโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 อย่างไร อันจะเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 รับศพผู้ตายไป จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ คงมีเฉพาะคำฟ้องของโจทก์ส่วนที่กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 นำศพผู้ตายใส่ในโลงที่โจทก์เป็นผู้เตรียมมานำออกไปจากโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 ซึ่งหากฟังได้เป็นความจริงย่อมเป็นการเอาโลงดังกล่าวไปโดยไม่มีสิทธิ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตามคำฟ้องส่วนนี้
of 23