พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2496/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหนี้ในสัญญาเช่าซื้อต้องมีสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ใหม่ การโอนกิจการไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิด
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาต่างตอบแทน คู่สัญญามีหน้าที่ต้องชำระหนี้ซึ่งกันและกันหรือต่างก็เป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ การที่จำเลยโอนขายกิจการรวมทั้งโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่บริษัทท.หาใช่การโอนสิทธิเรียกร้องแต่เพียงอย่างเดียวไม่หากแต่จำเลยได้โอนความเป็นลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่บริษัทท.ด้วย จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 จะต้องทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ แต่โจทก์และบริษัทท.มิได้ทำสัญญาต่อกัน ดังนั้น จำเลยจะยกข้อต่อสู้ที่ว่าจำเลยได้โอนกิจการไปให้บริษัทท.ขึ้นยันโจทก์ไม่ได้จำเลยยังคงจะต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์ เมื่อจำเลยไม่สามารถส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์ได้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3352/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้าจากการโอนกิจการและสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก คดีไม่ขาดอายุความ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยมิได้อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยจะฎีกาปัญหาเรื่องอายุความอีกไม่ได้ แต่ปัญหาว่าฟ้องโจทก์ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยเป็นการฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 41 มิใช่การฟ้องเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 29โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง เดิมห้างหุ้นส่วนจำกัดมิตรชัย ซึ่งมีจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตนำเข้าและสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักรและได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบันชื่อ HORVIRALM(ฮอร์วีราลเอ็ม) ต่อมาโจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด มี บ.เป็นกรรมการจำเลยร่วมลงทุนด้วยโดยทำสัญญากับ บ.ตกลงโอนสิทธิบัตรหรือทะเบียนยาที่จดทะเบียนรวมทั้งตำรับยาชื่อ HORVIRALM ให้แก่โจทก์โดยจำเลยได้รับค่าตอบแทนการโอนดังกล่าวแล้ว ข้อตกลงนี้เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เมื่อต่อมาโจทก์ได้รับโอนกิจการต่าง ๆไปจากห้างหุ้นส่วนจำกัดมิตรชัยและดำเนินการต่าง ๆ ตามข้อตกลงเป็นการแสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาแล้ว สิทธิของโจทก์ก็เกิดขึ้น โจทก์จึงได้ไปซึ่งสิทธิในเครื่องหมายการค้าตำรับยาชื่อ HORVIRALM และมีสิทธิดีกว่าจำเลย เมื่อจำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3969/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกิจการเช่าซื้อ, สิทธิเรียกร้อง, และการสละเงื่อนเวลาชำระหนี้
โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกจากห้างหุ้นส่วนจำกัด น.ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ในระหว่างผ่อนชำระค่าเช่าซื้อจำเลยที่ 2 ได้จัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ขึ้น โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ มีวัตถุประสงค์ซื้อขายแลกเปลี่ยนรถยนต์เช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนจำกัด น.ซึ่งต่อมาได้มีการจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด หลังจากนั้นห้างจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือทวงถามค่าเช่าซื้อรถยนต์และรับชำระหนี้จากโจทก์ โดยตามเอกสารใบแจ้งหนี้ที่หัวกระดาษมีข้อความระบุชื่อห้างจำเลยที่ 1 และได้ระบุชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด น.ในวงเล็บต่อท้ายด้วย ดังนี้ ฟังได้ว่า ห้างจำเลยที่ 1 ได้รับโอนกิจการมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัด น. โจทก์มีอำนาจฟ้องห้างจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อที่ทำไว้กับห้างหุ้นส่วนจำกัด น.ได้
