พบผลลัพธ์ทั้งหมด 271 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5689/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์หลังคดีถึงที่สุด และการเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาลับหลัง จำเป็นต้องไต่สวนก่อน
การขอถอนคำร้องทุกข์ที่จะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) นั้น ต้องถอนคำร้องทุกข์ก่อนคดีถึงที่สุด
จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่าศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาลับหสังจำเลยเป็นการไม่ชอบ เพราะการส่งหมายแจ้งวันนัดไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษา ศาลชั้นต้นชอบที่จะทำการไต่สวนคำร้องก่อนว่าเป็นจริงตามที่จำเลยกล่าวอ้างหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยทำเป็นคำฟ้องอุทธรณ์โดยอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและมีคำสั่งว่าการอ่านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นชอบหรือไม่เสียก่อน โดยไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย การที่ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบเช่นกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่าศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาลับหสังจำเลยเป็นการไม่ชอบ เพราะการส่งหมายแจ้งวันนัดไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษา ศาลชั้นต้นชอบที่จะทำการไต่สวนคำร้องก่อนว่าเป็นจริงตามที่จำเลยกล่าวอ้างหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยทำเป็นคำฟ้องอุทธรณ์โดยอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและมีคำสั่งว่าการอ่านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นชอบหรือไม่เสียก่อน โดยไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย การที่ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบเช่นกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5689/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์ต้องทำก่อนคดีถึงที่สุด และการไต่สวนคำร้องขอเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาลับหลัง
การขอถอนคำร้องทุกข์ที่จะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ต้องถอนคำร้องทุกข์ก่อนคดีถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2541 จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2541 แต่จำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ถือว่าคดีถึงที่สุด การที่จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่าศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยเป็นการไม่ชอบ เพราะการส่งหมายแจ้งวันนัดไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษา ศาลชั้นต้นชอบที่จะทำการไต่สวนคำร้องก่อนว่าเป็นจริงหรือไม่ หากเป็นจริงก็ชอบที่จะเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาได้การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยทำเป็นคำฟ้องอุทธรณ์โดยอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อจำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและมีคำสั่งว่าการอ่านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นชอบหรือไม่เสียก่อนโดยไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย การที่ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบเช่นกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2541 จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2541 แต่จำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ถือว่าคดีถึงที่สุด การที่จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่าศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยเป็นการไม่ชอบ เพราะการส่งหมายแจ้งวันนัดไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษา ศาลชั้นต้นชอบที่จะทำการไต่สวนคำร้องก่อนว่าเป็นจริงหรือไม่ หากเป็นจริงก็ชอบที่จะเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาได้การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยทำเป็นคำฟ้องอุทธรณ์โดยอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อจำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและมีคำสั่งว่าการอ่านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นชอบหรือไม่เสียก่อนโดยไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย การที่ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบเช่นกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4625/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งนัดพิจารณาคดีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่
แม้ตามคำร้องของโจทก์จะเป็นเรื่องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ แต่คำร้องก็ได้กล่าวอ้างถึงเหตุที่การพิจารณาผิดระเบียบว่าเกิดจากการส่งหมายนัดของเจ้าพนักงานศาลไม่ชอบ ไม่อาจถือว่าโจทก์ได้ทราบกำหนดนัดสืบพยานโจทก์ จึงขอให้ศาลกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ใหม่ ซึ่งแปลได้ว่าโจทก์ประสงค์จะแสดงให้ศาลเห็นได้ว่ามีเหตุสมควร จึงมาศาลไม่ได้ และขอให้ศาลยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 วรรคสอง ประกอบมาตรา 181และการที่ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดโดยโจทก์ไม่ทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ จึงไม่อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องร้องขอให้ศาลยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ศาลยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 วรรคสอง ประกอบมาตรา 181
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3993/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีอนุญาโตตุลาการ: ศาลต้องไต่สวนสัญญาเลิกสัญญาก่อนมีคำสั่ง
