พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,314 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเลิกจ้างเพราะตั้งครรภ์เป็นโมฆะ ค่าชั่วโมงบินเป็นค่าจ้าง
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ ส. ตามสัญญาจ้างพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่ว่าภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันเริ่มสัญญา หาก ส. ตั้งครรภ์ให้ถือว่า ส. ได้บอกเลิกสัญญานี้แล้ว เป็นข้อตกลงที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีผลเป็นการเลิกจ้าง เพราะ ส. มีครรภ์ อันขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 43 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
การปฏิบัติงานบนเครื่องบินเป็นการทำงานในเวลาทำงานปกติของ ส. แม้ค่าชั่วโมงบินที่ ส. ได้รับในแต่ละเดือนจะมีจำนวนไม่แน่นอนและไม่เท่ากันแต่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างก็จ่ายค่าชั่วโมงบินให้แก่ ส. เมื่อมีการปฏิบัติงานบนเครื่องบินในแต่ละเดือนทุกเดือน ตามอัตราที่คำนวณจากเวลาที่ได้ปฏิบัติงานบนเครื่องบิน ค่าชั่วโมงบินดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ ส. เป็นการตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้าง สำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมงของวันทำงาน จึงเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5
การปฏิบัติงานบนเครื่องบินเป็นการทำงานในเวลาทำงานปกติของ ส. แม้ค่าชั่วโมงบินที่ ส. ได้รับในแต่ละเดือนจะมีจำนวนไม่แน่นอนและไม่เท่ากันแต่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างก็จ่ายค่าชั่วโมงบินให้แก่ ส. เมื่อมีการปฏิบัติงานบนเครื่องบินในแต่ละเดือนทุกเดือน ตามอัตราที่คำนวณจากเวลาที่ได้ปฏิบัติงานบนเครื่องบิน ค่าชั่วโมงบินดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ ส. เป็นการตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้าง สำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมงของวันทำงาน จึงเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาตใช้เครื่องหมายการค้า/บริการที่ไม่ทำตามแบบไม่เป็นโมฆะ หากเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิหลายประการในระบบที่ซับซ้อน
ตามมาตรา 68 วรรคสอง บัญญัติให้สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียน อันเป็นแบบแห่งนิติกรรม เมื่อไม่ทำตามแบบย่อมตกเป็นโมฆะ และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การไว้ก็มีสิทธิยกขึ้นอุทธรณ์ได้
โจทก์เป็นเจ้าของชื่อทางการค้าคำว่า "คาลเท็กซ์" และ "สตาร์มาร์ท" และได้จดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการไว้ด้วย โจทก์เช่าที่ดินจากบุคคลภายนอกแล้วก่อสร้างสถานีบริการน้ำมัน แล้วได้ทำสัญญาการให้สิทธิดำเนินการสถานีบริการน้ำมันแก่จำเลยที่ 1 ตามสัญญาดังกล่าวระบุถึงข้อตกลงการให้สิทธิว่า โจทก์ให้สิทธิชนิดไม่ผูกขาดแก่จำเลยที่ 1 ที่จะดำเนินการในสถานีบริการน้ำมัน เพื่อประกอบธุรกิจจำหน่ายปลีกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมของโจทก์ โดยโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เข้าไปในที่ดินและใช้สถานีบริการน้ำมัน รวมทั้งเครื่องมือภายใต้เงื่อนไขและข้อกำหนดในสัญญานี้ และตามสัญญาข้อ 5 ระบุถึงค่าธรรมเนียมในการดำเนินการที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระตอบแทนแก่โจทก์ จากข้อสัญญาดังกล่าวเป็นเรื่องโจทก์เพียงตกลงให้สิทธิจำเลยที่ 1 เข้าดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันของโจทก์ภายใต้ชื่อทางการค้าคำว่า "คาลเท็กซ์" ของโจทก์เท่านั้น ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่จำเลยที่ 1 ต้องซื้อจากโจทก์มาจำหน่ายในสถานีบริการน้ำมันตามข้อสัญญาเป็นสินค้าของโจทก์เอง แม้จะมีการใช้เครื่องหมายการค้า "คาลเท็กซ์" ก็เป็นการใช้เครื่องหมายการค้าโดยโจทก์เองแล้วนำมาจำหน่ายให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อจำหน่ายให้แก่ลูกค้าต่อไปเท่านั้น มิใช่กรณีที่จำเลยที่ 1 จัดหาผลิตภัณฑ์หรือสินค้ามาเอง แล้วจำเลยที่ 1 นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้กับสินค้าของจำเลยที่ 1 นั้นโดยโจทก์อนุญาตอันจะถือเป็นกรณีที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่อย่างใด สัญญาการให้สิทธิดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมัน จึงมิใช่สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า แม้จะไม่จดทะเบียนต่อนายทะเบียนก็หาตกเป็นโมฆะไม่
โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการให้บริการร้านค้าเพื่อให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ให้บริการแก่ลูกค้าภายใต้เครื่องหมายบริการคำว่า "สตาร์มาร์ท" ของโจทก์ ซึ่งหากสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายบริการไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนจะตกเป็นโมฆะเพราะไม่ทำตามแบบตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 68 วรรคสอง แต่ตามสัญญาดังกล่าวระบุข้อตกลงในการให้สิทธิโดยโจทก์เป็นเจ้าของระบบ "สตาร์มาร์ท" ซึ่งประกอบด้วย เครื่องหมายบริการ ชื่อทางการค้า สัญลักษณ์ การใช้สีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เครื่องมือ คู่มือการประกอบธุรกิจ โดยโจทก์ได้พัฒนาระบบดังกล่าวรวมถึงการกำหนดรูปแบบการจัดวาง การจำหน่ายสินค้า การขายปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ การส่งเสริมการขายและการโฆษณา การบริหารจัดการ และการฝึกอบรมพนักงานของผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิ และโจทก์ตกลงอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เข้าดำเนินกิจการร้านสตาร์มาร์ทในสถานีบริการน้ำมันของโจทก์โดยใช้ระบบของโจทก์ จำเลยที่ 1 ต้องชำระค่าตอบแทนแก่โจทก์ สัญญานี้จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์ให้สิทธิในระบบสตาร์มาร์ทแก่จำเลยที่ 1 หลายประเภท เพื่อให้ประโยชน์ตอบแทนต่อการที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระค่าตอบแทนแก่โจทก์ โดยเครื่องหมายคำว่า "สตาร์มาร์ท" เป็นเพียงสิทธิส่วนหนึ่งในสิทธิหลายประการในระบบสตาร์มาร์ทที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ได้ใช้ประโยชน์ ซึ่งสิทธิหรือประโยชน์ประการอื่นนั้น คู่สัญญาได้แสดงเจตนาระบุชัดไว้แล้ว แสดงถึงพฤติการณ์ที่แยกได้ต่างหากจากสิทธิในการใช้เครื่องหมายบริการ ข้อตกลงส่วนอื่นจึงใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 173
คำว่า "สตาร์มาร์ท" นอกจากเป็นเครื่องหมายบริการของโจทก์แล้ว ยังเป็นชื่อทางการค้าของโจทก์ โดยในส่วนของข้อตกลงเกี่ยวกับชื่อทางการค้าที่จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์จากการอนุญาตให้ใช้โดยโจทก์นั้น ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำตามแบบแห่งนิติกรรม สัญญาที่เป็นการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมาย "สตาร์มาร์ท" จึงสมบูรณ์ ในส่วนของการอนุญาตให้ใช้ชื่อทางการค้าด้วย
โจทก์เป็นเจ้าของชื่อทางการค้าคำว่า "คาลเท็กซ์" และ "สตาร์มาร์ท" และได้จดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการไว้ด้วย โจทก์เช่าที่ดินจากบุคคลภายนอกแล้วก่อสร้างสถานีบริการน้ำมัน แล้วได้ทำสัญญาการให้สิทธิดำเนินการสถานีบริการน้ำมันแก่จำเลยที่ 1 ตามสัญญาดังกล่าวระบุถึงข้อตกลงการให้สิทธิว่า โจทก์ให้สิทธิชนิดไม่ผูกขาดแก่จำเลยที่ 1 ที่จะดำเนินการในสถานีบริการน้ำมัน เพื่อประกอบธุรกิจจำหน่ายปลีกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมของโจทก์ โดยโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เข้าไปในที่ดินและใช้สถานีบริการน้ำมัน รวมทั้งเครื่องมือภายใต้เงื่อนไขและข้อกำหนดในสัญญานี้ และตามสัญญาข้อ 5 ระบุถึงค่าธรรมเนียมในการดำเนินการที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระตอบแทนแก่โจทก์ จากข้อสัญญาดังกล่าวเป็นเรื่องโจทก์เพียงตกลงให้สิทธิจำเลยที่ 1 เข้าดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันของโจทก์ภายใต้ชื่อทางการค้าคำว่า "คาลเท็กซ์" ของโจทก์เท่านั้น ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่จำเลยที่ 1 ต้องซื้อจากโจทก์มาจำหน่ายในสถานีบริการน้ำมันตามข้อสัญญาเป็นสินค้าของโจทก์เอง แม้จะมีการใช้เครื่องหมายการค้า "คาลเท็กซ์" ก็เป็นการใช้เครื่องหมายการค้าโดยโจทก์เองแล้วนำมาจำหน่ายให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อจำหน่ายให้แก่ลูกค้าต่อไปเท่านั้น มิใช่กรณีที่จำเลยที่ 1 จัดหาผลิตภัณฑ์หรือสินค้ามาเอง แล้วจำเลยที่ 1 นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้กับสินค้าของจำเลยที่ 1 นั้นโดยโจทก์อนุญาตอันจะถือเป็นกรณีที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่อย่างใด สัญญาการให้สิทธิดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมัน จึงมิใช่สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า แม้จะไม่จดทะเบียนต่อนายทะเบียนก็หาตกเป็นโมฆะไม่
โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการให้บริการร้านค้าเพื่อให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ให้บริการแก่ลูกค้าภายใต้เครื่องหมายบริการคำว่า "สตาร์มาร์ท" ของโจทก์ ซึ่งหากสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายบริการไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนจะตกเป็นโมฆะเพราะไม่ทำตามแบบตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 68 วรรคสอง แต่ตามสัญญาดังกล่าวระบุข้อตกลงในการให้สิทธิโดยโจทก์เป็นเจ้าของระบบ "สตาร์มาร์ท" ซึ่งประกอบด้วย เครื่องหมายบริการ ชื่อทางการค้า สัญลักษณ์ การใช้สีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เครื่องมือ คู่มือการประกอบธุรกิจ โดยโจทก์ได้พัฒนาระบบดังกล่าวรวมถึงการกำหนดรูปแบบการจัดวาง การจำหน่ายสินค้า การขายปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ การส่งเสริมการขายและการโฆษณา การบริหารจัดการ และการฝึกอบรมพนักงานของผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิ และโจทก์ตกลงอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เข้าดำเนินกิจการร้านสตาร์มาร์ทในสถานีบริการน้ำมันของโจทก์โดยใช้ระบบของโจทก์ จำเลยที่ 1 ต้องชำระค่าตอบแทนแก่โจทก์ สัญญานี้จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์ให้สิทธิในระบบสตาร์มาร์ทแก่จำเลยที่ 1 หลายประเภท เพื่อให้ประโยชน์ตอบแทนต่อการที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระค่าตอบแทนแก่โจทก์ โดยเครื่องหมายคำว่า "สตาร์มาร์ท" เป็นเพียงสิทธิส่วนหนึ่งในสิทธิหลายประการในระบบสตาร์มาร์ทที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ได้ใช้ประโยชน์ ซึ่งสิทธิหรือประโยชน์ประการอื่นนั้น คู่สัญญาได้แสดงเจตนาระบุชัดไว้แล้ว แสดงถึงพฤติการณ์ที่แยกได้ต่างหากจากสิทธิในการใช้เครื่องหมายบริการ ข้อตกลงส่วนอื่นจึงใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 173
คำว่า "สตาร์มาร์ท" นอกจากเป็นเครื่องหมายบริการของโจทก์แล้ว ยังเป็นชื่อทางการค้าของโจทก์ โดยในส่วนของข้อตกลงเกี่ยวกับชื่อทางการค้าที่จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์จากการอนุญาตให้ใช้โดยโจทก์นั้น ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำตามแบบแห่งนิติกรรม สัญญาที่เป็นการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมาย "สตาร์มาร์ท" จึงสมบูรณ์ ในส่วนของการอนุญาตให้ใช้ชื่อทางการค้าด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8439/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทนายความคิดค่าตอบแทนจากผลคดี: โมฆะเพราะขัดจริยธรรมวิชาชีพ
สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงว่าจำเลยตกลงให้ค่าตอบแทนแก่โจทก์เป็นอัตราร้อยละ 10 จากจำนวนค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนที่จำเลยได้รับเพิ่มขึ้นตามคำพิพากษา แสดงว่าค่าตอบแทนที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยย่อมขึ้นอยู่กับค่าทดแทนที่จำเลยได้รับ หากจำเลยไม่ได้รับค่าทดแทนโจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนจากจำเลย จึงมีลักษณะที่โจทก์ซึ่งเป็นทนายความเข้ามีส่วนได้ส่วนเสียทางทรัพย์ในผลแห่งคดีความของจำเลยซึ่งเป็นลูกความ แม้จะไม่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย แต่ก็เป็นสัญญาที่ฝ่าฝืนต่อหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพทนายความ เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7337/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทนายความที่มีข้อตกลงแบ่งเปอร์เซ็นต์จากผลคดี เป็นโมฆะเพราะขัดต่อจริยธรรมและความสงบเรียบร้อย
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของ ซึ่งกฎหมายมิได้บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้นเพียงแต่คู่สัญญาตกลงว่าจ้างและรับจ้างแล้ว สัญญาย่อมเกิดขึ้นและผูกพันคู่สัญญาให้ต้องปฏิบัติตามนั้น เมื่อจำเลยได้ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความแล้ว แม้สัญญาจ้างว่าความจะมิได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ โจทก์ก็มีสิทธิที่จะนำพยานบุคคลมาสืบยืนยันว่าได้มีการตกลงค่าจ้างไว้เป็นจำนวนเท่าใด
ข้อสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยในส่วนที่ตกลงให้สินจ้างกันร้อยละ 7.5 ของราคาทรัพย์สิน และถ้าจำเลยไม่ได้รับที่ดินพิพาทคืน โจทก์จะไม่ได้รับค่าจ้าง เช่นนี้ ข้อตกลงตามสัญญาดังกล่าวมีลักษณะเป็นการหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความ หรือยุยงให้ผู้อื่นเป็นความกัน จึงเป็นข้อสัญญาที่ให้ทนายความเข้ามีส่วนได้เสียในทางการเงินโดยตรงในผลของคดี จึงไม่ต้องด้วยหลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความ ย่อมถือว่าเป็นข้อสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
ข้อสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยในส่วนที่ตกลงให้สินจ้างกันร้อยละ 7.5 ของราคาทรัพย์สิน และถ้าจำเลยไม่ได้รับที่ดินพิพาทคืน โจทก์จะไม่ได้รับค่าจ้าง เช่นนี้ ข้อตกลงตามสัญญาดังกล่าวมีลักษณะเป็นการหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความ หรือยุยงให้ผู้อื่นเป็นความกัน จึงเป็นข้อสัญญาที่ให้ทนายความเข้ามีส่วนได้เสียในทางการเงินโดยตรงในผลของคดี จึงไม่ต้องด้วยหลักจริยธรรมทางวิชาชีพของทนายความ ย่อมถือว่าเป็นข้อสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 708/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเบิกเกินบัญชีเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด โมฆะ และการผิดนัดชำระหนี้
ประกาศธนาคารโจทก์ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ฉบับลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 ซึ่งใช้บังคับขณะทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลย กำหนดให้โจทก์เรียกเก็บดอกเบี้ยและส่วนลดในกรณีลูกค้าเบิกเงินเกินวงเงินหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการผ่อนชำระในอัตราไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี และเรียกจากลูกค้าทั่วไปกรณีอยู่ภายในวงเงินและไม่ผิดเงื่อนไขในการผ่อนชำระในอัตราที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) คืออัตราร้อยละ 13.75 ต่อปี บวกร้อยละ 2 ต่อปี รวมเป็นอัตราร้อยละ 15.75 ต่อปี การที่โจทก์กำหนดดอกเบี้ยที่จะเรียกจากจำเลยที่ 1 ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีไว้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ให้เรียกเก็บกรณีเบิกเงินเกินวงเงินหรือผิดเงื่อนไขในการผ่อนชำระ มิใช่อัตราดอกเบี้ยทั่วไปที่จะเรียกจากลูกค้าได้นับแต่วันทำสัญญาเช่นนี้ จึงเป็นการกำหนดดอกเบี้ยเกินกว่าประกาศของโจทก์ ไม่เป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดไว้ และเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จึงขัดต่อ พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14 อันเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) การกำหนดดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์คงคิดดอกเบี้ยจากหนี้เงินได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เท่านั้น และกรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้รับแจ้งรายการบัญชีเดินสะพัดแล้วไม่โต้แย้งความถูกต้องและดอกเบี้ยที่คิดภายหลังทำสัญญาในบางช่วงเวลารวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่ขอมาท้ายฟ้องไม่ถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ก็ไม่อาจบังคับได้ตามขอ
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกัน การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้คงเหลือ ดังนั้น หากคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดอยู่ต่อไป ก็ยังไม่ถือว่ามีการผิดนัดกัน
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกัน การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้คงเหลือ ดังนั้น หากคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดอยู่ต่อไป ก็ยังไม่ถือว่ามีการผิดนัดกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6985/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระบุข้อความปฏิเสธการยอมความในคดีอาญาในสัญญา ไม่ขัดกฎหมายและไม่เป็นโมฆะ
การยอมความกันที่มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ต้องเป็นการแสดงเจตนาของผู้เสียหายว่าผู้เสียหายตกลงไม่ดำเนินคดีอาญาหรือเอาผิดทางอาญาแก่ผู้กระทำความผิด ข้อความที่ว่า "การยอมรับชำระหนี้ดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการยอมความในคดีอาญา" มีความหมายว่าโจทก์ไม่ให้ถือเอาความตกลงยินยอมรับชำระหนี้จากจำเลยตามที่ระบุในหนังสือรับสภาพความรับผิดและบันทึกรับสภาพหนี้เป็นการตกลงยอมความในคดีอาญา ซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดห้ามไม่ให้ผู้เสียหายหรือโจทก์ทำเช่นนั้น ทั้งไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เพราะเป็นสิทธิผู้เสียหายโจทก์ที่จะยอมความในคดีอาญาอันเป็นความผิดต่อส่วนตัวหรือไม่ก็ได้ การระบุข้อความเช่นว่านั้นจึงไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายและไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 686/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญาแบ่งมรดกไม่ตกเป็นโมฆะ แม้ผู้จัดการมรดกไม่ได้ระบุทรัพย์สินทั้งหมด การปิดบังทรัพย์สินเพื่อเอื้อประโยชน์ตนเอง
โจทก์ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยมิได้ระบุว่ามีที่ดิน 2 แปลงด้วย แต่ไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายใดที่บัญญัติให้คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องระบุถึงทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมด และตามคำร้องก็ระบุเพียงว่า ผู้ร้องไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบก เพื่อโอนซื้อผู้ครอบครองรถยนต์กระบะเป็นของทายาทตามเจตนาของเจ้าของมรดก แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่าต้องมีคำสั่งแต่งตั้งโจทก์ที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อนเท่านั้นโจทก์ที่ 1 ไม่ได้ระบุว่านอกจากทรัพย์สินดังกล่าว ผู้ตายไม่มีทรัพย์มรดกอื่นอีก จึงมิใช่เป็นการปิดบังทรัพย์มรดกที่ดินดังกล่าวอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองถูกกำจัดมิให้ได้มรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1605
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5566/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสที่ขัดต่อกฎหมาย: การสมรสซ้อนและผลกระทบต่อสิทธิในครอบครัวและมรดก
