คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โรงพยาบาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4923/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินได้จากการรักษาผู้ป่วยนอกเวลาของแพทย์ประจำโรงพยาบาล ถือเป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ ตามมาตรา 40(6)
โจทก์ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะเป็นแพทย์ประจำที่โรงพยาบาลล. ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน และยังได้รับเงินจากการรักษาคนไข้ในโรงพยาบาล ล. นอกเวลาทำงานปกติ รายได้ในส่วนหลังจะต้องแบ่งเข้าโรงพยาบาล ล. ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 อย่างสูงไม่เกินร้อยละ 80จึงเป็นรายได้ที่โจทก์ได้รับจากคนไข้ ที่โจทก์รับมาทำการรักษาโดยโจทก์ใช้สถานที่ของโรงพยาบาล ล. มิใช่เงินที่โรงพยาบาลจ่ายให้เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้างแก่โจทก์ ดังนี้ จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40(6)มิใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินได้จากการรักษาพยาบาลนอกเวลาทำการของแพทย์ลูกจ้าง จัดเป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ
โจทก์เป็นลูกจ้างของโรงพยาบาล ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนและทางโรงพยาบาลตกลงให้โจทก์เปิดคลีนิก พิเศษ นอกเวลาทำการปกติในโรงพยาบาลโดยเมื่อได้เงินมาก็แบ่งรายได้ให้โรงพยาบาล เงินที่โจทก์ได้รับจากคนป่วยของโจทก์เองที่มาทำการรักษาที่โรงพยาบาลนอกเวลาทำการปกตินี้มิใช่เงินที่โรงพยาบาลจ่ายให้เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้างแก่โจทก์ จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระมิใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แต่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4081/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินเพื่อสาธารณประโยชน์ (โรงพยาบาล) ถือเป็นการโอนกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์ แม้ยังไม่ได้จดทะเบียน
ที่ดินมีโฉนดซึ่งเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้ทำหนังสือขออุทิศหรือยกให้แก่ทางราชการเพื่อใช้ก่อสร้างโรงพยาบาล โดยได้มีการส่งมอบการครอบครองเป็นสัดส่วนให้แก่ทางราชการ และทางราชการได้ดำเนินการในอันที่จะใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวเพื่อเป็นที่ก่อสร้างโรงพยาบาลแล้ว เช่นนี้ที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของทางราชการตั้งแต่วันทำหนังสืออุทิศให้โดยไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานขับรถประมาทและหน้าที่หลังเกิดเหตุ: การนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลมิใช่การหลบหนี
การที่จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทชนผู้ตายแล้วจำเลยนำผู้ตายไปส่งโรงพยาบาลในทันทีหลังจากเกิดเหตุ โดยมิได้แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จะถือว่าจำเลยหลบหนีไปจนเป็นเหตุให้ผู้ตายได้รับอันตรายถึงตายตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 160 วรรคสอง หาได้ไม่ จำเลยคงมีความผิดตามมาตรา 160 วรรคแรกเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1790/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมสมบูรณ์ แม้ทำในโรงพยาบาล และคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกชอบด้วยกฎหมายแม้ไม่ระบุเหตุขัดข้อง
การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองซึ่งทำขึ้นโดยทางราชการแม้จะจัดทำในโรงพยาบาลก็ไม่จำต้องให้แพทย์รับรอง เพราะการจะพิจารณาว่าผู้ทำพินัยกรรมมีสติสัมปชัญญะดีหรือไม่ นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้ทำพินัยกรรมย่อมมีความรู้ความสามารถพอที่จะพิจารณาได้
คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกแม้มิได้ระบุเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกไว้ แต่ได้ระบุว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียและได้แนบสำเนาสูติบัตรของผู้รับพินัยกรรมมาให้เห็นว่าเป็นผู้เยาว์ ก็ถือว่าเป็นคำร้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713(1) และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินเพื่อก่อสร้างโรงพยาบาล การใช้ที่ดินผิดวัตถุประสงค์ตามสัญญาเช่า และอำนาจศาล
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 นั้น เป็นบทบัญญัติที่ใช้แก่ศาลทั่วไป แต่สำหรับอำนาจของศาลแพ่งนั้นยังมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตศาลแพ่งด้วยตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา14 (4) คดีที่เกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดนนทบุรี จำเลยทั้งสองก็มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนนทบุรี ศาลแพ่งรับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จ แสดงว่าศาลแพ่งใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนี้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14 (4) แล้ว
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินจากวัดโจทก์เพื่อดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาล ไม่มีข้อความระบุให้ใช้ทรัพย์ที่เช่าเพื่อการอย่างอื่น การที่จำเลยนำที่ดินที่เช่าไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงปลูกบ้านอยู่อาศัย จึงเป็นการใช้ทรัพย์เพื่อการอย่างอื่นผิดวัตถุประสงค์ตามสัญญา เป็นการผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิเลิกสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้โรงพยาบาล การจัดการมรดก และการมีสิทธิรับเงินของผู้รับประโยชน์
ผู้ตายซึ่งเป็นสามีจำเลยทำพินัยกรรมมีข้อความในข้อ 1 ถึงข้อ 3 ยกที่ดินกับสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยและผู้อื่น ข้อ 4 ว่า ทรัพย์สินอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวแล้ว ขอยกให้จำเลยแต่ผู้เดียวและขอให้จัดการกุศลดังกล่าวต่อไป ข้อ 5 ทรัพย์สินที่เป็นเงินสด ให้จำเลยนำไปมอบแก่เจ้าอาวาสวัด ช. เพื่อซ่อมแซมพระอุโบสถ 50,000 บาท ข้อ 6 เงินสดที่เหลือจากที่กล่าวในข้อ 5 ให้จำเลยมอบให้แก่โรงพยาบาลศิริราชก่อตั้งเป็นมูลนิธิ หรือจะสร้างเป็นตึกคนไข้ก็ได้ โดยปรึกษากับเจ้าหน้าที่คณะแพทย์ศาสตร์และศิริราชพยาบาล แม้พินัยกรรม ข้อ 4 ระบุว่า ยกทรัพย์สินอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวในข้อ 1, 2, 3 ให้จำเลยแต่ผู้เดียวก็ตาม แต่จำเลยก็ตกอยู่ในภาระติดพันที่จะต้อง นำเงินสดของผู้ตายที่เหลือจากจ่ายแล้วในข้อ 5 มอบให้แก่โรงพยาบาลศิริราชก่อตั้งเป็นมูลนิธิ พินัยกรรมข้อนี้จึงมีผลบังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1676 โรงพยาบาลศิริราชเป็นส่วนราชการส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ข้อ 6 จำเลยไม่ยอมก่อตั้งมูลนิธิหรือร่วมมือกับโรงพยาบาลศิริราชในการตั้งมูลนิธิ โจทก์จึงเป็นผู้ร้องขอให้ก่อตั้งมูลนิธิได้ตามมาตรา 1677 และการก่อตั้งมูลนิธิตามมาตรา 81 นั้น ในประการแรกจะต้องมีทรัพย์สินที่จัดสรรไว้ เมื่อจำเลยว่าไม่มี โจทก์สืบทราบว่ามี ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยส่งมอบเงินของผู้ตายเพื่อจัดตั้งเป็นมูลนิธิได้
แม้โจทก์ผู้มีส่วนได้เสียตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมจะฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิตามพินัยกรรม แต่จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลและจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุด จำเลยก็ยกอายุความ 1 ปี ขึ้นเป็นข้อตัดฟ้องไม่ได้
แม้โจทก์จะมิได้นำสืบว่าผู้ตายมีสินเดิมอย่างใดบ้างแต่ก็ได้นำสืบถึงฐานะของผู้ตายซึ่งรับราชการเป็นร้อยตำรวจตรีฐานะของนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรเมื่อปี พ.ศ. 2466 ย่อมเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าได้เงินเดือนสูงเพียงพอที่จะดำรงชีพได้อย่างสมเกียรติสิทธิที่ผู้ตายจะได้รับเงินเดือนก็เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง จึงเชื่อได้ว่าผู้ตายมีสินเดิมก่อนสมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวิพากษ์วิจารณ์ผู้อำนวยการโรงพยาบาล: การแสดงความคิดเห็นด้วยความน้อยใจและโกรธ ไม่ถึงขั้นดูหมิ่น
จำเลยกล่าวถ้อยคำว่า "ผู้อำนวยการคนนี้ใครว่าดี เดี๋ยวนี้ดีแตกเสียแล้ว ไปติดต่อเรื่องคนไข้ก็มาไล่ โรงพยาบาลเป็นของรัฐบาล ไม่ใช่ของผู้อำนวยการ ตึกบุญเลี่ยมเป็นของชาวเมืองเพชรสร้าง บ้านที่ผู้อำนวยการอยู่ก็ต้องอาศัยเขาอยู่ เป็นหมอควรจะใจเย็น แต่นี่ใจร้อนยังกับไฟ ใช้ไม่ได้ ถึงเจ็บก็ไม่มารักษาที่นี่ จะเอาเรื่องทุกอย่างไปลงสาส์นเพชร" จำเลยกล่าวถ้อยคำเหล่านั้นด้วยความน้อยใจและมีอารมณ์โกรธเนื่องจากถูกนายแพทย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพูดเป็นทำนองไล่ อันเป็นการไม่สมควร เพราะเป็นการขาดคารวะแต่ก็ยังไม่ถึงกับเป็นการดูหมิ่นหรือใส่ความ ตามมาตรา 136 และ 326 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2477

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บาดแผลสาหัสและการประกอบอาชีพไม่ได้เกิน 20 วัน ถือเป็นเหตุแห่งการลงโทษ
บาดเจ็บสาหัส วิธีพิจารณาอาชญา หลักวินิจฉัยการที่ผู้ถูกทำร้ายมีบาดแผลถึง 9 แผลแลต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลถึง 31 วันเช่นนี้ เห็นได้ว่าในระวางที่ผู้ถูกทำร้ายรักษาตัวอยู่นั้นไม่สามารถประกอบการหาเลี้ยงชีพได้โดยปกติ เกินกว่า 20 วัน บาดแผลที่ถูกทำ ร้ายนั้น นับได้ว่าเป็นบาดแผลสาหัสตามมาตรา 256 ข้อ 8 พะยาน ข้อเท็จจริงข้อ 1 อาจพิศูจน์ข้อเท็จจริงอีกข้อ 1 ได้ในตัวเมื่อข้อเท็จจริงสืบได้ความว่าผู้ถูกทำร้ายต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลถึง 31 วันแล้วฟังได้ว่าในระวางเวลานั้นผู้ถูกทำร้ายทำการงานตามปกติไม่ได้โดยไม่ต้องสืบพะยานในข้อหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7317/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเลือกโรงพยาบาลและการรับผิดชอบค่าเสียหายจากเหตุละเมิด ศาลแก้ไขคำพิพากษาหักเงินค่าเสียหายที่ได้รับจากจำเลยร่วม
สิทธิในการรักษาชีวิตและร่างกายของบุคคลนั้นเป็นสิทธิที่บุคคลทุกคนมีสิทธิอันชอบธรรมในการเลือกเข้ารักษาชีวิตและร่างกายของตนในโรงพยาบาลหรือสถานที่ที่บุคคลนั้นเชื่อว่าสามารถรักษาชีวิตและร่างกายของบุคคลนั้นให้หายเป็นปกติได้โดยเร็ว จำเลยที่ 2 และที่ 4 ไม่มีสิทธิที่จะบังคับหรือเจาะจงให้โจทก์ที่ 3 จำต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลของรัฐอันมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าโรงพยาบาลเอกชนได้ ทั้งเหตุที่โจทก์ที่ 3 เลือกเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล จ. อันเป็นโรงพยาบาลเอกชน เนื่องจากเมื่อเกิดเหตุรถชนกันแล้วมีเจ้าหน้าที่มูลนิธินำตัวไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล จ. มิใช่เป็นการที่โจทก์ที่ 3 จะใช้สิทธิเลือกเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยตนเอง แม้ต่อมาภายหลังโจทก์ที่ 3 จะได้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ธ. อันเป็นโรงพยาบาลเอกชนเช่นเดียวกัน ก็เป็นสิทธิอันชอบธรรมของโจทก์ที่ 3 ในการเลือกโรงพยาบาลที่โจทก์ที่ 3 เชื่อว่าสามารถรักษาร่างกายและชีวิตของตนได้ ฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 3 เอาเปรียบจำเลยที่ 2 และที่ 4 อย่างใด
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้รับเงินค่าเสียหายจากจำเลยร่วมคนละ 10,000 บาท โจทก์ที่ 3 และที่ 4 ได้รับเงินค่าเสียหายจากโจทก์ร่วมคนละ 85,000 บาท จึงต้องหักเงินจำนวนดังกล่าวจากจำนวนเงินที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ต้องชำระแก่โจทก์ทั้งสี่ตามคำพิพากษา และเมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247 และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้
of 3