คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โมฆียะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 154 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1976/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆียะเนื่องจากผู้เอาประกันปกปิดอาการป่วยจริง
ผู้เอาประกันชีวิตทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลย โดยทราบอยู่แล้วว่าตนเป็นโรคหัวใจและโรคความดันโลหิตสูง แต่ละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงดังกล่าวเพราะอาจทำให้จำเลยบอกปัดไม่รับทำสัญญาประกันชีวิตให้แก่ตน สัญญาประกันชีวิตจึงตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคหนึ่งและเมื่อจำเลยใช้สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมไปยังโจทก์ในฐานะผู้รับผลประโยชน์แล้ว สัญญาประกันชีวิตจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7037/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลภายนอกผู้สุจริตย่อมได้รับความคุ้มครอง แม้มีการบอกล้างนิติกรรมโมฆียะจากกลฉ้อฉล
คดีก่อนศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นโมฆียะเพราะผู้ร้องถูกกลฉ้อฉลของจำเลย เมื่อผู้ร้องบอกล้างแล้วนิติกรรมจึงเป็นโมฆะ คดีถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องซึ่งเป็นคู่ความย่อมผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง การที่ผู้ร้องบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นโมฆียะเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลย จึงไม่อาจยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งมิใช่คู่สัญญาซื้อขายและมิใช่คู่ความในคดีก่อนอันเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 160
คำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้องมิได้บรรยายว่า โจทก์ทราบถึงกลฉ้อฉลของจำเลยอันจะเป็นประเด็นว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต ผู้ร้องจะยกเอาการบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลย เป็นข้อต่อสู้โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3880/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินด้วยกลฉ้อฉลและการบอกล้างนิติกรรมโมฆียะ รวมถึงผลกระทบต่อสิทธิของบุคคลที่สาม
โจทก์ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 เพราะถูกจำเลยที่ 1 หลอกลวงว่าจะชำระราคาที่ดินพิพาทด้วยเงินสด และจำเลยที่ 1 มีฐานะดี เช็คที่นาย ย. พวกของจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายก็จะเรียกเก็บเงินได้ หากจำเลยที่ 1 กับพวกไม่หลอกลวงเช่นนี้โจทก์จะไม่ทำสัญญาซื้อขายด้วย ดังนี้ การแสดงเจตนาขายที่ดินพิพาทของโจทก์ถือได้ว่าเกิดขึ้นเพราะถูกกลฉ้อฉล ทำให้นิติกรรมการซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 159 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ฟ้องคดีขอให้เพิกถอนย่อมมีผลเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรม ทำให้นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก และคู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามมาตรา 176 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้ที่ดินพิพาทมาโดยการทำกลฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 ได้ที่ดินพิพาทโดยการรับซื้อฝากจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต จำเลยที่ 2 จะอ้างสิทธิตามสัญญาขายฝากขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้บอกล้างโมฆียะกรรมเพราะถูกกลฉ้อฉลหาได้ไม่ นิติกรรมการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองไม่มีผลใด ๆ ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตโมฆียะจากการปกปิดข้อมูลสุขภาพของผู้เอาประกันภัย และเขตอำนาจศาล
