คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนขาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4321/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายทรัพย์สินราคาต่ำกว่าตลาดเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้เจ้าหนี้ ถือเป็นการฉ้อฉล
ขณะที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยที่ 2เพื่อนำเงินไปไถ่ถอนจำนอง จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ธนาคารอยู่ 469,828.63 บาทในวันเดียวกันนั้นจำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองที่ดินไว้แก่ธนาคารต่ออีกในวงเงิน470,000 บาท ราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 มีราคาท้องตลาดไม่ต่ำกว่า 600,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยที่ 2 ในราคา 470,000 บาท โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้ชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 เพียงแต่จำเลยที่ 2 ชำระค่าดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เท่านั้น หากจำเลยที่ 1 ไม่โอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 โจทก์จะสามารถบังคับคดียึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1โดยธนาคารซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำนองจะได้รับชำระหนี้ก่อนตามที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้อยู่469,828.63 บาท เงินส่วนที่เหลือหลังจากชำระหนี้จำนองให้ธนาคารแล้ว โจทก์ก็สามารถที่จะรับชำระหนี้จากเงินส่วนที่เหลือนี้ได้แม้จะได้ไม่ครบเต็มจำนวนหนี้ก็ตามการกระทำของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เสียเปรียบ และจำเลยที่ 2 ได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อฉลโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนดังกล่าวได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2610/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมที่ดินมรดก: การโอนขายโดยผู้จัดการมรดกแต่ผู้เดียวไม่ชอบ ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์เฉพาะส่วน
ที่ดินและตึกแถวพิพาทจำเลยได้มาขณะจำเลยเป็นสามี ส.แม้จะมิได้จดทะเบียนสมรสกัน ที่ดินและตึกแถวพิพาทก็เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยและ ส.คนละครึ่งในฐานะเป็นหุ้นส่วนกันเมื่อส.ถึงแก่ความตายที่ดินและตึกแถวพิพาท ส่วนของ ส. จึงเป็นมรดกตกทอดแก่ ร.ซึ่งเป็นทายาทการที่ร. จดทะเบียนโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทเป็นของตนแต่ผู้เดียวจึงไม่ชอบและไม่มีอำนาจนำที่ดินและตึกแถวพิพาทส่วนของจำเลยไปขายให้แก่โจทก์โดยจำเลยไม่ยินยอมโจทก์ผู้ซื้อจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2610/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินและตึกแถว: การโอนขายโดยผู้จัดการมรดกที่ไม่ชอบ ศาลยกฟ้อง
ที่ดินและตึกแถวพิพาทจำเลยได้มาขณะจำเลยเป็นสามี ส.แม้จะมิได้จดทะเบียนสมรสกันที่ดินและตึกแถวพิพาทก็เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยและ ส. คนละครึ่งในฐานะเป็นหุ้นส่วนกันเมื่อ ส.ถึงแก่ความตายที่ดินและตึกแถวพิพาทส่วนของ ส. จึงเป็นมรดกตกทอดแก่ ร. ซึ่งเป็นทายาทการที่ ร. จดทะเบียนโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทเป็นของตนแต่ผู้เดียวจึงไม่ชอบและไม่มีอำนาจนำที่ดินและตึกแถวพิพาทส่วนของจำเลยไปขายให้แก่โจทก์โดยจำเลยไม่ยินยอมโจทก์ผู้ซื้อจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในส่วนของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส: การโอนขายที่ดินที่ได้มาจากการประมูลระหว่างสมรส และผลของการโอนต่อ
โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์นำเงินที่ทำมาหาได้ในระหว่างสมรสซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดของศาล และใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว แต่จำเลยที่ 1 เกรงว่าจะมีปัญหาในการแบ่งที่ดินพิพาทเนื่องจากโจทก์มีบุตรที่เกิดจากภริยาคนก่อนจึงขอลงชื่อในโฉนดโจทก์ยินยอมจึงได้ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำมาหาได้ร่วมกันมาจึงเป็นสินสมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6827/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินซื้อขณะสมรสโดยมิได้จดทะเบียน และการฉ้อฉลในการโอนขาย
โจทก์เป็นบุคคลต่างด้าวสัญชาติอเมริกัน โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทให้กลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 ดังเดิม และเรียกค่าเสียหายหากไม่สามารถทำได้ก็ขอให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ไม่ใช่ฟ้องขอให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แม้ตามฟ้องโจทก์จะบรรยายถึงกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ในที่ดินพิพาทและโจทก์เป็นคนต่างด้าวก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิในส่วนของตน เพราะตามประมวลกฎหมายที่ดินมิได้ห้ามขาดไม่ให้คนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นแต่เพียงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการซึ่งกำหนดโดยกฎกระทรวงและต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น และในกรณีที่คนต่างด้าวได้ที่ดินมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้คนต่างด้าวนั้นจัดการจำหน่ายภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดให้ถ้าไม่จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่กำหนด