จำเลยที่ 2 ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีโดยอ้างว่าคดีนี้เป็นข้อพิพาทอันเกิดจากสัญญาเข้าร่วมลงทุนในการเดินรถโดยสารปรับอากาศขนาดเล็กในเขตเมืองเพื่อบริการในเขตธุรกิจ ฉบับลงวันที่ 3 กันยายน 2535 สัญญาดังกล่าวข้อ 37 ได้ระบุให้มีการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ โจทก์คัดค้านว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามโดยอาศัยสิทธิตามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการเลิกสัญญาร่วมลงทุนในการเดินรถโดยสารปรับอากาศขนาดเล็กในเขตเมืองเพื่อบริการในเขตธุรกิจ ฉบับลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 สัญญาดังกล่าวได้ยกเลิกข้อกำหนดเดิมเรื่องการตั้งอนุญาโตตุลาการ ศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามคู่ความทั้งสองฝ่ายเกี่ยวกับบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการเลิกสัญญาร่วมลงทุนในการเดินรถโดยสารปรับอากาศขนาดเล็กในเขตเมืองเพื่อบริการในเขตธุรกิจ ฉบับลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 ว่า มีการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวหรือไม่ ทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสามรับกันแต่เพียงว่า ประเด็นข้อพิพาทเฉพาะเรื่องค่าภาษีเท่านั้นที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการซึ่งโจทก์สมัครใจเข้าร่วมกระบวนการแล้ว คดีมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องอื่นอีกจึงมีความจำเป็นที่จะต้องไต่สวนให้ได้ความดังกล่าว ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 โดยไม่ทำการไต่สวนก่อนนั้น จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3398/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำบังคับที่มิชอบและการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ที่ล่าช้า ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 เดิม เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่จำเลยผู้ขาดนัดพิจารณาที่จะร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ โดยต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่เมื่อได้มีการส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้แก่จำเลย หรือภายใน 15 วัน นับแต่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลง ซึ่งในการส่งคำบังคับนั้น ต้องเป็นการส่งให้แก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74(2) หากการส่งคำบังคบให้แก่จำเลยไม่ใช่เป็นการส่งไปยังสถานที่ดังกล่าวแล้ว ก็ถือว่าเป็นการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยมิชอบ เมื่อยังไม่มีการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยชอบ กำหนดระยะเวลา 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208 วรรคหนึ่ง(เดิม)แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงยังไม่เริ่มนับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9660/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อผิดนัดโจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวนคำร้อง
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้มีคำสั่งยกเลิกหมายบังคับคดีโดยอ้างว่า ศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขหมายบังคับคดีศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกคำร้องได้ บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมิได้บังคับว่าศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนคำร้องก่อนมีคำสั่ง
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมได้กำหนดวันเวลาที่จำเลยจะต้องชำระเงินให้โจทก์ไว้ก่อนวันเวลาที่โจทก์จะต้องมีหน้าที่ปฎิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ อันเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งมีกำหนดเวลาที่แน่นอน จำเลยจะเข้าใจเอาเองว่าโจทก์จะไม่ดำเนินการอย่างใด ๆ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แล้วจำเลยระงับการชำระค่าจ้างที่จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความไว้ชั่วคราวหาได้ไม่ เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าจ้างให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามวันที่กำหนดไว้ ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดโจทก์มีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยได้ทันที
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมได้กำหนดวันเวลาที่จำเลยจะต้องชำระเงินให้โจทก์ไว้ก่อนวันเวลาที่โจทก์จะต้องมีหน้าที่ปฎิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ อันเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งมีกำหนดเวลาที่แน่นอน จำเลยจะเข้าใจเอาเองว่าโจทก์จะไม่ดำเนินการอย่างใด ๆ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แล้วจำเลยระงับการชำระค่าจ้างที่จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความไว้ชั่วคราวหาได้ไม่ เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าจ้างให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามวันที่กำหนดไว้ ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดโจทก์มีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยได้ทันที
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7960/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาชี้ขาดการพิจารณาคดีล้มละลายต้องวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทตามคำร้องและหลักฐานอย่างครบถ้วน
เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต่อศาลตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/32 และผู้คัดค้านแถลงคัดค้านคำร้องดังกล่าวศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินการไต่สวนหาความจริงในข้อเท็จจริงที่คู่ความยังโต้เถียงกันอยู่แล้ววินิจฉัยคดีตามประเด็นซึ่งเกิดจากคำร้องและคำคัดค้านนั้น ในคำสั่งศาลเรื่องดังกล่าวจะต้องแสดงถึงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวงและคำวินิจฉัยของศาลในประเด็นแห่งคดี ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมาย ตลอดจนค่าฤชาธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯมาตรา 14 และข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 ข้อ 24 การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้และมีคำสั่งเพียงว่า เมื่อลูกหนี้ละเลยไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามประกาศและข้อปฏิบัติทางราชการ ผู้ร้องไม่อาจอ้างปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างทางปฏิบัติของลูกหนี้ กรณีจึงไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการกล่าวแบบรวม ๆ มิได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีและแสดงเหตุผลประกอบการวินิจฉัย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯมาตรา 14 และข้อกำหนดคดีล้มละลายฯ ข้อ 24
