พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2501-2504/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างทำของเพื่อเจรจาค่าเวนคืนที่ดิน ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรม
ทางราชการได้ออกกฎหมายเวนคืนที่ดินให้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนเห็นว่าคณะกรรมการเวนคืนที่ดินกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนต่ำไปไม่เป็นธรรม จึงแต่งตั้งโจทก์ซึ่งเป็นทนายความไปตกลงเจรจากับคณะกรรมการเวนคืนที่ดิน เพื่อให้ได้ค่าทดแทนสูงขึ้นตามที่จำเลยต้องการ โดยตกลงกันว่าถ้าจำเลยได้ค่าทดแทนที่ดินเกินจำนวนราคาที่จำเลยต้องการ ส่วนที่ได้เกินยอมยกให้โจทก์ ดังนี้ เป็นการที่จำเลยตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นแก่โจทก์ เข้าลักษณะเป็นการจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 การที่ผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างแก่ผู้รับจ้างซึ่งตกลงจะไปเจรจากับคณะกรรมการเวนคืนที่ดิน เพื่อให้ได้ค่าทดแทนที่ดินสูงขึ้นตามที่ผู้ว่าจ้างต้องการ โดยกำหนดสินจ้างกันไว้ตามลักษณะดังกล่าว หาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความแต่อย่างใดไม่ เมื่อโจทก์ได้ดำเนินการจนสำเร็จให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยย่อมต้องชำระสินจ้างตามข้อตกลงนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนายความ: การคิดค่าจ้างเป็นเปอร์เซ็นต์ของทุนทรัพย์ ไม่ใช่การแบ่งส่วนทรัพย์สิน
สัญญาจ้างว่าความที่ทนายความเรียกค่าจ้างจากลูกความยี่สิบเปอร์เซ็นต์ของจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องคิดเป็นเงินค่าจ้าง 24,200 บาท นั้น เป็นค่าจ้างที่แน่นอน การที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของจำนวนทุนทรัพย์ เป็นเพียงอาศัยเป็นเกณฑ์คำนวณค่าจ้างว่าความว่าจะเรียกร้องค่าจ้างคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เท่าใดของทุนทรัพย์ที่ฟ้องเท่านั้น หาใช่เป็นสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทที่ลูกความจะพึงได้รับเมื่อชนะคดีไม่ จึงไม่ต้องห้ามตามกฎหมายและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนฉะนั้น จึงย่อมบังคับกันได้ตามสัญญานั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 272/2488 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสของพี่น้องร่วมบิดา: ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่ขัดกฎหมายลักษณะผัวเมีย หากไม่ได้ร่วมบิดามารดา
ชายหญิงที่เป็นพี่น้องร่วมแต่+หรือร่วมแต่มารดาเดียวกัน+สกันก่อนใช้ ป.ม.แพ่งฯ บรรพ 5 ย่อมเป็นสามีภรรยา+ได้ ปัญหาที่หญิงชายจะเป็นสามีภรรยากันได้ตามกฎหมายหรือไม่นั้น+ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่ความ+อ้างเมื่อสืบพะยานเสร็จก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตัวแทนนายหน้าซื้อขายอสังหาริมทรัพย์มีผลบังคับใช้ได้หากไม่ขัดต่อกฎหมายและความสงบเรียบร้อย
สัญญามีข้อความโดยสรุปว่า จำเลยแต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนในการติดต่อและจัดหาผู้ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลย และให้มีการต่อรองราคากันได้ โดยจำเลยตกลงให้โจทก์ได้รับค่าบำเหน็จในอัตราร้อยละ 3 ของราคาทรัพย์สินที่ขายได้ จำเลยยินยอมให้โจทก์โฆษณาเผยแพร่ข่าวสารด้านการตลาดเพื่อจัดหาผู้ซื้อทรัพย์สินและจำเลยตกลงให้โจทก์มีสิทธิรับเงินประกันการปฏิบัติตามสัญญาจากผู้เสนอซื้อและถือไว้แทนจำเลย เมื่อจำเลยตกลงคำเสนอซื้อแล้ว เงินดังกล่าวให้โจทก์ชำระให้จำเลยและถือเป็นเงินค่ามัดจำส่วนหนึ่ง หากต่อมาผู้เสนอซื้อไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในคำเสนอซื้อ จำเลยมีสิทธิริบเงินประกันการปฏิบัติตามสัญญาจำเลยจะแบ่งให้โจทก์กึ่งหนึ่ง และตามสัญญาข้อ 10 ยังระบุว่าในระหว่างข้อตกลงยังมีผลใช้บังคับ หากมีบุคคลอื่นติดต่อขอซื้อทรัพย์สินตามสัญญา