ขณะ ท.ทำคำขอประกันชีวิตกับบริษัทจำเลย ท.มีภูมิลำเนาอยู่อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี ในเขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรี ในวันทำคำขอเอาประกันชีวิต ส.พนักงานของจำเลยไปอธิบายรายละเอียด ผลประโยชน์และเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่บ้านอันเป็นภูมิลำเนาของ ท. และพนักงานของจำเลยเป็นผู้กรอกรายละเอียดในคำขอประกันชีวิตให้ ท.ลงลายมือชื่อ พร้อมทั้งพา ท.ไปตรวจสุขภาพที่คลีนิคแพทย์ในตลาดวังน้ำเย็น แพทย์ได้ทำรายงานตามใบตรวจสุขภาพ ส.ลงลายมือชื่อเป็นพยานไว้ด้วย แล้ว ส.ส่งเอกสารดังกล่าวให้จำเลยสาขาสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานครพิจารณาออกกรมธรรม์ให้แก่ ท. และต่อมาจำเลยตกลงรับประกันชีวิตกับ ท. การที่ ท.ตกลงใจที่จะเอาประกันชีวิตกับจำเลย ซึ่งต่อมาจำเลยตกลงรับประกันชีวิตกับ ท.ถือได้ว่ามูลคดีจากการทำสัญญาประกันชีวิตรายนี้เกิดที่ภูมิลำเนาของ ท. ที่อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดกบินทร์บุรีได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (1)
ก่อนทำสัญญาประกันชีวิต ท.ได้เคยให้แพทย์ตรวจรักษาร่างกายจากการตรวจร่างกายประกอบกับการเอกซเรย์ปอดแล้ว แพทย์พบว่า ท.น่าจะเป็นวัณโรคปอด จึงได้รักษา ท.ต่อเนื่องกันประมาณ 5 เดือน แล้ว ท.ขาดการติดต่อหลังจากนั้นมาพบแพทย์อีกโดย ท.มีอาการไอ หอบ แพทย์จึงทำการตรวจรักษาและให้ยาไปรับประทาน ดังนี้ การที่ ท.ได้ทำคำขอเอาประกันชีวิตโดยไม่ปรากฏว่า ท.ได้แจ้งว่า เคยเป็นวัณโรคปอดมาก่อน จำเลยจึงไม่ทราบว่า ท.เคยเป็นวัณโรคปอดและตาม ป.พ.พ.มาตรา 865 เป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยซึ่งการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของตนต้องเปิดเผยข้อความจริงให้ผู้รับประกัยภัยทราบ การที่ ท.ผู้เอาประกันชีวิตป่วยเป็นวัณโรคปอดซึ่งเป็นโรคร้ายแรงและได้รับการรักษาเกี่ยวกับโรคดังกล่าวเป็นเวลานาน แต่มิได้แจ้งข้อความจริงดังกล่าวให้จำเลยทราบเมื่อขอเอาประกันชีวิต ซึ่งหากจำเลยทราบก็อาจเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นหรือไม่รับประกันชีวิตดังนี้สัญญาประกันชีวิตจึงเป็นโมฆียะ ผู้รับประกันภัยย่อมมีสิทธิที่บอกล้างนิติกรรมดังกล่าวได้ โดยมิต้องคำนึงว่าผู้เอาประกันภัยจะถึงแก่ความตายหรือไม่ หรือตายด้วยเหตุใดเมื่อจำเลยบอกล้างสัญญาประกันชีวิตอันเป็นโมฆียะต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ หากผู้เอาประกันภัยจงใจปกปิดโรคร้ายแรงก่อนทำสัญญา ผู้รับประกันภัยมีสิทธิบอกล้างได้
พนักงานหรือตัวแทนของจำเลยเป็นผู้ไปอธิบายรายละเอียด ผลประโยชน์และเงื่อนไขของกรมธรรม์ให้ ท. ฟังที่บ้านในเขตท้องที่อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรีอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรีซึ่งเป็นภูมิลำเนาของท.เมื่อท. ได้รับฟังคำอธิบายแล้วจึงตกลงใจเอาประกันชีวิตกับจำเลยโดยลงลายมือชื่อในคำขอเอาประกันชีวิต ซึ่งพนักงาน ของจำเลยเป็นผู้กรอกรายละเอียดในคำขอให้ และได้พา ท.