คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ใส่ความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 86 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพูดใส่ความผู้อื่นว่ายักยอกเงิน เป็นการหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326
โจทก์ร่วมซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่ถูกร้องเรียนว่ายักยอกเงินโครงการอาหารกลางวันและอื่น ๆ ถูกตั้งกรรมการสอบสวนและได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการที่อื่น จำเลยซึ่งรักษาการแทนโจทก์ร่วมทำหนังสือสั่งธนาคารระงับการจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ร่วม และได้พูดกับ พ.ผู้ช่วยสมุหบัญชีธนาคารว่า "ยักยอก ตามตัวไม่พบ" คำพูดดังกล่าวมีความหมายให้ พ. เข้าใจว่าโจทก์ร่วมยักยอกเงินของทางราชการแล้วหนีไป จึงเป็นการใส่ความโจทก์ร่วม โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์ร่วมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังจึงเป็นถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม จำเลยมีเจตนากล่าวถ้อยคำโดยเจตนาใส่ความโจทก์ร่วมทั้งถ้อยคำดังกล่าวก็เป็นความเท็จเพราะจำเลยทราบดีว่าขณะนั้นโจทก์ร่วมอยู่ในระหว่างถูกผู้บังคับบัญชาตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยและได้สั่งให้โจทก์ร่วมไปช่วยราชการที่อื่น หาใช่ว่าคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการเสร็จแล้วและลงความเห็นว่าโจทก์ร่วมกระทำผิดวินัยและหลบหนีไปแต่อย่างใดไม่ การกล่าวถ้อยคำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต จำเลยกระทำความผิดก่อนวันใช้บังคับของพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และมิได้เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้บังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6661/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การใส่ความทำให้เสียชื่อเสียง
ข่าวในหนังสือพิมพ์มีข้อความว่า "กูละเบื่อ ศาลสั่งจำคุกภูมิ ศรีธัญรัตน์บก.นสพ. ประชาธิปไตย ฐานเบี้ยวเช็ค"มีความหมายว่า โจทก์ซึ่งเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตยถูกศาลพิพากษาจำคุกเพราะเป็นคนไม่ตรง คดโกงออกเช็คโดยคดโกง มีลักษณะเป็นการใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สามน่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6260/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่รับฟ้องเป็นอุปสรรคการฎีกา คดีใส่ความต่อบุคคลที่สาม
ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่ง เดิมที่รับฟ้องเป็นไม่รับฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผลเท่ากับ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์จึงฎีกาไม่ได้ ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเพราะต้องห้ามฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๐

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นกรรมการสหภาพแรงงานอันเนื่องจากใส่ความทำลายชื่อเสียงนายจ้าง
การทำและแจกจ่ายเอกสารที่มีข้อความกล่าวหานายจ้างว่ามีพฤติการณ์ในทางร้าย กลั่นแกล้งและแก้แค้นลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานไม่เลิกราไม่เป็นไปตามที่พูดไว้ ไม่มีความสุจริตใจต้องการให้พนักงานแตกความสามัคคีพยายามทำให้สหภาพแรงงานซึ่งเป็นองค์การของลูกจ้างเลิกไป เป็นคนไม่อยู่กับร่องกับรอยอันเป็นข้อความที่ล้วนแต่ทำให้ลูกจ้างและผู้อ่านข้อความนั้นรู้สึกว่านายจ้างประพฤติปฏิบัติตนไม่ดี ไม่ถูกต้อง และไม่มีคุณธรรมก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างทั้งสิ้น เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1034/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทจากการกล่าวหาตำรวจรับสินบน: การใส่ความที่ทำให้เสียชื่อเสียง
