คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 486 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลาย: สิทธิเจ้าหนี้, การโอนสิทธิเรียกร้อง, และการแจ้งเจ้าหนี้เมื่อสิทธิเดิมสิ้นสุด
แม้ระหว่างพิจารณาคดีล้มละลายของศาลชั้นต้นโจทก์โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยทั้งสองไปยังบริษัท บ. ทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้หมดไปในระหว่างพิจารณาแล้วก็ตาม แต่ในขณะยื่นฟ้องโจทก์เป็นผู้มีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 9 ซึ่งเป็นการฟ้องเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายที่จะนำทรัพย์สินของลูกหนี้มาจัดสรรชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เหล่านั้น หาใช่เป็นการฟ้องบังคับชำระหนี้โดยเฉพาะเจาะจงไม่ และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองไว้ชั่วคราวแล้ว หากศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุที่สิทธิของโจทก์สิ้นไปในระหว่างพิจารณาก็จะต้องดำเนินการโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันเพื่อให้เจ้าหนี้ทั้งหลายทราบล่วงหน้าก่อนไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อให้เจ้าหนี้ดังกล่าวยื่นคำร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์เดิมได้เช่นเดียวกับเหตุตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 154 แต่เมื่อปรากฏว่าต่อมาในระหว่างพิจารณาในศาลชั้นต้นได้มีการยกเลิกการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัท บ. เนื่องจากมีเหตุขัดข้องในการโอน โดยบริษัท บ. ได้โอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวคืนแก่โจทก์แล้ว เช่นนี้โจทก์จึงยังคงมีสถานะเป็นเจ้าหนี้มีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2760/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และการโอนสิทธิที่ไม่สุจริต
การที่จำเลยและมารดาครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกมานานกว่า 30 ปี นับตั้งแต่ ป. เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ และเมื่อ ล. เข้าเป็นผู้จัดการมรดกของ ป. จำเลยก็ยังเป็นฝ่ายครอบครองที่พิพาทตลอดมานั้น ถือได้ว่าจำเลยครอบครองแทนทายาทของ ป. ทุกคน เพราะยังไม่มีการแบ่งแยกที่ดินพิพาทแก่ทายาทโดยชัดเจน แต่เมื่อ ล. ดำเนินการขอแบ่งแยกโฉนดที่ดินพิพาทเพื่อแบ่งแก่ทายาทของ ป. มารดาจำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งของ ป. ปฏิเสธไม่ยอมรับที่ดินที่แบ่งแยกให้โดยยืนยันต่อทายาทอื่นๆ ว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของตนแล้ว จะไม่ยินยอมยกให้ใคร จึงเป็นการแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยชัดเจนว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนแล้ว และเมื่อภายหลังจาก ก. รับโอนที่พิพาทจาก ล. ผู้จัดการมรดกแล้ว ก. ไม่เคยเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแต่อย่างใด กลับปล่อยให้จำเลยเป็นฝ่ายครอบครองตลอดมา เมื่อจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของนับจนถึงวันที่โจทก์ทั้งสองได้รับโอนที่ดินพิพาทจาก ก. เกินกว่า 10 ปี ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
การที่โจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินพิพาทมาจาก ก. โดยรู้ดีว่าจำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวมาก่อนแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตอันจะมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง การับโอนที่ดินพิพาทของโจทก์ เป็นการทำให้จำเลยผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิได้อยู่ก่อนเสียเปรียบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2665/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีของบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่รับโอนสิทธิเรียกร้อง และการดำเนินการภายใน 10 ปี
การร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ของการบังคับคดีให้ครบถ้วนภายใน 10 ปี คือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีแล้ว จากนั้นต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ยึดทรัพย์ของลูกหนี้ ซึ่งโจทก์ได้ปฏิบัติครบถ้วนตามขั้นตอนในการร้องขอให้บังคับคดีตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว แม้ในวันที่ 19 ธันวาคม 2536 โจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอถอนการยึดที่ดินพิพาท และขอถอนการบังคับคดีไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2537 โจทก์ได้ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้เพิกถอนคำสั่งให้ถอนการบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสี่โดยให้โจทก์มีอำนาจบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสี่ต่อไปและระงับการแจ้งถอนการยึดที่ดินพิพาทไปยังเจ้าพนักงานที่ดินโดยอ้างว่าโจทก์ยังไม่ได้รับเงินตามแคชเชียร์เช็คที่จำเลยทั้งสี่นำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะยกคำแถลงของโจทก์แต่โจทก์ไม่ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวต่อศาลจนศาลฎีกาพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์บังคับคดีต่อไปได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการบังคับคดีไปตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้โจทก์บังคับคดีต่อไปได้ตามคำแถลงของโจทก์ที่ยื่นไว้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2537 ซึ่งยังไม่พ้น 10 ปี นับถัดจากวันครบกำหนดที่จำเลยทั้งสี่จะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมคือวันที่ 1 มิถุนายน 2530 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ที่ดินพิพาทได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271
