คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ใบอนุญาต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 358 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: สัญญาให้ใช้ใบอนุญาตการพนันที่เป็นโมฆะ ศาลยกฟ้อง
จำเลยได้รับอนุญาตให้ตั้งบ่อนและจัดให้มีการเล่นการพนันชนไก่และกัดปลาโจทก์จำเลยทำสัญญาให้ใช้ใบอนุญาตดังกล่าวโดยโจทก์จะให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยปีละ 100,000 บาท ในวันทำสัญญาจำเลยได้รับเงินมัดจำ 100,000 บาท จากโจทก์ ต่อมาโจทก์ฟ้องกล่าวหาจำเลยว่า จำเลยผิดสัญญาโดยไม่ดำเนินการขอย้ายสถานที่ตั้งบ่อนและจัดให้มีการเล่นการพนันชนไก่และกัดปลาในที่ดินของโจทก์ โจทก์เสียหาย ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 1,300,000 บาท จำเลยให้การว่าสัญญาที่โจทก์นำมาฟ้องมีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายตกเป็นโมฆะ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาให้ใช้ใบอนุญาตให้ตั้งบ่อนและจัดให้มีการเล่นการพนันชนไก่และกัดปลาที่โจทก์นำมาฟ้องตกเป็นโมฆะคดีถึงที่สุด ดังนั้นที่โจทก์นำสัญญาให้ใช้ใบอนุญาตดังกล่าวมาฟ้องจำเลยว่าผิดสัญญาและบังคับให้จำเลยคืนเงินมัดจำที่รับไปจากโจทก์เพื่อให้ศาลวินิจฉัยคดีในประเด็นเดียวกันนั้นซ้ำอีกจึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้องโจทก์โดยไม่ได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ชอบเพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใด ก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5139/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบอนุญาตซื้ออาวุธปืน (ป.3) ถือเป็นการอนุญาตให้มีและใช้ได้ การขอ ป.4 เป็นขั้นตอนต่อเนื่อง ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย
การที่นายทะเบียนอาวุธปืนออกใบอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืน หรือเครื่องกระสุนปืนส่วนบุคคล (แบบ ป.3) ให้แก่ผู้ขออนุญาต ถือได้ว่านายทะเบียนอาวุธปืนได้อนุญาตให้ผู้ขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืนได้แล้ว ส่วนการไปซื้อหรือรับโอนอาวุธปืนตามแบบ ป.3 ดังกล่าว แล้วนำไปดำเนินการจดทะเบียนออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ ป.4) เป็นขั้นตอนต่อเนื่องมาเพื่อควบคุมอาวุธปืนในราชอาณาจักรให้รู้ว่าอาวุธปืนแต่ละกระบอกอยู่ในครอบครองของผู้ใดเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงว่าผู้ขออนุญาตเพิ่งได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนเมื่อนายทะเบียนอาวุธปืนออกใบอนุญาตแบบ ป.4 ให้
ตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มาตรา 23 (2) กำหนดให้แบบ ป.3 มีอายุ 6 เดือน นับแต่วันออก การที่จำเลยซื้อและครอบครองอาวุธปืนตามแบบ ป.3 แล้วดำเนินการขอจดทะเบียนรับใบอนุญาตแบบ ป.4 ภายในกำหนดเวลา จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5139/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอาวุธปืนโดยชอบด้วยกฎหมาย: ใบอนุญาตซื้อ (ป.3) เพียงพอสำหรับการครอบครองก่อนออกใบอนุญาตใช้ (ป.4)
การขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืน ผู้ขอจะต้องไปยื่นคำขอต่อนายทะเบียนอาวุธปืนท้องที่ที่ผู้ขอมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านก่อน เมื่อนายทะเบียนอาวุธปืนท้องที่เห็นว่าผู้ขอมีคุณสมบัติตามที่พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ กำหนดแล้วจึงอนุญาตให้ซื้อหรือรับโอนอาวุธปืนได้ โดยจะออกใบอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนส่วนบุคคล(แบบ ป.3) ให้ จากนั้นผู้ขอจึงนำใบ ป.3 ดังกล่าวไปซื้ออาวุธปืนจากร้านค้าหรือผู้ขายแล้วจึงนำอาวุธปืนพร้อมหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปแสดงต่อนายทะเบียนอาวุธปืนผู้ออกใบอนุญาตเพื่อออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ ป.4) ถือได้ว่านายทะเบียนอาวุธปืนผู้ออกใบอนุญาตได้อนุญาตให้ผู้ขอมีและใช้อาวุธปืนแล้วตั้งแต่ออกใบ ป.3ส่วนขั้นตอนการไปซื้อหรือรับโอนจนกระทั่งออกใบ ป.4 