คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 138 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6511/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินมือเปล่า: โอนการครอบครองได้ แม้ตกเป็นโมฆะ
ที่จำเลยฎีกาว่า สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะเสียเปล่าตั้งแต่วันทำสัญญาเพราะเป็นที่ดินมือเปล่าซึ่งไม่มีคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว อีกทั้งข้อความที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขาย ไม่มีข้อความใดที่ระบุว่าจะไปทำการโอนที่ดินกันเมื่อใด จึงตกเป็นโมฆะตาม พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดินพ.ศ.2497 มาตรา 9 จำเลยได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์แล้ว ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3ไม่วินิจฉัยให้จึงไม่ชอบ
แม้ที่ดินพิพาทตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยจะเป็นที่ดินมือเปล่า ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว ไม่อาจโอนกันได้ตาม พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9 ก็ตาม แต่ย่อมโอนไปซึ่งการครอบครองได้โดยการส่งมอบตาม ป.พ.พ.มาตรา 1378 สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจึงไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6511/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินมือเปล่า: โอนการครอบครองได้แม้ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้
ที่จำเลยฎีกาว่า สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะเสียเปล่าตั้งแต่วันทำสัญญาเพราะเป็นที่ดินมือเปล่าซึ่งไม่มีคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว อีกทั้งข้อความที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขาย ไม่มีข้อความใดที่ระบุว่าจะไปทำการโอนที่ดินกันเมื่อใด จึงตกเป็นโมฆะตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497 มาตรา 9 จำเลยได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์แล้ว ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่วินิจฉัยให้จึงไม่ชอบ
แม้ที่ดินพิพาทตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยจะเป็นที่ดินมือเปล่า ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว ไม่อาจโอนกันได้ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9 ก็ตาม แต่ย่อมโอนไปซึ่งการครอบครองได้โดยการส่งมอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจึงไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2799/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ โอนโดยส่งมอบ สิทธิของผู้ทรงเช็ค การพิสูจน์ความสุจริต
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือโจทก์เป็นผู้ถือเช็คพิพาทไว้ในครอบครอง โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็ค ตาม ป.พ.พ.มาตรา 904 เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท จำเลยผู้ลงลายมือชื่อในเช็คจะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็ค ตาม มาตรา 900 เช็คพิพาทสูญหายไปขณะเก็บไว้ในลิ้นชักหน้ารถยนต์ขณะนำรถยนต์ไปจอดที่บริเวณตลาดอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 25 มกราคม2539 นั้น จำเลยก็มิได้แจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจและขออายัดเช็คพิพาทไว้โดยทันทีในวันนั้น กลับได้ความว่าจำเลยเพิ่งจะไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจและขออายัดเช็คพิพาทที่ธนาคารในวันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดการใช้เงินวันที่ 29 มกราคม2539 ทั้ง ๆ ที่วันเกิดเหตุที่จำเลยอ้างว่าเช็คพิพาทสูญหายไปนั้นจำเลยอยู่ที่อำเภออู่ทองจังหวัดสุพรรณบุรี อันเป็นที่ตั้งของธนาคารตามเช็คพิพาทอยู่แล้ว