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3114/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้นอกศาลของผู้ค้ำประกันและการยกฟ้องคดี การไต่สวนข้อเท็จจริงนอกประเด็นข้อพิพาท
จำเลยทั้งหกให้การต่อสู้คดีขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งหกเสร็จสิ้น ในวันนัดอ่าน คำพิพากษา โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 จำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ไม่คัดค้าน แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แถลงคัดค้านว่าทำให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เสียเปรียบและยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ได้ชำระเงินให้แก่โจทก์ 10,000,000 บาท ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นนัดอ่านคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดร่วมกันในวงเงิน 400,000 บาท หากจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ชำระเงินให้โจทก์ 10,000,000 บาท จริง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมพ้นความรับผิดไปด้วย ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ 10,000,000 บาท ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นนัดอ่านคำพิพากษา เป็นการกล่าวอ้างว่ามีการชำระหนี้นอกศาลและเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวมาให้ศาลไต่สวนเพื่อวินิจฉัยยกฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ไม่ได้ ทั้งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ตามคำคัดค้านของจำเลยที 2 และที่ 3 แล้ว ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าไม่มีเหตุที่จะไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4092/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิคัดค้านคำร้องขอจัดการมรดก แม้ศาลจะส่งหมายนัดไต่สวนแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียยังยื่นคำคัดค้านได้ก่อนการไต่สวน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอขอจัดการมรดกต่อศาลชั้นต้นเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิได้บัญญัติให้ต้องมีการส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอให้แก่ผู้ใด การที่ศาลชั้นต้นประกาศคำร้องขอและกำหนดนัดไต่สวนทางหนังสือพิมพ์โดยกำหนดไต่สวน หลังจากครบกำหนดประกาศดังกล่าวเกินกว่า 15 วัน เป็นการชอบแล้ว และตามประกาศของศาลชั้นต้นกำหนดว่า ถ้าผู้ใดจะคัดค้านคำร้องขอนี้ประการใดให้ยื่นคำร้องต่อศาลก่อนกำหนดนี้ ซึ่งหมายความว่าผู้มีส่วนได้เสียอาจยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้องได้ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะลงมือไต่สวนสืบพยานของผู้ร้อง หากมีการเลื่อนการไต่สวนออกไปโดยที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ทำการไต่สวน สิทธิในการยื่นคำร้องคัดค้าน ของผู้มีส่วนได้เสียก็ยังคงมีอยู่
การที่ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งหมายนัดไต่สวนและสำเนาคำร้องขอของผู้ร้องให้ผู้คัดค้านจะเป็นการแจ้งให้ ผู้มีส่วนได้เสียทราบโดยตรงเพื่อจะได้สิทธิในการยื่นคำร้องคัดค้านได้โดยสะดวกก็ตาม แต่หากไม่มีการส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอของผู้ร้องให้แก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านก็ชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านเมื่อใดก็ได้ก่อนที่ศาลชั้นต้น จะลงมือไต่สวน การที่ศาลชั้นต้นกำหนดเวลาแก่ผู้คัดค้านตามที่ระบุไว้ในหมายนัด จึงไม่กระทบถึงสิทธิของผู้คัดค้านในอันที่จะยื่นคำร้องคัดค้านตามกำหนดในประกาศคำร้องขอและกำหนดนัดไต่สวนของศาลชั้นต้น เมื่อผู้คัดค้านยื่น คำร้องคัดค้านก่อนที่ศาลชั้นต้นจะไต่สวนคำร้องขอของผู้ร้อง ศาลชั้นต้นก็ต้องรับคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านไว้พิจารณา จะนับเวลาตามหมายนัดมาตัดสิทธิของผู้คัดค้านหาได้ไม่
การที่ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งหมายนัดไต่สวนและสำเนาคำร้องขอของผู้ร้องให้ผู้คัดค้านจะเป็นการแจ้งให้ ผู้มีส่วนได้เสียทราบโดยตรงเพื่อจะได้สิทธิในการยื่นคำร้องคัดค้านได้โดยสะดวกก็ตาม แต่หากไม่มีการส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอของผู้ร้องให้แก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านก็ชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านเมื่อใดก็ได้ก่อนที่ศาลชั้นต้น จะลงมือไต่สวน การที่ศาลชั้นต้นกำหนดเวลาแก่ผู้คัดค้านตามที่ระบุไว้ในหมายนัด จึงไม่กระทบถึงสิทธิของผู้คัดค้านในอันที่จะยื่นคำร้องคัดค้านตามกำหนดในประกาศคำร้องขอและกำหนดนัดไต่สวนของศาลชั้นต้น เมื่อผู้คัดค้านยื่น คำร้องคัดค้านก่อนที่ศาลชั้นต้นจะไต่สวนคำร้องขอของผู้ร้อง ศาลชั้นต้นก็ต้องรับคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านไว้พิจารณา จะนับเวลาตามหมายนัดมาตัดสิทธิของผู้คัดค้านหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพาทเรื่องผู้จัดการมรดกและการเป็นทายาทโดยธรรม ศาลต้องรับคำร้องคัดค้านเพื่อไต่สวนข้อเท็จจริง
ตามคำร้องขอของผู้คัดค้านอ้างว่าผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม พินัยกรรมตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเป็นพินัยกรรมปลอม หากเป็นจริงตามคำร้องคัดค้าน ผู้ร้องก็ไม่เป็นทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม อันจะถือว่าผู้ร้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ร้องก็ย่อมไม่มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713 มาแต่ต้น นอกจากนี้ ตามคำร้องคัดค้านก็อ้างว่าผู้ตายไม่มีทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(1) ถึง (3)ส่วนผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629(4) หากเป็นจริง ผู้คัดค้านย่อมเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดก นับว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 1727ที่จะยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้จัดการมรดกเพราะกรณีมีเหตุอย่างอื่นที่สมควร ศาลชั้นต้นจึงต้องรับคำร้องคัดค้านไว้ไต่สวนเพื่อให้ได้ความจริงเสียก่อน