เป็นขั้นตอนต่อมาเพื่อควบคุมอาวุธปืนในราชอาณาจักรให้รู้ว่าอาวุธปืนแต่ละกระบอกอยู่ในครอบครองของผู้ใดเท่านั้นไม่ได้หมายความว่าผู้ขอเพิ่งได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนเมื่อนายทะเบียนออกใบป.4 ให้ การที่จำเลยซื้อและครอบครองอาวุธปืนของกลางตามใบ ป.3 และดำเนินการขอออกใบ ป.4 สำหรับอาวุธปืนของกลางจนได้รับใบ ป.4 จึงไม่เป็นความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และเมื่อจำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนของกลางก่อนที่ศาลชั้นต้นสั่งริบ อาวุธปืนของกลางจึงไม่ใช่สิ่งที่มีไว้เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5139/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตมีอาวุธปืน: ใบ ป.3 เพียงพอต่อการครอบครองก่อนออกใบ ป.4 ไม่ถือผิดกฎหมาย
การขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืน ต้องไปยื่นคำขอต่อนายทะเบียนอาวุธปืนก่อนเมื่อนายทะเบียนอาวุธปืนอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืนได้ จะออกใบอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน (แบบ ป.3) ให้ ผู้ขอจึงนำใบ ป.3 ไปซื้ออาวุธปืน แล้วจึงนำไปแสดงต่อนายทะเบียนอาวุธปืนเพื่อออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ ป.4) ต่อไปตามขั้นตอนดังกล่าวถือได้ว่านายทะเบียนอาวุธปืนได้อนุญาตให้ผู้ขอมีและใช้อาวุธปืนแล้วตั้งแต่ออกใบ ป.3 ส่วนการไปซื้อ จนกระทั่งออกใบ ป.4 เป็นขั้นตอนเพื่อควบคุมอาวุธปืนให้รู้ว่าแต่ละกระบอกอยู่ในครอบครองของผู้ใด ไม่ได้หมายความว่าผู้ขอเพิ่งได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนเมื่อนายทะเบียนอาวุธปืนออกใบ ป.4 ให้ประกอบกับการที่จำเลยซื้อและครอบครองอาวุธปืนของกลางตามใบ ป.3 และดำเนินการขอออกใบ ป.4 จนได้รับใบ ป.4 ก่อนที่ใบ ป.3 จะสิ้นอายุ แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะฝ่าฝืนกฎหมาย จึงไม่เป็นความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
จำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนของกลางก่อนที่ศาลชั้นต้นสั่งริบอาวุธปืนของกลางจึงไม่ใช่สิ่งที่มีไว้เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 32 จึงริบอาวุธปืนของกลางไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเป็นโมฆะเมื่อข้อกำหนดขัดต่อกฎหมายโรงงาน กรณีผู้เช่าไม่สามารถต่อใบอนุญาตประกอบกิจการได้
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ก. โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าโรงงานต้องถือว่าบริษัท ก. เลิกประกอบกิจการโรงงานในวันที่ให้เช่า ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น และในวันเดียวกันนั้นใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัท ก. ก็เป็นอันสิ้นอายุลง ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 16 เช่นกัน การต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานต้องกระทำโดยผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานและต้องทำการก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 17 วรรคหนึ่ง แต่ตามสัญญาเช่ากำหนดให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการขอต่อใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานในนามของบริษัท ก. และใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัท ก. สิ้นอายุลงแล้วในวันทำสัญญาเช่าจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาเช่าดังกล่าวได้ เพราะขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ข้อสัญญาเช่าจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายย่อมเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ทำให้สัญญาเช่าเฉพาะข้อ 8 ตกเป็นโมฆะทั้งสิ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 จำเลยที่ 1 จึงไม่ผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2149/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยที่ขับรถขณะเสพยาเสพติด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่เพื่อความปลอดภัยสาธารณะ
