พบผลลัพธ์ทั้งหมด 92 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7773/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อความปลอดภัยในการทำงาน กรณีโรงงานขาดแผนป้องกันอัคคีภัยและระบบความปลอดภัย
จำเลยเป็นเจ้าของสถานประกอบการโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีจักรเย็บผ้าไฟฟ้า 21 ตัว และมีคนงานหญิง 15 คน จำเลยจึงเป็นนายจ้างและเป็นเจ้าของโรงงานจำพวกที่ 1 ตามบัญชีท้ายกฎกระทรวง (พ.ศ.2535)ออกตามความใน พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 ลำดับที่ 28 (1) ในอันที่จะต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงมหาดไทย
โรงงานของจำเลยเป็นตึกแถว 3 ชั้นต่อเติมเป็น 4 ชั้น มีประตูเหล็กยืดที่ชั้นล่างใช้เป็นทางเข้าออกทางเดียว ส่วนทางขึ้นดาดฟ้านั้นโดยสภาพไม่ใช่ทางเข้าออก นอกจากนี้ยังปรากฏว่าทางขึ้นดาดฟ้าครอบด้วยตะแกรงเหล็กมีประตูเปิดปิด แต่ล็อกกุญแจไว้ ส่วนหน้าต่างของตึกแถวแต่ละชั้นติดเหล็กดัดทุกบานเหล็กดัดดังกล่าวปิดตายไว้ทุกบาน ไม่สามารถเปิดออกได้ เกี่ยวกับการจัดเก็บรักษาวัตถุหรือสิ่งของภายในอาคารที่เกิดเหตุนั้น โรงงานของจำเลยไม่มีห้องจัดเก็บพัสดุที่ใช้ แต่ได้วางไว้ทั่วไปตามพื้นที่ปฏิบัติงาน รวมทั้งตามบันไดขึ้นลงด้วย โดยจำเลยไม่ได้จัดเก็บรักษาเสื้อผ้าซึ่งเป็นวัตถุที่เป็นสื่อให้เกิดอัคคีภัยได้ง่ายให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและในที่ปลอดภัย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535) ข้อ 5 (3) (10) ออกตามความใน พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานสำหรับลูกจ้าง ฉบับลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2534 ข้อ 4 ระบุให้นายจ้างจัดให้มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเกี่ยวกับการตรวจตรา การอบรม การรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย การดับเพลิง การอพยพหนีไฟ การบรรเทาทุกข์และการปฏิรูปฟื้นฟูเมื่อเกิดอัคคีภัยขึ้นแล้ว และให้นายจ้างเก็บแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยไว้ ณ สถานที่ทำงานพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ และข้อ 33 ระบุให้นายจ้างจัดให้มีระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ในสถานประกอบการโดยให้ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้คือสถานประกอบการตั้งแต่สองชั้นขึ้นไปต้องติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ชนิดเปล่งเสียงให้ลูกจ้างที่ทำงานภายในอาคารได้ยินอย่างทั่วถึง โดยมีระดับความดังของเสียงไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยเดซิเบล(เอ) วัดห่างจากจุดกำเนิดของเสียงหนึ่งเมตรโดยรอบ แต่จำเลยไม่ได้จัดทำแผนป้องกันหรือระงับอัคคีภัย ไม่มีระบบสัญญาณเตือนภัย นอกจากนี้เมื่อสำนักงานจัดหลักสูตรอบรมอาสาสมัครป้องกันพลเรือนเกี่ยวกับการป้องกันหรือระงับอัคคีภัยโดยมีการประกาศเชิญชวนทางหนังสือพิมพ์และเครื่องขยายเสียง แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้สมัครเข้ารับการอบรมแต่อย่างใด ส่วนที่จำเลยซักซ้อมกับคนงานว่าหากมีเหตุเพลิงไหม้บริเวณชั้นบนให้หนีออกทางประตูชั้นล่าง หากเพลิงไหม้บริเวณชั้นล่างให้หนีออกทางดาดฟ้าการซักซ้อมวิธีหนีไฟของจำเลยดังกล่าวไม่อาจจัดว่าเป็นแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยตามความมุ่งหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวเช่นกัน