ไปตรวจสุขภาพที่คลินิก แพทย์ และได้นำคำขอเอาประกันชีวิตของ ท. พร้อมรายงานแพทย์ส่งให้สำนักงานใหญ่ของจำเลย จำเลย ตกลงรับประกันชีวิตกับ ท. มูลคดีจากการทำสัญญาประกันชีวิตเกิดที่ภูมิลำเนาของ ท. โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดกบินทร์บุรีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) ในสัญญาประกันชีวิตเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยซึ่ง การใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของตน ต้องเปิดเผยข้อความจริงให้ผู้รับประกันภัยทราบ ท. ผู้เอาประกันชีวิตป่วยเป็นวัณโรคปอด ซึ่งเป็นโรคร้ายแรงและได้รับการรักษาเกี่ยวกับโรคดังกล่าวเป็นเวลานาน แต่มิได้แจ้งข้อความจริงให้จำเลยทราบเมื่อขอเอาประกันชีวิต ซึ่งหากจำเลยทราบก็อาจเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นหรือไม่รับประกันชีวิตสัญญาประกันชีวิตจึงเป็นโมฆียะ ผู้รับประกันภัยย่อมมีสิทธิบอกล้างนิติกรรมได้โดยมิต้องคำนึงว่าผู้เอาประกันภัยจะถึงแก่ความตายหรือไม่ หรือตายด้วยเหตุใด เมื่อผู้เอาประกันชีวิตถึงแก่ความตายแล้วจำเลยจะบอกล้างสัญญาประกันชีวิตอันเป็นโมฆียะต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาได้เมื่อจำเลยบอกล้างสัญญาอันเป็นโมฆียะแล้วจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตโมฆียะจากข้อมูลสุขภาพที่ไม่เปิดเผย & เขตอำนาจศาล
ขณะ ท.ทำคำขอประกันชีวิตกับบริษัทจำเลยท.มีภูมิลำเนาอยู่อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรีในเขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรี ในวันทำคำขอเอา ประกันชีวิต ส. พนักงานของจำเลยไปอธิบายรายละเอียด ผลประโยชน์และเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่บ้านอันเป็นภูมิลำเนาของ ท. โดยพนักงานของจำเลยเป็นผู้กรอกรายละเอียดในคำขอประกันชีวิตให้ ท.ลงลายมือชื่อ พร้อมทั้งพา ท.ไปตรวจสุขภาพที่คลินิก แพทย์ในตลาดวังน้ำเย็น แพทย์ได้ทำรายงานตามใบตรวจสุขภาพและ ส.ลงลายมือชื่อเป็นพยานไว้ด้วยแล้วส. ส่งเอกสารดังกล่าวให้บริษัทจำเลยที่สำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานครพิจารณาออกกรมธรรม์ให้แก่ ท. ต่อมาจำเลยตกลงรับประกันชีวิตกับ ท.การที่ท. ตกลงใจที่จะเอาประกันชีวิตกับจำเลยซึ่งต่อมาจำเลยตกลงรับประกันชีวิตกับ ท.ถือได้ว่ามูลคดีจากการทำสัญญาประกันชีวิตรายนี้ เกิดที่ภูมิลำเนาของ ท.ที่อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย ที่ศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดกบินทร์บุรีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) ก่อนทำสัญญาประกันชีวิต ท. ได้เคยให้แพทย์ตรวจรักษาร่างกายจากการตรวจร่างกายประกอบกับการเอกซเรย์ปอดแล้วแพทย์พบว่าท. น่าจะเป็นวัณโรคปอด จึงได้รักษาท. ต่อเนื่องกันประมาณ 5 เดือน แล้ว ท.ขาดการติดต่อหลังจากนั้นมาพบแพทย์อีกโดยท. มีอาการไอหอบแพทย์จึงทำการตรวจรักษาและให้ยาไปรับประทาน ดังนี้ การที่ ท. ได้ทำคำขอเอาประกันชีวิตโดย ท. มิได้แจ้งว่าเคยเป็นวัณโรคปอดมาก่อน จำเลยจึงไม่ทราบว่า ท. เคยเป็นวัณโรคปอด และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 เป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยซึ่งการใช้เงินย่อม อาศัยความทรงชีพหรือมรณะของตนต้องเปิดเผย ข้อความจริงให้ผู้รับประกันภัยทราบ การที่ ท. ผู้เอาประกันชีวิตป่วยเป็นวัณโรคปอดซึ่งเป็นโรคร้ายแรง และได้รับการรักษาเกี่ยวกับโรคดังกล่าวเป็นเวลานาน แต่มิได้แจ้งข้อความจริงดังกล่าวให้จำเลยทราบ เมื่อขอเอาประกันชีวิต ซึ่งหากจำเลยทราบก็อาจเรียก เบี้ยประกันสูงขึ้นหรือไม่รับประกันชีวิต สัญญาประกันชีวิต จึงเป็นโมฆียะ ผู้รับประกันภัยย่อมมีสิทธิที่บอกล้างนิติกรรม ดังกล่าวได้โดยมิต้องคำนึงว่าผู้เอาประกันภัยจะ ถึงแก่ความตายหรือไม่ หรือตายด้วยเหตุใด เมื่อจำเลย บอกล้างสัญญาประกันชีวิตอันเป็นโมฆียะต่อโจทก์ ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาแล้วจำเลยจึงไม่ต้อง รับผิดใช้เงินให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ หากผู้เอาประกันภัยปกปิดเจ็บป่วยร้ายแรงก่อนทำสัญญา และจำเลยมีสิทธิบอกล้างสัญญาได้