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์กำหนดให้โจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยรวม 20 งวด เป็นรายเดือนทุกเดือน ถ้าหากผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามกำหนด จะต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าในการชำระค่าเช่าซื้อให้แก่จำเลย โจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดทุกงวด แต่จำเลยก็ไม่เคยใช้สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้และดอกเบี้ยที่ค้างเลย แสดงว่าการชำระหนี้รายนี้ฝ่ายจำเลยมิได้เจตนาถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาโดยเคร่งครัด ซึ่งเท่ากับเป็นการสละเงื่อนเวลาอยู่ในตัวดังนั้นเมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว จำเลยจะมาขอคิดดอกเบี้ยเป็นการเพิ่มภาระให้โจทก์ภายหลังไม่ได้ จำเลยจึงต้องโอนรถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อให้โจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ยอีกต่อไป
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์กำหนดให้โจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยรวม 20 งวด เป็นรายเดือนทุกเดือน ถ้าหากผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามกำหนด จะต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าในการชำระค่าเช่าซื้อให้แก่จำเลย โจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดทุกงวด แต่จำเลยก็ไม่เคยใช้สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้และดอกเบี้ยที่ค้างเลย แสดงว่าการชำระหนี้รายนี้ฝ่ายจำเลยมิได้เจตนาถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาโดยเคร่งครัด ซึ่งเท่ากับเป็นการสละเงื่อนเวลาอยู่ในตัวดังนั้นเมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว จำเลยจะมาขอคิดดอกเบี้ยเป็นการเพิ่มภาระให้โจทก์ภายหลังไม่ได้ จำเลยจึงต้องโอนรถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อให้โจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ยอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3969/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกิจการเช่าซื้อ, การสละเงื่อนเวลาชำระหนี้, และผลของการผิดนัดชำระหนี้
โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกจากห้างหุ้นส่วนจำกัด น.ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ในระหว่างผ่อนชำระค่าเช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ได้จัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ขึ้น โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการมีวัตถุประสงค์ซื้อขายแลกเปลี่ยนรถยนต์เช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนจำกัด น.ซึ่งต่อมาได้มีการจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด หลังจากนั้นห้างจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือทวงถามค่าเช่าซื้อรถยนต์และรับชำระหนี้จากโจทก์ โดยตามเอกสารใบแจ้งหนี้ที่หัวกระดาษมีข้อความระบุชื่อห้างจำเลยที่ 1 และได้ระบุชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด น.ในวงเล็บต่อท้ายด้วย ดังนี้ฟังได้ว่า ห้างจำเลยที่ 1 ได้รับโอนกิจการมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัด น.โจทก์มีอำนาจฟ้องห้างจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อที่ทำไว้กับห้างหุ้นส่วนจำกัด น.ได้
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์กำหนดให้โจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยรวม 20 งวด เป็นรายเดือนทุกเดือน ถ้าหากผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามกำหนด จะต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 15ต่อปี แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าในการชำระค่าเช่าซื้อให้แก่จำเลย โจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดทุกงวด แต่จำเลยก็ไม่เคยใช้สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้และดอกเบี้ยที่ค้างเลย แสดงว่าการชำระหนี้รายนี้ฝ่ายจำเลยมิได้เจตนาถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาโดยเคร่งครัด ซึ่งเท่ากับเป็นการสละเงื่อนเวลาอยู่ในตัวดังนั้นเมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว จำเลยจะมาขอคิดดอกเบี้ยเป็นการเพิ่มภาระให้โจทก์ภายหลังไม่ได้ จำเลยจึงต้องโอนรถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อให้โจทก์ โดยโจทก์ไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ยอีกต่อไป
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์กำหนดให้โจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยรวม 20 งวด เป็นรายเดือนทุกเดือน ถ้าหากผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามกำหนด จะต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 15ต่อปี แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าในการชำระค่าเช่าซื้อให้แก่จำเลย โจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดทุกงวด แต่จำเลยก็ไม่เคยใช้สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้และดอกเบี้ยที่ค้างเลย แสดงว่าการชำระหนี้รายนี้ฝ่ายจำเลยมิได้เจตนาถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาโดยเคร่งครัด ซึ่งเท่ากับเป็นการสละเงื่อนเวลาอยู่ในตัวดังนั้นเมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว จำเลยจะมาขอคิดดอกเบี้ยเป็นการเพิ่มภาระให้โจทก์ภายหลังไม่ได้ จำเลยจึงต้องโอนรถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อให้โจทก์ โดยโจทก์ไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ยอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3969/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกิจการเช่าซื้อ, สละเงื่อนเวลาชำระหนี้, และการบังคับคดีตามสัญญา
โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกจากห้างหุ้นส่วนจำกัดน.ซึ่งมีจำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการในระหว่างผ่อนชำระค่าเช่าซื้อจำเลยที่2ได้จัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่1ขึ้นโดยมีจำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการมีวัตถุประสงค์ซื้อขายแลกเปลี่ยนรถยนต์เช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดน.ซึ่งต่อมาได้มีการจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังจากนั้นห้างจำเลยที่1ได้มีหนังสือทวงถามค่าเช่าซื้อรถยนต์และรับชำระหนี้จากโจทก์โดยตามเอกสารใบแจ้งหนี้ที่หัวกระดาษมีข้อความระบุชื่อห้างจำเลยที่1และได้ระบุชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดน.ในวงเล็บต่อท้ายด้วยดังนี้ฟังได้ว่าห้างจำเลยที่1ได้รับโอนกิจการมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัดน.โจทก์มีอำนาจฟ้องห้างจำเลยที่1ให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อที่ทำไว้กับห้างหุ้นส่วนจำกัดน.ได้ สัญญาเช่าซื้อรถยนต์กำหนดให้โจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยรวม20งวดเป็นรายเดือนทุกเดือนถ้าหากผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามกำหนดจะต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ15ต่อปีแต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าในการชำระค่าเช่าซื้อให้แก่จำเลยโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดทุกงวดแต่จำเลยก็ไม่เคยใช้สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้และดอกเบี้ยที่ค้างเลยแสดงว่าการชำระหนี้รายนี้ฝ่ายจำเลยมิได้เจตนาถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาโดยเคร่งครัดซึ่งเท่ากับเป็นการสละเงื่อนเวลาอยู่ในตัวดังนั้นเมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วจำเลยจะมาขอคิดดอกเบี้ยเป็นการเพิ่มภาระให้โจทก์ภายหลังไม่ได้จำเลยจึงต้องโอนรถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อให้โจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ยอีกต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ใช้น้ำบาดาลไม่เกี่ยวข้องกับคดีโอนกิจการ ผู้ร้องสอดไม่มีส่วนได้เสียจึงร้องสอดไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยส่งมอบกิจการน้ำบาดาลที่จำเลยรับโอนไปจากโจทก์คืนแก่โจทก์ ผู้ร้องอยู่ในฐานะเป็นผู้ใช้น้ำบาดาล ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายหรือเช่าซื้อต้องจัดบริการให้ผู้ร้องดังนี้ การโอนกิจการน้ำบาดาลระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการได้สิทธิหรือเสียสิทธิของผู้ร้อง หากโจทก์แพ้คดีสิทธิของผู้ร้องสอดในเรื่องใช้น้ำบาดาลหาได้กระทบกระเทือนโดยผลแห่งคดีนี้ไม่ ผู้ร้องจึงมิได้ถูกโต้แย้งสิทธิ ไม่ เป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ จึงร้องสอดเข้ามาในคดีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2452/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่ารถยนต์: ความรับผิดของผู้เช่าต่อความเสียหายจากการประมาท และการใช้สัญญาเดิมหลังโอนกิจการ
สัญญาเช่ารถยนต์เป็นสัญญาเดิมที่ทำขึ้นระหว่างบริษัทมหานครขนส่ง จำกัด กับโจทก์ ต่อมาเมื่อจำเลยตั้งขึ้นเป็นองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้รับโอนกิจการและทรัพย์สินของบริษัทมหานครขนส่ง จำกัด มาดำเนินกิจการ ได้เช่ารถยนต์คันพิพาทสืบต่อมาโดยไม่ได้ทำสัญญาเช่ากันใหม่จึงนำสัญญาเช่าซึ่งมีอยู่เดิมมาใช้บังคับได้
สัญญาเช่ามีข้อความว่า ผู้ให้เช่าเป็นผู้รับผิดชอบในความเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้รถที่เช่า รวมถึงความเสียหายอันเกิดจากอุบัติเหตุและเหตุสุดวิสัย เป็นต้นข้อที่ผู้ให้เช่าต้องรับผิดชอบในความเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้รถที่เช่านั้น หมายความถึงการที่ผู้เช่าใช้รถที่เช่าอย่างปกติธรรมดาตามประเพณีนิยม โดยได้สงวนทรัพย์สินนั้นเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง ผู้เช่าจึงจะไม่ต้องรับผิดในความเสียหายต่าง ๆ ที่โดยปกติย่อมเกิดขึ้นจากการใช้รถที่เช่า เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ผู้เช่าได้ขับรถยนต์ที่เช่าด้วยความประมาทไปชนกับรถยนต์คันอื่นได้รับความเสียหายอันเป็นการละเมิดจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในความเสียหายของทรัพย์สินที่เช่า
