คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนขายที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3280/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินโดยผู้จัดการมรดกที่ไม่มีอำนาจ ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อต้องถือเป็นการครอบครองแทนเจ้าของเดิม
โจทก์ทั้งสามฟ้องว่าโจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของที่ดินน.ส.3ก.เลขที่2239โดยสืบสิทธิครอบครองมาหลายทอดจากล.เจ้าของเดิมจำเลยที่1และที่2ขอให้ศาลตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของล. โดยอ้างว่าที่ดินตามน.ส.3ก.ดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกของล. เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่1และที่2เป็นผู้จัดการมรดกแล้วจำเลยที่1และที่2ได้ขอแบ่งที่ดินตามน.ส.3ก.แปลงนั้นออกเป็น7ส่วนและโอนขายที่ดินที่แบ่งแยกออกเป็นน.ส.3ก.เลขที่3145เนื้อที่8ไร่ให้แก่จำเลยที่3และที่4และโอนขายที่ดินที่แบ่งแยกออกเป็นน.ส.3ก.เลขที่3146เนื้อที่4ไร่ให้แก่จำเลยที่5โดยจำเลยที่3ที่4และที่5ทราบดีว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์ทั้งสามขอให้พิพากษาว่าที่ดินทั้งหมดเป็นสิทธิของโจทก์ทั้งสามและเพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่1และที่2กับจำเลยที่3และที่4และกับจำเลยที่5ซึ่งเป็นการฟ้องเรียกคืนทรัพย์สินจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลืองทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เป็นคดีมีทุนทรัพย์และที่ดินที่โจทก์ทั้งสามเรียกคืนจากจำเลยที่3และที่4เนื้อที่8ไร่ราคาไม่เกิน50,000บาทและเรียกคืนจากจำเลยที่5เนื้อที่4ไร่ราคาไม่เกิน50,000บาทเช่นกันคดีของโจทก์ทั้งสามกับจำเลยที่3และที่4และกับจำเลยที่5จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งดังนั้นการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยที่3ที่4และที่5ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้ถือตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา238ประกอบมาตรา247 เมื่อที่พิพาทแปลงน.ส.3ก.เลขที่2239ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของล. จำเลยที่1และที่2ในฐานะผู้จัดการมรดกของล.ก็ไม่มีอำนาจขอแบ่งแยกที่พิพาทแปลงนี้ออกเป็นน.ส.3ก.เลขที่3145และ3146และไม่มีอำนาจโอนขายที่ดินน.ส.3ก.เลขที่3145ให้แก่จำเลยที่3ที่4และโอนขายที่ดินน.ส.3ก.เลขที่3146ให้แก่จำเลยที่5จำเลยที่3ที่4และที่5ผู้รับโอนจึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่1และที่2ผู้โอนซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินดังกล่าวและย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิใดๆแก่จำเลยที่3ที่4และที่5ในกรณีเช่นนี้แม้จำเลยที่3ที่4และที่5เข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวก็ต้องถือว่าเป็นการครอบครองแทนโจทก์ทั้งสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2749/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินโดยมีเจตนาลวงและผลกระทบต่อบุคคลภายนอกที่สุจริต การฟ้องเพิกถอนภายในอายุความ
โจทก์มิได้มีเจตนาจะโอนขายที่ดินพิพาทให้ส. แต่ได้ทำนิติกรรมขายเพียงเพื่อให้ส. นำไปเป็นหลักทรัพย์ประกันเงินกู้ของธนาคารเท่านั้นนิติกรรมขายระหว่างโจทก์และส. จึงเป็นการแสดงเจตนาลวงจำเลยที่1ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของส. ทราบถึงการแสดงเจตนาลวงระหว่างโจทก์กับส. การที่จำเลยที่2ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่1โดยจำเลยที่2ทราบว่าโจทก์ไม่ได้โอนขายที่ดินพิพาทให้ส. และยอมให้โจทก์ไถ่ถอนจำเลยที่2จึงไม่ใช่บุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตโจทก์อ้างโมฆะกรรมต่อสู้จำเลยที่2ได้ ท. ได้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ตลอดมาเพิ่งมาบอกโจทก์ว่าจะไม่ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์โดยครอบครองแทนจำเลยที่2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1381เมื่อวันที่21กันยายน2533โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่15กรกฎาคม2534จึงเป็นการฟ้องภายใน1ปีนับแต่จำเลยที่2แย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินโดยเจตนาลวงเพื่อจำนอง ศาลตัดสินว่าการโอนไม่ผูกพัน ที่ดินยังเป็นของเดิม
การโอนขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 กระทำโดยเจตนาลวงเพื่อให้จำเลยทั้งสองนำที่ดินพิพาทไปจำนองธนาคารเท่านั้นไม่มีความประสงค์ให้ผูกพันกัน จึงใช้บังคับระหว่างกันไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 เดิม (มาตรา 155ที่แก้ไขใหม่) ที่ดินพิพาทยังเป็นของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องได้
โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาในคดีอื่นที่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยอื่นชำระหนี้เป็นเงินจำนวนหนึ่งให้โจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 รู้ว่าจำเลยที่ 1เป็นหนี้โจทก์ขณะทำการรับโอนที่ดินพิพาทและจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นพอชำระหนี้ให้โจทก์ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ได้โดยสิ้นเชิง แม้จำเลยที่ 1 จะมีลูกหนี้ร่วมคนอื่นก็ตาม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะบังคับชำระหนี้ได้นอกจากที่ดินพิพาท การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ไว้ จึงทำให้กองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ลดน้อยลงไม่พอที่จะใช้หนี้แก่โจทก์ อันเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมอันเป็นการฉ้อฉลได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3527/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับชำระหนี้จากการครอบครองปรปักษ์ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350
จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินของตนให้จำเลยที่2 ขณะที่โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดนั้นให้โดยการครอบครองปรปักษ์ การครอบครองปรปักษ์นั้นมิได้ก่อให้เกิดหนี้แก่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงกฎหมายรับรองหรือให้สิทธิโจทก์ทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นเท่านั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีหนี้จะต้องชำระแก่โจทก์ทั้งสอง จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินที่มีสัญญาเช่าเดิม ผู้รับโอนต้องรับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่า
จำเลยที่ 2 เช่าที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของ ต่อมาโจทก์เช่าช่วงจากจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 ยินยอม แล้วโจทก์ซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 ในระหว่างที่สัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ยังมีผลบังคับอยู่ แม้จำเลยที่ 1 จะต้องโอนขายที่พิพาทให้โจทก์ แต่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนจะต้องรับโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าที่จำเลยที่ 1 ผู้โอนได้ทำไว้กับจำเลยที่ 2ผู้เช่าเดิมมาก่อนด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 539และโจทก์ก็รู้ถึงความผูกพันตามสัญญาระหว่างจำเลยทั้งสองอยู่ก่อนแล้วจำเลยที่ 2 จึงยังมีสิทธิในที่พิพาทในฐานะผู้เช่าอยู่ โจทก์จะห้ามจำเลยที่ 2ไม่ให้เกี่ยวข้องในที่พิพาทหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1426/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินบางส่วนไม่ทำให้ภารจำยอมเดิมสิ้นสุดลง หากยังถือครองกรรมสิทธิ์ร่วมกัน
เจ้าของที่ดินซึ่งมีทางภารจำยอมโดยอายุความอยู่ก่อนแล้วโอนขายที่ดินบางส่วนให้แก่ผู้ซื้อโดยเติมชื่อผู้ซื้อลงในโฉนดร่วมกับตนดังนี้ ไม่เป็นเหตุทำให้ภารจำยอมซึ่งมีอยู่แต่เดิมสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินที่เคยทำประโยชน์แล้วและไม่มีโฉนด การจดทะเบียนโดยปลัดอำเภอชอบด้วยกฎหมาย
ที่พิพาทเป็นที่ทำประโยชน์แล้ว จนเจ้าพนักงานที่ดินได้ทำใบไต่สวนและทำโฉนดแล้วพร้อมที่จะมอบให้เจ้าของที่เดิม ซึ่งได้ร้องขอออกโฉนดไว้ หากแต่เจ้าของที่เดิมไม่ไปรับใบไต่สวนและโฉนดจนเกิน 10 ปี เจ้าพนักงานจึงได้สั่งทำลายเสีย ที่พิพาทจึงไม่มีใบไต่สวนและไม่มีโฉนด ครั้นที่พิพาทตกมาเป็นของจำเลย โดยเจ้าของเดิมที่ว่านั้นยกให้จำเลย ๆ ก็ได้ครอบครองทำประโยชน์มา จำเลยร้องขอให้ศาลสั่งแสดงสิทธิ ศาลก็สั่งแสดงว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาท ที่พิพาทจึงเป็นที่ดินที่อยู่ในความหมายของ พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 6 คือ เป็นที่ดินที่อยู่ในประเภทที่ดินซึ่งเจ้าของมีสิทธิขอรับโฉนดที่ดินตามบทแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เวลาจะโอนขายไม่ต้องให้นายอำเภอรับรองว่า ได้ทำประโยชน์แล้ว การจดทะเบียนสิทธิและการทำนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทรายนี้ ปลัดอำเภอเป็นผู้ทำแทนนายอำเภอ ย่อมเป็นการทำที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 71 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินโดยผู้จัดการมรดกที่ไม่ได้รับมอบหมาย: ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก
การที่สามีจำเลยได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษาโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้ แล้วต่อมาสามีถึงแก่กรรม จำเลยเป็นผู้รับมรดกและเป็นผู้จัดการมรดกของสามีตามคำสั่งศาล จะถือว่าจำเลยได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษาหรือเก็บรักษาหรือจัดการทรัพย์(ของโจทก์)ที่สามีได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษา สืบต่อจากสามีไม่ได้ แม้จำเลยจะถือโอกาสที่โฉนดมีชื่อสามี ได้ไปขอใบแทนโฉนดอ้างว่าโฉนดเดิมหาย แล้วโอนขายที่ดินให้จำเลยที่ 2 ไป ตามพฤติการณ์ดังนี้การกระทำของจำเลยไม่เป็นผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 576/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้จะซื้อที่ดินเมื่อคดีถึงที่สุดช้า การเพิกถอนนิติกรรมโอนขายที่ดินที่ไม่สุจริต
สิทธิของผู้จะซื้อที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน เมื่อนำคดีมาสู่ศาลจนศาลพิพากษาให้ผู้จะขายโอนขายที่ดินให้แก่ผู้จะซื้อขายนั้นแล้ว แม้คดีจะยังไม่ถึงที่สุด ก็อยู่ในฐานะเป็นผู้อันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1300 แล้ว ฉะนั้นถ้าผู้จะขาย ที่ดินนั้นแก่ผู้อื่นไปในระหว่างที่คดียังไม่ถึงที่สุด โดยผู้ซื้อไม่สุจริตแล้ว ผู้จะซื้อก็มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมนั้นเสียได้ ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 237, 1300.
of 3