ขณะ ท.ทำคำขอประกันชีวิตกับบริษัทจำเลยท.มีภูมิลำเนาอยู่อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรีในเขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรี ในวันทำคำขอเอาประกันชีวิต ส.พนักงานของจำเลยไปอธิบายรายละเอียด ผลประโยชน์และเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่บ้านอันเป็นภูมิลำเนา ของ ท. และพนักงานของจำเลยเป็นผู้กรอกรายละเอียดในคำขอประกันชีวิตให้ ท.ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งพาท.ไปตรวจสุขภาพที่คลีนิคแพทย์ในตลาดวังน้ำเย็น แพทย์ได้ทำรายงานตามใบตรวจสุขภาพ ส. ลงลายมือชื่อเป็นพยานไว้ด้วยแล้ว ส. ส่งเอกสารดังกล่าวให้บริษัทจำเลยที่สำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานครพิจารณาออกกรมธรรม์ให้แก่ ท. และต่อมาจำเลยตกลงรับประกันชีวิตกับ ท. ถือได้ว่ามูลคดีจากการทำสัญญาประกันชีวิตรายนี้เกิดที่ภูมิลำเนาของ ท.ที่อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดกบินทร์บุรีได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) ก่อนทำสัญญาประกันชีวิต ท. ได้เคยให้แพทย์ตรวจรักษาร่างกายจากการตรวจร่างกายประกอบกับการเอกซเรย์ปอดแล้วแพทย์พบว่าท. น่าจะเป็นวัณโรคปอดจึงได้รักษา ท.ต่อเนื่องกันประมาณ5เดือนแล้วท.ขาดการติดต่อหลังจากนั้น ท.มาพบแพทย์อีกโดยท.มีอาการไอหอบ แพทย์จึงทำการตรวจรักษาและให้ยาไปรับประทาน การที่ ท. ได้ทำคำขอเอาประกันชีวิตโดยไม่ปรากฏว่า ท. ได้แจ้งว่า เคยเป็นวัณโรคปอดมาก่อน จำเลยย่อมไม่ทราบว่า ท. เคยเป็นวัณโรคปอดและตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 865 เป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยซึ่งการใช้เงิน ย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของตนต้องเปิดเผยข้อความจริงให้ผู้รับประกันภัยทราบ การที่ ท. ผู้เอาประกันชีวิตป่วยเป็นวัณโรคปอดซึ่งเป็นโรคร้ายแรงและได้รับการรักษาเกี่ยวกับโรคดังกล่าวเป็นเวลานาน แต่มิได้แจ้งข้อความจริงดังกล่าวให้จำเลยทราบเมื่อขอเอาประกันชีวิต ซึ่งหากจำเลยทราบก็อาจเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นหรือไม่รับประกันชีวิตสัญญาประกันชีวิตจึงเป็นโมฆียะ ผู้รับประกันภัยย่อมมีสิทธิที่บอกล้างนิติกรรมดังกล่าวได้ โดยมิต้องคำนึงว่าผู้เอาประกันภัยจะถึงแก่ความตายหรือไม่ หรือตายด้วยเหตุใดเมื่อจำเลยบอกล้างสัญญาประกันชีวิตอันเป็นโมฆียะต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8082/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆียะจากเจตนาปกปิดข้อมูลสุขภาพของผู้เอาประกัน
แบบฟอร์มคำขอเอาประกันชีวิต ข้อ 17 ถึงข้อ 22 เป็นข้อความที่ถามไว้เป็นข้อย่อยเกี่ยวกับสุขภาพของ ผู้เอาประกันชีวิต เช่น มีความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจบ้างหรือไม่ ในระหว่าง 5 ปี ที่ผ่านมาเคยเจ็บป่วย เคยได้รับการผ่าตัด เคยรับการรักษาในสถานพยาบาล ถ้าเคย โปรดแจ้งรายละเอียด แบบฟอร์มที่มีข้อความเช่นนี้ตัวแทนจำเลย ผู้มาติดต่อขอเอาประกันชีวิตไม่จำเป็นต้องสอบถามตามข้อความที่ระบุไว้ แต่เป็นที่เชื่อได้ว่าผู้เอาประกันชีวิตจะต้องอ่านก่อน และปรากฏว่าโจทก์มีอาชีพค้าขายมีฐานะเป็นเจ้าของกิจการย่อมต้องรอบคอบ เมื่อโจทก์อ่านข้อความเหล่านี้แล้ว