คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนเช็ค

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คระบุชื่อ การสลักหลังไม่ขาดสาย และการเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยสั่งจ่ายเช็คระบุชื่อ ช. เป็นผู้รับเงินและขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออก แม้ ช. จะลงลายมือชื่อไว้ด้านหลังเช็คแต่ไม่ได้ความว่าลงชื่อไว้ในฐานะอะไร การที่โจทก์มีเช็คไว้ในครอบครอง แต่โจทก์ไม่สามารถแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4279/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมคบกันฉ้อฉลในการโอนเช็คต้องเกิดขึ้นขณะผู้ทรงรับโอน มิใช่หลังฟ้องคดี ผู้สั่งจ่ายยกข้อต่อสู้ไม่ได้
การโอนเช็คด้วยการคบคิดกันฉ้อฉลที่จะเป็นเหตุให้ผู้สั่งจ่ายยกความเกี่ยวพันระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อนขึ้นต่อสู้ผู้ทรงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 จะต้องเป็นการคบคิดกันฉ้อฉลขณะที่ผู้ทรงรับโอนเช็คเท่านั้น มิใช่เป็นการคบคิดกันฉ้อฉลภายหลังจากที่มีการฟ้องร้องเรียกเงินตามเช็ค ดังนั้นการที่จำเลยที่ 2 ผู้ทรงคนก่อนให้การต่อสู้คดีแล้วสละข้อต่อสู้ในภายหลังก็ดี หรือเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วโจทก์ผู้ทรงบังคับคดีเอาแก่จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายเพียงคนเดียวก็ดี จะถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2 คบคิดกันฉ้อฉลจำเลยที่ 1 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4279/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมคบกันฉ้อฉลในการโอนเช็คต้องเกิดขึ้นขณะโอน หากเกิดหลังฟ้องร้องถือว่าไม่สมคบกันฉ้อฉล
การโอนเช็คด้วยการคบคิดกันฉ้อฉลที่จะเป็นเหตุให้ผู้สั่งจ่ายยกความเกี่ยวพันระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อนขึ้นต่อสู้ผู้ทรงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 นั้น จะต้องเป็นการคบคิดกันฉ้อฉลที่เกิดขึ้นขณะที่ผู้ทรงรับโอนเช็คเท่านั้น มิใช่เป็นการคบคิดกันฉ้อฉลภายหลังจากที่มีการฟ้องร้องเรียกเงินตามเช็คกันแล้ว ดังนั้นแม้จำเลยที่ 2 จะให้การต่อสู้คดีแล้วกลับมาสละข้อต่อสู้ภายหลัง หรือเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วโจทก์บังคับคดีเอาแก่จำเลยที่ 1 เพียงคนเดียวก็จะถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2สมคบกันฉ้อฉลจำเลยที่ 1 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4336/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การโอนเช็คขีดคร่อมทั่วไปและการไม่สามารถอ้างการผิดสัญญาของผู้ทรงคนก่อนเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อผู้ทรงคนหลัง
เช็คพิพาทเป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไปสั่งจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 3โดยมิได้มีคำว่า "ห้ามเปลี่ยนมือ" จำเลยที่ 3 ย่อมมีอำนาจที่จะสลักหลังโอนเช็คพิพาทให้แก่บุคคลอื่นในลักษณะที่เป็นตราสารเปลี่ยนมือได้ เมื่อจำเลยที่ 3 สลักหลังเช็คพิพาทส่งมอบให้แก่ โจทก์เป็นการชำระหนี้แทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ซึ่งเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาขายลดเช็ค โจทก์จึงเป็นผู้รับโอนเช็คจากจำเลยที่ 3 มาไว้ในครอบครองโดยชอบ โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 904 แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 3 จะต้องสอนการผลิตหินอ่อนเทียมให้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 แล้วจำเลยที่ 3 ผิดข้อตกลง ทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาต่อจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่การผิดสัญญาดังกล่าว โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิใช่คู่สัญญาหรือมีส่วนรู้เห็น แต่อย่างใด จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงไม่อาจอาศัยความเกี่ยวพัน ระหว่างตนกับจำเลยที่ 3ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อนยกขึ้นใช้ยันโจทก์ ผู้ทรงเพื่อไม่ต้องรับผิดตามเช็คพิพาทได้ เว้นแต่จำเลยที่ 3 โอนเช็คพิพาทให้โจทก์ด้วยคบคิดกันฉ้อฉล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4975/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คขีดคร่อมเฉพาะกับผลของการโอนเช็ค ผู้สั่งจ่ายมีหน้าที่รับผิดตามเช็ค
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยที่ 4 สั่งจ่ายระบุชื่อจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 โดยขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออก และขีดคร่อมระบุไว้กลางเส้นขนานที่ขีดคร่อมว่า "เฉพาะ" ดังนี้ จำเลยที่ 4 อาจประสงค์ให้เป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะและให้ใช้เงินแก่ธนาคารตามเช็คก็ได้ ทั้งจำเลยที่ 4 ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าในทางปฏิบัติหรือประเพณีของธนาคารเป็นที่ยอมรับกันว่าเช็คที่ใช้ถ้อยคำเช่นนี้ห้ามมิให้เปลี่ยนมือ จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นคำอื่นอันได้ความทำนองเดียวกับคำว่า "เปลี่ยนมือไม่ได้" ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 917 วรรคสอง ข้อความดังกล่าวมิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน จึงหามีผลต่อเช็คพิพาทไม่ตามมาตรา 899 เมื่อจำเลยที่ 1 นำเช็คนั้นมาขายลดให้โจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทและจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้สลักหลัง ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 967 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 989จึงเป็นลูกหนี้ร่วมซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในค่าฤชาธรรมเนียม แต่ความรับผิดของจำเลยที่ 4 จำกัดอยู่เพียงไม่เกินจำนวนเงินในเช็คพิพาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดเท่านั้น ซึ่งโจทก์ทราบดีตั้งแต่ตอนต้น ฉะนั้น การที่จะให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเกินไปกว่านี้ย่อมเป็นการไม่ยุติธรรมต่อจำเลยที่ 4แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้อุทธรณ์ไว้ เพิ่งจะยกขึ้นในฎีกาก็ตามศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตลอดไปถึงศาลล่างได้ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คที่ระบุเงื่อนไขพิเศษ และผลของการไม่แจ้งการโอนต่อผู้สั่งจ่าย
