พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกใบรับเงินตามประมวลรัษฎากรเมื่อชำระด้วย L/C การซื้อขายในประเทศ
การรถไฟแห่งประเทศไทยซื้อสินค้าจากโจทก์ผู้ขาย ซึ่งอยู่ในประเทศไทย การทำสัญญาซื้อขายตลอดจนการชำระราคาก็ทำในประเทศไทย ตามวิธีการที่ให้การรถไฟชำระเงินโดยเปิดเลตเตอร์อ๊อฟเครดิตต่อธนาคารในประเทศไทยตามข้อตกลงที่ได้กำหนดกันไว้ในสัญญาซื้อขาย โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องออกใบรับเงินตามความในมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร หลักฐานการรับเงินเลตเตอร์อ๊อฟเครดิตตามวิธีการและประเพณีของธนาคารที่บริษัทในต่างประเทศตัวแทนโจทก์ทำให้ไว้แก่ธนาคารในต่างประเทศผู้จ่ายเงินไม่ถือว่าเป็นใบรับตามความในมาตรา 105 นั้น และไม่ได้รับความยกเว้นไม่ต้องเสียอากรตามประมวลรัษฎากร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบรับเงินตามประมวลรัษฎากร: การซื้อขายในประเทศและเลตเตอร์ออฟเครดิต
การรถไฟแห่งประเทศไทยซื้อสินค้าจากโจทก์ผู้ขายซึ่งอยู่ในประเทศไทยการทำสัญญาซื้อขายตลอดจนการชำระราคาก็ทำในประเทศไทย ตามวิธีการที่ให้การรถไฟชำระเงินโดยเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตต่อธนาคารในประเทศไทยตามข้อตกลงที่ได้กำหนดกันไว้ในสัญญาซื้อขายโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องออกใบรับเงินตามความในมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร หลักฐานการรับเงินเลตเตอร์ออฟเครดิตตามวิธีการและประเพณีของธนาคารที่บริษัทในต่างประเทศตัวแทนโจทก์ทำให้ไว้แก่ธนาคารในต่างประเทศผู้จ่ายเงินไม่ถือว่าเป็นใบรับตามความในมาตรา 105 นั้น
และไม่ได้รับความยกเว้นไม่ต้องเสียอากรตามประมวลรัษฎากร
และไม่ได้รับความยกเว้นไม่ต้องเสียอากรตามประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 487/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ออกใบรับเงินเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ประมวลรัษฎากร ไม่ใช่การหลีกเลี่ยงภาษี
การที่จำเลยขายของไม่ออกใบรับเงินนั้น เป็นเรื่องไม่กระทำ คือไม่ออกใบรับมีบทบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้โดยเฉพาะอยู่แล้วตาม มาตรา 105 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2502 มาตรา 55 หาเป็นความผิดฐานหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ตามมาตรา 37(2) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2502 มาตรา 14 ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องมีการกระทำด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323-1324/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสัญญาเช่าโดยการตกลงกันใหม่เป็นลายลักษณ์อักษร และการนำสืบหลักฐานใบรับเงินค่าเช่าเพื่อพิสูจน์ข้อตกลง