โรงงานของจำเลยเป็นตึกแถว 3 ชั้นต่อเติมเป็น 4 ชั้น มีประตูเหล็กยืดที่ชั้นล่างใช้เป็นทางเข้าออกทางเดียว ส่วนทางขึ้นดาดฟ้านั้นโดยสภาพไม่ใช่ทางเข้าออก นอกจากนี้ยังปรากฏว่าทางขึ้นดาดฟ้าครอบด้วยตะแกรงเหล็กมีประตูเปิดปิด แต่ล็อกกุญแจไว้ ส่วนหน้าต่างของตึกแถวแต่ละชั้นติดเหล็กดัดทุกบานเหล็กดัดดังกล่าวปิดตายไว้ทุกบาน ไม่สามารถเปิดออกได้ เกี่ยวกับการจัดเก็บรักษาวัตถุหรือสิ่งของภายในอาคารที่เกิดเหตุนั้น โรงงานของจำเลยไม่มีห้องจัดเก็บพัสดุที่ใช้ แต่ได้วางไว้ทั่วไปตามพื้นที่ปฏิบัติงาน รวมทั้งตามบันไดขึ้นลงด้วย โดยจำเลยไม่ได้จัดเก็บรักษาเสื้อผ้าซึ่งเป็นวัตถุที่เป็นสื่อให้เกิดอัคคีภัยได้ง่ายให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและในที่ปลอดภัย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535) ข้อ 5 (3) (10) ออกตามความใน พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานสำหรับลูกจ้าง ฉบับลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2534 ข้อ 4 ระบุให้นายจ้างจัดให้มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเกี่ยวกับการตรวจตรา การอบรม การรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย การดับเพลิง การอพยพหนีไฟ การบรรเทาทุกข์และการปฏิรูปฟื้นฟูเมื่อเกิดอัคคีภัยขึ้นแล้ว และให้นายจ้างเก็บแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยไว้ ณ สถานที่ทำงานพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ และข้อ 33 ระบุให้นายจ้างจัดให้มีระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ในสถานประกอบการโดยให้ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้คือสถานประกอบการตั้งแต่สองชั้นขึ้นไปต้องติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ชนิดเปล่งเสียงให้ลูกจ้างที่ทำงานภายในอาคารได้ยินอย่างทั่วถึง โดยมีระดับความดังของเสียงไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยเดซิเบล(เอ) วัดห่างจากจุดกำเนิดของเสียงหนึ่งเมตรโดยรอบ แต่จำเลยไม่ได้จัดทำแผนป้องกันหรือระงับอัคคีภัย ไม่มีระบบสัญญาณเตือนภัย นอกจากนี้เมื่อสำนักงานจัดหลักสูตรอบรมอาสาสมัครป้องกันพลเรือนเกี่ยวกับการป้องกันหรือระงับอัคคีภัยโดยมีการประกาศเชิญชวนทางหนังสือพิมพ์และเครื่องขยายเสียง แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้สมัครเข้ารับการอบรมแต่อย่างใด ส่วนที่จำเลยซักซ้อมกับคนงานว่าหากมีเหตุเพลิงไหม้บริเวณชั้นบนให้หนีออกทางประตูชั้นล่าง หากเพลิงไหม้บริเวณชั้นล่างให้หนีออกทางดาดฟ้าการซักซ้อมวิธีหนีไฟของจำเลยดังกล่าวไม่อาจจัดว่าเป็นแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยตามความมุ่งหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7773/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาและปกครองจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยในการประกอบกิจการโรงงานและการป้องกันอัคคีภัย
จำเลยเป็นเจ้าของสถานประกอบการโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีจักรเย็บผ้าไฟฟ้า 21 ตัว และมีคนงานหญิง 15 คนจำเลยจึงเป็นนายจ้างและเป็นเจ้าของโรงงานจำพวกที่ 1ตามบัญชีท้ายกฎกระทรวง (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ลำดับที่ 28(1) ในอันที่จะต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงมหาดไทย โรงงานของจำเลยเป็นตึกแถว 3 ชั้นต่อเติมเป็น 4 ชั้นมีประตูเหล็กยึดที่ชั้นล่างใช้เป็นทางเข้าออกทางเดียวส่วนทางขึ้นดาดฟ้านั้นโดยสภาพไม่ใช่ทางเข้าออก นอกจากนี้ยังปรากฏว่าทางขึ้นดาดฟ้าครอบด้วยตะแกรงเหล็กมีประตูเปิดปิด แต่ล็อกกุญแจไว้ ส่วนหน้าต่างของตึกแถวแต่ละชั้นติดเหล็กดัดทุกบาน เหล็กดัดดังกล่าวปิดตายไว้ทุกบานไม่สามารถเปิดออกได้ เกี่ยวกับการจัดเก็บรักษาวัตถุหรือสิ่งของภายในอาคารที่เกิดเหตุนั้น โรงงานของจำเลยไม่มีห้องจัดเก็บพัสดุที่ใช้ แต่ได้วางไว้ทั่วไปตามพื้นที่ปฏิบัติงาน รวมทั้งตามบันไดขึ้นลงด้วย โดยจำเลยไม่ได้จัดเก็บรักษาเสื้อผ้าซึ่งเป็นวัตถุที่เป็นสื่อให้เกิดอัคคีภัยได้ง่ายให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและในที่ปลอดภัยการกระทำของจำเลยจึงเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2535) ข้อ 5(3)(10) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานสำหรับลูกจ้าง ฉบับลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2534 ข้อ 4 ระบุให้นายจ้างจัดให้มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเกี่ยวกับการตรวจตรา การอบรม การรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย การดับเพลิง การอพยพหนีไฟ การบรรเทาทุกข์และการปฏิรูปพื้นฟูเมื่อเกิดอัคคีภัยขึ้นแล้ว และให้นายจ้างเก็บแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยไว้ ณ สถานที่ทำงานพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ และข้อ 33ระบุให้นายจ้างจัดให้มีระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ในสถานประกอบการโดยให้ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้คือ สถานประกอบการตั้งแต่สองชั้นไปต้องติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ชนิดเปล่งเสียงให้ลูกจ้างที่ทำงานในอาคารได้ยินอย่างทั่วถึง โดยมีระดับความดังของเสียงไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยเดซิเบล(เอ) วัดห่างจากจุดกำเนิดของเสียงหนึ่งเมตรโดยรอบ แต่จำเลยไม่ได้จัดทำแผนป้องกันหรือระงับอัคคีภัย ไม่มีระบบสัญญาณเตือนภัย นอกจากนี้เมื่อสำนักงานจัดหลักสูตรอบรมอาสาสมัครป้องกันพลเรือนเกี่ยวกับการป้องกันหรือระงับอัคคีภัยโดยมีการประกาศเชิญชวนทางหนังสือพิมพ์และเครื่องขยายเสียง แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้สมัครเข้ารับการอบรมแต่อย่างใด ส่วนที่จำเลยซักซ้อมกับคนงานว่าหากมีเหตุเพลิงไหม้บริเวณชั้นบนให้หนีออกทางประตูชั้นล่าง หากเพลิงไหม้บริเวณชั้นล่างให้หนีออกทางดาดฟ้าการซักซ้อมวิธีหนีไฟของจำเลยดังกล่าวไม่อาจจัดว่าเป็นแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยตามความมุ่งหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4377/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีสรรพสามิต: การเคลื่อนย้ายสินค้าออกจากโรงงานก่อนชำระภาษีและความผิดตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 20 บัญญัติให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมใดมีสินค้าอยู่ในโรงอุตสาหกรรมในวันที่กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตใช้บังคับแก่สินค้านั้น ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมนั้นยื่นแบบรายการแสดงชนิดและปริมาณของสินค้านั้นตามแบบที่อธิบดีกำหนดต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิต ณ สถานที่ตามมาตรา 53 ก่อนหรือพร้อมกับการยื่นแบบรายการภาษีครั้งแรกตามมาตรา 48 ซึ่งตามมาตรา 48(1) ระบุว่า ในกรณีสินค้าที่ผลิตขึ้นในราชอาณาจักรให้ยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชำระภาษีก่อนความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้น และตามมาตรา 10 ระบุให้ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีกรณีสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร โดยถ้าสินค้าอยู่ในโรงอุตสาหกรรม ให้ถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม ดังนี้ เมื่อได้มีการเคลื่อนย้ายรถยนต์ของกลางออกจากโรงอุตสาหกรรมแล้วความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีจึงเกิดขึ้นแล้ว และเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ยื่นแบบรายการต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิตตามที่กฎหมายกำหนด จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดตามมาตรา 20,48(1),148
