คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่ต้องรับผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 91 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7562/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันไม่สมบูรณ์เมื่อไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของเจ้าหนี้ ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 ประสงค์จะขอทุเลาภาษีซึ่งตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากรโจทก์ที่ 1 กำหนดให้นำหลักทรัพย์ไปประกันอย่างใดอย่างหนึ่งคือ โฉนดที่ดินซึ่งมีราคาเป็น 2 เท่าของเงินภาษีที่ค้างชำระโดยจำนองแก่ทางราชการ หรือจัดให้มีธนาคารค้ำประกัน การที่จำเลยที่ 2ซึ่งมิใช่ธนาคารทำหนังสือค้ำประกันต่อโจทก์ทั้งสองจึงไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโจทก์ที่ 2ได้มีหนังสือสอบถามโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ได้มีหนังสือตอบโจทก์ที่ 2ว่าไม่ตรงตามหลักเกณฑ์วางไว้ ขอให้โจทก์ที่ 2 ดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้ถูกต้องทั้งโจทก์ที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 1 ดำเนินการเสียใหม่ให้ถูกต้อง แสดงว่าโจทก์ที่ 1 มิได้ตกลงยอมรับการค้ำประกันของจำเลยที่ 2 แม้โจทก์ที่ 1 จะเคยมีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 แจ้งว่าได้อนุมัติให้จำเลยที่ 2 ค้ำประกันหนี้ภาษีอากรได้ แต่ก็ได้ระบุต่อไปว่า จะต้องให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองหลักทรัพย์ที่นำมาค้ำประกันให้ถูกต้องจึงมิใช่การยอมรับสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 จัดทำส่งให้แก่โจทก์ทั้งสอง ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองมิได้มุ่งประสงค์จะผูกนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 โดยเข้าถือเอาสัญญาค้ำประกันดังกล่าว เมื่อต่อมาหลังจากที่จำเลยที่ 2 เสนอหนังสือค้ำประกันแก่โจทก์ทั้งสองแล้วเป็นเวลา 6 ปีแต่โจทก์ทั้งสองไม่รับ จำเลยที่ 2 ได้ขอหนังสือสัญญาค้ำประกันคืนจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายทองคำ: การเปลี่ยนแปลงนโยบายนำเข้าถือเป็นสาระสำคัญของสัญญา หากมีผลกระทบต่อการปฏิบัติตามสัญญา ผู้นำเข้าไม่ต้องรับผิด
ก่อนที่มีการประกาศใช้นโยบายนำเข้าทองคำโดยเสรีการนำทองคำเข้ามาจำหน่ายในราชอาณาจักรต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลัง ด้วยการทำสัญญากำหนดปริมาณการนำเข้าภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยจะไม่มีผู้อื่นนำทองคำเข้ามาแข่งขันดังนั้น เมื่อกระทรวงการคลังโจทก์ทำสัญญากำหนดให้จำเลยนำทองคำเข้ามาจำหน่ายจำนวน 4,500 กิโลกรัม ภายในวันที่ 15ตุลาคม 2534 ย่อมเป็นที่เข้าใจว่าภายในวันดังกล่าว โจทก์จะไม่ประกาศใช้นโยบายนำทองคำเข้ามา โดยเสรีเพื่อให้จำเลยนำเข้าและจำหน่ายทองคำได้ในปริมาณที่กำหนด ฉะนั้นการที่โจทก์จะไม่ประกาศใช้นโยบายนำทองคำเข้ามาโดยเสรีก่อนวันที่ 15 ตุลาคม2534 จึงเป็นสาระสำคัญในการทำสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเมื่อโจทก์ประกาศใช้นโยบายนำทองคำเข้ามาโดยเสรีในวันที่ 7 พฤษภาคม2534 ทำให้ผู้อื่นสามารถนำทองคำเข้ามาได้อย่างเสรีเป็นเหตุให้จำเลยนำทองคำเข้ามาขายได้น้อยกว่าปริมาณที่กำหนดจึงถือว่าจำเลยผิดสัญญาที่จะต้องชำระค่าปรับให้โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274-1275/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันมีกำหนดเวลา โจทก์ไม่แจ้งเรียกภายในกำหนด ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันยอมร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ต่อโจทก์ โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2540ถึงวันที่ 8 สิงหาคม 2540 หนี้ที่จำเลยที่ 1 ซื้อสินค้าจากโจทก์ตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2540 ถึงวันที่ 26 มิถุนายน 2540ย่อมอยู่ภายในอายุสัญญาค้ำประกัน แต่สัญญาค้ำประกันได้ระบุเงื่อนไขว่า โจทก์จะต้องยื่นคำเรียกร้องตามหนังสือสัญญาค้ำประกันภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2540 