สัญญาเช่ามีข้อความว่า ผู้ให้เช่าเป็นผู้รับผิดชอบในความเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้รถที่เช่า รวมถึงความเสียหายอันเกิดจากอุบัติเหตุและเหตุสุดวิสัย เป็นต้นข้อที่ผู้ให้เช่าต้องรับผิดชอบในความเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้รถที่เช่านั้น หมายความถึงการที่ผู้เช่าใช้รถที่เช่าอย่างปกติธรรมดาตามประเพณีนิยม โดยได้สงวนทรัพย์สินนั้นเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง ผู้เช่าจึงจะไม่ต้องรับผิดในความเสียหายต่าง ๆ ที่โดยปกติย่อมเกิดขึ้นจากการใช้รถที่เช่า เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ผู้เช่าได้ขับรถยนต์ที่เช่าด้วยความประมาทไปชนกับรถยนต์คันอื่นได้รับความเสียหายอันเป็นการละเมิดจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในความเสียหายของทรัพย์สินที่เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในคดีแรงงาน: สัญญาเดิมผูกพันเฉพาะคู่สัญญาเดิม แม้มีการโอนกิจการ
จำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกข้อตกลงกับโจทก์จะปรับปรุงโบนัสและสวัสดิการ ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้แยกจากจำเลยที่ 2มาตั้งเป็นบริษัทใหม่ รับโอนกิจการและพนักงานบางส่วนมาจากจำเลยที่ 2 บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีเฉพาะจำเลยที่ 2 เป็นคู่สัญญากับโจทก์เท่านั้น แม้จำเลยที่ 1จะรับโอนกิจการบางแผนกพร้อมลูกจ้างของจำเลยที่ 2 มาแต่จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลต่างหากจากจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 มิได้เกี่ยวข้องผูกพันตามบันทึกข้อตกลงนั้นกับโจทก์ด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 จ่ายเงินโบนัสแก่ลูกจ้างของจำเลยทั้งหมด แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าลูกจ้างจำนวนมากมิได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 ตกลงจะจ่ายเงินโบนัสเท่ากับลูกจ้างของจำเลยที่ 2 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับได้ ส่วนลูกจ้างผู้เป็นสมาชิกของโจทก์ที่จำเลยที่ 1ได้รับโอนมาและทำสัญญารับโอนพนักงานกับลูกจ้างนั้น โจทก์มิได้ตั้งรูปฟ้องโดยอาศัยสัญญานั้นเป็นหลักแห่งข้อหา จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 98(2) หรือไม่
ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 จ่ายเงินโบนัสแก่ลูกจ้างของจำเลยทั้งหมด แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าลูกจ้างจำนวนมากมิได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 ตกลงจะจ่ายเงินโบนัสเท่ากับลูกจ้างของจำเลยที่ 2 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับได้ ส่วนลูกจ้างผู้เป็นสมาชิกของโจทก์ที่จำเลยที่ 1ได้รับโอนมาและทำสัญญารับโอนพนักงานกับลูกจ้างนั้น โจทก์มิได้ตั้งรูปฟ้องโดยอาศัยสัญญานั้นเป็นหลักแห่งข้อหา จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 98(2) หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้จากการโอนกิจการและเงินได้ที่ซ่อนเร้น การประเมินและเงินเพิ่ม
เงินที่โจทก์ได้รับจาก อ. เป็นค่าตอบแทนส่วนหนึ่งในการโอนกิจการซื้อขายที่ดินรวมทั้งหนี้สินและทรัพย์สินตามสัญญาจ่ายเงิน 2 ฉบับ อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา40(8)
โจทก์ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินแล้ว แต่เสียภาษีไม่ถูกต้อง และยื่นรายการไม่ครบ โดยไม่ได้นำเงินเดือนที่ได้รับปีละ 6,000 บาท เข้าไปด้วย ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องปกปิดรายได้ของตนเพื่อหลีกเลี่ยงให้เสียภาษีน้อยลง จึงไม่สมควรลดเงินเพิ่มให้
โจทก์ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินแล้ว แต่เสียภาษีไม่ถูกต้อง และยื่นรายการไม่ครบ โดยไม่ได้นำเงินเดือนที่ได้รับปีละ 6,000 บาท เข้าไปด้วย ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องปกปิดรายได้ของตนเพื่อหลีกเลี่ยงให้เสียภาษีน้อยลง จึงไม่สมควรลดเงินเพิ่มให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 638/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกิจการโดยผลของกฎหมาย ไม่ใช่การโอนหนี้ ไม่ต้องแจ้งการโอน
การรถไฟแห่งประเทศไทยรับโอนกิจการของกรมรถไฟ กระทรวงคมนาคม มาโดยผลของกฎหมาย จึงไม่ใช่ลักษณะ โอนหนี้ และฉะนั้น กรมรถไฟจึงไม่ต้องแจ้งการโอนหนี้ให้ลูกหนี้ทราบ.