จำเลยน่าจะแจ้งความและขออายัดเช็คเสียเลยในวันเกิดเหตุเพราะนอกจากเช็คพิพาทจะสูญหายไปแล้วยังมีเช็คอีกฉบับหนึ่งตามที่จำเลยอ้างซึ่งถึงกำหนดการใช้เงินแล้วสูญหายไปในคราวเดียวกันนั้นด้วย เพื่อธนาคารจะได้ระงับการจ่ายเงินตามเช็คที่ถึงกำหนดดังกล่าวได้ทันทีจำเลยจะได้ไม่เสียหาย แต่จำเลยซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านอยู่ที่หมู่ที่ 3 ตำบลหนองโสน อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี ตำบลเดียวกันกับภูมิลำเนาของโจทก์และคนละจังหวัดกับที่เกิดเหตุที่อ้างว่าเช็คหาย กลับเพิ่งแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจและขออายัดเช็คที่หายเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2539 ตามเอกสารหมาย ล.1 และ ล.2 อันเป็นพิรุธและเมื่อพิจารณาคำเบิกความของนายวิชัย การสุจริตสมุห์บัญชีธนาคารตามเช็คพิพาทพยานโจทก์ประกอบรายการบัญชีกระแสรายวันของจำเลยตามเอกสารหมาย ป.จ.3(ศาลจังหวัดสุพรรณบุรี) ปรากฏว่าก่อนวันที่ 29 มกราคม 2539 ซึ่งเป็นวันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดการใช้เงินจำเลยไม่มีเงินอยู่ในบัญชี โดยในวันที่ 29 มกราคม 2539นั้นเองจำเลยนำเงินเข้าบัญชีเท่ากับจำนวนเงินตามเช็คพิพาทคือ 65,000 บาทแล้วจำเลยก็สั่งอายัดเช็คพิพาทต่อธนาคาร ครั้นวันรุ่งขึ้นจำเลยก็ถอนเงินออกจากบัญชีจำนวน 50,000 บาท วันถัดไปจำเลยก็ถอนเงินออกจากบัญชีอีก 15,000 บาทจนไม่มีเงินอยู่ในบัญชีของจำเลยเลย เสมือนเป็นการเตรียมการล่วงหน้าโดยการนำเงินเข้าบัญชีในวันเช็คพิพาทถึงกำหนดใช้เงินเพื่อเป็นหลักฐานในการต่อสู้ว่ามีเงินในบัญชีพอจะจ่ายตามเช็คพิพาทได้และขออายัดเช็คพิพาทในวันนั้นแล้วก็ถอนเงินออกจากบัญชีหมดในสองวันต่อมา เจือสมกับทางนำสืบของโจทก์ที่ว่านางอนงค์นำเช็คพิพาทมาแลกเงินสดไปจากโจทก์ซึ่งจำเลยก็ทราบว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คก่อนเช็คถึงกำหนดใช้เงินนางอนงค์แจ้งให้โจทก์นำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีวันที่ 1กุมภาพันธ์ 2539 เพราะจำเลยนำเงินเข้าบัญชีไม่ทันครั้นวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2539โจทก์นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินอ้างว่า มีคำสั่งให้ระงับการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่าเช็คหาย ตามเอกสารหมาย ป.จ.1 และป.จ.2 (ศาลจังหวัดสุพรรณบุรี) ข้อนำสืบต่อสู้คดีของจำเลยเป็นพิรุธย่อมไม่มีน้ำหนักที่จะรับฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ซึ่งได้รับประโยชน์จาก ป.พ.พ. มาตรา900 และมาตรา 904 ที่บัญญัติรับรองได้
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือย่อมโอนกันได้เพียงส่งมอบเช็คให้แก่กันผู้ถือเช็คไว้ในครอบครองก็เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 904 แล้ว และแม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่ารับเช็คพิพาทมาจากจำเลย แต่โจทก์นำสืบว่ารับเช็คพิพาทมาจาก อ.ก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์รับฟังไม่ได้ เพราะแม้โจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่าโจทก์รับเช็คพิพาทมาอย่างไร ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คโดยชอบเสียไป
โจทก์รับเช็คพิพาทมาโดยมิได้ให้ อ.ผู้โอนสลักหลังก็เนื่องจากเช็คพิพาทเป็นเช็คอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ซึ่งย่อมโอนไปเพียงส่งมอบให้แก่กัน การที่อ.จะไม่ได้ลงชื่อสลักหลังเช็คพิพาทหรือไม่ได้เข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์ โดยจำเลยไม่ได้นำสืบถึงเหตุแห่งความไม่สุจริตของโจทก์ดังกล่าวนั้น ยังไม่พอฟังว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยไม่สุจริต
