พบผลลัพธ์ทั้งหมด 369 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4997/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินโดยไม่สุจริต ผู้รับอาวัลไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์แล้วหลักทรัพย์ที่จะนำมาจำนำเป็นประกันหนี้ยังไม่พร้อม แต่จำเลยที่ 1 ประสงค์จะรับเงินที่กู้ไปก่อน โจทก์จึงให้จำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินโดยให้จำเลยที่ 2 รับอาวัลมอบให้ไว้เพื่อจะรอให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการจำนำหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งต้องใช้เวลาดำเนินการประมาณ 45 วัน จำเลยที่ 1 จึงได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินแล้วนำมาขอให้จำเลยที่ 2 อาวัลในระยะเวลาดังกล่าว เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนด โจทก์ก็มิได้บังคับให้จำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวแต่กลับยอมให้จำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่แทนฉบับเดิมเรื่อยมาอีก 3 ฉบับ และใช้ข้อตกลงในตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่บังคับแก่จำเลยที่ 1 ตลอดมา การที่จำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งเป็นลูกหนี้ตามตั๋วเงินได้สลักหลังจำนำตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ในขณะที่โจทก์เป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินอยู่นี้ จำเลยที่ 1 ไม่อาจกระทำได้ โจทก์กับจำเลยที่ 1 กระทำไปโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะให้จำเลยที่ 2 ยังคงต้องรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินต่อไป จึงเป็นการสลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดขึ้นจากความไม่สุจริตคบคิดกันฉ้อฉลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้รับอาวัลตาม ป.พ.พ. มาตรา 926 วรรคสอง ประกอบมาตรา 985
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะกรรมซื้อขายที่ดินจากการสมคบกันจดทะเบียนโอนโดยไม่สุจริต และอายุความการฟ้องเพิกถอน
จำเลยที่ 1 ตกลงขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองโดยได้มีการส่งมอบที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองเข้าซ่อมแซมครอบครองตลอดมา อันเป็นการชำระหนี้บางส่วน ข้อตกลงจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาทจึงมีผลผูกพันบังคับต่อกันได้แล้ว
จำเลยทั้งสองสมคบกันจดทะเบียนโอนซื้อขายที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตและไม่มีการชำระเงินกันจริง จำเลยที่ 2 ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แท้จริง การแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองในทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินพิพาท จึงเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 ก็ได้ โจทก์ทั้งสองชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนเมื่อใดก็ได้ ฟ้องโจทก์ทั้งสองมิใช่การฟ้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องฟ้องภายใน 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 240
จำเลยทั้งสองสมคบกันจดทะเบียนโอนซื้อขายที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตและไม่มีการชำระเงินกันจริง จำเลยที่ 2 ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แท้จริง การแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองในทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินพิพาท จึงเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 ก็ได้ โจทก์ทั้งสองชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนเมื่อใดก็ได้ ฟ้องโจทก์ทั้งสองมิใช่การฟ้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องฟ้องภายใน 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 240
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนอุทธรณ์: ดุลพินิจศาลและการไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนการที่ไม่สุจริต
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิได้มีบทบัญญัติว่าด้วยการถอนอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะ แต่มาตรา 246 ของลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์บัญญัติให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้นมาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์ได้โดยอนุโลมคำฟ้องอุทธรณ์จึงเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(3)กรณีต้องนำเรื่องการถอนฟ้องตามมาตรา 175 มาใช้บังคับกับการถอนคำฟ้องอุทธรณ์โดยอนุโลม โดยมาตรา 175(1) บังคับเพียงว่า ห้ามไม่ให้ศาลอนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอดหากมีก่อน แม้จะมีการคัดค้านการขอถอนคำฟ้องก็อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งอนุญาตได้ ทั้งการขอถอนคำฟ้องก็เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริตเพื่อเอาเปรียบในเชิงคดี ดังนั้น เมื่อคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จำเลยขอถอนอุทธรณ์ ก็ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ที่จะอนุญาตให้จำเลยถอนอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246 ประกอบด้วยมาตรา 175 ส่วนการที่โจทก์อ้างว่าจะทำให้ตนเสียเปรียบเพราะทำให้โจทก์เสียหายไม่สามารถยื่นฟ้องใหม่ได้ภายในกำหนดอายุความนั้น ก็มิใช่เงื่อนไขที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้ถอนอุทธรณ์แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิสัญญาเช่าซื้อและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้รับช่วงสิทธิ
การที่ผู้ร้องได้ซื้อสินทรัพย์ประเภทสัญญาเช่าซื้อของบริษัทเงินทุน พ. ซึ่งถูกปิดกิจการตามพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ จากองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ป.ร.ส.) ถือว่าเป็นการรับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226 การใช้สิทธิของผู้ร้องในการขอคืนของกลางคดีนี้ จึงเป็นการใช้สิทธิแทนบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ พ. ซึ่งผู้ร้องย่อมรับมาทั้งสิทธิเรียกร้องและหน้าที่ทั้งหมดที่มีอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว ปรากฏว่าว. ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์ของกลางและเป็นผู้รับมอบอำนาจจากผู้ร้องเบิกความว่า ก่อนหน้านี้ตนได้ขายดาวน์รถยนต์ของกลางให้แก่ ศ. ไปแล้ว และเหตุที่ต้องยื่นคำขอคืนรถยนต์ก็เนื่องจากต้องคืนรถยนต์ให้แก่ผู้ร้องเพราะยังค้างชำระค่าเช่าซื้ออยู่ หากสามารถชำระได้หมดก็จะไม่ถูกฟ้องเป็นคดีแพ่ง อันเป็นคำเบิกความที่เป็นไปในลักษณะปกปิดข้อเท็จจริงและมีพฤติการณ์ที่ไม่สุจริต เมื่อพิจารณาประกอบกับการที่จำเลยทั้งสามนำรถยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม2541 และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบรถยนต์เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2541 ผู้ร้องได้รับโอนสิทธิและหน้าที่ทั้งหมดตามสัญญาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2541 และมายื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2542 โดยมิได้ดำเนินการฟ้องร้องทางแพ่งต่อ ว. เพื่อให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ แต่กลับมอบอำนาจให้ ว. มาร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องร้องขอรถยนต์ของกลางคืนเพื่อประโยชน์ของ ว. ผู้เช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียว ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริต จึงไม่มีสิทธิขอคืนรถยนต์ของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8093/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดสัญญา: ศาลเพิ่มอัตราดอกเบี้ยได้หากจำเลยสู้คดีไม่สุจริต
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 กำหนดห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องและมีข้อยกเว้น 6 กรณี โดยเฉพาะมาตรา 142(6) กำหนดข้อยกเว้นเกี่ยวกับดอกเบี้ยไว้ แม้คดีนี้โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยเพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาถึงคำให้การของจำเลย การต่อสู้คดีมีการขอเลื่อนคดีหลายครั้งโดยอ้างเหตุว่าจะไปเจรจาตกลงกับโจทก์ จำเลยก็ไม่ได้ดำเนินการตามอ้าง พฤติการณ์ส่อไปในทางไม่มีเหตุสมควรและไม่สุจริตในการสู้ความ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องชอบด้วยบทมาตราดังกล่าว จึงไม่เกินคำขอและเป็นอัตราที่เหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7494/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลายมือชื่อปลอมในสัญญากู้ยืม และการยึดโฉนดที่ดินโดยไม่สุจริต ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชนะคดีโดยวินิจฉัยว่าโจทก์รู้เห็นและยินยอมให้ พ. นำโฉนดที่ดินพิพาทไปเป็นประกันการกู้ยืมเงินจากจำเลย เมื่อโจทก์และ พ. ยังไม่ได้ชำระหนี้เงินกู้ยืม จำเลยจึงมีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินพิพาท แต่ศาลชั้นต้นก็ฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหนังสือสัญญากู้เงินที่จำเลยอ้างเป็นพยานหลักฐานว่าลายมือชื่อที่เป็นชื่อโจทก์ในหนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ใช่ลายมือชื่อโจทก์ แต่เป็นลายมือชื่อปลอมซึ่งเป็นอันยุติแล้ว แม้ศาลอุทธรณ์จะยกปัญหาว่าลายมือชื่อโจทก์ในหนังสือสัญญากู้เงินเป็นลายมือปลอมหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์อันจะทำให้จำเลยมีสิทธิที่จะฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้
ลายมือชื่อผู้กู้ยืมในหนังสือสัญญากู้ยืมเงินไม่ใช่ของโจทก์ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์กู้ยืมเงินจำเลยแล้วมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้จำเลยยึดถือไว้เป็นประกันดังที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินพิพาท
ที่จำเลยฎีกาว่า แม้จะฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทำสัญญากู้ยืมเงินจากจำเลยแต่พยานหลักฐานที่นำสืบมาฟังได้ว่าโจทก์รู้เห็นและยินยอมให้ พ. นำโฉนดที่ดินพิพาทไปเป็นประกันการกู้ยืมเงินจำเลย การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แต่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ การที่ศาลชั้นต้นยกขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกคำให้การเป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ลายมือชื่อผู้กู้ยืมในหนังสือสัญญากู้ยืมเงินไม่ใช่ของโจทก์ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์กู้ยืมเงินจำเลยแล้วมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้จำเลยยึดถือไว้เป็นประกันดังที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินพิพาท
ที่จำเลยฎีกาว่า แม้จะฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทำสัญญากู้ยืมเงินจากจำเลยแต่พยานหลักฐานที่นำสืบมาฟังได้ว่าโจทก์รู้เห็นและยินยอมให้ พ. นำโฉนดที่ดินพิพาทไปเป็นประกันการกู้ยืมเงินจำเลย การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แต่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ การที่ศาลชั้นต้นยกขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกคำให้การเป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7301/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินโดยไม่สุจริต ทำให้ไม่อาจอ้างสิทธิในที่ดินได้ แม้มีชื่อในโฉนด
โจทก์รู้อยู่แล้วในขณะที่ซื้อที่ดินพิพาทว่าจำเลยที่ 2 ได้ที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 โดยมิชอบ ถือได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่อาจอ้างเอาการมีชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทขึ้นต่อสู้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงในที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6172/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายทรัพย์มรดกโดยไม่สุจริตและผลกระทบต่อทายาทอื่น
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกให้จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 ทราบดีว่าทายาทหลายคนไม่ได้ให้ความยินยอม จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2จดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทโดยสุจริต
เจ้ามรดกมีทายาทด้วยกัน 13 คน โจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งในฐานะเจ้าของรวมอาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่ทายาททุกคนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 ประกอบมาตรา 1745 โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวและมีคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 และให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาท ศาลมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทรวมถึงทายาทอื่นได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142เมื่อจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท 1 ใน 13 ส่วน จำเลยที่ 1มีอำนาจขายและจำนองที่ดินพิพาทส่วนของตนได้ จึงต้องเพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์และทายาทอื่นรวม12 ใน 13 ส่วนเท่านั้น
เจ้ามรดกมีทายาทด้วยกัน 13 คน โจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งในฐานะเจ้าของรวมอาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่ทายาททุกคนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 ประกอบมาตรา 1745 โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวและมีคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 และให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาท ศาลมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทรวมถึงทายาทอื่นได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142เมื่อจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท 1 ใน 13 ส่วน จำเลยที่ 1มีอำนาจขายและจำนองที่ดินพิพาทส่วนของตนได้ จึงต้องเพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์และทายาทอื่นรวม12 ใน 13 ส่วนเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินเนื่องจากจำเลยโอนโดยไม่สุจริตและโจทก์มีสิทธิก่อน
จำเลยที่ 1 ยกที่ดินพิพาทตีใช้หนี้แก่โจทก์แล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 สมคบกันโอนที่ดินพิพาทโดยจำเลยที่ 2 รับโอนโดยไม่สุจริตและไม่เสียค่าตอบแทน แม้โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาท เพียงเข้า ครอบครองก็ตาม แต่ถือว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ การสมคบกันโอนโดยไม่สุจริต และสิทธิของผู้รับเหมา
จำเลยที่ 1 ตกลงโอนที่ดินชำระหนี้ค่ารับเหมาก่อสร้างอาคารแก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 สมคบกันโอนที่ดินไปเสียก่อนโดยจำเลยที่ 2 รับโอนโดยไม่สุจริตและไม่เสียค่าตอบแทน แม้โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนรับโอนที่ดินเพียงได้เข้าครอบครองก็ถือได้ว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนโจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้