โจทก์ทำสัญญาให้จำเลยเช่าโรงสี 3 ปี กำหนดค่าเช่าไว้เดือนละ 3,000 บาทจำเลยอ้างว่าโจทก์จำเลยตกลงกันไว้ว่า ชั้นแรกคิดค่าเช่าเดือนละ 3,000 บาท แต่ต่อไปโจทก์จะลดให้เป็นเดือนละ 2,000 บาท และ 1,000 บาทตามลำดับ แล้วจำเลยนำสืบใบรับเงินค่าเช่าอันแสดงว่าในระยะหลังๆ นี้โจทก์เก็บค่าเช่าเพียงเดือนละ 2,000 บาท และ 1,000 บาท ดังนี้เป็นเรื่องจำเลยนำสืบว่าคู่สัญญาตกลงทำสัญญากันใหม่เป็นหนังสือแก้ไขหนังสือสัญญาเช่าเดิมเฉพาะเรื่องอัตราค่าเช่าอย่างเดียวจำเลยจึงนำพยานบุคคลมาสืบอธิบายถึงที่มาของใบรับเงินนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการชำระหนี้จากการกู้ยืมเงิน ไม่จำเป็นต้องเป็นใบรับเงินโดยเฉพาะ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรค 2 มิได้บังคับว่าจะต้องมีใบรับเงินมาแสดง
เอกสารมีความว่า เรียนครูที่เคารพนับถืออันสูง กระผมได้ฝากนมมาให้ 1 โหล ราคา 44 บาท โปรดทราบเงินฝากไป 9,400 บาท กระผมได้รับและลงบัญชีไว้เรียบร้อยแล้ว ท้ายข้อความเป็นคำลงท้ายของหนังสือ วันเดือนปี และเซ็นชื่อโจทก์ ดังนี้เห็นได้ว่า เป็นจดหมายธุรกิจ เลยกล่าวถึงเงินที่จำเลยฝากไปให้โจทก์แล้วด้วย ไม่มีลักษณะเป็นใบรับเงินโดยเฉพาะ และตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 105 การรับเงินเช่นนี้ (ลูกหนี้ฝากเงินมาชำระหนี้เงินกู้) ก็มิได้บังคับว่าจะต้องออกใบรับเงินประการใดหนังสือฉบับนี้เป็นหลักฐานตามที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา653 บังคับไว้เท่านั้น แม้จะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็ฟังเป็นหลักฐานประกอบข้อเท็จจริงได้ว่า จำเลยได้ชำระหนี้จำนวนนี้ให้แก่โจทก์แล้ว
เอกสารมีความว่า เรียนครูที่เคารพนับถืออันสูง กระผมได้ฝากนมมาให้ 1 โหล ราคา 44 บาท โปรดทราบเงินฝากไป 9,400 บาท กระผมได้รับและลงบัญชีไว้เรียบร้อยแล้ว ท้ายข้อความเป็นคำลงท้ายของหนังสือ วันเดือนปี และเซ็นชื่อโจทก์ ดังนี้เห็นได้ว่า เป็นจดหมายธุรกิจ เลยกล่าวถึงเงินที่จำเลยฝากไปให้โจทก์แล้วด้วย ไม่มีลักษณะเป็นใบรับเงินโดยเฉพาะ และตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 105 การรับเงินเช่นนี้ (ลูกหนี้ฝากเงินมาชำระหนี้เงินกู้) ก็มิได้บังคับว่าจะต้องออกใบรับเงินประการใดหนังสือฉบับนี้เป็นหลักฐานตามที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา653 บังคับไว้เท่านั้น แม้จะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็ฟังเป็นหลักฐานประกอบข้อเท็จจริงได้ว่า จำเลยได้ชำระหนี้จำนวนนี้ให้แก่โจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1728/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยเช็ค & การนำสืบเมื่อใบรับเงินไม่ได้ระบุวิธีชำระ
แม้โจทก์ยอมรับว่าได้ออกใบเสร็จรับเงินและเวนคืนเอกสารแห่งหนี้คือใบรับขวดแล้ว และจำเลยค้านว่าหนี้ระงับไป และเมื่อใบเงินหมาย จ.17 ไม่มีจดแจ้งว่า การชำระหนี้ได้ชำระ โดยเช็คหมาย จ.16 เมื่อฟ้องโจทก์กล่าวไว้แจ้งชัดว่า จำเลยชำระราคาขวดโดยจ่ายเป็นเช็ค แต่จำเลยสั่งห้ามการใช้เงิน ดังนี้ โจทก์ย่อมนำสืบว่าโจทก์ไม่ได้รับเงินสดตามใบเสร็จรับเงินนั้นได้ ไม่เรียกว่าเป็นการสืบเปลี่ยนแปลงเอกสาร กล่าวคือเมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับเงินตามเช็คที่ออกให้ หนี้นั้นก็ยังหาระงับไปไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบพยานเพื่ออธิบายเอกสารใบรับเงิน เพื่อยืนยันการชำระหนี้ด้วยเงินสดและเช็ค
โจทก์อาจนำพยานมาสืบว่าเอกสาร ล.1 ที่จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ออกให้แก่จำเลยในการชำระหนี้ ว่าความจริงโจทก์ออกใบรับเงิน ล.1 ให้จำเลยจริงเพราะจำเลยได้ชำระเงินให้โจทก์ครบ โดยชำระเป็นเงินสดส่วนหนึ่ง ส่วนที่เหลือชำระเป็นเช็ค 2 ฉบับ ซึ่งโจทก์นำไปขึ้นเงินไม่ได้ จึงมาฟ้องให้จำเลยชดใช้ การสืบเช่นนี้ไม่เป็นการสืบแก้ไขเอกสาร เป็นการสืบอธิบายเอกสาร สืบได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบพยานเพื่ออธิบายเอกสารใบรับเงิน ไม่ใช่การแก้ไขเอกสาร ย่อมทำได้
โจทก์อาจนำพยานมาสืบว่าเอกสาร ล.1 ที่จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ออกให้แก่จำเลยในการชำระหนี้ว่าความจริงโจทก์ออกใบรับเงิน ล.1 ให้จำเลยจริงเพราะจำเลยได้ชำระเงินให้โจทก์ครบโดยชำระเป็นเงินสดส่วนหนึ่ง ส่วนที่เหลือชำระเป็นเช็ค 2 ฉบับ ซึ่งโจทก์นำไปขึ้นเงินไม่ได้จึงมาฟ้องให้จำเลยชดใช้ การสืบเช่นนี้ไม่เป็นการสืบแก้ไขเอกสารเป็นการสืบอธิบายเอกสาร สืบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1559/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายสินค้าพิเศษเกินราคาควบคุมและความรับผิดชอบในการออกใบรับเงินของผู้รับใช้
ผู้บริโภคสั่งซื้อเครื่องบริโภคเป็นพิเศษ ผู้ค้าก็จัดให้ตามต้องการและคิดราคาเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษเช่นนี้ จะถือว่าขายเครื่องบริโภคเกินกว่าราคาควบคุม ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควรไม่ได้
จำเลยรับเงินจากผู้ซื้อเครื่องบริโภคแล้ว ไม่ได้ทำใบรับเงินให้แก่ผู้ซื้อเมื่อปรากฏว่า จำเลยเป็นเพียงผู้รับใช้และมีคนอื่น มีหน้าที่รับเงินและออกใบรับเงินในร้านนั้น ดังนี้ จะเอาผิดแก่จำเลยฐานไม่ออกใบรับเงินไม่ได้
จำเลยรับเงินจากผู้ซื้อเครื่องบริโภคแล้ว ไม่ได้ทำใบรับเงินให้แก่ผู้ซื้อเมื่อปรากฏว่า จำเลยเป็นเพียงผู้รับใช้และมีคนอื่น มีหน้าที่รับเงินและออกใบรับเงินในร้านนั้น ดังนี้ จะเอาผิดแก่จำเลยฐานไม่ออกใบรับเงินไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1772/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกใบรับเงินจากการขายสินค้าแบบผ่อนชำระ: จำเลยไม่มีหน้าที่ออกใบรับทุกครั้งที่รับเงิน หากไม่ใช่การขายผ่อนที่มีเงื่อนไข
เจ้าของโรงค้าซึ่งเสียภาษีโรงค้าได้ขายของราคา 18 บาท ผู้ซื้อได้ผ่อนใช้ไปคราวแรก 15 บาท ผู้ขายได้เขียนใบรับและปิดอากรแสตมป์ไว้แล้ว ตั้งใจว่าเมื่อชำระเงินครบจึงจะให้ใบรับ ดังนี้ จำเลยจึงยังไม่มีผิด.
(อ้างฎีกาที่ 235/2484)
(อ้างฎีกาที่ 235/2484)