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ขณะที่ผู้คัดค้านจดทะเบียนสมรสกับ ว. นั้น ว. ได้จดทะเบียนสมรสกับผู้ร้องที่ 1 แล้ว และยังเป็นคู่สมรสกับผู้ร้องที่ 1 อยู่ตลอดมาจน ว. ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่างผู้คัดค้านกับ ว. จึงเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1445 (3) (เดิม) และตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1490 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่ผู้คัดค้านจดทะเบียนสมรสกับ ว. แม้ภายหลัง ว. ได้ถึงแก่ความตายเป็นเหตุให้การสมรสระหว่างผู้คัดค้านกับ ว. สิ้นสุดลงก็ตาม แต่เมื่อการจดทะเบียนสมรสระหว่างผู้คัดค้านกับ ว. ยังเป็นโมฆะอยู่เช่นนี้ ย่อมมีผลกระทบถึงสิทธิในครอบครัวและสิทธิในมรดก ผู้ร้องทั้งสามซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้การสมรสระหว่างผู้คัดค้านกับ ว. เป็นโมฆะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5492/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทั้งหมด มิฉะนั้นสัญญาเป็นโมฆะ
ที่ดินมีโฉนดซึ่ง ด. มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับ ล. บิดาจำเลยทั้งสอง เมื่อที่ดินดังกล่าวมิได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดว่าส่วนของใครอยู่ตอนไหนและมีเนื้อที่เท่าใด ด. และ ล. ผู้มีชื่อในโฉนดซึ่งถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันจึงยังเป็นเจ้าของรวมอยู่ตามส่วนที่ตนถือกรรมสิทธิ์ การที่โจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับ ด. โดยระบุเนื้อที่ 6 ไร่ 1 งาน 52 ตารางวา ซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือของที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการซื้อขายตัวทรัพย์ซึ่งมิใช่เป็นการขายกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของ ด. จะกระทำได้ก็แต่ความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน การที่ ด. เอาตัวทรัพย์มาทำสัญญาจะขายแก่โจทก์ โดย ล. เจ้าของรวมมิได้ยินยอมด้วย จึงไม่มีผลผูกพัน ล. เมื่อจำเลยทั้งสองเป็นผู้รับโอนมรดกจาก ล. จึงถือว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันทุกส่วนและมีส่วนในที่ดินพิพาททั้งแปลงเท่ากัน โจทก์จึงฟ้องขอให้แบ่งแยกที่ดินโดยให้โจทก์ได้ที่ดินทางด้านทิศเหนือและจำเลยทั้งสองได้ที่ดินด้านทิศใต้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5492/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมต้องยินยอมร่วมกันในการซื้อขายทรัพย์สินโดยรวม การซื้อขายเฉพาะส่วนเป็นโมฆะ
ที่ดินมีโฉนดซึ่ง ด. มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับ ล. บิดาจำเลยทั้งสอง เมื่อที่ดินดังกล่าวมิได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดว่าส่วนของใครอยู่ตอนไหนและมีเนื้อที่เท่าใด ด. และ ล. ผู้มีชื่อในโฉนดซึ่งถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันจึงยังเป็นเจ้าของรวมอยู่ตามส่วนที่ตนถือกรรมสิทธิ์ การที่โจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับ ด. โดยระบุเนื้อที่ 6 ไร่ 1 งาน 52 ตารางวา ซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือของที่ดินดังกล่าว จึงเป็นการซื้อขายตัวทรัพย์ ซึ่งมิใช่เป็นการขายกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของ ด. จะกระทำได้ก็แต่ความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน การที่ ด. เอาตัวทรัพย์มาทำสัญญาจะขายแก่โจทก์โดย ล. เจ้าของรวมมิได้ยินยอมด้วย จึงไม่มีผลผูกพัน ล. เมื่อจำเลยทั้งสองเป็นผู้รับโอนมรดกจาก ล. จึงถือว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันทุกส่วนและมีส่วนในที่ดินพิพาททั้งแปลงเท่ากัน โจทก์จึงฟ้องขอให้แบ่งแยกที่ดินโดยให้โจทก์ได้ที่ดินทางด้านทิศเหนือและจำเลยทั้งสองได้ที่ดินด้านทิศใต้หาได้ไม่