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คสั่งจ่ายแก่ผู้ถือซึ่งสามารถโอนกันได้เพียงส่งมอบเช็คพิพาทเท่านั้นเมื่อไม่ปรากฏว่ามีประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลยว่าการโอนเช็คพิพาทดังกล่าวมีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล ดังนั้นหนี้ระหว่างจำเลยกับ อ.จะเป็นหนี้อะไรย่อมไม่เป็นสาระในการวินิจฉัยคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินที่ผู้คัดค้านยินยอมโอนให้เพื่อใช้สร้างอ่างเก็บน้ำ ย่อมตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
คำร้องขอบรรยายว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของ แผ่นดิน ผู้คัดค้านโต้แย้งว่าเป็นที่ดินของผู้คัดค้านปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่จึงเป็นประเด็นโดยตรงในคดี การพิจารณาว่าประเด็นแห่งคดี มีอย่างไร ต้องพิจารณาข้ออ้างและข้อเถียงทั้งจากคำฟ้อง และคำให้การ แม้ผู้ร้องจะเริ่มคดีโดยทำเป็นคำร้องขอ แต่เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้าน ก็ต้องดำเนินคดี อย่างคดีมีข้อพิพาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยคดี ไม่มีความจำเป็นต้อง ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยก่อน เมื่อปรากฏว่า ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยสืบพยานผู้ร้องและผู้คัดค้านมาจนเสร็จสิ้นกระแสความแล้ว ย่อมเพียงพอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีไปได้โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานและเอกสารในสำนวน ผู้คัดค้านซื้อที่ดินพิพาทมาให้ผู้ร้องที่ 2 ใช้ร่วมกับคูคลองและลำห้วยซึ่งเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ อยู่เดิมเพื่อก่อสร้างอ่างเก็บน้ำไว้ใช้ในกิจการของ ผู้คัดค้านและเพื่อประโยชน์ของราษฎรในบริเวณนั้น จึงมีลักษณะเป็นการใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ ประกอบกับการที่ผู้คัดค้านแจ้งแก่ผู้ร้องว่า ยินดีโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องเป็นการยืนยันเจตนาว่าจะให้ใช้ที่ดินพิพาทเพื่อสาธารณประโยชน์ถือว่าผู้คัดค้านมีเจตนาสละที่ดินพิพาทให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การแสดงเจตนาย่อมมีผลทันที ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 ผู้คัดค้านไม่อาจ ยกเงื่อนไขที่ตนมีต่อผู้ร้องขึ้นอ้างเพื่อลบล้างสภาพของที่ดิน ซึ่งตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน อีกทั้งทรัพย์สิน ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่ อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7996/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอและผลของการโอนมรดกโดยสุจริต ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิรับมรดกของ ส. หนึ่งในสามส่วนของที่ดินมรดก 13 ไร่เศษ ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกตกทอดมายังโจทก์หนึ่งในสามส่วน และขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ไปทำนิติกรรมจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามขอถือเอาคำพิพากษาแทน การแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์มิได้ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินหรือชดใช้ราคาแทนที่ดินดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินมรดกบางส่วนให้จำเลยที่ 3 แล้ว และจำเลยที่ 3 รับโอนโดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริต จึงไม่อาจเพิกถอนการโอนได้ ดังนั้นเงินที่จำเลยที่ 1 รับมาจากการขายที่ดินมรดกดังกล่าวจึงเข้าแทนที่ที่ดินมรดก ซึ่งถือได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นมรดกในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคสอง โดยมีส่วนที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับรวมอยู่ด้วย ฉะนั้นการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้ราคาที่ดินแก่โจทก์จึงไม่นอกเหนือหรือเกินจากคำขอ
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไม่ตรงตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องผิดพลาดเล็กน้อย หรือผิดหลง แต่เป็นเรื่องทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปโจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอให้แก้ไขตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 ได้
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเลขที่ น.ส. 3 ก. จากเลขที่ 3706 และ 3707 เป็นเลขที่ 3906 และ 3907 ซึ่งในคำพิพากษาได้พิมพ์ผิดพลาดนั้น เมื่อตามคำพิพากษาฎีกาไม่มีกรณีจะต้องบังคับเกี่ยวกับที่ดินทั้งสองแปลง ดังกล่าว การแก้ไขตามคำขอจึงไม่จำเป็น เพราะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1246/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: การครอบครองที่ดินหลังสัญญา และการไม่มีสิทธิฟ้องเพิกถอนการโอน
ที่ดินตาม น.ส.3 ก. ที่พิพาทเดิมเป็นของ ร. มารดาจำเลยที่ 1 เมื่อปี 2526 ร. จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา ต่อมาปี 2527 ร.ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนเพราะจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณศาลพิพากษาให้ถอนคืนการให้ คดีถึงที่สุดแล้ว แต่ ร.ยังมิได้ไปจดทะเบียนการได้มาและได้ถึงแก่ความตายในปี 2531 หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ได้นำ น.ส.3 ก.ของที่ดินพิพาทซึ่งยังมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองไปทำการจดทะเบียนขายให้แก่จำเลยที่ 2 ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าการที่โจทก์ยึดถือครองทำนาและปลูกต้นยูคาลิปตัส ในที่ดินพิพาทตลอดมา เป็นการยึดถือครอบครองแทน ร. โจทก์ย่อมไม่ได้สิทธิครอบครอง คดีนี้โจทก์มิได้ใช้สิทธิ ของจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ ร. ให้โอนสิทธิการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 การที่ ร. ทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์โดยระบุว่าผู้ขายและให้ผู้ซื้อเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมในการโอนทั้งสิ้น และในระหว่าง ร. ยังมีชีวิตโจทก์เคยไปติดต่อขอต้นฉบับ น.ส.3 ก. คืนจากจำเลยที่ 1และเคยไปติดต่อที่สำนักงานที่ดิน แต่พนักงานเจ้าหน้าที่อ้างว่าไม่สามารถจดทะเบียนโอนให้ได้ เพราะไม่มีต้นฉบับที่ดินพิพาท ทั้งตอนซื้อขายที่ดินพิพาท โจทก์ทราบว่า ร.ยังไม่ได้นำคำพิพากษาไปจดทะเบียนโอนมาเป็นของ ร.แสดงว่าโจทก์และ ร. มีเจตนาที่จะโอนสิทธิการครอบครองที่ดินพิพาทโดยทำนิติกรรมและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขาย เมื่อ ร. มิได้สละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ การที่โจทก์ยึดถือครอบครองทำนาและปลูกยูคาลิปตัส ในที่ดินพิพาท จึงเป็นการยึดถือครอบครองแทน ร. ตามสัญญาจะซื้อจะขายเท่านั้น แม้โจทก์จะครอบครองนานเพียงใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4462/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอน/จำนองที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิเพิกถอนการโอน/จำนองได้โดยไม่ต้องฟ้องผู้โอนเดิม
คำฟ้องโจทก์ยืนยันว่า ว.ดำเนินการจำนองแทนโจทก์โอนใส่ชื่อ ว.ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีเจตนาจะผูกพันตามสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันจริงที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ได้ให้ ว.ลงลายมือชื่อในเอกสารแล้วจำเลยที่ 1 สมคบกับจำเลยที่ 2 ซึ่งทราบดีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ แล้วจำเลยที่ 1 ได้จัดการโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ได้จำนองที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยทั้งสามทราบดีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนระหว่าง ว.กับจำเลยที่ 2 และการจำนองระหว่างจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ได้โดยไม่จำต้องฟ้องให้เพิกถอนการโอนระหว่างโจทก์กับว.เข้ามาในคดีนี้ เพราะว.ไม่ได้โต้แย้งสิทธิโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9375/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดิน: การติดตามและเอาคืนทรัพย์สินจากผู้ไม่มีสิทธิ แม้มีการจดทะเบียนโอน
โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 6 และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ถูกต้องตามหนังสือสัญญาให้ที่ดิน แม้โฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินที่โจทก์รับมาจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 7 เป็นโฉนดที่ดินปลอม แต่โฉนดที่ดินฉบับหลวงก็ระบุไว้ชัดแจ้งว่า โจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเช่นนี้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงย่อมเป็นของโจทก์ตามกฎหมาย การที่มีบุคคลอื่นซึ่งไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงอ้างว่าเป็นตัวโจทก์โดยใช้บัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านที่ระบุว่าเป็นของโจทก์ปลอม กับหนังสือให้ความยินยอมที่ระบุว่าเป็นของภริยาโจทก์ปลอมไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่จำเลยที่ 1 แม้จะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตามแต่เมื่อบุคคลดังกล่าวไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท จึงไม่มีสิทธิที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นได้ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ก็ย่อมไม่มีสิทธิใด ๆ ในการที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นเช่นเดียวกัน ดังนั้นแม้จำเลยที่ 4 และที่ 5ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1 โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งได้แก้ชื่อในสารบัญจดทะเบียนของโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นชื่อของจำเลยที่ 4 และที่ 5 ก็ตาม จำเลยที่ 4และที่ 5 ก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไม่ เพราะเมื่อผู้โอนไม่มีสิทธิที่จะโอนให้แก่ผู้รับโอน ผู้รับโอนจะได้สิทธิซึ่งไม่มีอยู่ไม่ได้
คดีนี้เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ โจทก์จึงถูกโต้แย้งสิทธิอยู่ตลอดเวลาที่ทรัพย์สินของตนยังอยู่ในความครอบครองของบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้เสมอ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่กำหนดถึงสิทธิของเจ้าของทรัพย์สินว่ามีสิทธิอย่างใดบ้าง ที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง อันเป็นอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นทรัพย์สิทธิอย่างหนึ่ง หาใช่การบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหน้าที่จะต้องใช้ภายในกำหนดอายุความดังที่บัญญัติไว้ในบรรพ 1 ลักษณะ 6 แห่ง ป.พ.พ.ไม่ การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของเจ้าของทรัพย์สินจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 193/9 และ193/30
ข้อที่จำเลยที่ 4 และที่ 5 ฎีกาว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 นั้น จำเลยที่ 4 และที่ 5 ไม่ได้ให้การสู้คดีไว้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยปัญหานี้ให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อการกระทำของเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินจำเลยที่ 7 ได้กระทำไปเนื่องจากการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 7ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ และแม้ว่ามูลละเมิดจะขาดอายุความแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิขอให้จำเลยที่ 7 ดำเนินการแก้ไขโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทให้ถูกต้องเพื่อแสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งเป็นการเรียกทรัพย์คืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7104/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกโดยมิชอบ และสิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์มรดกของทายาท