จำเลยตกลงมอบหมายให้โจทก์เป็นผู้ดำเนินการให้การซื้อขายเสร็จสิ้นและตกลงชำระค่าบำเหน็จตามข้อ 2 เห็นได้ว่า ตามสัญญาดังกล่าวนอกจากจำเลยจะตกลงให้โจทก์เป็นนายหน้าจัดหาผู้ซื้อทรัพย์สินของจำเลยแล้วยังมีข้อตกลงแต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนของจำเลยในการจัดการซื้อขาย และดำเนินการเกี่ยวกับการซื้อขายทรัพย์ของจำเลยกับบุคคลภายนอกโดยให้บำเหน็จด้วย ดังนั้น แม้ตอนท้ายของสัญญาข้อ 10 ที่ระบุว่า ส่วนในกรณีจำเลยได้ขายทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นการขายด้วยตัวเอง หรือให้บุคคลอื่นเป็นตัวแทนติดต่อขายให้ก็ตาม จำเลยยังมีหน้าที่จะต้องชำระค่าบำเหน็จให้แก่โจทก์ตามที่ระบุในข้อ 2 ซึ่งข้อตกลงนี้คู่สัญญาสามารถตกลงกันได้ไม่ขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใดย่อมบังคับระหว่างคู่สัญญาได้ และหลังจากทำสัญญา โจทก์ได้ดำเนินการประกาศขายทรัพย์สินของจำเลยตามสื่อต่าง ๆ อันเป็นหน้าที่ของตัวแทนตามข้อตกลงแล้วเมื่อจำเลยายสินทรัพย์สินให้แก่บุคคลภายนอกในระหว่างอายุสัญญายังมีผลใช้บังคับอยู่จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายบำเหน็จให้แก่โจทก์ตามข้อตกลง หาใช่เป็นสัญญาที่เอารัดเอาเปรียบไม่เป็นธรรม หรือโจทก์ไม่ประสงค์จะปฏิบัติตามกฎหมายไม่ สัญญาจึงบังคับได้ตามกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยชำระเงิน 27,000 บาทแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย จำเลยฎีกาของให้ยกฟ้อง ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงเป็นเงินจำนวน 27,000 บาท รวมดอกเบี้ยถึงวันฟ้องอีก 693.49 บาท รวมเป็น 27,693.49 บาท จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 692.50 บาท แต่จำเลยเสียมาเป็นเงิน 2,380 บาท ต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่เกินไป 1,687.50 บาท แก่จำเลย
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยชำระเงิน 27,000 บาทแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย จำเลยฎีกาของให้ยกฟ้อง ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงเป็นเงินจำนวน 27,000 บาท รวมดอกเบี้ยถึงวันฟ้องอีก 693.49 บาท รวมเป็น 27,693.49 บาท จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 692.50 บาท แต่จำเลยเสียมาเป็นเงิน 2,380 บาท ต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่เกินไป 1,687.50 บาท แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3828/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำคำเสนอซื้อเพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ ที่ปรึกษาทางการเงินที่เป็นบุคคลเดียวกันกับผู้ทำคำเสนอซื้อ ไม่ขัดกฎหมาย
ตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ.12/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ การทำคำเสนอซื้อเพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ ข้อ 54 กำหนดว่า ให้นำข้อกำหนดในหมวด 4 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งในหมวด 4 ข้อ 18 กำหนดให้ผู้ทำคำเสนอซื้อยื่นคำเสนอซื้อตามแบบ 247 - 4 พร้อมแบบตอบรับคำเสนอซื้อต่อสำนักงานโดยมีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้จัดเตรียมคำเสนอซื้อ และที่ปรึกษาทางการเงินตามนิยามข้อ 1 ของประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนฉบับดังกล่าว หมายความว่า ที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สำนักงานให้ความเห็นชอบ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดทำคำเสนอซื้อและเป็นที่ปรึกษาทางการเงินที่ได้รับความเห็นชอบ เมื่อตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ.12/2554 มิได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าที่ปรึกษาทางการเงินจะต้องเป็นที่ปรึกษาทางการเงินที่เป็นอิสระ แม้ต่อมาจะมีประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทก.50/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ (ฉบับที่ 3) ข้อ 3 ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 56 แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ.12/2554 โดยให้ใช้ข้อความว่า มูลค่ายุติธรรมของหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิของกิจการซึ่งประเมินโดยที่ปรึกษาทางการเงินอิสระแทนก็ตาม แต่ตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทก.50/2559 ข้อ 4 ระบุว่า ก่อนการแก้ไขโดยประกาศฉบับนี้ ให้ถือว่ามูลค่ายุติธรรมของหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิของกิจการที่ประเมินโดยที่ปรึกษาทางการเงินเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ 56 (4) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้แล้ว ดังนั้น ขณะเกิดเหตุคดีนี้ประกาศที่ใช้บังคับคือ ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ.12/2554 เมื่อประกาศฉบับใหม่ไม่มีผลย้อนหลัง จึงถือว่ามูลค่ายุติธรรมของหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิของกิจการซึ่งประเมินโดยที่ปรึกษาทางการเงินตามข้อความในข้อ 56 (4) ฉบับก่อนแก้ไขกระทำได้แม้มิได้ประเมินโดยที่ปรึกษาทางการเงินที่เป็นอิสระ
ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดำเนินงาน พ.ศ.2552 ข้อ 25 ที่ห้ามมิให้ที่ปรึกษาทางการเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นตามข้อ 24 ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงินมีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับกิจการ การเป็นที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นตามข้อ 24 เป็นการให้ความเห็นต่อผู้ถือหลักทรัพย์ของกิจการที่ถูกเสนอซื้อเกี่ยวกับการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ ซึ่งหมายถึงหลักทรัพย์ของกิจการจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกิจการที่ถูกเสนอซื้อหลักทรัพย์ หาใช่กิจการจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกิจการที่เป็นผู้ทำคำเสนอซื้อแต่อย่างใดไม่ ข้อ 24 ตามประกาศดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับที่ปรึกษาทางการเงินของจำเลยที่ 1 ผู้ทำคำเสนอซื้อ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ตั้งตนเองเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของตนเองในการดำเนินการจัดทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของจำเลยที่ 2 โดยที่ปรึกษาทางการเงินเป็นบุคคลคนเดียวกันกับผู้ทำคำเสนอซื้อจึงไม่ต้องห้ามตามกฎหมายและสามารถทำได้โดยชอบ
ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบที่ปรึกษาทางการเงินและขอบเขตการดำเนินงาน พ.ศ.2552 ข้อ 25 ที่ห้ามมิให้ที่ปรึกษาทางการเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นตามข้อ 24 ในกรณีที่ที่ปรึกษาทางการเงินมีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับกิจการ การเป็นที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นตามข้อ 24 เป็นการให้ความเห็นต่อผู้ถือหลักทรัพย์ของกิจการที่ถูกเสนอซื้อเกี่ยวกับการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ ซึ่งหมายถึงหลักทรัพย์ของกิจการจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกิจการที่ถูกเสนอซื้อหลักทรัพย์ หาใช่กิจการจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกิจการที่เป็นผู้ทำคำเสนอซื้อแต่อย่างใดไม่ ข้อ 24 ตามประกาศดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับที่ปรึกษาทางการเงินของจำเลยที่ 1 ผู้ทำคำเสนอซื้อ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ตั้งตนเองเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของตนเองในการดำเนินการจัดทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของจำเลยที่ 2 โดยที่ปรึกษาทางการเงินเป็นบุคคลคนเดียวกันกับผู้ทำคำเสนอซื้อจึงไม่ต้องห้ามตามกฎหมายและสามารถทำได้โดยชอบ