ให้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 94แสดงว่าแม้จะเป็นคนต่างด้าวก็สามารถมีสิทธิในที่ดินได้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์กับจำเลยที่ 1 อยู่ระหว่างการทดลองใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ต่อมาได้มีพิธีสมรสตามประเพณีไทย แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส ถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ซื้อที่ดินพิพาท โดยเงินส่วนหนึ่ง ญาติผู้ใหญ่ให้ไว้ในวันแต่งงานเงินดังกล่าวได้มาขณะอยู่ร่วมกัน โจทก์ย่อมมีส่วนด้วยอีกส่วนหนึ่งยืมจากมารดาโจทก์ และเงินอีกส่วนหนึ่งกู้ยืมจากธนาคาร โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ซึ่งโจทก์ช่วยผ่อนชำระแก่ธนาคารจนหมดแล้ว ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่เกิดจากการทำมาหากินร่วมกัน โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมแม้จำเลยที่ 1จะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1ก็ไม่มีอำนาจขายโดยโจทก์ไม่ยินยอม การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าจำเลยที่ 1 เป็นหญิงหม้ายเจ้าพนักงานที่ดินจึงจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3227/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่ดินเช่าเมื่อมีการโอนขาย: ต้องปฏิบัติตามขั้นตอน คชก. ก่อนฟ้อง
การฟ้องขอให้ผู้รับโอนนาให้แก่ผู้เช่า โดยอ้างว่าผู้ให้เช่าขายไปโดยมิได้แจ้งให้ผู้เช่าทราบนั้น ผู้เช่าต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย กล่าวคือต้องร้องขอต่อ คชก.ตำบลเพื่อวินิจฉัยก่อนหากไม่พอใจคำวินิจฉัย คชก.ตำบลก็ต้องอุทธรณ์ไปยังคชก.จังหวัด เมื่อ คชก.จังหวัดวินิจฉัยแล้วยังไม่พอใจจึงมีสิทธิฟ้องคดีได้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่านามิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบังคับไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน การฉ้อฉลเจ้าหนี้ และสิทธิในการเพิกถอนการซื้อขาย
การที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อใช้หนี้จำเลยที่ 2 โดยรู้อยู่แล้วว่าจะทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 อยู่เสียเปรียบ ส่วนจำเลยที่ 2 แม้จะอ้างว่ารับโอนที่ดินพิพาทมาโดยเปิดเผยและสุจริต ไม่ทราบเรื่องหนี้สินระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ แต่การที่จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ภายหลังจำเลยที่ 2 เป็นโจทก์ฟ้องสามีจำเลยที่ 1 และเมื่อจำเลยที่ 2 ถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ จำเลยที่ 2 ก็รับโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลภายนอกไปโดยขณะทำการโอนนั้นเจ้าพนักงานที่ดินได้แจ้งเรื่องที่โจทก์ขออายัดที่ดินพิพาทให้ทราบแล้ว จำเลยที่ 2ยังยืนยันให้โอนแก่บุคคลภายนอก แสดงว่าจำเลยที่ 2 รู้ถึงข้อความจริงขณะรับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ ถือว่าเป็นการฉ้อฉลต่อโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2905/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินทำให้สิทธิความเป็นเจ้าของสิ้นสุด การครอบครองหลังการขายเป็นเพียงการครอบครองแทน หากต้องการเปลี่ยนเป็นครอบครองเพื่อตนเอง ต้องแจ้งเจ้าของ
การที่ผู้ร้องโอนขายที่ดินให้ ว. เป็นการสละกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ทำให้ ว.เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท แม้ผู้ร้องจะยังอาศัยหรือให้ผู้อื่นอยู่อาศัยในที่ดินพิพาทต่อไป ก็เป็นเพียงอาศัยสิทธิของ ว. การครอบครองของผู้ร้องหลังจากขายที่ดินพิพาทเป็นการครอบครองแทน ว.เมื่อ ว.โอนที่ดินพิพาทให้ผู้อื่นถือว่าผู้ร้องยังครอบครองแทนเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ ถ้าผู้ร้องจะเปลี่ยนลักษณะการครอบครองมาเป็นของผู้ร้อง ต้องบอกกล่าวไปยังเจ้าของที่ดินว่าไม่ครอบครองแทน แต่ผู้ร้องมิได้กระทำเช่นนั้น ทั้งผู้ร้องมิได้อาศัยอำนาจอื่นใดว่าครอบครองเพื่อผู้ร้องเอง ผู้ร้องจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3354/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ซื้อตามสัญญาจะซื้อขาย: ผู้ขายผิดสัญญาต้องชำระหนี้หรือถูกบังคับให้โอนขาย, มิสามารถเลือกคืนเงินมัดจำได้
สัญญาจะซื้อขายระบุว่า ถ้าผู้จะขายผิดสัญญาไม่ไปทำสัญญาและจดทะเบียนขายตามกำหนด ผู้จะขายจะยอมให้ผู้จะซื้อปรับ20,000 บาท อีกส่วนหนึ่งด้วย โดยไม่มีข้อความตอนใดระบุให้สิทธิผู้จะขายเลือกปฏิบัติไม่ยอมขายที่ดินให้ผู้จะซื้อ ผู้จะซื้อเท่านั้นจึงเลือกเรียกเอาเบี้ยปรับหรือเรียกร้องให้ผู้จะขายชำระหนี้แต่อย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 380 เมื่อโจทก์ผู้จะซื้อเรียกร้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายให้ขายที่ดินตามสัญญา และสภาพแห่งหนี้ก็เปิดช่องให้ศาลบังคับได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกปฏิบัติด้วยการขอคืนเงินมัดจำและยอมชำระค่าปรับให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3339/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาจะซื้อขายโดยผ่านตัวแทน และผลของการโอนขายให้ตัวการตามสัญญา
การตั้งตัวแทนให้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งได้มีการวางมัดจำกันไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแต่อย่างใด แม้ต่อมาจะได้มีการทำสัญญาจะซื้อขายเป็นหนังสืออีกก็ตาม.
of 5