พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6503/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนจดทะเบียนและการเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ละเมิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตามกฎหมายของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยแนบหนังสือรับรองพร้อมคำแปลเป็นภาษาไทยมาด้วยท้ายฟ้อง ซึ่งในคำแปลเป็นภาษาไทยดังกล่าวได้ระบุว่าเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจจดทะเบียนการค้าต่างประเทศเลขที่ 10832 มีชื่อบริษัทโจทก์ที่อยู่และทุนจดทะเบียนพร้อมซึ่งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยและจำเลยร่วมเข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้น โจทก์สามารถจะนำสืบรายละเอียดในชั้นพิจารณาคดีได้ ฟ้องของโจทก์จึงมีสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชัดเจนพอเพียงที่จำเลยและจำเลยร่วมสามารถให้การต่อสู้คดีในส่วนนี้ได้แล้ว หาเป็นฟ้องเคลือบคลุมแต่อย่างใดไม่ การเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนนั้นไม่จำต้องระบุไว้เป็นกิจการในวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล หากเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับกิจการค้าขายที่บริษัท ก. เกี่ยวข้องอยู่ด้วย ก็ย่อมเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนได้ เมื่อบริษัท ก.เป็นตัวแทนจำหน่ายกุญแจตราลูกโลกของโจทก์ซึ่งพิพาทกันในคดีนี้ บริษัทก. จึงเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราลูกโลกกับสินค้ากุญแจไว้ในต่างประเทศหลายประเทศ และได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้ในประเทศไทยตั้งแต่ก่อนจำเลยและจำเลยร่วมจะได้ใช้และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้การที่จำเลยและจำเลยร่วมรู้ดีว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวอยู่ก่อนแล้วจำเลยและจำเลยร่วมยังนำเครื่องหมายการค้านั้นไปจดทะเบียนแสดงว่าจำเลยและจำเลยร่วมมิได้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้านี้ขึ้นเอง โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยและจำเลยร่วม ทั้งนี้แม้โจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในประเทศไทย และจำเลยกับจำเลยร่วมได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ก่อนที่ประเทศไทยจะมีความสัมพันธ์ทางการฑูตกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ตาม โจทก์ก็ย่อมจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยกับจำเลยร่วมและมีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในนามของจำเลยได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1)ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6235/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนย่อมมีสิทธิเหนือกว่า แม้จะมีการจดทะเบียนภายหลัง
โจทก์คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นอักษรโรมันคำว่าSunstar ทั้งที่เป็นคำตามลำพังและคำที่อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมตัดแบ่งครึ่งโดยเส้นทแยงมุมขึ้นในปี 2489 และใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้ายาสีฟันเมื่อปี 2489แปรงสีฟันเมื่อปี 2496 เครื่องสำอางและแชมพูเมื่อปี 2503 และต่อมาได้ใช้กับสินค้าของโจทก์ที่ส่งไปจำหน่ายยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วยโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยเมื่อปี 2496 และในประเทศอื่น ๆ อีก 16 ประเทศ ส่วนจำเลยได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองแบบดังกล่าวเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2522 ในลักษณะที่เหมือนกันทุกประการ โดยที่ในขณะนั้นจำเลยยังไม่ได้ผลิตสินค้าใด ๆ ออกจำหน่าย ทั้งปรากฏว่าจำเลยหาได้มีวัตถุประสงค์ในการผลิตสินค้าประเภทแปรงสีฟัน ยาสีฟัน และแชมพู ซึ่งเป็นสินค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแต่อย่างใดไม่ ที่จำเลยไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองแบบดังกล่าวก็มาจากการที่จำเลยเห็นเครื่องหมายการค้าซึ่งปรากฏอยู่ที่สินค้าของโจทก์ ดังนี้ โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยเป็นเวลา 30 ปีเศษ โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าจำเลยและขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6235/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนย่อมมีสิทธิเหนือกว่าการจดทะเบียนภายหลัง แม้ไม่มีเจตนาใช้