แม้อัตราโทษตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกฯ มาตรา 102(3 ทวิ),127 ทวิ วรรคสอง กับโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง,157 ทวิ วรรคสอง จะเท่ากัน แต่พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 157 ทวิ วรรคสองมีบทบัญญัติให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยไม่น้อยกว่าหกเดือนหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ อันเป็นมาตรการทำนองเดียวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัยในการที่จะคุ้มครองประชาชนทั่วไปมิให้ได้รับอันตรายที่เกิดจากการกระทำของจำเลย การที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกฯ มาตรา 102(3 ทวิ),127 ทวิ วรรคสอง และไม่พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยนั้น เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา เมื่อศาลฎีกาไม่เห็นด้วยก็มีอำนาจวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9546/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดฐานฉายวิดีโอคาราโอเกะโดยไม่ได้รับอนุญาต และการริบของกลาง
ผู้ร้องเป็นเจ้าของตู้คาราโอเกะ อันประกอบด้วยเครื่องรับโทรทัศน์สี เครื่องเล่นวิดีโอซีดี แผ่นวิดีโอซีดี และเครื่องเสียงพร้อมลำโพง ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาให้ริบตาม ป.อ. มาตรา 33 เพราะจำเลยได้นำไปฉายหรือให้บริการ วิดีโอซีดีคาราโอเกะที่มีการแสดงภาพและเสียงเพลงบริการลูกค้าโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. ควมคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 มาตรา 4, 20 วรรคสอง, 38 แต่ผู้ร้องทราบความต้องการของจำเลยว่าจำเลยต้องการติดตั้งตู้คาราโอเกะอย่างเร่งด่วนในทันทีแม้จำเลยยังไม่ได้รับใบอนุญาต ทั้งนี้เพื่อเป็นการเอาใจลูกค้ารวมถึงกิจการค้าขายเจริญขึ้นตามไปด้วย ดังนี้รับฟังได้ว่า ผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุด ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้จัดให้มีการฉายวิดีโอซีดีที่มีการแสดงภาพและเสียงเพลงขึ้นในสถานที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ แม้คำพิพากษาดังกล่าวไม่ผูกพันผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอก แต่เมื่อผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งว่าจำเลยไม่ได้ใช้ตู้คาราโอเกะของกลางอันประกอบด้วยเครื่องรับโทรทัศน์สีวิดีโอซีดี เครื่องเล่นวิดีโอซีดี เครื่องเสียงและลำโพงในการกระทำความผิดฐานฉายวิดีโอซีดีของกลางที่มีการแสดงภาพและ เสียงเพลงในสถานที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต จึงต้องฟังว่าทรัพย์ทั้งหมดถูกใช้ในการกระทำผิดของจำเลย ทรัพย์ชิ้นใดโดยตัวของมันเองจะเป็นวัสดุโทรทัศน์หรือไม่ก็ตาม ทรัพย์นั้นก็ยังคงเป็นทรัพย์ที่ ถูกใช้ร่วมกับทรัพย์อื่นในการกระทำความผิดฐานฉายวิดีโอซีดีที่มีการแสดงภาพและเสียงเพลงขึ้นในสถานที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตอันควรต้องริบตาม ป.อ. มาตรา 33 อยู่ดี จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาว่าทรัพย์ชิ้นใดเป็นวัสดุโทรทัศน์อันจะริบตาม พ.ร.บ. ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 มาตรา 4 หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายต้องมีภูมิลำเนาหรือประกอบธุรกิจในไทย การสิ้นสุดใบอนุญาตประกอบธุรกิจมีผลต่ออำนาจฟ้อง
การฟ้องให้ล้มละลายต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 7 โดยลูกหนี้ต้องมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักร หรือประกอบธุรกิจในราชอาณาจักรไม่ว่าด้วยตนเองหรือโดยตัวแทนในขณะที่มีการขอให้ล้มละลายหรือภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีก่อนนั้น แม้ตามอนุสัญญาระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐอินเดียเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ ข้อ 5 อนุ 4 ที่โจทกอ้างจะถือได้ว่าจำเลยมีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย แต่คำว่า "สถานประกอบการถาวร" ตามอนุสัญญาดังกล่าว ข้อ 5 อนุ 1 และ 2 หมายถึง สถานธุรกิจประจำซึ่งวิสาหกิจใช้ประกอบธุรกิจทั้งหมดหรือแต่บางส่วน และหมายความรวมถึง (ก) สถานจัดการ (ข) สาขาสำนักงาน (ง) โรงงาน (จ) โรงช่าง...และตามอนุ 4 (ค) หมายถึง บุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับคำสั่งซื้อซึ่งกระทำในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งในนามของวิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งอันเป็นเรื่องเกี่ยวกับลักษณะของการดำเนินการในการประกอบธุรกิจเพื่อประโยชน์ในการยกเว้นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรแก่บุคคลตามสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลสาธารณรัฐอินเดีย ตาม พ.ร.ฏ. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 ไม่เกี่ยวกับระยะเวลาในการประกอบธุรกิจแต่อย่างใด แต่เมื่อจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจในประเทศไทยเพราะใบอนุญาตสิ้นอายุไปแล้ว จึงไม่มีการประกอบธุรกิจ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีภูมิลำเนาในประเทศไทย ส่วนการประกอบธุรกิจในประเทศนั้น เมื่อใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสิ้นอายุแล้ว จำเลยไม่สามารถประกอบธุรกิจต่อไปอีกได้ ทั้งจำเลยปิดการประกอบธุรกิจไปแล้ว และโจทก์เพิ่งฟ้องคดีหลังจากจำเลยยื่นอุทธรณ์การประเมินเกือบ 10 ปี จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยประกอบธุรกิจในราชอาณาจักรในขณะที่มีการขอให้ล้มละลาย หรือภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีก่อนนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5888/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม: การไม่มีใบอนุญาตและการรบกวนสัญญาณ ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดตามมาตรา 23 และมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคมฯ มีองค์ประกอบความผิดต่างกัน และการกระทำตามฟ้องเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ความผิดตามมาตรา 23นั้นเป็นความผิดเพราะจำเลยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจออกใบอนุญาต ส่วนความผิดตามมาตรา 26 เป็นความผิดเพราะจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม แม้จะได้รับหรือไม่ได้รับใบอนุญาตก็ตาม การที่จำเลยปรับจูนเอาคลื่นความถี่หมายเลขโทรศัพท์มือถือของผู้อื่นมาใช้กับเครื่องที่จำเลยมีไว้โดยไม่ได้รับใบอนุญาต การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
การที่จำเลยมีเครื่องรับและส่งวิทยุคมนาคมโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่ได้รับใบอนุญาตและปรับจูนคลื่นความถี่แล้วให้บุคคลอื่นเช่าใช้รับส่งสัญญาณติดต่อโดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากจะเป็นการจงใจทำให้เกิดการรบกวนการติดต่อวิทยุคมนาคมของผู้อื่นแล้ว ยังทำให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่แท้จริงอีกด้วยจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4487/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอาญาฐานขับรถโดยเสพยาเสพติด จำเป็นต้องอ้างบทลงโทษเฉพาะสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาต
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนแล้วปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถโดยขับรถยนต์บรรทุกโดยมิได้รับใบอนุญาต และโจทก์อ้าง พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 151 ซึ่งมีความในวรรคสองว่า ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 93 วรรคหนึ่ง และได้กระทำการใด ๆ อันเป็นความผิดที่กำหนดไว้สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถตาม พ.ร.บ.นี้ นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดและต้องระวางโทษสำหรับการกระทำนั้นเช่นเดียวกับผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถด้วยแต่เมื่อคำขอท้ายฟ้องของโจทก์มิได้อ้างบทมาตรา 102 (3 ทวิ) และ 127 ทวิซึ่งเป็นบทห้ามและบทลงโทษผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถซึ่งเสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ จึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษศาลจึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192วรรคสี่
of 36