พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์พิพากษาลงโทษกักขังแทนจำคุกตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ตรี
จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่าสมควรรอการลงโทษให้จำเลยในคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษกักขังจำเลย 1 เดือน แทนโทษจำคุก ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ซึ่งต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ตรี และตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้เฉพาะในคดีซึ่งต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218, 219 และ 220 เท่านั้น จะอนุญาตให้ฎีกาในคดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ตรี ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตพิจารณาคดีใหม่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาถึงที่สุด ไม่มีสิทธิฎีกา
โจทก์ยื่นฟ้องภายหลังจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2543 มีผลใช้บังคับแล้ว คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 ที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 199เบญจ มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยมาตรา 199 เบญจ วรรคสี่ บัญญัติว่า คำสั่งศาลที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ให้เป็นที่สุด แต่ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาต ผู้ขออาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องคดีแรงงานต้องยื่นก่อนวันสืบพยาน หากเลยกำหนดและไม่เข้าข้อยกเว้น ศาลไม่อนุญาต
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำฟ้อง จึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 มาบังคับโดยอนุโลมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 31 แต่ในคดีแรงงานไม่มีการชี้สองสถานเพราะการกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันสืบพยานเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ฉะนั้น โจทก์ต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วันเว้นแต่มีเหตุยกเว้นตามบทบัญญัติข้างต้น ปรากฏว่าในขณะที่ยื่นคำฟ้อง โจทก์ย่อมจะทราบถึงสิทธิของตนอันจะพึงได้รับดอกเบี้ยจากค่าชดเชยค่าจ้างค้างจ่าย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าซึ่งจำเลยผิดนัดไม่จ่ายให้โจทก์อยู่แล้ว โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องหลังจากที่จำเลยสืบพยานเสร็จสิ้นแล้วและคดีไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งมิใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4079/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตสืบพยานเพิ่มเติมหลังศาลถือว่าโจทก์ไม่ติดใจสืบพยาน ต้องพิจารณาเหตุผลสมควรเพื่อให้ความเป็นธรรม
ศาลชั้นต้นกำชับมิให้ฝ่ายจำเลยขอเลื่อนคดีไว้แล้ว การที่ในนัดสุดท้ายซึ่งเป็นวันสืบพยานจำเลยพร้อมสืบพยานโจทก์ โจทก์มิได้ไปศาล และศาลชั้นต้นขึ้นนั่งพิจารณาคดีสืบพยานจำเลยในเวลา 11 นาฬิกา จนเสร็จโดยถือว่าโจทก์ไม่ติดใจสืบพยาน แล้วมีคำสั่งให้รอฟังคำพิพากษาในวันเดียวกัน ต่อมาในเวลาบ่ายทนายโจทก์ได้ไปศาลจึงทราบเหตุและยื่นคำร้องขอสืบพยานโจทก์โดยให้เหตุผลว่าจดเวลานัดผิดพลาดเป็นเวลาบ่าย ซึ่งในขณะนั้นศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำพิพากษา ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิจารณาว่ามีเหตุผลสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์นำพยานเข้าสืบต่อไปหรือไม่ การที่ทนายโจทก์จดเวลานัดผิดพลาด ถือว่าเป็นเหตุผลสมควรที่จะให้โจทก์มีโอกาสนำพยานเข้าสืบเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4070/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาซ้ำ เมื่อศาลเคยมีคำสั่งแล้วว่าไม่มีเหตุอันสมควร
จำเลยเคยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์มาแล้วครั้งหนึ่ง ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีของจำเลยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ให้ยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด คดีจึงฟังได้เป็นยุติว่าคดีจำเลยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ครั้งใหม่โดยอ้างเหตุว่ายากจนลงกว่าเดิม แม้จะฟังได้ตามข้ออ้างของจำเลย ศาลก็ไม่อาจอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4070/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาซ้ำ เมื่อศาลชั้นต้นและอุทธรณ์เคยมีคำสั่งไม่อนุญาตแล้ว แม้จะอ้างเหตุยากจนกว่าเดิม
เดิมจำเลยได้เคยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์แล้วครั้งหนึ่งศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีของจำเลยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ให้ยกคำร้อง และศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด คดีจึงฟังได้เป็นข้อยุติว่าคดีของจำเลยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ครั้งใหม่ โดยอ้างเหตุว่ายากจนลงกว่าเดิมแม้จะฟังได้ตามข้ออ้างของจำเลย ศาลก็ไม่อาจอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์โดยผู้แทนโดยชอบธรรม ไม่ต้องขออนุญาตศาลตาม ม.1574 หากไม่ขัดต่อข้อห้าม
การที่จำเลยในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์นำไม้เคี่ยมซึ่งเป็นมรดกของสามีจำเลยในส่วนที่เป็นของ ผู้เยาว์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์ ไม่ใช่เป็นการนำทรัพย์สินของผู้เยาว์ไปแสวงหาผลประโยชน์อันจำเป็นต้องขออนุญาตต่อศาลก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1574 (11) แต่เป็นการทำสัญญาขายสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ซึ่งไม่ขัดต่อ มาตรา 1574 เพราะไม่มีกรณีที่ต้องห้ามตามมาตรา 1574 แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9724/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตยื่นบัญชีระบุพยาน เหตุจากเหตุขัดข้องในการจัดหาเอกสารไม่เพียงพอต่อการอนุญาตตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร
ตามข้อกำหนดคดีภาษี พ.ศ.2539 ข้อ 10 วรรคสี่ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น กำหนดกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานไว้ว่า คู่ความซึ่งขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานจะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลได้ว่า มีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วัน การที่โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน โดยอ้างว่าได้ปรับปรุงซ่อมแซมที่ทำการของโจทก์ ได้เคลื่อนย้ายเอกสารต่าง ๆ และกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เดินทางไปต่างประเทศไม่สามารถหาเอกสารยื่นต่อศาลได้ทันนั้น มิใช่เหตุขัดข้องในการยื่นบัญชีระบุพยาน กรณีไม่มีเหตุอันสมควรจะอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7795/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้สืบพยานเพิ่มเติมในคดีฟ้องร้องหนี้สิน เนื่องจากพยานที่เสนอไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับข้อพิพาท
ตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยมิได้มีส่วนใดเกี่ยวพันไปถึงงานในหน้าที่ของผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูเพื่อพัฒนาระบบสถาบันการเงินแต่อย่างใด เมื่อโจทก์ถูกปิดกิจการและกองทุนฟื้นฟูเพื่อพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าควบคุมกิจการของโจทก์ ในช่วงนี้หากจะมีการโอนสิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลยที่ 1 ให้แก่กองทุนฟื้นฟูเพื่อพัฒนาระบบสถาบันการเงิน กรณีดังกล่าวก็เป็นเพียงขั้นตอนและวิธีการในการเข้าควบคุมกิจการของโจทก์ เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนผู้มีธุรกรรมกับโจทก์โดยทั่วไป จำเลยที่ 1 และที่ 3 ให้การต่อสู้คดีว่าตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นเอกสารปลอม จำเลยที่ 1 และที่ 3 ย่อมสามารถขอตรวจพิสูจน์ความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าวได้อยู่แล้ว หามีความจำเป็นต้องขอหมายเรียกผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูเพื่อพัฒนาระบบสถาบันการเงินมาเป็นพยานไม่
การทำสัญญาผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่สินเชื่อกับจำเลยทั้งสาม ในชั้นพิจารณาโจทก์ก็ได้นำเจ้าหน้าที่สินเชื่อผู้มีหน้าที่และรู้เห็นในการทำสัญญากับจำเลยทั้งสามมาเบิกความเป็นพยานแล้ว ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 3 ย่อมสามารถซักค้านได้อย่างเต็มที่ผู้จัดการเฉพาะกิจบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนนคร จำกัด (มหาชน) เพิ่งได้รับแต่งตั้งหลังจากทางราชการได้เข้าควบคุมกิจการของโจทก์ และเป็นเวลาภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว ที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 อ้างว่าจำเป็นต้องขอระบุพยานเพิ่มเติม เพราะศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ขอหมายเรียกผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูเพื่อพัฒนาระบบสถาบันการเงินมาเป็นพยานนั้น ผู้จัดการเฉพาะกิจบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนนคร จำกัด (มหาชน) และผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูเพื่อพัฒนาระบบสถาบันการเงินมีอำนาจและบทบาทในแต่ละองค์กรแยกต่างหากจากกัน หน้าที่ของแต่ละคนคงมีอยู่เฉพาะในองค์กรที่ตนรับผิดชอบเท่านั้น กรณีดังกล่าวย่อมไม่สามารถนำคำเบิกความของแต่ละคนมาทดแทนกันได้ ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ระบุพยานเพิ่มเติมชอบแล้ว
การทำสัญญาผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่สินเชื่อกับจำเลยทั้งสาม ในชั้นพิจารณาโจทก์ก็ได้นำเจ้าหน้าที่สินเชื่อผู้มีหน้าที่และรู้เห็นในการทำสัญญากับจำเลยทั้งสามมาเบิกความเป็นพยานแล้ว ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 3 ย่อมสามารถซักค้านได้อย่างเต็มที่ผู้จัดการเฉพาะกิจบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนนคร จำกัด (มหาชน) เพิ่งได้รับแต่งตั้งหลังจากทางราชการได้เข้าควบคุมกิจการของโจทก์ และเป็นเวลาภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว ที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 อ้างว่าจำเป็นต้องขอระบุพยานเพิ่มเติม เพราะศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ขอหมายเรียกผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูเพื่อพัฒนาระบบสถาบันการเงินมาเป็นพยานนั้น ผู้จัดการเฉพาะกิจบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนนคร จำกัด (มหาชน) และผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูเพื่อพัฒนาระบบสถาบันการเงินมีอำนาจและบทบาทในแต่ละองค์กรแยกต่างหากจากกัน หน้าที่ของแต่ละคนคงมีอยู่เฉพาะในองค์กรที่ตนรับผิดชอบเท่านั้น กรณีดังกล่าวย่อมไม่สามารถนำคำเบิกความของแต่ละคนมาทดแทนกันได้ ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ระบุพยานเพิ่มเติมชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7451/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมการพิจารณาคดีและการไม่อนุญาตเลื่อนคดีเพื่อป้องกันการประวิงเวลา
ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ควบคุมการพิจารณาคดีให้เป็นไปโดยไม่ล่าช้าเป็นประโยชน์แก่ประชาชนผู้มีอรรถคดี เมื่อมีคำร้องขอเลื่อนคดีจะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 40 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ว่าคำร้องขอเลื่อนคดีดังกล่าวมีเหตุจำเป็นและสมควรอนุญาตหรือไม่
ศาลชั้นต้นเริ่มพิจารณาคดีนัดแรกโดยให้นัดพร้อมวันที่ 29มกราคม และให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกวันที่ 2 เมษายนแต่ในวันดังกล่าวพยานติดราชการไม่อาจมาศาลได้ ศาลชั้นต้นจึงให้เลื่อนการพิจารณาไปวันที่ 5 มิถุนายน ซึ่งในวันดังกล่าว ส. ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุว่าเพิ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นทนายความและยังไม่ได้ศึกษารายละเอียดแห่งคดี แต่เมื่อ ว. ทนายความที่ศาลชั้นต้นแต่งตั้งให้เป็นทนายความของจำเลยทั้งสองได้มาศาลและพร้อมจะปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ปรากฏว่ามีข้อบกพร่องแต่ประการใด ทั้งคดีได้มีการเลื่อนการพิจารณามาประมาณ 5 เดือนแล้ว จึงไม่มีเหตุจำเป็นและไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้เลื่อนการพิจารณาคดีออกไป แม้จำเลยทั้งสองจะได้ยื่นคำร้องขอถอน ว. ออกจากการเป็นทนายความในระหว่างการดำเนินกระบวนพิจารณาก็ตาม ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตหากพิจารณาเห็นว่าการกระทำดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะประวิงคดีและรอไว้จนกระทั่ง ว. ถามค้านพยานโจทก์ทั้งสองปากเสร็จสิ้นจึงได้อนุญาตตามคำร้องของจำเลยทั้งสอง ทั้งนี้เพื่อควบคุมการดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปโดยไม่ล่าช้า ดังนั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นในวันที่ 5 มิถุนายน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นเริ่มพิจารณาคดีนัดแรกโดยให้นัดพร้อมวันที่ 29มกราคม และให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกวันที่ 2 เมษายนแต่ในวันดังกล่าวพยานติดราชการไม่อาจมาศาลได้ ศาลชั้นต้นจึงให้เลื่อนการพิจารณาไปวันที่ 5 มิถุนายน ซึ่งในวันดังกล่าว ส. ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุว่าเพิ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นทนายความและยังไม่ได้ศึกษารายละเอียดแห่งคดี แต่เมื่อ ว. ทนายความที่ศาลชั้นต้นแต่งตั้งให้เป็นทนายความของจำเลยทั้งสองได้มาศาลและพร้อมจะปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ปรากฏว่ามีข้อบกพร่องแต่ประการใด ทั้งคดีได้มีการเลื่อนการพิจารณามาประมาณ 5 เดือนแล้ว จึงไม่มีเหตุจำเป็นและไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้เลื่อนการพิจารณาคดีออกไป แม้จำเลยทั้งสองจะได้ยื่นคำร้องขอถอน ว. ออกจากการเป็นทนายความในระหว่างการดำเนินกระบวนพิจารณาก็ตาม ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตหากพิจารณาเห็นว่าการกระทำดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะประวิงคดีและรอไว้จนกระทั่ง ว. ถามค้านพยานโจทก์ทั้งสองปากเสร็จสิ้นจึงได้อนุญาตตามคำร้องของจำเลยทั้งสอง ทั้งนี้เพื่อควบคุมการดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปโดยไม่ล่าช้า ดังนั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นในวันที่ 5 มิถุนายน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย