คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 91 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7317/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนทรัพย์ยักยอกให้กองมรดก แม้เจ้าของเดิมเสียชีวิตแล้ว จำเลยต้องโอนทรัพย์หรือชำระราคา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ว่า "ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นเงิน 4,974,987.50 บาท แก่เจ้าของ" นั้น หมายความว่าจำเลยจะต้องโอนที่ดินของเจ้ามรดกที่ได้ยักยอกคืนแก่กองมรดก หากการโอนที่ดินไม่อาจกระทำได้จำเลยจึงต้องใช้ราคา หาใช่จำเลยมีสิทธิที่จะเลือกปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดได้ไม่
ที่จำเลยฎีกาว่า ไม่สามารถโอนที่ดินกลับคืนแก่เจ้าของได้เพราะเจ้าของเดิมได้ตายไปแล้ว และจะให้จำเลยโอนที่ดินคืนกองมรดกก็ไม่ได้เพราะกองมรดกมิใช่ตัวบุคคลหรือนิติบุคคลที่จะรับโอนได้ จึงเป็นเหตุพ้นวิสัยที่จำเลยจะโอนที่ดินคืนให้ได้ตามคำพิพากษาศาลฎีกานั้น กรณีดังกล่าวหาใช่ข้ออ้างที่จำเลยจะหยิบยกขึ้นปฏิเสธการโอนที่ดินมรดกคืนแก่กองมรดกไม่ จำเลยจะต้องโอนที่ดินที่จำเลยยักยอกนั้นคืนกองมรดกโดยโอนให้แก่ผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7317/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องคืนทรัพย์ที่ยักยอกให้กองมรดก หรือชดใช้ราคา หากโอนไม่ได้ แม้เจ้าของมรดกเสียชีวิตแล้ว
ศาลฎีกาพิพากษาว่า ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นเงิน 4,974,987.50 บาท แก่เจ้าของ หมายความว่า จำเลยจะต้องโอนที่ดินของเจ้ามรดกที่ได้ยักยอกไปคืนแก่กองมรดกหากการโอนที่ดินไม่อาจกระทำได้ จำเลยจึงต้องใช้ราคาจำนวน4,974,987.50 บาท แก่กองมรดก ไม่ใช่จำเลยมีสิทธิที่จะเลือกปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดได้ และแม้เจ้าของที่ดินจะตายไปแล้ว จำเลยก็จะอ้างมาเป็นเหตุให้ปฏิเสธการโอนที่ดินมรดกคืนแก่กองมรดกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5706/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเสร็จสิ้นเมื่อใด: เงินค่าขายทอดตลาดต้องถึงมือเจ้าหนี้
แม้ผู้ซื้อทรัพย์ได้จัดการโอนทรัพย์ที่ซื้อได้มาเป็นของผู้ซื้อทรัพย์แล้วก็ตาม แต่ไม่อาจถือได้ว่าการบังคับคดีได้เสร็จสิ้นลงตั้งแต่วันรับโอนดังกล่าวเพราะตราบใดที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายังไม่ได้รับเงินค่าขายทอดตลาดแล้ว ย่อมถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3250/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: การโอนทรัพย์และรับชำระหนี้โดยผู้จัดการมรดก ไม่ถือเป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกหากยังไม่เสร็จสิ้น
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของนางจ.ผู้ตาย การที่จำเลยเพียงแต่ยื่นคำร้องขอโอนที่ดินเป็นของจำเลยทั้งหมดโดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ มิใช่การยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกส่วนที่จำเลยรับชำระหนี้แล้วไม่แบ่งเงินแก่โจทก์ทั้งห้าทันทีนั้นเมื่อการจัดการมรดกยังไม่เสร็จ จำเลยก็มีอำนาจเก็บรักษาเงินดังกล่าวไว้เพื่อแบ่งแก่ทายาทต่อไปได้การที่จำเลยยังไม่แบ่งเงินแก่โจทก์ทั้งห้าทันทีจึงไม่เป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉล: เริ่มนับเมื่อโจทก์ทราบการโอนทรัพย์ผ่านตัวแทน
โจทก์ว่าจ้างให้สำนักงานกฎหมาย ท.สืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ สำนักงานกฎหมาย ท.ได้มอบหมายให้อ. ไปดำเนินการการที่ อ. สืบทราบว่าจำเลยที่ 1 มีบ้านและที่ดิน แต่ได้ทำนิติกรรมยกให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตร ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทราบความดังกล่าวด้วยเพราะ อ. มีหน้าที่เพียงสืบให้ทราบเรื่องทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 เพื่อโจทก์จะได้ทำการบังคับคดีต่อไปซึ่งเมื่อ อ.ทราบต้องรายงานให้สำนักงานกฎหมายท. ทราบเพื่อรายงานต่อไปยังโจทก์ ดังนี้แม้จะปรากฏว่า อ. ได้ทราบเรื่องการทำนิติกรรมโอนทรัพย์เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2530 แต่โจทก์ได้รับรายงานเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2530กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลในวันนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลในวันที่ 8 มิถุนายน2531 จึงยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหลังหย่า: การโอนทรัพย์สินโดยผู้มีกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ไม่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยที่ 2 เพียงผู้เดียวมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทโดยจำเลยที่ 1 มิได้มีกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยแต่อย่างใดดังนั้นแม้จำเลยที่ 2 โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทให้จำเลยที่ 3 จำเลยทั้งสามย่อมไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 187

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบในชั้นบังคับคดีได้ แม้จำเลยจะโอนทรัพย์ไปแล้ว
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านให้แก่โจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย หากไม่อาจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้เพราะสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องโดยเหตุสุดวิสัย ก็ให้จำเลยคืนเงินให้โจทก์ จำเลยขอปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยวิธีคืนเงินให้โจทก์ อ้างเหตุผลในคำร้องว่าจำเลยจำต้องใช้บ้านที่อยู่อาศัย จำเลยไม่มีบ้านอื่นอีก ไม่สามารถหาที่อยู่ใหม่ได้และจำเลยเอาโฉนดไปประกันหนี้เงินกู้ไว้ เหตุดังกล่าวไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่จำเลยไม่อาจจดทะเบียนโอนที่ดินและบ้านได้ เพราะขณะที่จำเลยยื่นคำร้องจำเลยยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านอยู่ในวิสัยที่จะโอนให้ได้ การที่ศาลชั้นต้นไม่สอบถามโจทก์ก่อนและสั่งอนุญาตตามคำร้องของจำเลยจึงเป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งในชั้นบังคับคดีไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าให้เป็นที่สุด เมื่อโจทก์ร้องขอให้เพิกถอน ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจเพิกถอนได้ ที่จำเลยอ้างว่าได้โอนขายที่และบ้านให้บุคคลภายนอกไปแล้วไม่สามารถจดทะเบียนโอนให้โจทก์นั้น ก็เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำขึ้นในภายหลังที่จำเลยทราบคำบังคับของศาลแล้ว ไม่เป็นเหตุที่จะไม่ให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ผิดหลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4539/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์มรดกเฉพาะส่วน: ศาลพิพากษาตามสัดส่วนทายาท ไม่ถือว่าเป็นการโอนทรัพย์ให้ทายาทอื่น
โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์สินเฉพาะส่วนของตน การที่ศาลพิพากษาให้แบ่งทรัพย์พิพาทออกเป็น 18 ส่วน โดยคำนวณจากจำนวนทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมดเพื่อกำหนดส่วนแบ่งของโจทก์ตามฟ้อง มิได้พิพากษาให้จำเลยโอนหรือแบ่งทรัพย์พิพาทให้ทายาทอื่นด้วย ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ การโอนหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นโมฆะ
การที่ลูกหนี้ (จำเลย) ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. ซึ่งเป็นสามีมิได้จดทะเบียนสมรสกันมอบอำนาจให้ ส. ขายที่ดินและบ้านพิพาททั้งส่วนที่เป็นมรดกของ พ. และส่วนที่เป็นของตนให้แก่ผู้คัดค้านขณะที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้(จำเลย) แล้ว สัญญาซื้อขายระหว่างลูกหนี้ (จำเลย) กับผู้คัดค้านเฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทอันเป็นส่วนของลูกหนี้ (จำเลย) ย่อมเป็นนิติกรรมอันฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ มาตรา 22, 24 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอให้ศาลเพิกถอนการโอนทรัพย์พิพาทอันเป็นส่วนของลูกหนี้ (จำเลย) เสียได้ และเมื่อนิติกรรมดังกล่าวตกเป็นโมฆะแล้ว คู่สัญญาคือลูกหนี้ (จำเลย) ผู้ขายและผู้คัดค้านผู้ซื้อย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิมโดยผลแห่งกฎหมายไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสั่งให้มีการชดใช้เงินในกรณีที่ไม่สามารถกลับคืนสู่ฐานะเดิมอีกและถึงแม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ขอให้เพิกถอนการโอนโดยอ้าง มาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาด้วย และผู้คัดค้านอ้างว่าได้รับโอนทรัพย์พิพาทมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน เมื่อได้ความว่าลูกหนี้ (จำเลย) โอนทรัพย์ให้ผู้คัดค้านหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ (จำเลย) เด็ดขาดแล้วก็ต้องปรับตามมาตรา 24 เพราะคำว่า การโอนทรัพย์สินหรือกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น หมายถึงการโอนที่กระทำกันก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์หาใช่การโอนที่กระทำกันหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ (จำเลย) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3137/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์ชำระหนี้ถือเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษี หากเกี่ยวเนื่องกับการค้า
โจทก์ประกอบการค้าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยยืมเงินธนาคารมาดำเนินการ การที่โจทก์โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างชำระหนี้ให้ธนาคารตามสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้หนี้ของโจทก์ลดลงนับได้ว่าโจทก์ได้รับประโยชน์ตอบแทนแล้ว ถือได้ว่าเป็นการขายตามความหมายของประมวลรัษฎากรมาตรา 77 ซึ่งให้ความหมายของคำว่า'ขาย'ว่า'หมายความรวมถึงสัญญาจะขาย ขายฝากแลกเปลี่ยน ให้เช่าซื้อหรือจำหน่ายจ่ายโอนโดยมีประโยชน์ตอบแทนด้วย'
แม้ประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจะมิใช่เป็นประโยชน์ตอบแทนทางการค้าหรือเป็นการปลดเปลื้องหนี้สินบางส่วน มิใช่รายรับเนื่องจากการประกอบการค้าโดยตรงแต่เมื่อโจทก์ประกอบการค้าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยยืมเงินธนาคารมาดำเนินการ การที่โจทก์โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างชำระหนี้ให้ธนาคารก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบการค้าของโจทก์นั่นเอง หนี้ที่ลดลงก็เป็นประโยชน์ซึ่งมีมูลค่าที่ได้รับเนื่องจากการประกอบการค้า จึงเป็นรายรับตามประมวลรัษฏากรมาตรา 79 อันโจทก์จะต้องเสียภาษีการค้า
of 10