พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 738/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าบริการโทรศัพท์: โจทก์เป็นผู้ค้าหรือไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 165(7)
โจทก์เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2497 มีอำนาจตามมาตรา 9แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้ดำเนินกิจการได้หลายประการ การที่โจทก์ให้จำเลยใช้บริการโทรศัพท์แล้วคิดค่าบริการตามอัตราที่โจทก์กำหนด ถือได้ว่า โจทก์เป็นผู้ค้ำรับทำการงานเรียกเอาสินจ้างอันพึงจะได้รับจากการนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(7) ซึ่งโจทก์จะต้องเรียกร้องเอาค่าบริการภายใน 2 ปีเมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าบริการคดีนี้เกิน 2 ปี จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ใช้โทรศัพท์โดยไม่ทำสัญญาเช่า ไม่มีนิติสัมพันธ์กับผู้ให้บริการ จึงไม่สามารถฟ้องละเมิดได้
การฟ้องคดีฐานละเมิดอาจเกิดขึ้นได้ทั้งกรณีที่มีสัญญาและไม่มีสัญญาต่อกันแล้วแต่ว่าการกระทำละเมิดเกิดจากเหตุและกรณีใดเป็นรายกรณีไป โดยอาศัยพฤติการณ์แห่งคดีเป็นหลัก และผู้ที่มีสิทธิฟ้อง นั้นต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย หาใช่เพียงแต่เป็นผู้เสียหาย โดยพฤตินัยเท่านั้นไม่ และบางกรณีต้องเป็นผู้เสียหายตามสัญญาที่ ได้ทำไว้ต่อ กันเท่านั้น โจทก์มิได้ทำสัญญาเป็นผู้เช่าโทรศัพท์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 เป็นแต่เพียงผู้ครอบครองและใช้โทรศัพท์โดยได้รับมอบหมายมาจากบริษัท ค. เจ้าของอาคารที่โจทก์เช่าตั้งสำนักงานประกอบกิจการอยู่เท่านั้น แม้โจทก์ได้ชำระค่าเช่าและค่าบริการโทรศัพท์ให้จำเลยที่ 1 ตลอดมา ก็ถือว่าโจทก์เป็นแต่เพียง มีสิทธิใช้โดยพฤตินัยเท่านั้น หาได้มีสิทธิผูกพันกับจำเลยที่ 1 ไม่ โจทก์ยังไม่ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ให้เป็นผู้เช่าโทรศัพท์ แทนผู้เช่าเดิม การชำระค่าเช่าและค่าบริการโทรศัพท์ของโจทก์จึง เป็นการชำระแทนผู้เช่าเดิม โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลย ที่ 1จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่าใช้บริการโทรศัพท์เป็นสินจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7) มีอายุความ 2 ปี
ผู้ใช้เครื่องโทรศัพท์ต้องเสียค่าบริการพูดโทรศัพท์ตามอัตราที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยกำหนด ค่าใช้บริการจึงเป็นสินจ้างและถือได้ว่าองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นผู้ค้าโดยรับทำการงานเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น หนี้ค่าใช้บริการดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเช่าโทรศัพท์: การพิจารณาประเภทผู้ประกอบการและข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การที่โจทก์จัดให้มีบริการโทรศัพท์และเรียกเก็บเงินค่าเช่าเครื่องโทรศัพท์กับค่าใช้บริการโทรศัพท์นั้น ถือได้ว่าโจทก์เป็นบุคคลจำพวกที่ค้าในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์เรียกเอาค่าเช่า และเป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(6),(7) ดังนั้น สิทธิเรียกร้องค่าเช่าเครื่องโทรศัพท์และค่าใช้บริการโทรศัพท์ของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเช่าโทรศัพท์: โจทก์เป็นผู้ค้าเช่าสังหาริมทรัพย์ สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 2 ปี
การที่โจทก์จัดให้มีบริการโทรศัพท์และเรียกเก็บเงินค่าเช่าเครื่องโทรศัพท์กับค่าใช้บริการโทรศัพท์นั้น ถือได้ว่าโจทก์เป็นบุคคลจำพวกที่ค้าในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์เรียกเอาค่าเช่าและเป็นผู้ค้ำในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(6),(7) สิทธิเรียกร้องค่าเช่าเครื่องโทรศัพท์และค่าใช้บริการโทรศัพท์ของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี มิใช่ 10 ปี ตามมาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าบริการโทรศัพท์: สิทธิเกิดขึ้นเมื่อใช้บริการ ไม่ใช่เมื่อทวงถาม
แม้โจทก์มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมาย มีหน้าที่เกี่ยวด้วยการให้บริการและการปฏิบัติการด้านไปรษณีย์และโทรคมนาคมเพื่อความสะดวกแก่ประชาชนก็ตาม แต่ผู้ใช้เครื่องโทรศัพท์พูดวิทยุโทรศัพท์จากในประเทศไปยังต่างประเทศโดยผ่านเครื่องวิทยุโทรศัพท์ของโจทก์ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่โจทก์กำหนดไว้ ค่าธรรมเนียมก็คือสินจ้าง จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้าหรือผู้รับทำการงาน เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา165 (7) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี และสิทธิเรียกร้องของโจทก์เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่จำเลยใช้บริการโทรศัพท์นั้นแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค่าบริการโทรศัพท์: สิทธิเรียกร้องเกิดขึ้นเมื่อใช้บริการ ไม่ใช่เมื่อทวงถาม