เช็ค พิพาทจำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันลงชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายระบุชื่อ จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับเงินโดย ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ"ออก และด้านหน้าบนซ้าย ของเช็ค มีตราประทับเป็นภาษาอังกฤษว่า"เอ/ซีเพอี้โอนลี่" แสดงว่าเปลี่ยนมือไม่ได้ จำเลยที่ 3 จะต้องนำเข้าบัญชีของตน จำเลยที่ 3 จะโอนเช็ค พิพาทให้โจทก์ได้ แต่ โดยรูปการและด้วย ผลอย่างการโอนหนี้สามัญ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 917วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 989 และการโอนสิทธิเรียกร้องตามมาตรา 306 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยเช็ค พิพาทตาม สัญญาประนีประนอมยอมความในศาลโดย มิให้โอนกันอย่างการโอนสามัญ ดังนี้โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ย จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คโดยไม่สุจริตต้องเกิดขึ้นขณะรับโอน หากเกิดภายหลังไม่ถือว่าผู้ทรงคบคิดฉ้อฉล
การคบคิดกันฉ้อฉลหรือความไม่สุจริตอันจะทำให้ผู้สั่งจ่ายยกความเกี่ยวพันระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อนขึ้นต่อสู้ผู้ทรงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 นั้น จะต้องเกิดขึ้นขณะที่ผู้ทรงรับโอนเช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4107/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คมีมูลหนี้ การโอนเช็คไม่เข้าข่ายฉ้อฉล ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาโดยวินิจฉัยว่า เช็คพิพาทเป็นเช็คที่มีมูลหนี้ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็คนั้น จำเลยมิได้ฎีกาโต้เถียงคำวินิจฉัยดังกล่าว ข้อเท็จจริงย่อมเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยฎีกากล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ทรงคนก่อนกับโจทก์ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของจำเลย เพราะไม่ทำให้การโอนเช็คพิพาทระหว่างผู้ทรงคนก่อนกับโจทก์เป็นการโอนด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989 ไปได้ จำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3099/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คโดยสุจริต ผู้สั่งจ่ายไม่สามารถต่อสู้ได้หากไม่ได้กล่าวอ้างถึงการฉ้อฉล
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อเช็คถึงกำหนดโจทก์นำเช็คเข้าบัญชีแต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ขอให้จำเลยชำระเงินตามเช็คจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ผู้มีชื่อเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมซึ่งมี ดอกเบี้ย เกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วย ไม่ทราบว่าเช็คพิพาทตกไปอยู่ในมือของโจทก์ได้อย่างไรโดยจำเลยมิได้กล่าวอ้างต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาโดยคบคิดกับผู้หนึ่งผู้ใดฉ้อฉลจำเลย ดังนี้ ต้องถือว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมาโดยสุจริต การที่จำเลยไม่ทราบว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมาอย่างไร ไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยจะใช้ยันโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 905 และมาตรา 916จำเลยจึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบตามข้อต่อสู้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3099/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การโอนเช็คโดยสุจริต ผู้สั่งจ่ายไม่อาจต่อสู้ได้ และเช็คสมบูรณ์ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อเช็คถึงกำหนดโจทก์นำเช็คเข้าบัญชีแต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินขอให้จำเลยชำระเงินตามเช็ค จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ผู้มีชื่อเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมซึ่งมีดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วย ไม่ทราบว่าเช็คพิพาทตกไปอยู่ในมือของโจทก์ได้อย่างไร โดยจำเลยมิได้กล่าวอ้างต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาโดยคบคิดกับผู้หนึ่งผู้ใดฉ้อฉลจำเลย ดังนี้ต้องถือว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมาโดยสุจริต การที่จำเลยไม่ทราบว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมาอย่างไร ไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยจะใช้ยันโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 905,และมาตรา 916 จำเลยจึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบตามข้อต่อสู้ จำเลยให้การต่อสู้ว่า ลายมือที่ลงปีที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทจะเป็นลายมือของจำเลยหรือไม่จำเลยไม่รับรองนั้น แม้จะรับฟังได้ว่าจำเลยไม่ได้ลงปีที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาท ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่งคนใดทำการโดยสุจริตจะจดวันตามที่ถูกต้องแท้จริงลงก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 910 วรรคท้าย ประกอบด้วยมาตรา 989 ดังนั้น เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามกฎหมายศาลชั้นต้นไม่ต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่ และไม่จำเป็นจะต้องสืบพยานในประเด็นดังกล่าว
of 6