อันเป็นกรณีที่หากมีการผิดสัญญาซึ่งผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดแล้ว โจทก์จะต้องแจ้งข้อเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ทราบภายในกำหนดนั้น ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาค้ำประกัน โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาค้ำประกันได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ปฏิบัติตามเงื่อนไขแล้วเสียก่อนการที่โจทก์มีหนังสือทวงถามจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในหนี้ดังกล่าวไปถึงจำเลยที่ 2 เกินกำหนดเวลาในเงื่อนไขนั้น จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าสัญญาค้ำประกัน คือ สัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ค้ำประกันผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น และมาตรา 680 วรรคสอง บัญญัติว่าสัญญาค้ำประกันถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ซึ่งมีความหมายว่า สัญญาค้ำประกันต้องการเพียงหลักฐานเป็นหนังสือที่ผู้ค้ำประกันลงชื่อฝ่ายเดียวก็ใช้บังคับได้แล้ว ไม่จำต้องลงลายมือชื่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3508/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับประโยชน์จากการกระทำของลูกจ้าง และการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทำให้ตัวการไม่ต้องรับผิด
เมื่อการซื้อขายรายพิพาทที่จำเลยกระทำต่อผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์มีการชำระเงินสดให้เพียง 100,000 บาท ส่วนราคารถที่เหลืออีก 1,416,000 บาท ผู้ซื้อได้ชำระเป็นเช็ค แม้จะเป็นการผิดระเบียบการขายรถยนต์และข้อบังคับในการ ปล่อยรถยนต์ตามหลักเกณฑ์ที่โจทก์วางไว้ ซึ่งปรากฏต่อมาว่า โจทก์ผู้เป็นนายจ้างไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คได้ เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แต่การที่ผู้ซื้อได้นำเช็ค ฉบับใหม่มาเปลี่ยนถึงสองครั้ง และโจทก์ไม่สามารถ เรียกเก็บเงินตามเช็คที่นำมาแลกเปลี่ยนได้ โจทก์จึง ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีแก่ผู้ซื้อ พฤติการณ์ที่โจทก์กระทำต่อผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกค้าถือได้ว่า โจทก์ยอมรับเอาประโยชน์จากการกระทำของจำเลยซึ่งเป็น ลูกจ้างแล้วและไม่ถือว่าจำเลยผิดสัญญาต่อโจทก์ ทั้งเป็น กรณีที่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 5 แต่กรณีมิใช่เป็นเรื่องตัวการให้สัตยาบันในการขายรถยนต์ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในค่าขาดราคาจำเลยอื่นซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยต่อโจทก์ก็ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย เมื่อหนี้รายนี้เป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงมีเหตุที่ศาลฎีกาควรพิพากษาให้จำเลยที่มิได้อุทธรณ์ให้ได้รับผลเป็นคุณตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา คดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8481/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันตัวจำเลยถึงแก่ความตายก่อนนัด - ผู้ประกันไม่ต้องรับผิด
เมื่อจำเลยตายตั้งแต่ก่อนถึงวันนัดพิจารณาคดีของศาล ผู้ประกันจำเลยจะรู้หรือไม่รู้ว่าจำเลยตายจริงหรือไม่ หรือผู้ประกันจำเลยจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจที่จะนำจำเลยมาศาลตามนัดหรือไม่ ก็ไม่มีทางที่ผู้ประกันจำเลยจะนำตัวจำเลยมาส่งศาลได้ การที่ผู้ประกันจำเลยไม่นำตัวจำเลยมาศาลตามนัดในเวลาต่อมาจึงไม่ใช่ความผิดของผู้ประกันจำเลย ผู้ประกันจำเลยจึงไม่ผิดสัญญาประกันศาลปรับผู้ประกันจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6696/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่มีมูลหนี้-การรับโอนโดยไม่สุจริต-จำเลยไม่ต้องรับผิด