แม้โจทก์มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมาย มีหน้าที่เกี่ยวด้วยการให้บริการและการปฏิบัติการด้านไปรษณีย์และโทรคมนาคม เพื่อความสะดวกแก่ประชาชนก็ตาม แต่ผู้ใช้เครื่องโทรศัพท์พูดวิทยุโทรศัพท์จากในประเทศไปยังต่างประเทศโดยผ่านเครื่องวิทยุโทรศัพท์ของโจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่โจทก์กำหนดไว้ ค่าธรรมเนียมก็คือสินจ้าง จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้าหรือผู้รับทำการงานเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7) ซึ่งมีอายุความ 2 ปีและสิทธิเรียกร้องของโจทก์เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่จำเลยใช้บริการโทรศัพท์นั้นแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4431/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค่าบริการโทรศัพท์ทางไกล: การนับวันสุดท้ายของอายุความเมื่อตรงกับวันหยุดราชการ
ค่าธรรมเนียมที่ผู้ใช้เครื่องโทรศัพท์พูดวิทยุโทรศัพท์ไปยังต่างประเทศโดยผ่านเครื่องวิทยุของโจทก์ มีลักษณะเป็นสินจ้าง โจทก์จึงเป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (7) สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าใช้บริการโทรศัพท์ทางไกลของโจทก์ จึงมีอายุความฟ้องร้อง 2 ปี
เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความกำหนดตรงกับวันเสาร์หยุดราชการการนับระยะเวลาสุดท้ายของการฟ้องร้อง ก็ต้องคือหลักตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 คือให้นับวันจันทร์อันเป็นวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วยเป็นวันสุดท้าย
เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความกำหนดตรงกับวันเสาร์หยุดราชการการนับระยะเวลาสุดท้ายของการฟ้องร้อง ก็ต้องคือหลักตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 คือให้นับวันจันทร์อันเป็นวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วยเป็นวันสุดท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3606/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ: การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ค้าตามมาตรา 165(7) อายุความ 2 ปี
การที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยจัดให้มีบริการพูดวิทยุโทรศัพท์ไปต่างประเทศและเรียกเก็บเงินค่าบริการนั้น ถือได้ว่าการสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น ดังนั้นสิทธิเรียกร้องสำหรับค่าบริการในการพูดวิทยุโทรศัพท์ไปต่างประเทศดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 195/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลสมบูรณ์ของการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์: การทำสัญญาและการชำระราคาเป็นสำคัญ
อุทธรณ์ของผู้ร้องที่ว่า การที่ผู้ร้องและจำเลยได้ยื่นคำขอโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์ ณ ที่ทำการชุมสายโทรศัพท์ ถือได้ว่าการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์ของผู้ร้องมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้วตั้งแต่วันที่ได้ทำคำขอโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์และเป็นการปฏิบัติถูกต้องตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องอันถือได้ว่าองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้ยินยอมให้มีการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์ดังกล่าวแล้ว เป็นอุทธรณ์ข้อกฎหมาย
จำเลยและผู้ร้องได้ตกลงโอนขายสิทธิการเช่าโทรศัพท์ต่อกันทั้งได้ทำคำขอโอนและรับโอนการเช่าโทรศัพท์ร่วมกันต่อองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยก็รับทราบและได้แจ้งให้จำเลยและผู้ร้องไปชำระเงินค่าโอนย้ายโทรศัพท์แล้ว อีกทั้งผู้ร้องก็ได้ชำระราคาให้จำเลยและจำเลยได้ส่งมอบเครื่องโทรศัพท์ไว้ในครอบครองของผู้ร้องแล้วตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขายดังนั้นการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์รายนี้ย่อมมีผลสมบูรณ์ตั้งแต่ขณะทำสัญญาเสร็จการที่จะไปทำการเปลี่ยนชื่อผู้เช่าโทรศัพท์จากจำเลยมาเป็นชื่อผู้ร้องเป็นแต่เพียงแบบพิธีการเท่านั้น.(ที่มา-ส่งเสริม)
จำเลยและผู้ร้องได้ตกลงโอนขายสิทธิการเช่าโทรศัพท์ต่อกันทั้งได้ทำคำขอโอนและรับโอนการเช่าโทรศัพท์ร่วมกันต่อองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยก็รับทราบและได้แจ้งให้จำเลยและผู้ร้องไปชำระเงินค่าโอนย้ายโทรศัพท์แล้ว อีกทั้งผู้ร้องก็ได้ชำระราคาให้จำเลยและจำเลยได้ส่งมอบเครื่องโทรศัพท์ไว้ในครอบครองของผู้ร้องแล้วตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขายดังนั้นการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์รายนี้ย่อมมีผลสมบูรณ์ตั้งแต่ขณะทำสัญญาเสร็จการที่จะไปทำการเปลี่ยนชื่อผู้เช่าโทรศัพท์จากจำเลยมาเป็นชื่อผู้ร้องเป็นแต่เพียงแบบพิธีการเท่านั้น.(ที่มา-ส่งเสริม)