คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่ชัดเจน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 100 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การที่ไม่ชัดเจน ไม่ก่อให้เกิดประเด็นพิพาท แม้มีการแถลงเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสามกับจำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินซึ่งได้แบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดแล้วตามแผนที่สังเขปเอกสารท้ายฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามไปทำการจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งสามครึ่งหนึ่ง จำเลยทั้งสามให้การว่า ที่ดินพิพาทเดิมเป็นกรรมสิทธิ์รวมของ ม.และ ส. ซึ่งได้แบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดมานาน 40 ปี แล้ว ต่อมาโจทก์ทั้งสามได้ครอบครองที่ดินส่วนของ ม. ส่วนจำเลยทั้งสามได้ครอบครองที่ดินส่วนของ ส. แต่คำให้การของจำเลยทั้งสามดังกล่าวมิได้ระบุว่าโจทก์ทั้งสามกับจำเลยทั้งสามแบ่งแยกการครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดจำนวนเนื้อที่ฝ่ายละเท่าใด เพื่อปฏิเสธว่าข้อกล่าวอ้างของโจทก์ทั้งสามที่ว่าโจทก์ทั้งสามมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวครึ่งหนึ่งนั้นไม่ถูกต้องอย่างไร จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นพิพาท แม้จำเลยทั้งสามจะได้แถลงต่อศาลชั้นต้นถึงส่วนสัดของที่ดินที่จำเลยทั้งสามได้ครอบครองก็ตาม คำแถลงดังกล่าวมิใช่คำให้การย่อมไม่ก่อให้เกิดประเด็นพิพาทเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3872/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์และฎีกาไม่ชัดเจน ไม่โต้แย้งคำวินิจฉัยศาลล่าง ศาลไม่รับวินิจฉัย
ป.วิ.อ. มาตรา 193, 216, 225
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า อุทธรณ์ของโจทก์มิได้อ้างว่าฟ้องคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคนละประเด็นกันหรือไม่ อย่างไร ทั้งมิได้ระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายให้เห็น จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่แจ้งชัด ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 วรรคสองศาลอุทธรณ์จึงไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ การที่โจทก์ฎีกาเพียงว่าคดียังไม่มีคำพิพากษาลงโทษจำเลยเสร็จเด็ดขาดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4) และคดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ โดยโจทก์ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3872/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากอุทธรณ์และฎีกาไม่ชัดเจน ไม่โต้แย้งคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า อุทธรณ์ของโจทก์มิได้อ้างว่าฟ้องคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคนละประเด็นกันหรือไม่ อย่างไรทั้งมิได้ระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายให้เห็น จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่แจ้งชัด ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 วรรคสองศาลอุทธรณ์จึงไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ ของโจทก์ การที่โจทก์ฎีกาเพียงว่าคดียังไม่มีคำพิพากษา ลงโทษจำเลยเสร็จเด็ดขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) และคดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ โดยโจทก์ไม่ได้ โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือ ไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2553/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุมข้อหาปลอมพินัยกรรม จำเลยไม่เข้าใจข้อหาและไม่สามารถต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าจำเลยได้ร่วมกันปลอมพินัยกรรมของเจ้ามรดก แล้วใช้พินัยกรรมปลอมของเจ้ามรดกที่ทำขึ้นโดยไม่ชอบไม่ถูกต้องตามกฎหมายไปทำการรับโอนมรดกที่ดินของเจ้ามรดก โดยมิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ร่วมกันทำการปลอมพินัยกรรมของเจ้ามรดกด้วยวิธีการอย่างไร เป็นการปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่บางส่วนตลอดจนไม่ได้ระบุวันเวลาที่ทำการปลอมอีกด้วย จึงเป็นคำฟ้อง ที่มิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาและสามารถต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้อง ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับ จำเลยในข้อหาปลอมพินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากข้อฎีกาไม่ชัดเจนและไม่ระบุเหตุผลคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้องโจทก์ฎีกาว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยว่าที่ดินตามฟ้องเป็นของจำเลยมิใช่ทรัพย์มรดกของ น. ซึ่งจากข้อวินิจฉัยดังกล่าวโจทก์ได้อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าว เนื่องจากคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ หาได้หยิบยกเอาปัญหาที่โจทก์ได้อุทธรณ์ไว้ขึ้นมาวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับประโยชน์ได้เสียของโจทก์เกี่ยวกับสิทธิในการที่จะดำเนินคดีส่วนแพ่งกับจำเลยอีกต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย กรณีย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ฉะนั้น เพื่อให้ปัญหาดังกล่าวได้รับการวินิจฉัยให้เป็นการกระจ่างสิ้นสงสัย โจทก์จึงกราบขอประทานความกรุณาต่อศาลฎีกา ขอได้โปรดวินิจฉัยให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์ตามสมควรต่อไปด้วยฎีกาโจทก์เช่นนี้ไม่เป็นที่ชัดแจ้งว่าได้ระบุข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ประสงค์จะยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาคัดค้านว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ชอบหรือไม่ชอบด้วยเหตุใดจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 216, 225 ประกอบด้วยมาตรา 193 วรรคสองแม้ศาลชั้นต้นจะรับเป็นฎีกา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6758/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทที่ดิน: สิทธิครอบครองไม่ชัดเจน แบ่งที่ดินให้โจทก์จำเลยคนละครึ่ง
โจทก์และจำเลยต่างมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นหลักฐานแสดงสิทธิสำหรับที่ดินของตนโดยเจ้าพนักงานออกให้ในวันเดียวกัน โจทก์จำเลยต่างนำชี้เขตที่ดินพิพาทไม่ตรงกับรูปแผนที่ดินและเนื้อที่ดินใน น.ส.3 ก. ของตน รวมทั้งแผนที่ระวางรูปถ่ายทางอากาศ เมื่อแผนที่ที่ดินพิพาททำขึ้นโดยไม่ถูกต้องตรงตามแผนที่ระวางรูปถ่ายทางอากาศและแผนที่ที่ดินใน น.ส.3 ก. ของโจทก์จำเลย จึงไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าที่ดินพิพาทตามที่โจทก์จำเลยนำชี้เขตที่ดินทับกันอยู่ในเขตที่ดินของฝ่ายใดกันแน่ เมื่อพยานหลักฐานที่ทั้งสองฝ่ายนำสืบไม่ได้ความแน่ชัดว่าฝ่ายใดเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมานานเท่าใดเนื่องจากที่ดินอยู่ติดกัน และมีการชี้เขตที่ดินของตนสับสนเกินเลยเข้าไปในที่ดินของอีกฝ่ายหนึ่ง และไม่อาจชี้ขาดได้ว่าฝ่ายใดรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ เนื้อที่เท่าไร จึงต้องฟังว่าทั้งสองฝ่ายต่างได้ครอบครองที่ดินพิพาทมาด้วยกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าฝ่ายใดครอบครองไว้เป็นจำนวนเท่าใด จึงต้องฟังว่าโจทก์จำเลยต่างมีสิทธิในที่ดินพิพาทเท่า ๆ กัน และเมื่อไม่อาจครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันได้ก็ต้องแบ่งกันคนละครึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6366/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องต้องชัดเจนและระบุรายละเอียด หากไม่ชัดเจนศาลไม่รับพิจารณา
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์กล่าวว่า หลังจากจำเลยยื่นคำให้การแล้ว โจทก์ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยนำที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์ไปออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วนำไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่สหกรณ์การเกษตร และเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินในเวลาต่อมาโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมอันเป็นการออกเอกสารสิทธิทับที่ดินของโจทก์โดยไม่ชอบ โจทก์จึงขอแก้ไขคำฟ้องโดยการเพิ่มเติมข้อเท็จจริงดังกล่าวลงในคำฟ้องข้อ 1 และข้อ 2 กับขอเพิ่มเติมคำขอท้ายฟ้องว่าให้จำเลยจัดการแก้ไขรายการจดทะเบียนในโฉนดที่ดินพิพาทให้ปลอดจากการจำนอง