โจทก์รับโอนเช็คพิพาทจาก ส.โดยรู้ว่าเป็นเช็คที่จำเลยออกให้แก่ ส.ทนายความเพื่อให้ ส.ช่วยเหลือคดีที่จำเลยถูกฟ้องในความผิดฐานให้ที่พักแก่คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่ไม่มีมูลหนี้ในอันที่จำเลยจะต้องรับผิด โจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาโดยไม่สุจริต จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการเบิกความเท็จ: การวินิจฉัยว่าคำเบิกความเป็นรายละเอียดไม่สำคัญ ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องเรื่องละเมิดว่า จำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยให้รับผิดชำระหนี้ตามเช็ค จำเลยที่ 2 และที่ 3เบิกความเท็จ และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 3เบิกความเท็จ เป็นเหตุให้ศาลเชื่อว่าโจทก์เป็นผู้สลักหลังเช็คและพิพากษาให้โจทก์รับผิดชำระหนี้ตามเช็ค ทำให้โจทก์เสียหายจำเลยทั้งสามต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าเมื่อฟังว่าโจทก์เป็นผู้สลักหลังเช็คโจทก์ต้องรับผิดชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 วรรคแรก ,901 ส่วนที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เบิกความว่าโจทก์นำเช็คมาให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงรายละเอียดไม่เป็นข้อสำคัญในคดีแม้เป็นความเท็จ จำเลยที่ 1 และที่ 3 ก็ไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จอันจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 หยิบยกมาตรา 900 วรรคแรก,901 ขึ้นมาวินิจฉัยคดีก็เพื่อชี้ให้เห็นว่าแม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เบิกความว่า โจทก์นำเช็คพิพาทมาให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นความเท็จ คำเบิกความดังกล่าวก็เป็นเพียงรายละเอียดไม่เป็นข้อสำคัญในคดี จำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วยเป็นการวินิจฉัยในเรื่องละเมิดตามอุทธรณ์ของโจทก์ ไม่ใช่เป็นการนำตัวบทกฎหมายในเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับประเด็นมาวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6187/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่มีมูลหนี้ ทายาทไม่ต้องรับผิด แม้ฟ้องร่วมกัน ศาลฎีกามีอำนาจตัดสินถึงจำเลยอื่น
โจทก์ฟ้องอ้างว่า โจทก์เป็นผู้ทรงคนแรก ได้สลักหลังโอนขายเช็คแก่ผู้อื่น เมื่อเช็ครับเงินไม่ได้จึงได้ใช้เงินตามเช็คไป และรับเช็คคืนมา โจทก์จึงกลับคืนสู่ฐานะผู้ทรงตามเดิม มิใช่ผู้สลักหลัง ฟ้องโจทก์จึงต้องใช้อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 ผู้ตายได้ออกเช็คให้แก่โจทก์ไว้ ต่อมาผู้ตายได้ออกเช็คฉบับใหม่ให้แก่โจทก์ไว้แทนเช็คฉบับเก่าแล้ว เช็คฉบับเก่าจึงเป็นเช็คที่ไม่มีมูลหนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 5 ในฐานะทายาทของผู้ตายให้รับผิดใช้เงินตามเช็คดังกล่าว คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 5 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 รับผิดในฐานะทายาทของผู้ตายใช้เงินตามเช็คดังกล่าวแก่โจทก์ ซึ่งเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จำเลยที่ 5 ฎีกาแต่ผู้เดียว เมื่อเช็คตามฟ้องไม่มีมูลหนี้ จำเลยที่ 5 ไม่ต้องรับผิด ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยอื่นที่ไม่ได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5492/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรักษาความปลอดภัยสินค้าฝากเก็บและการไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหาย
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีมาตรการรักษาความปลอดภัยให้แก่สินค้าที่รับฝากไว้อย่างเข้มงวดเป็นการใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือสงวนทรัพย์สินเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์เช่นนั้นจึงไม่ต้องรับผิด เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงอันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5492/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรักษาความปลอดภัยสินค้าฝากเก็บและการไม่ต้องรับผิดในฐานผู้ฝากเก็บ
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีมาตรการรักษาความปลอดภัยให้แก่สินค้าที่รับฝากไว้อย่างเข้มงวดเป็นการใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือสงวนทรัพย์สินเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์เช่นนั้นจึงไม่ต้องรับผิด เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
of 10