พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6521/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่มีข้อตกลงให้สิ่งปลูกสร้างตกเป็นกรรมสิทธิ์ผู้ให้เช่าเมื่อสัญญาหมดอายุ แม้ไม่จดทะเบียนก็มีผลผูกพัน
ผู้ร้องเช่าที่ดินจากจำเลยเพื่อประกอบกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงและกิจการร้านอาหาร ในอัตราค่าเช่าต่ำ แต่ผู้ร้องต้องลงทุนถมดินก่อสร้างอาคารซึ่งมีมูลค่าจำนวนมากและมีข้อตกลงกันว่าให้สิ่งปลูกสร้างที่ผู้ร้องสร้างขึ้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดและผู้ร้องไม่ประสงค์จะเช่าต่อไปจึงเป็นกรณีที่ผู้ให้เช่าและผู้เช่าต่างให้ประโยชน์ตอบแทนซึ่งกันและกันจากการเช่าเป็นกรณีพิเศษนอกเหนือและแตกต่างไปจากการเช่าทรัพย์ตามปกติ สัญญาเช่าระหว่างผู้ร้องกับจำเลยจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แม้ไม่จดทะเบียนก็ใช้บังคับแก่กันได้ เมื่อสัญญาเช่ายังไม่ครบกำหนด สิ่งก่อสร้างดังกล่าวจึงยังไม่ตกเป็นของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3018/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายบ้านโดยไม่จดทะเบียน และข้อจำกัดการฎีกาในคดีทรัพย์สินราคาไม่เกินสองแสนบาท
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยและครอบครัวเข้าอยู่ในบ้านพิพาทโดยอาศัยโจทก์ แม้จะอยู่มาเกิน 10 ปี ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จำเลยฎีกาว่าจำเลยซื้อบ้านพิพาทจากโจทก์ในราคา 8,000 บาท เมื่อปี 2516จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทแล้วจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อคดีนี้ราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งมีผลบังคับก่อนที่จำเลยยื่นฎีกา คู่ความจะฎีกาได้หรือไม่เพียงใด ต้องพิเคราะห์ตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะยื่นฎีกา ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 524/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และความรับผิดในหนี้สินร่วม
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยาโดยไม่จดทะเบียนสมรสระหว่างอยู่กินด้วยกันมีทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกันหลายรายการต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์จะอยู่กินฉันสามีภรรยากันต่อไป ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ครึ่งหนึ่ง จำเลยให้การไว้แล้วว่า โจทก์จำเลยกู้ยืมเงินจากนาง ย.และนางสาวอ. มาเพื่อใช้ปลูกบ้านซึ่งเป็นทรัพย์รายการหนึ่งที่ต้องแบ่ง หากโจทก์ประสงค์จะแบ่งทรัพย์ก็จะต้องนำหนี้รายนี้มาแบ่งรับผิดชอบด้วย คดีจึงมีประเด็นว่า โจทก์จะต้องร่วมแบ่งความรับผิดหนี้กู้ยืมนี้หรือไม่ โดยจำเลยไม่ต้องฟ้องแย้ง หนี้เงินกู้ยืมที่จำเลยให้การว่า โจทก์จะต้องร่วมรับผิดตามสัญญากู้จำเลยผู้เดียวลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ แม้จะฟังว่ามีจริงโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ก็ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้จนกว่าหนี้นั้นจะได้รับชำระเสร็จสิ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 291 และแม้จะแบ่งความรับผิดชอบก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะบังคับชำระหนี้จากโจทก์หรือจำเลยคนใดคนหนึ่ง หรือทั้งสองคนจนกว่าจะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นโจทก์และจำเลยยังคงต้องรับผิดตามสัญญากู้ดังกล่าวเป็นส่วนเท่า ๆ กันอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 296เมื่อไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าหนี้ตามสัญญากู้เจ้าหนี้ได้เรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ หรือจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าวไปแล้วจำเลยจะขอให้โจทก์แบ่งความรับผิดในหนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าวในชั้นนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่จดทะเบียน ผลบังคับใช้ 3 ปี และการบอกเลิกสัญญาเช่าหลังครบกำหนด
สัญญาเช่าที่พิพาทระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยร่วมมีกำหนดระยะเวลาการเช่า 30 ปี เมื่อมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมฟ้องร้องบังคับได้เพียง 3 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 538 แม้สัญญาเช่าระบุว่า เมื่อได้ชำระค่าเช่าครบแล้วเจ้าของที่จะจัดให้จดทะเบียนสัญญาเช่า จำเลยร่วมก็ไม่มีสิทธิบังคับโจทก์ทั้งสี่ให้ไปจดทะเบียนได้ การที่โจทก์ทั้งสี่ไม่จดทะเบียนการเช่าให้จำเลยร่วมจะถือว่าโจทก์ทั้งสี่ผิดสัญญาหาได้ไม่ และเมื่อโจทก์ทั้งสี่บอกเลิกสัญญาเช่าซึ่งถือว่าเป็นการเช่าที่ไม่กำหนดเวลาเนื่องจากโจทก์ทั้งสี่ไม่ทักท้วงในการที่จำเลยร่วมอยู่ต่อมาภายหลังสัญญาเช่าสิ้นกำหนดลงตามมาตรา 566และ 570 แล้ว โดยให้เวลาก่อนฟ้องเกินกว่า 2 เดือน สัญญาเช่าย่อมระงับไป โจทก์ทั้งสี่จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยร่วมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4081/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินเพื่อสาธารณประโยชน์ (โรงพยาบาล) ถือเป็นการโอนกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์ แม้ยังไม่ได้จดทะเบียน