แต่กลับเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในข้อ 23 ซึ่งระบุว่า ถ้าคำตอบในเรื่องสุขภาพเป็นคำตอบรับ เช่น เคยได้รับการผ่าตัด หรือเข้ารักษาตัวในสถานพยาบาล จะต้องอธิบายรายละเอียดไว้ด้วย ข้อความเหล่านี้มีอยู่ก่อนโจทก์ลงชื่อในคำขอเอาประกันชีวิต หาใช่ตัวแทนจำเลยกรอกข้อความดังกล่าวภายหลังไม่ เมื่อโจทก์ไม่แจ้ง ก็ถือได้ว่าโจทก์มีเจตนาปกปิดไม่แจ้งความจริงตามหน้าที่ที่ต้องชี้แจงแสดงข้อบกพร่องของผู้เอาประกันชีวิตซึ่งผู้รับประกันภัยอาจบอกปัด ไม่ยอมทำสัญญาประกันชีวิตให้ผู้รับประกันภัยทราบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง หน้าที่นี้มีน้ำหนักใน การแสดงความสุจริตมากกว่าหน้าที่ของผู้รับประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 866 ที่จะต้องใช้ความระมัดระวังใน การรับรู้ข้อความจริง โดยผู้รับประกันภัยพึงใช้ความระมัดระวังอย่างคนธรรมดาเช่นวิญญูชนทั่วไปก็พอแล้ว สัญญาประกันชีวิตดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆียะจำเลยย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 865

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7219/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าอ้างเอกสารเป็นพยาน, สัญญาประกันภัย, การกรอกข้อมูล, ศาลรับฟังหลักฐาน, โมฆียะ
จำเลยอ้างและขอคำสั่งศาลเรียกประวัติการตรวจรักษาของผู้ป่วยจากโรงพยาบาลเป็นพยานเอกสาร เมื่อโรงพยาบาลส่งเอกสารมาแล้ว ศาลชั้นต้นสั่งในรายงานกระบวนการพิจารณาถึง 2 ครั้ง ให้จำเลยชำระค่าอ้างเอกสารเป็นพยาน แต่จำเลยไม่ชำระ ในชั้นอุทธรณ์โจทก์ได้กล่าวแก้อุทธรณ์เป็นประเด็นว่าจำเลยไม่ชำระต่อศาล ในชั้นฎีกาโจทก์ก็กล่าวตั้งประเด็นในเรื่องนี้อีก จำเลยก็ยังไม่ชำระต่อศาล ดังนี้ แสดงว่าจำเลยจงใจไม่ชำระค่าอ้างเอกสารเป็นพยานตาม ตาราง 2 (5) ท้าย ป.วิ.พ. เอกสารดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานที่ได้ยื่นฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ศาลชอบที่จะปฏิเสธไม่รับเอกสารนั้นไว้ และถ้ารับไว้แล้วก็ไม่ชอบที่จะรับฟังเอกสารนั้น ศาลจึงนำข้อความในเอกสารดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยไม่ได้
ส. กรอกข้อความหรือตอบคำถามจำเลยในใบคำขอเอาประกันชีวิตไปตามความเป็นจริง สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ส. กับจำเลยจึงไม่เป็นโมฆียะ จำเลยไม่มีสิทธิบอกล้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6868/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโดยถูกข่มขู่: โมฆียะตามกฎหมาย
พฤติการณ์ที่โจทก์ถูกจำเลยใช้กำลังข่มขู่บังคับจากจังหวัดสมุทรปราการให้จำต้องมาที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ต้องถูกควบคุมตัวอยู่ตลอดเวลา 12 วันและถูกล่วงละเมิดทางเพศ แม้ขณะจดทะเบียนสมรสก็ยังอยู่ในความควบคุมของจำเลยเช่นนี้ โจทก์เพียงลำพังย่อมต้องเกรงกลัวการบังคับและคำขู่ของจำเลยที่ว่าจะไม่พาโจทก์กลับบ้าน จะทำร้ายร่างกายและพาโจทก์ไปอยู่ในป่าหากไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับจำเลย วิญญูชนที่ตกอยู่ในภาวะการณ์เช่นนี้ย่อมมีมูลต้องเกรงกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อร่างกายและเสรีภาพของตนหากไม่ยินยอมปฏิบัติตนตามคำข่มขู่เช่นเดียวกับโจทก์การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นการสมรสโดยถูกข่มขู่อันถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่นั้นโจทก์จะไม่ทำการสมรสกับจำเลย การสมรสจึงเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ.มาตรา 1507 วรรคหนึ่ง
of 16