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 19 บัญญัติ "ห้ามมิให้ผู้ใดนำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทันฑ์บน เว้นแต่ (1) เป็นการนำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด... คดีนี้ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีหน้าที่ดูแลบริหารกิจการและสั่งงานเกี่ยวกับกิจการของจำเลยที่ 1 ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยปริยาย การนำรถยนต์ออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อไปแสดงและจำหน่ายเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 เมื่อรถยนต์ของกลางยังมิได้เสียภาษี และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่อาจนำสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ให้ศาลเห็นเป็นอย่างอื่น จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้นำรถยนต์ของกลางออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปไว้ที่เกิดเหตุและเมื่อไม่ปรากฏว่าที่เกิดเหตุเป็นคลังสินค้าทัณฑ์บน ซึ่งอาจได้รับการยกเว้นตามมาตรา 19(1) ทั้งการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่ได้รับการยกเว้นตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19(2) ถึง (5) จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดในข้อหานี้ตามมาตรา 19,147
ความผิดฐานร่วมกันมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้อยู่ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 162(1)ที่บัญญัติห้ามผู้ใดขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีไว้ในโรงอุตสาหกรรมหรือในคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้น ไม่มีระเบียบปฏิบัติใดอนุโลมให้ไปเสียภาษีหลังจากที่มีผู้ซื้อแล้วแต่อย่างใด
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 19 บัญญัติ "ห้ามมิให้ผู้ใดนำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทันฑ์บน เว้นแต่ (1) เป็นการนำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด... คดีนี้ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีหน้าที่ดูแลบริหารกิจการและสั่งงานเกี่ยวกับกิจการของจำเลยที่ 1 ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยปริยาย การนำรถยนต์ออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อไปแสดงและจำหน่ายเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 เมื่อรถยนต์ของกลางยังมิได้เสียภาษี และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่อาจนำสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ให้ศาลเห็นเป็นอย่างอื่น จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้นำรถยนต์ของกลางออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปไว้ที่เกิดเหตุและเมื่อไม่ปรากฏว่าที่เกิดเหตุเป็นคลังสินค้าทัณฑ์บน ซึ่งอาจได้รับการยกเว้นตามมาตรา 19(1) ทั้งการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่ได้รับการยกเว้นตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19(2) ถึง (5) จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดในข้อหานี้ตามมาตรา 19,147
ความผิดฐานร่วมกันมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้อยู่ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 162(1)ที่บัญญัติห้ามผู้ใดขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วน เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีไว้ในโรงอุตสาหกรรมหรือในคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้น ไม่มีระเบียบปฏิบัติใดอนุโลมให้ไปเสียภาษีหลังจากที่มีผู้ซื้อแล้วแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอคืนภาษีของโรงงานที่ไม่เข้าสู่ระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อ้อยและน้ำตาล
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยปฏิเสธที่จะรับหนังสือมอบอำนาจและเอกสารในการขอคืนภาษีการค้าของโจทก์มาดำเนินการขอคืนภาษีการค้าให้โจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่แต่การที่ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นใหม่ในการพิพากษาคดีว่าจำเลยมีหน้าที่ขอคืนภาษีการค้าจากกรมสรรพากรแทนโจทก์หรือไม่ก็เป็นประเด็นอย่างเดียวกันกับที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ดังกล่าวเพราะหากวินิจฉัยว่าจำเลยมีหน้าที่หรือไม่มีหน้าที่ขอคืนภาษีการค้าจากกรมสรรพากรแทนโจทก์แล้วการที่จำเลยปฏิเสธที่จะรับหนังสือมอบอำนาจและเอกสารในการขอคืนภาษีการค้าของโจทก์มาดำเนินการขอคืนภาษีการค้าให้โจทก์ก็จะเป็นการไม่ชอบหรือชอบด้วยกฎหมายนั่นเองหาเป็นการพิพากษานอกประเด็นข้อพิพาทไม่ กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจำเลยมีคณะกรรมการบริหารกองทุนเป็นผู้บริหารตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527มาตรา25(3)และ(4)กำหนดหน้าที่คณะกรรมการบริหารกองทุนไว้ว่าปฏิบัติหน้าที่อื่นตามระเบียบที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนดและปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายเมื่อไม่ปรากฎว่าคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนดระเบียบให้จำเลยเป็นผู้ขอรับคืนภาษีการค้าแทนโจทก์และคณะรัฐมนตรีก็มิได้มอบหมายให้จำเลยกระทำการแทนโจทก์อีกทั้งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่183)พ.ศ.2530พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีการค้า(ฉบับที่204)พ.ศ.2532และ(ฉบับที่211)พ.ศ.2533ก็มิได้กำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ขอรับคืนภาษีการค้าแทนโจทก์จำเลยจึงปฏิเสธที่จะรับหนังสือมอบอำนาจและเอกสารในการขอคืนภาษีการค้าของโจทก์มาดำเนินการขอคืนภาษีการค้าให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6219/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการใช้ที่ดินและการกระทำละเมิดจากโรงงานใกล้เคียง: การใช้สิทธิโดยสุจริตและการรบกวนการอยู่อาศัย
แม้ก่อนโจทก์จะปลูกบ้านพักอาศัยโจทก์ได้ทราบว่าจำเลยซื้อที่ดินจากโจทก์เพื่อก่อสร้างโรงงานทำลูกชิ้นปลากับก่อสร้างปล่องไฟแต่เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินแปลงที่อยู่ติดต่อกับที่ดินของจำเลยโจทก์ย่อมมีสิทธิใช้สอยโดยปลูกบ้านเพื่ออยู่อาศัยบนที่ดินนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 และแม้โจทก์จะเคยอนุญาตให้จำเลยก่อสร้างปล่องไฟบนที่ดินของโจทก์บางส่วน แต่เป็นกรณีที่โจทก์ให้ความสะดวกแก่จำเลยในการประกอบอาชีพของจำเลยเท่านั้นหาแปลได้ว่าหากจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ให้โจทก์จำทนรับความเสียหายหรือทนเดือดร้อนต่อผลร้ายที่เกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยไม่ ฟังไม่ได้ว่าโจทก์ปลูกบ้านพักอาศัยเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5166/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยกฟ้องฐานตั้งโรงงาน! กฎหมายใหม่ยกเลิกข้อกำหนดใบอนุญาต
ขณะเกิดเหตุการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาต แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 ยกเลิก พ.ร.บ.โรงงานฉบับเดิมทั้งหมด โดยไม่มีบทบัญญัติใดระบุว่าการตั้งโรงงานเพื่อประกอบกิจการโรงงานเช่นจำเลยจะต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต และไม่มีบทกำหนดโทษเช่น พ.ร.บ.โรงงานฉบับเดิม ถือได้ว่าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคสอง แม้จำเลยจะไม่ได้ฎีกาในข้อหาประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ได้ ตามป.วิ.อ. มาตรา 185, 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5166/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของกฎหมายใหม่ต่อความผิดเดิม: การยกฟ้องเนื่องจากกฎหมายโรงงานใหม่ยกเลิกข้อกำหนดเดิม
ขณะเกิดเหตุการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 8,12,43 และ 44 แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ. 2535 ออกมายกเลิกพระราชบัญญัติโรงงานฉบับเดิมทั้งหมดปรากฏว่าโรงงานของจำเลยเป็นโรงงานตัดหรือเย็บเครื่องนุ่งห่มมีคนงานไม่เกิน 50 คน จึงเป็นโรงงานจำพวกที่ 2 ตามมาตรา 7แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ประกอบกับกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติฉบับนี้ เมื่อไม่มีบทบัญญัติใดตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ระบุไว้ว่าการตั้งโรงงานหรือประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาตและไม่มีบทกำหนดโทษไว้เช่นพระราชบัญญัติโรงงานฉบับเดิม ถือได้ว่า ตามบทพระราชบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยจึงพ้น จากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5166/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่า ทำให้จำเลยพ้นความผิดฐานตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต
ขณะเกิดเหตุการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานตั้งโรงงาน และประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาต แต่ระหว่าง การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ยกเลิก พระราชบัญญัติโรงงานฉบับเดิมทั้งหมด โดยไม่มีบทบัญญัติใดระบุว่าการตั้งโรงงานเพื่อประกอบกิจการโรงงานเช่นจำเลยจะต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต และไม่มีบทกำหนดโทษเช่น พระราชบัญญัติโรงงานฉบับเดิม ถือได้ว่าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังการกระทำเช่นนั้น ไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง แม้จำเลยจะไม่ได้ฎีกา ในข้อหาประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185,215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5166/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่า ทำให้จำเลยพ้นผิดฐานตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยตั้งโรงงาน ประกอบกิจการโรงงานและรับเด็กอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่ถึงสิบห้าปีบริบูรณ์เข้าทำงานในโรงงานดังกล่าวโดยมิได้รับอนุญาต ขอให้ลงโทษตาม พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 ดังนี้ แม้ขณะเกิดเหตุการกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดตามฟ้อง แต่เมื่อระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ออกมายกเลิกพระราชบัญญัติโรงงานฉบับเดิมทั้งหมด และเมื่อปรากฏว่าโรงงานของจำเลยเป็นโรงงานซึ่งไม่มีบทบัญญัติใดตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ระบุไว้ว่าการตั้งโรงงานหรือประกอบกิจการโรงงานดังกล่าวจะต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตและไม่มีบทกำหนดโทษไว้ เช่น พระราชบัญญัติโรงงานฉบับเดิม ถือได้ว่า ตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานตั้งโรงงาน และฐานประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามที่โจทก์ฟ้องและศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185,215 และ225 แม้จำเลยจะไม่ได้ฎีกาในข้อหาประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาตก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถไฟ: ค่าใช้จ่ายโรงงานเป็นค่าเสียหายโดยตรง
ค่าใช้จ่ายทั่วไปในโรงงาน เช่น ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปาค่าใช้เครื่องจักร เครื่องมือกล และค่าควบคุม คือค่าใช้จ่ายบริหารส่วนกลางของโจทก์ เป็นค่าใช้จ่ายที่จะต้องมีแน่นอน และโจทก์ได้ใช้ไปในการซ่อมรถโบกี้ของโจทก์ที่ได้รับความเสียหาย จึงเป็นค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดจากการกระทำละเมิดโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายทั้งสองส่วนนี้ได้ เมื่อศาลฎีกากำหนดค่าเสียหายลดลง และมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่ได้ฎีกาศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ไม่ได้ฎีกาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ประกอบด้วย มาตรา 247