โจทก์คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นอักษรโรมันคำว่าSunstar ทั้งที่เป็นคำตามลำพังและคำที่อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมตัดแบ่งครึ่งโดยเส้นทะแยงมุมขึ้นในปี 2489 และใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้ายาสีฟันเมื่อปี 2489 แปรงสีฟันเมื่อปี 2496เครื่องสำอางและแชมพูเมื่อปี 2503 และต่อมาได้ใช้กับสินค้าของโจทก์ที่ส่งไปจำหน่ายยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยเมื่อปี 2496และในประเทศอื่น ๆ อีก 16 ประเทศ ส่วนจำเลยได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองแบบดังกล่าวเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2522ในลักษณะที่เหมือนกันทุกประการ โดยที่ในขณะนั้นจำเลยยังไม่ได้ผลิตสินค้าใด ๆ ออกจำหน่าย ทั้งปรากฏว่าจำเลยหาได้มีวัตถุประสงค์ในการผลิตสินค้าประเภทแปรงสีฟันยาสีฟันและแชมพู ซึ่งเป็นสินค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแต่อย่างใดไม่ ที่จำเลยไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองแบบดังกล่าวก็มาจากการที่จำเลยเห็นเครื่องหมายการค้าซึ่งปรากฏอยู่ที่สินค้าของโจทก์ดังนี้ โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยเป็นเวลา30 ปีเศษ โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าจำเลยและขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3169/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนย่อมมีสิทธิเหนือกว่า แม้จะมีการขอจดทะเบียนภายหลัง
การที่โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่าLAT และ LOUISTAPE ใช้กับสินค้ากาวเทปอันเป็นสินค้าจำพวกที่ 50 โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว แต่นายทะเบียนให้รอการจดทะเบียนไว้เพราะเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า LOUISTAPEของจำเลยซึ่งยื่นคำขอจดทะเบียนไว้เพื่อใช้กับสินค้าการเทปเช่นเดียวกันกับสินค้าของโจทก์นั้น เป็นกรณีที่มีบุคคลหลายคนต่างอ้างว่าเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอันเดียวกัน หรือเกือบเหมือนกัน ใช้สำหรับสินค้าเดียวกันและต่างร้องขอจดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น อันเป็นการที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่ากันตามมาตรา 17 แห่ง พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท หาใช่การที่โจทก์นำคดีมาสู่ศาลตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันอันโจทก์จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนแห่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวโดยการคัดค้านก่อนและให้โอกาสแก่จำเลยผู้ขอจดทะเบียนก่อนโต้แย้งคำคัดค้านของโจทก์ไม่ การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า LAT และLOUISTAPE กับสินค้าเทปกาวมาตั้งแต่ปี 2518 และได้โฆษณาแพร่หลายซึ่งสินค้าโจทก์ แต่จำเลยเพิ่งนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์มาใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันกับสินค้าโจทก์ในปี 2531ทั้งจำเลยเคยเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์มาก่อน จำเลยย่อมทราบถึงการที่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอย่างดีเช่นนี้ ต้องถือว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยและการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต ประเด็นที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า LAT และ LOUIS ตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์และจำเลยดีกว่าจำเลยแต่มิได้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้นเป็นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5),243(1),246 และ 247 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยย่อมตกไปในตัวไม่จำต้องพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนดังกล่าวอีกศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3050/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนย่อมมีสิทธิเหนือกว่า แม้จดทะเบียนภายหลัง
แม้จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า RAPETTI ในประเทศไทยก่อนโจทก์ แต่โจทก์เป็นผู้คิดเครื่องหมายการค้าคำว่า RAPETTIขึ้นใช้กับสินค้าของตนและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในต่างประเทศไว้หลายประเทศ โจทก์ได้ขายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวก่อนจำเลยหลายปี ทั้งบริษัทที่จำเลยเป็นกรรมการอยู่ก็เคยรับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากโจทก์มาขายในประเทศไทยด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า RAPETTI ดีกว่าจำเลย จำเลยจึงไม่อาจอ้างว่าได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทยก่อนโจทก์เพื่อแสดงว่าจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าโจทก์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาทคดีนี้ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในชั้นชี้สองสถานว่า คำให้การของจำเลยเรื่องอายุความไม่ชัดแจ้ง จึงไม่กำหนดเป็นประเด็นให้ จำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาดังกล่าว ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วจำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ประเด็นเรื่องอายุความอีกทั้งเรื่องดังกล่าวมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในเรื่องอายุความดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1226/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนและลักษณะที่ทำให้สับสนเป็นเหตุเพิกถอนได้
โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมานานหลายสิบปีก่อนจำเลยทั้งได้โฆษณาเผยแพร่และได้จดทะเบียนในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกและมีสินค้าจำหน่ายในประเทศไทย ก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และมีอำนาจฟ้องต่อศาลให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทได้ โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทรูปคนประดิษฐ์ที่ประกอบขึ้นจากยางรถกำลังขี่รถจักรยานดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) ซึ่งมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30(ม.164 เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4030/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อน, ลักษณะคล้ายกัน, และข้อจำกัดระยะเวลาฟ้องร้อง
คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นภาพแหวนและภาพมงกุฎ ส่วนคำขอของจำเลยเป็นภาพแหวนสวมมงกุฎประกอบด้วยอักษรโรมันคำว่า "NEPLUSULTRADARNERSDIMONDDRILLDEYED" และภาพมงกุฎเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์และจำเลยมีลักษณะของแหวนและมงกุฎเป็นชนิดเดียวกัน ตัวแหวน หัวแหวน รูปลักษณะ ของ มงกุฎและลวดลายของมงกุฎเหมือนกัน รูปรอยประดิษฐ์ภาพแหวนสวมมงกุฎสีขาวที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องหมายการค้าทั้งหมดของโจทก์และของจำเลยอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมที่มีลวดลายโดยรอบคล้ายกันอยู่ในพื้นสีน้ำเงินทึบลวดลายสีขาว ลายเส้นก็คล้ายกัน ตัวอักษรโรมันสีขาวคำว่า "NEPLUSULTRADARNERSDRILLDEYED" ที่ใช้เขียนใต้เครื่องหมายการค้าก็เหมือนกัน แตกต่างกันเพียงว่ามีตัวเลขอารบิค สีขาว "3000" อยู่ระหว่างคำว่า "DIMOND" กับคำว่า "DRILLDEYED" และที่ขอบสี่เหลี่ยมไม่มีลวดลายสีขาวเท่านั้น นอกนั้นเหมือนกันหมด ทั้งปรากฏว่าได้นำมาใช้กับสินค้าประเภทเดียวกัน เครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์เป็นการนำเอาส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้ยื่นคำขอไว้มาใช้ เป็นการมุ่งหมายจะลวงหรือทำให้เกิดสับสนกันได้ว่าเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายเป็นเครื่องหมายการค้าอันเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน นอกจากคำขอให้พิพากษาว่าจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าและมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอที่จำเลยได้ยื่นไว้แล้วดีกว่าโจทก์ทั้งสอง และห้ามมิให้ขัดขวางการที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยแล้ว คำขออื่นตามฟ้องแย้งของจำเลยล้วนเป็นคำขอเพื่อป้องกันและเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสิ้น ดังนั้นแม้จะปรากฏว่าจำเลยมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยดีกว่าโจทก์ เพราะจำเลยใช้เครื่องหมายการค้านั้นมาก่อนโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยยังมิได้รับการจดทะเบียนและนับแต่ได้ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาจนถึงวันฟ้องแย้งก็เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้ว ดังนี้ จำเลยจึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคแรก และฟ้องแย้งของจำเลยก็มิได้บรรยายให้ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองเอาสินค้าของโจทก์ทั้งสองไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของจำเลย กรณีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องการลวงขายที่จะต้องวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งให้ศาลบังคับตามคำขออื่นดังกล่าวตามฟ้องแย้งของจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนและการจดทะเบียนโดยไม่สุจริต ทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าเดิมมีสิทธิเรียกร้องได้
โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า mita มาก่อนจำเลยทั้งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไว้ในต่างประเทศหลายประเทศ และได้ส่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า mita ดีกว่าจำเลย จำเลยเป็นกรรมการของบริษัท ร. ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าว จำเลยย่อมรู้ถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า mita โดยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์เป็นเจ้าของ แม้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนจะได้รับการจดทะเบียนแล้วก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนเครื่องหมายการค้านั้นได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) ข้อที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้รับความคุ้มครองเนื่องจากโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทยไม่มีความตกลงคุ้มครองเครื่องหมายการค้าในลักษณะที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กับรัฐบาลต่างประเทศนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ เป็นเรื่องนอกประเด็น แม้จำเลยได้นำสืบต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้น และยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ด้วยก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4540/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้จดทะเบียน vs. ผู้ใช้ก่อน ต้องพิสูจน์สิทธิการใช้ในไทย
บทบัญญัติมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯบัญญัติไว้ตอนต้นว่า "ภายในบังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้"ซึ่งรับกับมาตรา 41 ที่บัญญัติว่า "ทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นศาลอาจมีคำสั่งให้เพิกถอนได้เมื่อผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำร้องและแสดงว่า (1) ผู้ร้องมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของหรือ (2) ฯลฯ" ดังนั้น เมื่อจำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้แล้ว โจทก์ซึ่งอ้างว่าตนมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นตามข้ออ้างของตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าเกือบเหมือนกัน-การใช้ก่อน-ลูกจ้างจำหน่ายสินค้า: สิทธิในการจดทะเบียน
แม้เครื่องหมายการค้าตาม คำขอจดทะเบียนของจำเลยที่ ๑ ที่ ๒จะไม่มีรูปสิงโต และดาว ภายในวงกลมอยู่ตรง กลางเครื่องหมายการค้า-เหมือนกับเครื่องหมายการค้าตาม คำขอจดทะเบียนของโจทก์ โดย มีแต่ รูปวงกลมอยู่ตรง กลางเครื่องหมายการค้าเท่านั้นแต่ ตอนบนของเครื่องหมายการค้าที่โจทก์และจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ขอจดทะเบียนดังกล่าว มีข้อความเป็นตัวอักษรโรมันอ่านว่า ไลอ้อนแบรนด์เหมือนกัน ถัด จากตัวอักษรโรมันดังกล่าว เครื่องหมายการค้าทั้งสองยังมีข้อความเป็นอักษรโรมันและอักษรจีนที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันตลอดจนมีอักษรไทยเขียนว่าผงวุ้นชั้นพิเศษตราไลอ้อน เหมือนกันและตัวอักษรทั้งสามภาษาดังกล่าวมีขนาดใกล้เคียงกัน และถูก จัดวางในลักษณะเดียวกันส่วนตอนล่างของเครื่องหมายการค้าทั้งสองก็เป็นชื่อของห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ และห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ ๑ ซึ่งต่าง ก็มีคำว่าพัฒนาสินอยู่ด้วย พร้อมทั้งเบอร์ โทรศัพท์อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมขนาดเท่ากัน เมื่อเครื่องหมายการค้าของทั้งโจทก์และจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ต่าง ใช้ กับสินค้าผงวุ้นเหมือนกันตลอดจนอาจถูก เรียกขานว่าตรา ไลอ้อน ได้ เหมือนกัน จึงถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายดังกล่าว เป็นเครื่องหมายการค้าที่เกือบเหมือนกันใช้ สำหรับสินค้าเดียว หรือชนิดเดียวกัน ตาม นัยมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๔๗๔
แม้จำเลยที่ ๒ จำหน่ายผงวุ้นบรรจุซอง พลาสติกร่วมกับโจทก์มาแต่ แรก ก็เป็นเพียงช่วย จำหน่ายในฐานะ ลูกจ้างโจทก์เท่านั้นโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีข้อความและภาพเกือบเหมือนกับที่โจทก์ใช้ บรรจุผงวุ้นมาก่อนดีกว่าสิทธิของจำเลยที่ ๑ ที่ ๒
การนำเอาเหตุผลในคำพิพากษาฎีกาในคดีซึ่ง จำเลยที่ ๒ เป็นโจทก์ฟ้องหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ในคดีนี้มาประกอบคำเบิกความของพยานเพื่อวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้ มิใช่เป็นการนำคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวมาผูกพันโจทก์และจำเลยที่ ๑ คดีนี้ซึ่ง มิใช่คู่ความในคดีก่อน.
แม้จำเลยที่ ๒ จำหน่ายผงวุ้นบรรจุซอง พลาสติกร่วมกับโจทก์มาแต่ แรก ก็เป็นเพียงช่วย จำหน่ายในฐานะ ลูกจ้างโจทก์เท่านั้นโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีข้อความและภาพเกือบเหมือนกับที่โจทก์ใช้ บรรจุผงวุ้นมาก่อนดีกว่าสิทธิของจำเลยที่ ๑ ที่ ๒
การนำเอาเหตุผลในคำพิพากษาฎีกาในคดีซึ่ง จำเลยที่ ๒ เป็นโจทก์ฟ้องหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ในคดีนี้มาประกอบคำเบิกความของพยานเพื่อวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้ มิใช่เป็นการนำคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวมาผูกพันโจทก์และจำเลยที่ ๑ คดีนี้ซึ่ง มิใช่คู่ความในคดีก่อน.