ที่ดินมีโฉนดซึ่งเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้ทำหนังสือขออุทิศหรือยกให้แก่ทางราชการเพื่อใช้ก่อสร้างโรงพยาบาล โดยได้มีการส่งมอบการครอบครองเป็นสัดส่วนให้แก่ทางราชการ และทางราชการได้ดำเนินการในอันที่จะใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวเพื่อเป็นที่ก่อสร้างโรงพยาบาลแล้ว เช่นนี้ที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของทางราชการตั้งแต่วันทำหนังสืออุทิศให้โดยไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่จดทะเบียน: สิทธิเช่ามีผลแค่ 3 ปี แม้สัญญาจะระบุ 8 ปี
ผู้ร้องทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกับเจ้าของเดิมพร้อมกัน 3 ฉบับรวมระยะเวลาเช่า 8 ปี เมื่อมิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมบังคับกันได้เพียง 3 ปี ตามสัญญาเช่าฉบับแรก สิทธิของผู้ร้องที่จะอยู่ในตึกแถวที่เช่าจึงมีอยู่ถึงวันครบกำหนดตามสัญญาดังกล่าว ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นเจ้าของตึกแถวและที่ดิน สิทธิของผู้ร้องก็มีอยู่คงเดิม
การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้จำเลยรื้อถอนตึกแถวที่ผู้ร้องเช่าอยู่ออกไปจากที่ดินของโจทก์ตั้งแต่ก่อนครบกำหนดสัญญาเช่านั้น มีผลยิ่งกว่าการบอกเลิกสัญญาเช่าเสียอีก ผู้ร้องจึงจะอ้างว่าเมื่อไม่มีการบอกเลิกสัญญาเช่าจึงถือว่าผู้ร้องเช่าตึกแถวต่อโดยไม่มีกำหนดเวลาไม่ได้
การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้จำเลยรื้อถอนตึกแถวที่ผู้ร้องเช่าอยู่ออกไปจากที่ดินของโจทก์ตั้งแต่ก่อนครบกำหนดสัญญาเช่านั้น มีผลยิ่งกว่าการบอกเลิกสัญญาเช่าเสียอีก ผู้ร้องจึงจะอ้างว่าเมื่อไม่มีการบอกเลิกสัญญาเช่าจึงถือว่าผู้ร้องเช่าตึกแถวต่อโดยไม่มีกำหนดเวลาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5897/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนห้างหุ้นส่วนไม่จดทะเบียนฟ้องบุคคลภายนอก ต้องแสดงชื่อตนในกิจการจึงมีอำนาจฟ้อง
ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียน จะฟ้องบุคคลภายนอกโดยอ้างสิทธิในกิจการซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนมิได้
โจทก์และ ส. กับพวกนำเงินไปเปิดบัญชีไว้ที่ธนาคารเพื่อดำเนินกิจการร่วมกันโดยไม่ได้จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ส.เอาเงินของห้างหุ้นส่วนจ่ายให้จำเลยเพื่อแลกเช็คพิพาทจากจำเลย แล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ดังนี้ แม้การรับแลกเช็คนั้นจะเป็นกิจการของห้างหุ้นส่วน แต่เมื่อไม่ปรากฏชื่อของโจทก์ในกิจการนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลย
โจทก์และ ส. กับพวกนำเงินไปเปิดบัญชีไว้ที่ธนาคารเพื่อดำเนินกิจการร่วมกันโดยไม่ได้จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ส.เอาเงินของห้างหุ้นส่วนจ่ายให้จำเลยเพื่อแลกเช็คพิพาทจากจำเลย แล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ดังนี้ แม้การรับแลกเช็คนั้นจะเป็นกิจการของห้างหุ้นส่วน แต่เมื่อไม่ปรากฏชื่อของโจทก์ในกิจการนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5897/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนห้างหุ้นส่วนที่ไม่จดทะเบียนฟ้องบุคคลภายนอกไม่ได้หากชื่อไม่ปรากฏในกิจการ
ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียน จะฟ้องบุคคลภายนอกโดยอ้างสิทธิในกิจการซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนมิได้ โจทก์และ ส. กับพวกนำเงินไปเปิดบัญชีไว้ที่ธนาคารเพื่อดำเนินกิจการร่วมกันโดยไม่ได้จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ส.เอาเงินของห้างหุ้นส่วนจ่ายให้จำเลยเพื่อแลกเช็คพิพาทจากจำเลยแล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ดังนี้ แม้การรับแลกเช็คนั้นจะเป็นกิจการของห้างหุ้นส่วน แต่เมื่อไม่ปรากฏชื่อของโจทก์ในกิจการนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2279-2280/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินไม่จดทะเบียนเป็นโมฆะตามกฎหมาย ผู้ซื้อต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
คู่ความท้ากันประเด็นเดียวว่า โจทก์ทั้งสองซื้อที่พิพาทมาโดยชอบหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ทั้งสองซื้อที่พิพาทโดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การซื้อที่พิพาทจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 และโจทก์ทั้งสองต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3133/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาสมรสตามประเพณี ไม่จดทะเบียน: เงินที่ให้ไม่ใช่สินสอด
การที่โจทก์ให้เงินสดและสร้อยคอทองคำแก่ฝ่ายจำเลยโดยฝ่ายโจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 3 มีอายุยังไม่ครบกำหนดที่จะจดทะเบียนสมรสได้ แต่ก็ยอมให้โจทก์ที่ 3 และจำเลยที่ 3 ทำการสมรสกันตามประเพณีและอยู่กินด้วยกันฉัน สามีภริยาโดยไม่ต้องจดทะเบียนสมรสนั้น เงินสดและสร้อยคอทองคำดังกล่าวจึงไม่ใช่สินสอดตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 1437 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืน