พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3261/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งลดงบประมาณโฆษณา ถือเป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้
จำเลยให้โจทก์ลูกจ้างติดต่อโฆษณาผลิตภัณฑ์ต่างๆของจำเลยทางโทรทัศน์ โดยกำหนดงบประมาณค่าโฆษณาไว้เป็นเงิน 4ล้านบาทต่อปี โจทก์ติดต่อให้บริษัท อ. โฆษณาผลิตภัณฑ์ ของจำเลยและได้มีการจ่ายค่าโฆษณาไปแล้วเกือบ 3 ล้านบาทคงเหลือเพียง 1 ล้านบาทเศษ แต่เหลือเวลาที่จะต้อง โฆษณาอีก 7 เดือนประกอบกับสินค้าของจำเลยขายไม่ ค่อยดี จำเลยจึงสั่งให้โจทก์ลดค่าโฆษณาลงโจทก์ ขัดคำสั่งของจำเลยโดยมิได้สั่งให้บริษัท อ. ลดการโฆษณาลงถือว่าเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรงแล้วกรณีจึงต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47(3) ที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2859/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายจ้างในการย้ายลูกจ้างและการเลิกจ้างโดยชอบธรรมเมื่อลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
การที่ลูกจ้างแจ้งความชำนาญหรือความถนัดของตนในการสมัครงานและนายจ้างมีคำสั่งรับเข้าทำงานในแผนกใดแล้ว ไม่เป็นการผูกพันนายจ้างที่จะต้องให้ลูกจ้างทำงานในแผนกนั้นตลอดไป หากต่อมามีความจำเป็น มีความเหมาะสม นายจ้างมีอำนาจย้ายลูกจ้างไปทำงานในแผนกอื่นในบริษัทเดียวกันโดยลูกจ้างคงได้รับค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมได้
โจทก์ไม่สามารถเข้ากันได้กับผู้บังคับบัญชา จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีอำนาจย้ายโจทก์ไปทำงานในแผนกใหม่เพื่อความเหมาะสมได้ และโจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเพราะเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งโดยไม่ยอมลงชื่อทราบคำสั่ง ไม่ไปรายงานตัวเพื่อทำงานในแผนกใหม่ และจำเลยได้ออกคำเตือนเป็นหนังสือมากกว่า 3 ครั้งแล้ว จำเลยจึงมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย การเลิกจ้างดังกล่าวไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและจำเลยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ไม่สามารถเข้ากันได้กับผู้บังคับบัญชา จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีอำนาจย้ายโจทก์ไปทำงานในแผนกใหม่เพื่อความเหมาะสมได้ และโจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเพราะเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งโดยไม่ยอมลงชื่อทราบคำสั่ง ไม่ไปรายงานตัวเพื่อทำงานในแผนกใหม่ และจำเลยได้ออกคำเตือนเป็นหนังสือมากกว่า 3 ครั้งแล้ว จำเลยจึงมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย การเลิกจ้างดังกล่าวไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและจำเลยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2917/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการปลดออกจากงานเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ถือเป็นเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จ
เดิมจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีคำสั่งยุบตำแหน่งที่โจทก์ดำรงอยู่ ให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งและส่งมอบงานก่อนวันพ้นจากตำแหน่ง ต่อมาปรากฏว่าโจทก์ไม่ส่งมอบงานภายในกำหนดอันเป็นการขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา จำเลยมีสิทธิแก้ไขคำสั่งเดิมเป็นให้ปลดโจทก์ออกจากงานเพราะฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงได้ ดังนั้นจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมให้ครบ โจทก์ไม่ได้เสียภายในกำหนดเวลา ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีโดยถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง โจทก์ยื่นคำร้องขอเสียค่าธรรมเนียม ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง โจทก์จึงอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งที่ให้ยกคำร้องนี้ ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีแล้ว คดีของโจทก์ไม่มีอยู่ในศาล อันศาลจะพึงดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ อีกต่อไป โจทก์จึงขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์วางเงินค่าธรรมเนียมศาล และขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปไม่ได้ จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 มาใช้บังคับดังโจทก์ฎีกาไม่ได้ เพราะมาตรานี้เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการขยายหรือย่นระยะเวลาในคดีที่จะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอยู่ในศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4134/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์: การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลและการใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่ง ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ในการขอขยายระยะเวลาไว้ว่าให้คู่ความขอขยายระยะเวลาได้เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ โดยให้มีคำขอก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีมีเหตุสุดวิสัยก็ให้ขอได้แม้สิ้นระยะเวลานั้น สำหรับกรณีของจำเลย การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ทำคำฟ้องอุทธรณ์มายื่นใหม่ภายในกำหนด แต่กลับอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่จำเลยเลือกที่จะใช้สิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาในทางอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้น และเลือกที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้โอกาสจำเลยแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์มายื่นใหม่ภายในกำหนด การที่ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืนโดยเห็นพ้องตามคำสั่งศาลชั้นต้น แล้วจำเลยจึงมายื่นขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยทำคำฟ้องอุทธรณ์มายื่นใหม่แล้วนั้นไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัยที่ศาลจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์แก่จำเลยได้ เพราะไม่มีเหตุขัดข้องที่ทำให้จำเลยไม่อาจยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดตามคำสั่งศาลชั้นต้นแต่อย่างใด ที่จำเลยฎีกาว่า เมื่อจำเลยใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมเป็นเหตุให้ระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ตามกฎหมายของจำเลยต้องสะดุดหยุดลง ระยะเวลาที่ล่วงไประหว่างอุทธรณ์ไม่นับหักจากระยะเวลาตามคำสั่งศาลชั้นต้นนั้น เห็นว่า ระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ไม่ใช่อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่จะสะดุดหยุดลงได้ ทั้งไม่มีบทกฎหมายบัญญัติไว้ดังที่จำเลยอ้าง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์แก่จำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9610/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งชอบด้วยกฎหมาย และฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากความล่าช้าในการส่งเอกสารบัญชี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ส่งมอบงบการเงินกับเอกสารทางบัญชีอื่น สำหรับรอง 6 เดือนแรกของปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ของจำเลยให้ ท. หรือ ช. รองกรรมการผู้จัดการของจำเลยภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2551 และส่งมอบให้ผู้ตรวจสอบบัญชีของ บริษัท ด. ในวันที่ 4, 5, 6 ธันวาคม 2551 โจทก์ทราบคำสั่งแล้วแต่เพิกเฉย อันเป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชา เป็นการผิดวินัยอย่างร้ายแรงและจงใจให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างได้รับความเสียหาย ดังนั้นฟ้องแย้งของจำเลยที่เรียกค่าจ้างที่บริษัท ด. ต้องเข้ามาตรวจสอบบัญชีตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2551 และค่าจ้างที่ปรึกษากฎหมายซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการที่โจทก์ไม่ส่งมอบเอกสารเกี่ยวกับบัญชีให้แก่ผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชีของจำเลย จึงเป็นฟ้องแย้งในเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3561/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร: แยกความผิดตามกฎหมายเฉพาะและกฎหมายทั่วไป
การที่จำเลยไม่ยอมให้พนักงานจราจรทดสอบว่าจำเลยหย่อนความสามารถในอันที่จะขับหรือเมาสุราด้วยวิธีการตรวจวัดลมหายใจนั้น เป็นการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจร อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษในมาตรา 142 วรรคสอง และมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 154 (3) ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่มีความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน ตาม ป.อ. มาตรา 368 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก