คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่รับฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 68 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่รับฟ้องคดีเลือกตั้งเนื่องจากฟ้องพ้นกำหนดและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลฎีกายกคำร้อง
ศาลชั้นต้นเห็นว่า โจทก์ยื่นฟ้องเกินกำหนดเวลา ตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลฯ จึงไม่รับฟ้อง ส่วนศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลย พิพากษายืน จึงมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกาไม่ได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่จำเป็นเมื่อสัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอม ศาลล่างพิพากษายืนคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระเงินตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินค้ำประกัน จำนอง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การว่า ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์โจทก์กรอกข้อความลงในเอกสารในช่องผู้ค้ำประกันโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นเอกสารปลอม ขอให้ยกฟ้อง และฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์คืนหนังสือสัญญาค้ำประกันแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 หากไม่คืนก็ขอให้มีคำสั่งให้ทำลายเสียตามคำให้การที่ต่อสู้ว่าสัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอมนั้น หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามข้อต่อสู้แล้ว ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง สัญญาค้ำประกันย่อมไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2และที่ 3 เมื่อโจทก์ไม่อาจอาศัยสิทธิตามสัญญาค้ำประกันมาเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ได้อีกต่อไป ย่อมไม่มีเหตุจำเป็นที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะฟ้องแย้งขอให้บังคับคืนหรือทำลายหนังสือสัญญาค้ำประกันอีก ศาลจึงไม่รับฟ้องแย้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3542/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยเครื่องหมายการค้าไม่มีกำหนดระยะเวลาฟ้องที่แน่นอน ศาลฎีกายกคำสั่งไม่รับฟ้อง
การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ายืนตามคำสั่งของนายทะเบียน การใช้สิทธิทางศาล ในกรณี เช่นนี้ ไม่มีบทบัญญัติใดในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 หรือในกฎหมายอื่นใด บัญญัติให้โจทก์ต้องใช้สิทธิทางศาลหรือฟ้องคดีภายใน 90 วัน นับแต่วันทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ดังนั้นโจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องภายหลังกำหนดดังกล่าวได้โดยไม่จำเป็นต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลขยายกำหนดระยะเวลาให้แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7300/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ศาลล่างสั่งไม่รับฟ้องแย้ง ชอบด้วยกฎหมาย
ฎีกาของจำเลยทั้งสองเป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสอง มิใช่ฎีกาขอให้พิพากษาให้จำเลยทั้งสองชนะคดีตามจำนวนทุนทรัพย์ในฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสอง ดังนั้น ที่จำเลยทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามา 200 บาท จึงถูกต้องตามตาราง 1 ข้อ (2)(ข)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 2 พิมพ์ข้อความในหนังสือขอเลิกจ้างการเป็นครูใส่ความโจทก์และปิดประกาศโฆษณาทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่า โจทก์ประพฤติชั่ว ไม่เหมาะสมที่จะเป็นครูเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณและทางทำมาหาได้ของโจทก์จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้คดีว่าไม่ได้ทำละเมิด และฟ้องแย้งว่าโจทก์นำเอาข้อความในเอกสารดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองหลายคดีทั้งคดีอาญา คดีแรงงานและคดีนี้ เป็นการฟ้องคดีโดยไม่สุจริตเพื่อให้จำเลยทั้งสองต้องเสียชื่อเสียง ทำให้จำเลยทั้งสองได้รับความเสียหาย ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ดังนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองดังกล่าวเป็นการฟ้องแย้งที่อาศัยเหตุในการฟ้องแตกต่างกับคำฟ้องเดิมฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ไม่อาจรวมพิจารณาชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7391/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่รับฟ้องแย้งในคดีมรดก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้กำจัดจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มิให้รับมรดกของ ว. และให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินทรัพย์มรดกระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 สภาพแห่งข้อหาเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาว่ามีเหตุตามกฎหมาย ที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จะต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของ ว. และจะต้องเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 ตามฟ้องหรือไม่ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ที่ขอให้กำจัดโจทก์ที่ 2 มิให้รับมรดกของ ว. และให้โจทก์ที่ 2 ชดใช้เงินแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจาณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
ส่วนที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนจำเลยที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกของ ว. และตั้งโจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกแทน จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้การว่า จำเลยที่ 1 จัดการมรดกโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ทั้งสองไม่เหมาะที่จะเป็นผู้จัดการมรดกและฟ้องแย้งขอให้ตั้งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งยังไม่แน่นอนว่า ศาลจะเพิกถอนจำเลยที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ฟ้องแย้งในส่วนนี้จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเข้าด้วยกันได้เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5556/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่สมบูรณ์ (ไม่มีลายมือชื่อ) ศาลควรสั่งแก้ไขก่อนไม่รับฟ้อง ไม่ใช่ยกฟ้อง
คำฟ้องคดีแพ่งที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ไม่มีลายมือชื่อผู้เรียงและไม่มีลายมือชื่อผู้เขียนหรือพิมพ์ เป็นเพียงคำฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67(5) ศาลมีอำนาจสั่งให้คืนหรือแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องให้บริบูรณ์ภายในเวลาที่กำหนด หากโจทก์ไม่ปฏิบัติก็ให้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ความจึงปรากฏขึ้นในภายหลังว่าคำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ลายมือชื่อทนายโจทก์ ผู้เรียงและลายมือชื่อผู้เขียนหรือพิมพ์ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก่อน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้รับคำฟ้องมาเป็นไม่รับคำฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษายกฟ้องไปเสียทีเดียวเป็นการไม่ชอบ
โจทก์อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องให้ครบถ้วน แล้วยกคดีของโจทก์ขึ้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2824/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่รับฟ้องคดีเยาวชนและครอบครัวเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการผัดฟ้อง
ศาลชั้นต้นเห็นว่า ไม่มีการผัดฟ้องต่อหรือขออนุญาตจากอัยการสูงสุดคดีโจทก์ต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 53 จึงมีคำสั่งไม่รับฟ้อง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกาไม่ได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220 ประกอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534 มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1034/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่รับฟ้องแย้ง: สิ้นสุดสิทธิแก้ไขฟ้อง
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาแล้ว จึงไม่มีฟ้องแย้งที่จะให้จำเลยแก้ไขได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1034/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องแย้งหลังศาลไม่รับฟ้อง: เมื่อศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งแล้ว จำเลยไม่สามารถแก้ไขฟ้องแย้งได้อีก
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาแล้ว จึงไม่มีฟ้องแย้งที่จะให้จำเลยแก้ไขได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3697/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีโดยทนายความที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างถูกต้อง แม้จะมีการระบุผู้มอบอำนาจอื่น การสั่งไม่รับฟ้องเป็นกระบวนการที่ผิดระเบียบ
พ. กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันโจทก์เป็นผู้ลงชื่อแต่งตั้ง น. เป็นทนายความซึ่งเป็นผู้ลงชื่อในคำฟ้อง เท่ากับว่าโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วยตนเองแล้วดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3แล้วมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยอ้างเหตุว่าโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย จึงเป็นการสั่งโดยเข้าใจผิดเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ โจทก์มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้เมื่อศาลชั้นต้นไม่เพิกถอนคำสั่ง โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ตามบทกฎหมายทั่วไปหาใช่ต้องอุทธรณ์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคท้าย ไม่
of 7