การที่จำเลยพูดว่าผู้เสียหายซึ่งเป็นสารวัตรกำนันชอบพาตำรวจมาจับชาวบ้านและหากินกับตำรวจนั้น ผู้ที่ได้ยินได้ฟังย่อมเข้าใจความหมายไปในทางที่ว่าผู้เสียหายหาเหตุพาตำรวจมาจับชาวบ้าน และตำรวจเรียกร้องเอาเงินทองหรือผลประโยชน์อย่างอื่นเพื่อแลกเปลี่ยนหรือตอบแทนกับการที่จะไม่ถูกดำเนินคดีในฐานความผิดที่ถูกจับกุมอันเป็นเรื่องตำรวจรับสินบนแล้วแบ่งเงินทองหรือผลประโยชน์ที่ได้รับมาให้แก่ผู้เสียหายผู้เสียหายจึงได้ชื่อว่าหากินกับตำรวจและเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ คำกล่าวของจำเลยย่อมจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง จำเลยจึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาท
คำกล่าวที่ว่า ผู้เสียหายนามสกุลหมา ๆ นั้น เป็นแต่เพียงการดูหมิ่นเหยียดหยามเท่านั้น ไม่ถือว่าเป็นการใส่ความผู้เสียหายโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1034/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำกล่าวอ้างใส่ความทำให้เสียชื่อเสียง ถือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท แม้ศาลชั้นต้นไม่วินิจฉัย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยได้
ผู้เสียหายเป็นสารวัตรกำนัน การที่จำเลยพูดว่าผู้เสียหายชอบพาตำรวจ มาจับชาวบ้านและหากินกับตำรวจ นั้นย่อมทำให้ผู้เสียหายเสีย ชื่อเสียง ถูก ดูหมิ่น หรือถูก เกลียดชัง ดังนี้ จำเลยมีความผิดฐาน หมิ่นประมาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดย มิได้วินิจฉัยว่า ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวเป็นความผิดฐาน หมิ่นประมาทหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยกล่าวถ้อยคำเช่นนั้นจริง ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยว่าถ้อยคำ ของ จำเลยเป็นการหมิ่นประมาทหรือไม่ โดย ไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1034/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพูดใส่ความว่าสารวัตรกำนันหากินกับตำรวจ เข้าข่ายหมิ่นประมาท แต่การดูหมิ่นด้วยคำพูดไม่เข้าข่าย
การที่จำเลยพูดว่าผู้เสียหายซึ่งเป็นสารวัตรกำนันชอบพาตำรวจมาจับชาวบ้านและหากินกับตำรวจนั้น ผู้ที่ได้ยินได้ฟังย่อมเข้าใจความหมายไปในทางที่ว่าผู้เสียหายหาเหตุพาตำรวจมาจับชาวบ้าน และตำรวจเรียกร้องเอาเงินทองหรือผลประโยชน์อย่างอื่นเพื่อแลกเปลี่ยนหรือตอบแทนกับการที่จะไม่ถูกดำเนินคดีในฐานความผิดที่ถูกจับกุมอันเป็นเรื่องตำรวจรับสินบนแล้วแบ่งเงินทองหรือผลประโยชน์ที่ได้รับมาให้แก่ผู้เสียหายผู้เสียหายจึงได้ชื่อว่าหากินกับตำรวจและเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ คำกล่าวของจำเลยย่อมจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง จำเลยจึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาท คำกล่าวที่ว่า ผู้เสียหายนามสกุลหมา ๆ นั้น เป็นแต่เพียงการดูหมิ่นเหยียดหยามเท่านั้น ไม่ถือว่าเป็นการใส่ความผู้เสียหายโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความผิด ม.157, 177, 326: การเบิกความต่อศาลและการใส่ความผู้อื่น ต้องพิจารณาหน้าที่, ผู้เสียหาย, และเจตนา
การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 นั้นหมายถึงหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่นั้น ๆ เท่านั้น ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่โดยตรงแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ การที่จำเลยเบิกความเป็นพยานที่ศาลไม่ใช่หน้าที่ราชการหรือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยตรงของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 บัญญัติขึ้นเป็นการป้องกันมิให้จำเลยที่ถูกฟ้องร้องได้รับโทษหรือได้รับความเสียหายอันเกิดจากการรับฟังพยานอันเป็นเท็จ เมื่อโจทก์ในคดีนี้มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีที่จำเลยในคดีนี้ไปเบิกความเป็นพยาน โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายโดยตรงในการเบิกความของจำเลยโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดตามมาตรานี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2) ข้อความที่จำเลยเบิกความเกี่ยวกับตัวโจทก์ เป็นข้อที่จำเลยสืบทราบมาจากชาวบ้าน จำเลยไม่ได้ประสบมาด้วยตนเอง และข้อที่ชาวบ้านบอกให้จำเลยรับทราบนี้จะเป็นความจริงหรือไม่โจทก์ก็ไม่ทราบ ดังนี้ การที่จำเลยเบิกความจึงมีเพียงเจตนาจะให้ความจริงต่อศาลในการพิจารณาคดีตามที่จำเลยสืบทราบมาเท่านั้น หาได้มีเจตนาใส่ความโจทก์ให้ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชังไม่ จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2339-2340/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปิดเผยข้อมูลเพื่อความบริสุทธิ์ของพระพุทธศาสนา ไม่ถือเป็นการใส่ความผู้อื่น
จำเลยนำแถบบันทึกเสียงที่ผู้ชายพูดกับผู้หญิงในลักษณะของการให้สัมภาษณ์เป็นใจความว่า ผู้เสียหายได้ ลักลอบได้เสียกับพระภิกษุ ช. เจ้าอาวาส วัดจอมบึง ซึ่ง เป็นเจ้าคณะอำเภอมาเปิดให้บุคคลอื่นฟังที่บ้าน อ. และ ส. ซึ่ง มิใช่ที่สาธารณสถานเป็นทำนองปรึกษาหารือกันว่าควรจะดำเนินการอย่างใดเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ต่อ พระพุทธศาสนา และหาทางขจัดความมัวหมองในพระพุทธศาสนาให้สิ้นไป หากพระภิกษุ ช. กระทำผิดจริงก็ควรจะสึกออกไป หากไม่จริงก็เอาผิดกับผู้พูดเรื่องนี้ และต่อมาได้ มีการร้องเรียนต่อ ศึกษาธิการอำเภอ จอมบึง เกี่ยวกับพฤติการณ์ของพระภิกษุ ช. และได้ มีบันทึกเสนอต่อ ตามลำดับจนกระทั่งถึง เจ้าคณะภาคฝ่ายมหานิกายจังหวัด ราชบุรี เพื่อสอบหาข้อเท็จจริง จึงถือได้ว่าจำเลยไม่ได้มีเจตนาใส่ความผู้เสียหายให้ถูกดูหมิ่น เกลียดชังหรือเสียหายแต่ เป็นการกระทำในการแสดงข้อความโดยสุจริตด้วย ความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(3)ทั้งนี้เพื่อขจัดข่าวลือในทางที่จะทำให้พุทธศาสนาเสื่อมหมดสิ้นไปจำเลยไม่มีความผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6031/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา: เจตนาใส่ความให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง, การใช้ดุลพินิจในการรอการลงโทษ
จำเลยที่ 1 เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์มีข้อความว่า"พรรคไหนเอ่ยที่คนในพรรคพัวพันกับการค้าเฮโรอีนระหว่างประเทศจนต้องแก้ปัญหาด้วยการปลิดชีพตัวเองลาโลก" ข้อความดังกล่าวทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ว่าหมายถึงพรรค ป. และ ด. สามีโจทก์ ดังนี้จำเลยที่ 1 มีเจตนาใส่ความผู้ตายโดยการโฆษณาด้วยเอกสารอันน่าจะเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นภรรยาของผู้ตายและบุตรเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังจากผู้อื่นได้ มิใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรม จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาท จำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์และผู้โฆษณาย่อมต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเคยเป็นรัฐมนตรีมาก่อน ถ้าจะรอการลงโทษไว้ย่อมจะเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งให้จำเลยที่ 1 ต้องระมัดระวังความประพฤติของตน ซึ่งน่าจะเป็นผลดีแก่สังคมมากกว่าที่จะลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 มิใช่ผู้เขียนแต่รับผิดในฐานะบรรณาธิการ ผู้พิมพ์และผู้โฆษณาจำเลยทั้งสองไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน พฤติการณ์และเหตุผลแห่งรูปคดีมีเหตุสมควรรอการลงโทษเพื่อให้โอกาสจำเลยทั้งสองกลับประพฤติตนเป็นพลเมืองดีต่อไป
of 9