พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาหมั้นที่ฝ่ายชายอายุไม่ครบ 17 ปี ไม่เป็นโมฆะ ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดโดยอาศัยเหตุเพราะจำเลยผิดสัญญาหมั้น จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439(1) ที่ศาลล่างวินิจฉัยว่าโจทก์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนฐานะเมิดจากจำเลยจึงเป็นการวินิจฉัยที่ผิดไปจากคำฟ้องของโจทก์ กรณีเช่นนี้ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีเสียใหม่ ให้ถูกต้องตามประเด็นแห่งคดีได้
การหมั้นที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1435 โดยฝ่ายชายมีอายุไม่ถึง 17 ปีบริบูรณ์นั้น หาตกเป็นโมฆะไม่ ทั้งนี้ โดยอาศัยกฎหมายที่ใกล้เคียงเปรียบเทียบ คือการสมรสที่ฝ่าฝืนผิดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1445 ในเรื่องอายุทำนองเดียวกับมาตรา 1489 ก็มิได้บัญญัติให้เป็นโมฆะแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกับบัญญัติว่าให้ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นมีอำนาจต้องขอต่อศาลได้ และไม่ได้บังคับให้ศาลจำต้องสั่งให้เพิกถอนโดยเด็ดขาดด้วย แต่ให้อำนาจศาลที่จะเพิกถอนเสียก็ได้เท่านั้น คงมีแต่เฉพาะในเรื่องการผิดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1445(2),(3),(4) และ (5) เท่านั้นที่ให้ถือว่าเป็นโมฆะ
การหมั้นที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1435 เป็นโมฆะหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับอำนาจฟ้องหรือเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่ศาลล่างยกประเด็นข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยเสียเองโดยคู่ความมิได้ยกขึ้นต่อสู้จึงไม่ชอบ
จำเลยได้ร่วมประเวณีกับ ร. และเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น ร.ย่อมต้องได้รับความเสียหายต่อกายและชื่อเสีย และมีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439(1)
การหมั้นที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1435 โดยฝ่ายชายมีอายุไม่ถึง 17 ปีบริบูรณ์นั้น หาตกเป็นโมฆะไม่ ทั้งนี้ โดยอาศัยกฎหมายที่ใกล้เคียงเปรียบเทียบ คือการสมรสที่ฝ่าฝืนผิดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1445 ในเรื่องอายุทำนองเดียวกับมาตรา 1489 ก็มิได้บัญญัติให้เป็นโมฆะแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกับบัญญัติว่าให้ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นมีอำนาจต้องขอต่อศาลได้ และไม่ได้บังคับให้ศาลจำต้องสั่งให้เพิกถอนโดยเด็ดขาดด้วย แต่ให้อำนาจศาลที่จะเพิกถอนเสียก็ได้เท่านั้น คงมีแต่เฉพาะในเรื่องการผิดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1445(2),(3),(4) และ (5) เท่านั้นที่ให้ถือว่าเป็นโมฆะ
การหมั้นที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1435 เป็นโมฆะหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับอำนาจฟ้องหรือเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่ศาลล่างยกประเด็นข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยเสียเองโดยคู่ความมิได้ยกขึ้นต่อสู้จึงไม่ชอบ
จำเลยได้ร่วมประเวณีกับ ร. และเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น ร.ย่อมต้องได้รับความเสียหายต่อกายและชื่อเสีย และมีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิมพ์ลายนิ้วมือทับรอยเดิมในพินัยกรรม ไม่ถือเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลง
ผู้ทำพินัยกรรม (เจ้ามรดก) ได้พิมพ์ลายนิ้วมือทับรอยพิมพ์นิ้วมือที่ลงไว้ไม่ชัดอีกครั้งหนึ่ง แม้ลายพิมพ์นิ้วมือนี้จะเลอะเลือนจนดูไม่ชัด ก็ไม่กลายเป็นแกงได และการกระทำเช่นนี้หาเป็นการขูดลบตกเติมแก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายเรือนโดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ย่อมไม่เป็นโมฆะเสมอไป ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการซื้อขาย
การซื้อขายเรือนซึ่งไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ย่อมไม่เป็นโมฆะเสมอไป ยังต้องอาศัยข้อเท็จจริงในทางพิจารณาอยู่ว่าเป็นการซื้อขายเรือนเพื่อรื้อเอาไป หรือว่าเป็นการซื้อขายเพื่อให้เรือนคงอยู่ในสภาพเดิม ซึ่งข้อบัญญัติของกฎหมายย่อมมีนัยต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15693/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากเงินกลุ่มออมทรัพย์ไม่เป็นโมฆะ แม้จะมีการประกอบธุรกิจคล้ายธนาคาร หากผู้ฝากไม่รู้เห็น
ในสัญญาซึ่งเป็นนิติกรรมทำโดยบุคคลสองฝ่าย ประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการ คู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมรู้กัน จึงจะเป็นวัตถุที่ประสงค์ของนิติกรรมสัญญานั้น ถ้าคู่สัญญาแต่ฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่าเป็นการฝ่าฝืนต้องห้ามโดยกฎหมาย โดยอีกฝ่ายมิได้ร่วมรู้ด้วยนั้น จะว่านิติกรรมสัญญานั้น มีวัตถุประสงค์เป็นการฝ่าฝืนต้องห้ามโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ไม่ได้ การที่โจทก์ที่ 1 กับพวกนำเงินมาฝากกับจำเลยทั้งสามก็เป็นเพราะต้องการได้ดอกเบี้ยหรือเงินปันผลตอบแทนและเมื่อเรียกเงินคืนก็จะได้เงินคืนครบจำนวนตามมาตรา 672 เพียงเท่านั้น ส่วนที่จำเลยทั้งสามจะร่วมกันนำเงินที่รับฝากไปหาประโยชน์ในลักษณะการประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง โดยทำเป็นปกติธุระหรือไม่ อย่างไร จะเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือไม่ ล้วนเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสามดำเนินการไปเอง โจทก์ที่ 1 กับพวกมิได้ร่วมรู้เห็นและเป็นเรื่องนอกเหนือเจตนาของโจทก์ที่ 1 กับพวก จำเลยทั้งสามจึงไม่อาจยกข้อต่อสู้ว่าวัตถุประสงค์ในประกอบกิจการหาประโยชน์จากเงินที่รับฝากของกลุ่มออมทรัพย์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายขึ้นอ้างยันโจทก์ที่ 1 กับพวกได้ นิติกรรมรับฝากเงินระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยทั้งสาม จึงไม่เป็นโมฆะ โจทก์ที่ 1 กับพวกมีสิทธิเรียกเงินฝากคืนได้