แล้วจดทะเบียนโอนให้โจทก์ โดยโจทก์มิได้ระบุรายละเอียดว่าโจทก์จะขอเพิ่มเติมข้อเท็จจริงลงในคำฟ้องข้อ 1 หรือข้อ2 ตรงไหน เป็นคำร้องที่ไม่แจ้งชัด ไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 915/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุข้อฎีกาไม่ชัดเจนและมิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค2วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่2ไม่เกี่ยวกับคำสั่งศาลชั้นต้นถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นจำเลยที่2ฎีกาว่าฎีกาของจำเลยที่2เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีมีผู้เข้าสู้ราคาคนเดียวไม่มีคู่แข่งเข้าประมูลสู้ราคาและมิได้กระทำต่อหน้าจำเลยที่2เป็นการขายทอดตลาดที่มิชอบด้วยกฎหมายฎีกาของจำเลยที่2จึงมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค2เป็นฎีกาไม่ชัดแจ้งและเป็นฎีกาข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอไต่สวนเพื่อตรวจทรัพย์สินของลูกหนี้: พยานหลักฐานไม่ชัดเจนเพียงพอ
ตามคำร้องของโจทก์อ้างว่าจากการตรวจสอบหลักฐานบัญชีงบดุลของจำเลย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2534 ระบุว่าจำเลยมีทรัพย์สินมากกว่าที่จำเลยเป็นหนี้ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาลาดพร้าว 111 ตามที่ได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้ และมากกว่าเงินฝากในบัญชีกระแสรายวันที่จำเลยเปิดไว้ต่อธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาคลองจั่น อีกบัญชีหนึ่งทั้งทราบจากเจ้าหน้าที่ธนาคารว่ามีทรัพย์สินวางเป็นประกันไว้ต่อธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) สาขาลาดพร้าว 111 แต่จำเลยได้ย้ายสำนักงานโดยไม่ทราบว่าย้ายไปอยู่ที่ใด และ ส.ผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา-ลาดพร้าว 111 ไม่ยินยอมให้ตรวจทรัพย์สินที่จำเลยวางประกัน ดังนี้ ตามสำเนางบดุลของจำเลยที่โจทก์แนบมาท้ายคำร้อง เป็นการระบุสินทรัพย์อย่างกว้าง ๆไม่มีรายละเอียดและเป็นงบดุลที่แสดงสินทรัพย์เพียงวันที่ 31 ธันวาคม 2534ก่อนโจทก์ยื่นคำร้องเป็นเวลาเกือบ 2 ปี 6 เดือน ระยะเวลาดังกล่าวอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นไม่มีทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ก็ได้เนื่องจากการประกอบการงานของจำเลย ส่วนหลักประกันที่วางไว้ต่อธนาคารนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าเป็นหลักประกันด้วยทรัพย์สินอะไรแน่ชัด ดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทราบโดยแน่ชัดว่าจำเลยมีทรัพย์ที่สามารถระบุจำนวน ชนิด และประเภทได้มากกว่าที่ปรากฏในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันในธนาคารทั้งสองแห่งที่โจทก์ทราบ ทั้งเงินของจำเลยที่ปรากฏทางบัญชีก็ไม่พอชำระหนี้โจทก์ เหตุผลตามคำร้องทำให้โจทก์เชื่อว่าจำเลยมีทรัพย์สินที่จะถูกบังคับมากกว่าที่โจทก์ทราบ โดยมี ว.กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยและ ส.ผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ที่อาจจะทราบถึงความมีอยู่ที่แท้จริงแห่งทรัพย์สินของจำเลย คำร้องของโจทก์จึงมีเหตุสมควรที่จะหมายเรียกบุคคลทั้งสองมาทำการไต่สวนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 277

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7150/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงซ่อมรถยนต์ที่ไม่ชัดเจน ไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ มูลหนี้ละเมิดยังคงอยู่
บันทึกตกลงค่าเสียหายระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างของผู้กระทำละเมิดระบุว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมตามที่ฝ่ายโจทก์เรียกร้อง โดยจะมอบหมายให้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุที่ชนรถยนต์ของโจทก์เป็นผู้นำรถยนต์ของโจทก์ไปซ่อมให้อยู่ในสภาพเดิม ข้อตกลงดังกล่าวไม่มีการตกลงเกี่ยวกับจำนวนเงินค่าซ่อมไว้เป็นที่แน่นอนและจำเลยที่ 2ไม่ได้ร่วมตกลงด้วย จึงไม่แน่ว่าจำเลยที่ 2 จะยินยอมซ่อมรถยนต์ของโจทก์หรือไม่ เพียงใด ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันแก่กันจึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ มูลหนี้ละเมิดจึงไม่ระงับ
of 10