คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่ต้องบอกกล่าว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4106/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่ามีกำหนดระยะเวลา สิ้นสุดเมื่อครบกำหนด ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ไม่ได้จดทะเบียน
สัญญาเช่าซึ่งมิได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานแต่มีกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้แน่นอนว่าเช่ากัน 5 ปี หาใช่เวลาเช่าไม่ปรากฏ ในความที่ตกลงกันหรือไม่พึงสันนิษฐานได้จึงต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 564 ซึ่งสัญญาเช่า ย่อมระงับสิ้นไปเมื่อสิ้นกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ มิพักต้องบอกกล่าวก่อน จะนำมาตรา 566 มาปรับแก่คดีไม่ได้และการเช่ามีกำหนดกว่า 3 ปีขึ้นไป หากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จะฟ้องร้อง ให้บังคับคดีได้แต่เพียง 3 ปี ตามมาตรา 538 ก็มิได้หมายความให้ เวลาส่วนที่เกินกว่า 3 ปี กลับเป็นการเช่าชนิดไม่มีกำหนดเวลาไป แต่อย่างใดไม่
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 937/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4106/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่ามีกำหนดระยะเวลา เมื่อครบกำหนดไม่ต้องบอกกล่าวเลิกสัญญา ศาลมีอำนาจบังคับคดีได้
สัญญาเช่าซึ่งมิได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานแต่มีกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้แน่นอนว่าเช่ากัน 5 ปี หาใช่เวลาเช่าไม่ปรากฏ ในความที่ตกลงกันหรือไม่พึงสันนิษฐานได้จึงต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 564 ซึ่งสัญญาเช่า ย่อมระงับสิ้นไปเมื่อสิ้นกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้มิพักต้องบอกกล่าวก่อน จะนำมาตรา 566 มาปรับแก่คดีไม่ได้และการเช่ามีกำหนดกว่า 3 ปีขึ้นไป หากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จะฟ้องร้อง ให้บังคับคดีได้แต่เพียง 3 ปี ตามมาตรา 538ก็มิได้หมายความให้ เวลาส่วนที่เกินกว่า 3 ปีกลับเป็นการเช่าชนิดไม่มีกำหนดเวลาไปแต่อย่างใดไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 937/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2928/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจเนื่องจากอายุเกินคุณสมบัติ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยก่อนจำเลยเปลี่ยนฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจเมื่อจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจแล้วพนักงานของจำเลยได้เปลี่ยนฐานะเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งต้องอยู่ในบังคับพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2518 โจทก์มีอายุเกิน60 ปีบริบูรณ์ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 9(2) และต้องพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 11แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุตามกฎหมาย มิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การกำหนดคุณสมบัติของพนักงานรัฐวิสาหกิจว่าต้องมีอายุไม่เกิน60 ปีบริบูรณ์นั้นเป็นบทกฎหมายที่กำหนดคุณสมบัติไว้โดยเฉพาะมิได้เกี่ยวกับระยะเวลาการจ้างจะนำมาตรา 582แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับกับการเลิกจ้างเพราะเหตุเกษียณอายุไม่ได้เมื่อโจทก์เป็นผู้ขาดคุณสมบัติโดยครบเกษียณอายุจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2368-2375/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่นัดหยุดงานและปิดกั้นโรงงาน: การเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและคืนเงินประกัน
เมื่อการกระทำของโจทก์ที่นัดหยุดงานแล้วปิดกั้นประตูโรงงานของจำเลยเป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย การที่จำเลยมิได้เลิกจ้างทันทีจนเวลาล่วงเลยมาปีเศษและที่จำเลยพิจารณาลูกจ้างอื่นรวมทั้งโจทก์ที่เข้าทำงานตามคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยว่า ลูกจ้างคนใดประพฤติตัวดีก็ไม่เลิกจ้าง คงเลิกจ้างเฉพาะผู้ที่มิได้กลับตัวประพฤติตนให้ดีขึ้นนั้นเป็นเพียงเหตุประกอบการพิจารณาที่จะอภัยแก่การกระทำของลูกจ้างและโจทก์ที่ปิดกั้นประตูโรงงานหรือไม่เท่านั้น และเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์กับพวกก็คือเหตุที่ร่วมกันปิดกั้นประตูโรงงานนั่นเองจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยสละสิทธิเหตุที่จะเลิกจ้างโจทก์ และถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์กระทำผิดต่อกฎหมายอย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหาย จึงไม่ต้องคืนเงินประกันแก่โจทก์แต่จำเลยเพียงนำสืบว่าโจทก์ร่วมกันปิดกั้นประตูโรงงานของจำเลยเท่านั้น ไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยเสียหายอย่างไรเป็นจำนวนเงินเท่าใด จำเลยจึงต้องคืนเงินประกันแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทายาทผู้รับมรดกต้องรับผิดในหนี้เช็คของผู้ตาย โดยไม่ต้องบอกกล่าวและศาลชอบที่จะงดสืบพยานจำเลยที่ไม่ต่อสู้คดี
โจทก์ยื่นเช็คต่อธนาคารเพื่อเรียกเก็บเงิน เมื่อเช็คถึงกำหนดธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คย่อมใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากผู้สั่งจ่ายได้ทันที ผู้สั่งจ่ายย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 959 ประกอบด้วยมาตรา 989 และมาตรา 204 เมื่อผู้สั่งจ่ายถึงแก่กรรม หน้าที่ที่จะต้องชำระหนี้ย่อมตกทอดไปยังกองมรดกของผู้ตายโดยผลของกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 จำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายต้องรับผิด โดยโจทก์มิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอีก
แม้ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ ลูกหนี้ร่วมที่มิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ก็ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบในประเด็นเรื่องอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1956/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนกรณีมีเหตุเสียหายร้ายแรง ทำให้ไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
การเลิกห้างหุ้นส่วนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1056 เป็นการเลิกในระหว่างที่กิจการของห้างหุ้นส่วนยังดำเนินไปได้ตามปกติ กฎหมายจึงบัญญัติให้บอกกล่าวล่วงหน้าหกเดือน และให้เลิกได้ต่อเมื่อสิ้นรอบปีในทางบัญชีเงินของห้างหุ้นส่วน แต่ถ้ามีเหตุการณ์ที่เสียหายเกิดขึ้นระหว่างดำเนินการของห้างหุ้นส่วนเมื่อหุ้นส่วนคนใดร้องขอ ศาลอาจสั่งให้ห้างหุ้นส่วนนั้นเลิกกันได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1057 ซึ่งไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 1056
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อเดือนกรกฎาคม 2511 ตลาดป่าโมกถูกไฟไหม้บรรดาพ่อค้าแม่ค้าที่ใช้แพท่าของโจทก์จำเลยเป็นที่รับส่งสินค้าได้งดการรับส่งสินค้า และได้แยกย้ายไปหาแพท่าขนส่งสินค้าใหม่ ผลประโยชน์ที่โจทก์กับจำเลยได้รับลดน้อยลงโจทก์มีความประสงค์จะเลิกการเป็นหุ้นส่วนกับจำเลย เพราะไม่มีผู้ที่จะดูแลรักษาแพท่านี้ อันเป็นเหตุให้เกิดการเสียหาย ได้แจ้งขอเลิกการเป็นหุ้นส่วนกับจำเลยแล้วถือได้ว่ามีเหตุทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ต่อไปได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1057(3)โจทก์มีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนนั้นได้ โดยไม่จำต้องบอกกล่าวความจำนงล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกเดือนตามมาตรา 1056 แม้โจทก์จะมิได้มีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วน เพียงแต่ขอให้บังคับจำเลยแบ่งทุน แต่ก็เห็นความประสงค์ของโจทก์ได้ว่าต้องการให้สั่งเลิกห้างหุ้นส่วน จึงได้ขอแบ่งทุน เมื่อตามคำฟ้องคำให้การ และทางพิจารณา ไม่ปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนมีลูกหนี้เจ้าหนี้หรือผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกเงินทดรองและค่าใช้จ่ายของตนไปเพื่อจัดการค้าของห้าง โจทก์จำเลยได้ผลัดกันเก็บรายได้จากแพท่าคนละเดือนมาเป็นเวลา 10 ปีเศษแล้วสินทรัพย์ของห้างมีแต่แพรายพิพาทเท่านั้น จะรื้อฟื้นให้พิจารณาเรื่องชำระหนี้บัญชีของห้างหุ้นส่วน ก็คงไม่ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้นแต่ประการใด ศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งแพรายพิพาทให้โจทก์ครึ่งหนึ่งไปทีเดียวได้ โดยให้ประมูลราคาระหว่างโจทก์จำเลย หากไม่ตกลงกัน ให้เอาแพรายพิพาทออกขายทอดตลาดเอาเงินได้สุทธิแบ่งให้โจทก์ (อ้างฎีกาที่ 1195/2497)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 744/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกหุ้นส่วนกรณีขาดทุน: ไม่ต้องรอสิ้นปีบัญชีหรือบอกกล่าวล่วงหน้า หากมีเหตุเสียหายร้ายแรง
การบอกเลิกหุ้นส่วนในกรณีที่ขาดทุนจะทำต่อไปก็มีแต่จะขาดทุนไม่มีหวังฟื้นตัวได้ตาม มาตรา1057 ย่อมฟ้องร้องได้ทันที ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือคอยสิ้นระยะปีหนึ่งในการบัญชีดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1056 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้จำนองในการรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาด ไม่ต้องบอกกล่าวบังคับจำนองก่อน
เจ้าหนี้จำนองยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองให้เอาเงินที่ได้มานั้นชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวบังคับจำนองก่อน เพราะไม่ใช่เรื่องฟ้องบังคับจำนองโดยตรงที่จะต้องบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 728

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2035/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจงใจขัดคำสั่งนายจ้างที่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นเหตุให้ไล่ออกได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว
เมื่อโจทก์ทราบว่าจำเลยมีคำสั่งบริษัท ส. เรื่อง การลงบันทึกเวลาในระดับผู้บริหารที่ไปจัดการธุรกิจให้บริษัทซึ่งเป็นคำสั่งในหน้าที่เพื่อควบคุมการปฏิบัติงานโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่ปฏิบัติตาม การกระทำของโจทก์จึงเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งนายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคห้า โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
of 2