เดิม ป.เจ้ามรดกเป็นเจ้าของที่ดินรวม 6 แปลง เมื่อ ป.ถึงแก่กรรมศาลได้มีคำสั่งตั้ง จ.เป็นผู้จัดการมรดกของ ป. และ จ.ได้ไปจดทะเบียนโอนที่ดินทรัพย์มรดก ทั้ง 6 แปลง ดังกล่าวมาเป็นกรรมสิทธิ์ของ จ.ในฐานะผู้จัดการมรดกจ.จึงเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกนั้น ในฐานะผู้จัดการมรดกแทนทายาทอื่นทุกคนรวมถึงเด็กหญิง ส.บุตรของ ป.ซึ่งเกิดกับโจทก์ด้วย แม้ภายหลังจากที่ จ.ได้โอนที่พิพาททั้ง 6 แปลง มาเป็นของ จ.ในฐานะผู้จัดการมรดกแล้ว จ.ในฐานะผู้จัดการมรดกได้โอนที่พิพาททั้ง 6 แปลง ไปให้แก่ จ.เองในฐานะส่วนตัวนั้นก็จะถือว่า จ.ในฐานะส่วนตัวได้เปลี่ยนเจตนาการครอบครองที่พิพาทจากการครอบครองแทนทายาททุกคนมาเป็นการครอบครองในฐานะส่วนตัวเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวยังมิได้ เพราะจ.ยังมิได้บอกกล่าวไปยังทายาททุกคนว่าไม่มีเจตนายึดถือทรัพย์มรดกแทนทายาททุกคนต่อไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 ดังนั้น การที่ จ.ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกที่จะต้องนำมาแบ่งให้ทายาทไปให้แก่ตนเองทั้งหมดในฐานะเป็นทายาทคนหนึ่งแล้วนำไปโอนให้แก่จำเลยที่ 2 ทั้งหมด ก็เป็นการกระทำของในฐานะผู้จัดการมรดกที่กระทำไปโดยปราศจากอำนาจ จึงหามีผลผูกพันโจทก์และทายาทอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1720, 823 เมื่อ จ.ยังมิได้ดำเนินการจัดแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนตามสิทธิของทายาทที่กฎหมายกำหนดไว้หรือตามที่ทายาทตกลงกัน ก็ต้องถือว่าการจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น จึงจะนำอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง มาใช้บังคับไม่ได้
จ.ครอบครองที่พิพาทแทนทายาททุกคน จึงถือได้ว่าได้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนโจทก์ผู้รับมรดกเด็กหญิง ส.ด้วย เมื่อโจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกพิพาทที่ยังมิได้แบ่งกัน โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ แม้จะล่วงพ้นกำหนดเวลาห้ามฟ้องคดีมรดก 1 ปี และ 10 ปี นับแต่วันที่เจ้ามรดกตายตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1754 บัญญัติไว้ ทั้งนี้เป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1748เมื่อ จ.ได้โอนที่ดินมรดกพิพาททั้ง 6 แปลง ไปให้แก่ตนเองทั้งหมดและโอนให้แก่จำเลยที่ 2 ไปโดยไม่ชอบ โจทก์ในฐานะผู้รับมรดกของเด็กหญิง ส.ก็ชอบที่ใช้สิทธิในฐานะการเป็นทายาทของเด็กหญิง ส.ที่มีอยู่ต่อกองมรดกฟ้องบังคับให้เพิกถอนการโอนที่มรดกดังกล่าวเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4804/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่สิ้นผลแม้ทรัพย์สินบางส่วนถูกโอน – สิทธิผู้รับพินัยกรรมยังคงมีในส่วนที่เหลือ
การที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกให้โจทก์30ไร่และให้จำเลย9ไร่เศษแต่ระหว่างมีชีวิตอยู่เจ้ามรดกได้จำหน่ายที่ดินแปลงดังกล่าวบางส่วนไปโดยสมบูรณ์คงเหลือที่ดินเป็นทรัพย์มรดกเพียง8ไร่เศษนั้นเป็นกรณีที่ข้อกำหนดพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินเป็นอันเพิกถอนไปเฉพาะบางส่วนเท่านั้นพินัยกรรมยังใช้ได้อยู่หาได้สิ้นผลลงทั้งฉบับหรือข้อกำหนดในส่วนของโจทก์ได้ถูกเพิกถอนไปคงมีผลอยู่เฉพาะส่วนของจำเลยที่2แต่อย่างใดไม่และไม่ใช่พินัยกรรมที่อาจตีความได้เป็นหลายนัยอันจะต้องถือเอาตามนัยที่จะสำเร็จผลตามความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมโจทก์ยังคงมีสิทธิตามพินัยกรรมตามส่วนของที่ดินที่เหลืออยู่
of 14