ผู้ร้องเป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ตาม พ.ร.ก. บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ และได้รับโอนสินทรัพย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องอันมีต่อจำเลยทั้งสี่มาจากโจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินแล้ว ซึ่งการโอนสินทรัพย์ในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาแล้วนั้น พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ มาตรา 7 กำหนดให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น การเข้าสวมสิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามสิทธิเรียกร้องแทนโจทก์ที่มีอยู่แก่จำเลยทั้งสี่ของผู้ร้องจึงเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ทั้งผู้ร้องก็ได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามคำร้องให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์การเข้าสวมสิทธิของผู้ร้องจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1595/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงินค่าจ้างหลังโอนสิทธิเรียกร้อง และผลกระทบต่อระยะเวลาคัดค้านการบังคับคดี
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า จำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินค่าจ้างตามสัญญาให้แก่ธนาคารศรีนคร เงินค่าจ้างดังกล่าวจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารศรีนคร มิใช่ของจำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นคำขอให้อายัดเงินดังกล่าวเนื่องจากเป็นการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของบุคคงภายนอกผู้สุจริต และจำเลยที่ 1 ไม่ทราบเรื่องการขออายัดเงินดังกล่าวเพราะการส่งหมายให้จำเลยที่ 1 ทำโดยวิธีปิดหมาย การบังคับคดีจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นเป็นการที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ดังนั้น การยื่นคำร้องคัดค้านของจำเลยที่ 1 จึงอยู่ภายใต้เงื่อนไขระยะเวลาตามมาตรา 296 วรรคสาม
เจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ ได้แจ้งการอายัดให้จำเลยที่ 1 ทราบโดยชอบด้วยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2543 และได้จัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินให้โจทก์ตรวจรับรองกับจ่ายเงินสุทธิที่ได้จากการอายัดให้แก่โจทก์ไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2543 การบังคับคดีจึงเสร็จสิ้นลงในวันดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสี่ (2), 318 จำเลยที่ 1 เพิ่งมายื่นคำร้องคัดค้านเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2544 จึงพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าทรัพย์ - ลักษณะของสัญญา การโอนสิทธิ และการพิจารณาค่าก่อสร้าง
ตึกแถวพิพาทมีมาแต่เดิมแล้ว อ. ไม่ได้ช่วยค่าก่อสร้างให้โจทก์แม้ อ. ได้จ่ายเงินให้ ส. ซึ่งเป็นผู้เช่าจำนวน 1,400,000 บาท ก็ดีหรือผู้รับเหมาก่อสร้างเรียกเก็บเงินค่าดำเนินการและค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างจาก ส. ก็ดี ก็เป็นเพียงเงินที่จ่ายให้แก่กันเพื่อรับโอนสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทจากบุคคลที่มีสิทธิก่อนตน คือจาก ส. มาเป็น อ. หรือจากผู้รับเหมาก่อสร้างมาเป็น ส. เท่านั้น หาใช่เงินค่าก่อสร้างไม่ จึงไม่ทำให้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับ อ. มีลักษณะตอบแทนเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าทรัพย์ธรรมดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าทรัพย์: การจ่ายเงินไม่ใช่ค่าก่อสร้าง แต่เป็นการโอนสิทธิการเช่า
ตึกแถวพิพาทมีมาแต่เดิมแล้ว โจทก์ได้ทำสัญญาให้ อ. เช่าตึกแถวพิพาทดังกล่าวพร้อมที่ดิน อ. ไม่ได้ช่วยค่าก่อสร้างให้โจทก์ ดังนี้ แม้ อ. ได้จ่ายเงินให้ ส. ซึ่งเป็นผู้ที่ได้ขายตึกแถวพิพาทและสิทธิการเช่าที่ดินให้แก่ อ. เป็นเงินจำนวน 1,400,000 บาทก็ดี หรือ บ. ซึ่งเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างเรียกเก็บเงินค่าดำเนินการและค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างจาก ส. และ ส. จ่ายเงินค่าก่อสร้างให้ บ. ก็ดี ก็ถือได้ว่าเป็นเพียงเงินที่จ่ายให้แก่กันเพื่อรับโอนสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทจากบุคคลที่มีสิทธิก่อนตน คือจาก ส. มาเป็น อ. หรือจาก บ. มาเป็น ส. เท่านั้น หาใช่เงินค่าก่อสร้างไม่ และไม่ทำให้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับ อ. มีลักษณะตอบแทนเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าทรัพย์ธรรมดาแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7567/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการบังคับคดีตามคำพิพากษา: บุคคลภายนอกไม่สามารถสวมสิทธิโจทก์ได้ แม้จะมีการโอนสิทธิโดยสุจริต
ผู้มีสิทธิบังคับคดีและผู้มีหน้าที่ต้องถูกบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 271 บัญญัติให้เป็นสิทธิและหน้าที่ของคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น ผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกที่อ้างว่าได้รับโอนสิทธิและหน้าที่ในหนี้ตามคำพิพากษาจากโจทก์ที่มีอยู่แก่จำเลย มิใช่คู่ความในคดีหรือเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะเป็นฝ่ายชนะคดี จึงไม่อาจที่จะเข้ามาสวมสิทธิโจทก์เพื่อดำเนินการอย่างใดเกี่ยวกับการบังคับคดีแก่จำเลยในคดีนี้ได้ ไม่ว่าผู้ร้องจะได้รับโอนสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ในหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ที่มีอยู่แก่จำเลยมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก่อนที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์เด็ดขาดหรือไม่ ผู้ร้องย่อมไม่อาจเข้าสวมสิทธิโจทก์ในการบังคับคดีตามคำพิพากษาเอาแก่จำเลยในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4413/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีโอนสิทธิการรับเงินค่าจ้าง ผู้รับโอนทำหน้าที่แทนผู้รับเหมาหลัก ยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
โจทก์ทำสัญญารับจ้างก่อสร้างอาคารกับทางราชการ แม้ต่อมาโจทก์จะโอนสิทธิในการรับเงินค่าจ้างทั้งหมดให้แก่บริษัท ว. และทางราชการจ่ายค่าจ้างแต่ละงวดให้แก่บริษัท ว. โดยบริษัทดังกล่าวเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีและเป็นผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และชำระภาษีแก่จำเลย แต่โจทก์ก็ยังเป็นคู่สัญญากับทางราชการ การที่ผู้รับโอนรับค่าจ้างไปก็รับไปในฐานะตัวแทนของโจทก์ โจทก์ในฐานะผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นผู้มีหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82 (1) เมื่อทางราชการจ่ายค่าจ้างแต่ละงวดโดยบริษัทผู้รับโอนรับเงินไปก็ต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้รับเงินค่าจ้างดังกล่าว โจทก์จะต้องนำรายได้ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งมาตรา 83 กำหนดให้โจทก์ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มทุกเดือน ไม่ว่าจะมีการให้บริการในเดือนนั้นหรือไม่ก็ตาม และกรณีเช่นนี้ไม่เป็นการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มซ้ำซ้อนเนื่องจากการที่โจทก์มอบอำนาจให้บริษัท ว. ทำการก่อสร้างแทนโจทก์เท่ากับว่าโจทก์ได้จ้างให้บริษัท ว. ก่อสร้างแทนโจทก์ดังกล่าว บริษัท ว. จึงเป็นผู้ให้บริการแก่โจทก์ จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในฐานะเป็นผู้ประกอบการและเป็นผู้ให้บริการโดยเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากโจทก์ และออกใบกำกับภาษีขายให้แก่โจทก์ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ถูกเรียกเก็บดังกล่าวโจทก์สามารถนำไปเป็นภาษีซื้อ ซึ่งจะสามารถนำไปหักภาษีขายที่โจทก์เรียกเก็บจากทางราชการในกรณีที่โจทก์ได้รับเงินค่าจ้างจากทางราชการในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4413/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีโอนสิทธิรับเงินค่าจ้างก่อสร้าง แม้โอนสิทธิไปแล้วผู้รับเหมาก็ยังต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี
โจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้ทำสัญญารับจ้างก่อสร้างอาคารกับหน่วยราชการ ต่อมาโจทก์โอนสิทธิและมอบอำนาจในการรับเงินแต่ละงวดทั้งหมดให้แก่บริษัท ว. และโจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ให้บริษัท ว. เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีและเป็นผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้ เมื่อโจทก์ยังเป็นคู่สัญญากับทางราชการ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82 (1) โดยมีความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มทันทีที่ได้รับชำระค่าบริการ ตามมาตรา 78/1 (2) และอาจนำภาษีซื้อไปหักออกจากภาษีขายที่โจทก์เรียกเก็บจากทางราชการในกรณีที่โจทก์ได้รับเงินค่าจ้างจากทางราชการได้ ตามมาตรา 82/3 และ 82/4 การที่โจทก์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงเป็นการเสียภาษีไปตามความรับผิดในการที่โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นความรับผิดตามกฎหมาย เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงประเมินให้โจทก์เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับได้ และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์และของบริษัท ว. หาได้เป็นการซ้ำซ้อนกันไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8113/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน ส.ค.1 และการปฏิรูปที่ดิน: การโอนสิทธิและผลกระทบต่อการครอบครอง
ตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 12 วรรคสาม คำว่า "สิทธิในที่ดินที่บุคคลมีอยู่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน" นั้น เมื่อพิจารณาจาก พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 5 ซึ่งบัญญัติรับรองถึงสิทธิของผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ สิทธิในที่ดินที่บุคคลมีอยู่ตามประมวลกฎหมายที่ดินจึงหมายรวมถึงสิทธิครอบครองตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. 1) ด้วย เมื่อ พ. ได้ขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่มีสิทธิครอบครองตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. 1) ให้แก่จำเลย และจำเลยได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา จึงแสดงให้เห็นว่า พ. ได้สละสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทและโอนที่ดินพิพาทโดยการส่งมอบการครอบครองให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยรับโอนมาโดยชอบ จำเลยจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 59 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทและไม่มีอำนาจนำที่ดินที่พิพาทมาใช้ในการปฏิรูปเพื่อเกษตรกรรม ตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 26 (4)
of 49