พบผลลัพธ์ทั้งหมด 133 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4663/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ต่อมาจะได้รับอนุญาตภายหลัง ก็ไม่ทำให้ความผิดในอดีตสิ้นสุดลง
การที่จำเลยดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับอนุญาต อันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ และเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งห้ามจำเลยใช้อาคารที่ดัดแปลงดังกล่าว เมื่อจำเลยฝ่าฝืน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดสำเร็จแล้ว แม้ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยดัดแปลงอาคารของจำเลยดังกล่าวได้ตามแบบแปลนที่ได้ยื่นไว้เดิมก็ตาม ก็หามีผลย้อนหลังไปอันจะเป็นเหตุให้ขณะที่จำเลยกระทำการดัดแปลงอาคารโดยยังมิได้รับอนุญาตก่อนนั้นซึ่งเป็นการกระทำความผิดสำเร็จแล้ว กลับเป็นการได้รับอนุญาตโดยชอบแต่อย่างใด เพราะตราบใดที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังไม่มีการอนุญาตก็ต้องถือว่าการกระทำของจำเลยยังเป็นความผิดอยู่ตลอดมาจนถึงวันที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: ไม่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางานฯ หากเจตนาหลอกลวงเอาทรัพย์สิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นคนหางานให้ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น และเรียกค่าบริการจากผู้เสียหาย โดยจำเลย มิได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 4,30 และมาตรา 82 แต่การจะเป็นผู้กระทำความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางานก่อน เมื่อจำเลยเป็นบุคคลธรรมดาและจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ รวมทั้งไม่ได้เป็นตัวแทนหรือลูกจ้างของบริษัทจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ การกระทำของจำเลย นอกจากไม่ต้องด้วยคำจำกัดความของคำว่า "จัดหางาน" ตามมาตรา 4 วรรคหนึ่งแล้ว จำเลยยังมิได้มีเจตนาจัดหางานให้แก่คนหางานหรือจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างเอาเรื่องการจัดหางานขึ้นมาเป็นเหตุหลอกลวงเอาเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวงอันอาจเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี และความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 หรือ 342 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง,30 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 82
ปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกายกขึ้นเองได้
ปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกายกขึ้นเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6640/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต: ข้อแก้ตัวที่ไม่สมเหตุผล
เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยทั้งสามได้ในขณะที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขับรถกระบะของกลาง โดยจำเลยที่ 1 และที่ 3 นั่งโดยสารมาด้วย เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมได้ตรวจค้นและพบเครื่องกระสุนปืนของกลางซุกซ่อนอยู่ใต้เบาะด้านหลังคนขับซึ่งมีการดัดแปลงไว้โดยเฉพาะ ซึ่งรถกระบะของกลางดังกล่าว จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองโดยการเช่าซื้อ การที่จำเลยทั้งสามแก้ตัวว่ามีบุคคลอื่นยืมรถไปใช้ก่อนระยะเวลาหนึ่งแล้วยังได้อาศัยโดยสารรถมาและกระโดดหนีไปก่อนถูกตรวจค้น เป็นทำนองว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ดัดแปลงรถและซุกซ่อนของกลางมานั้นขัดต่อเหตุผลเพราะบุคคลดังกล่าวไม่น่าจะนำรถกระบะของกลางมาคืนให้แก่ จำเลยที่ 1 ทั้ง ๆ ที่ยังมีเครื่องกระสุนปืนของกลางซุกซ่อน ไว้ และก็ไม่มีเหตุผลใดที่จำเลยทั้งสามไม่แจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจทราบตั้งแต่วันจับกุมหรือสอบสวน ข้อแก้ตัวของจำเลยทั้งสามจึงฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมต่อความเสียหายจากการต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยที่ 4 จ้างจำเลยที่ 1ต่อเติมอาคาร ทำให้อาคารโจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำเพราะเป็นการต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ ประกอบกับไม่ปรากฏแน่ชัดว่าความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นเพราะการกระทำของจำเลยคนใด จำเลยทั้งสี่จึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 428 และมาตรา 432 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6017/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต: ข้อจำกัดในการฟ้องร้อง
ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นและอาคารพิพาทไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ มิได้อ้างเหตุว่า จำเลยกระทำการฝ่าฝืนคำสั่งไม่อนุญาต จึงไม่ต้องระบุมาในฟ้องถึงวันที่ออกคำสั่งไม่อนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6017/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรื้ออาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต: ฟ้องไม่เคลือบคลุมแม้ไม่ได้ระบุวันที่ออกคำสั่งไม่อนุญาต
ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นและอาคารพิพาทไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายได้มิได้อ้างเหตุว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนคำสั่งไม่อนุญาตจึงไม่ต้องระบุมาในฟ้องถึงวันที่ออกคำสั่งไม่อนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับรายวันกรณีการก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา65ได้บัญญัติให้ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา21ซึ่งก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นนอกจากต้องรับโทษฐานก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งแล้วยังจะต้องรับโทษปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามวรรคสองอีกด้วยทั้งนี้โดยไม่ต้องปรากฏว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารดังกล่าวแล้วหรือไม่ดังนั้นการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยฐานก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับอนุญาตตามมาตรา65วรรคหนึ่งเพียงประการเดียวโดยมิได้ลงโทษตามมาตรา65วรรคสองด้วยจึงยังไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4738/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่เข้าข่ายการริบสุราตามกฎหมาย
การที่จำเลยได้จำหน่ายขายสุราของกลางโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานสรรพสามิตอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493มาตรา 17 นั้น มาตรา 45 ไม่ได้บัญญัติให้ริบสุราในกรณีเช่นนี้ไว้ ศาลไม่ริบสุราของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6599/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดกฎหมายควบคุมอาคาร ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิมให้รื้อถอน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21,22 และขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522หมวด 4 ข้อ 30 และขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 7(พ.ศ. 2517) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ. 2479 และการก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารนั้นทำให้อาคารของจำเลยมีสภาพหรือการใช้อาจเป็นภยันตรายต่อชีวิต ร่างกายสุขภาพหรือทรัพย์ หรือไม่ปลอดภัยจากอัคคีภัย อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522และขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงไม่อาจออกใบอนุญาตให้จำเลยก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารได้ โจทก์เคยมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตมาตั้งแต่ พ.ศ. 2525, พ.ศ. 2528และ พ.ศ. 2529 แต่จำเลยไม่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำสั่งของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น จึงได้ฟ้องต่อศาลคำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำฟ้องที่ร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42(เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้นแล้ว จำเลยกระทำการต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522หมวด 4 ข้อ 30 ทั้งขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 7(พ.ศ. 2517) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 เช่นอาคารพิพาทไม่มีที่จอดรถยนต์ ที่ถูกต้องและเพียงพอ ทำให้โจทก์ออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ อาคารที่จำเลยต่อเติมดัดแปลง จึงไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงดังกล่าวได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทและร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนอาคารพิพาทได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคแรก และวรรคสาม (เดิม) ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารของจำเลยไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงหาใช่เป็นการวินิจฉัยและพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6599/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนอาคารต่อเติมที่ไม่ได้รับอนุญาตและการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
โจทก์ บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ก่อสร้าง ดัดแปลงต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา21,22และขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522หมวด4ข้อ30และขัดต่อกฎกระทรวงฉบับที่7(พ.ศ.2517)ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างพ.ศ.2479และการก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารนั้นทำให้อาคารของจำเลยมีสภาพหรือการใช้อาจเป็นภยันตรายต่อชีวิตร่างกายสุขภาพหรือทรัพย์หรือไม่ปลอดภัยจากอัคคีภัยอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522และขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522ดังกล่าวแล้วโจทก์จึงไม่อาจออกใบอนุญาตให้จำเลยก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารได้โจทก์เคยมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตมาตั้งแต่พ.ศ.2525,พ.ศ.2528และพ.ศ.2529แต่จำเลยไม่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำสั่งของโจทก์ซึ่งเป็น เจ้าพนักงานท้องถิ่น จึงได้ฟ้องต่อศาลคำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำฟ้องที่ร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา42(เดิม)ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้นแล้ว จำเลยกระทำการ ต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522หมวด4ข้อ30ทั้งขัดต่อกฎกระทรวงฉบับที่7(พ.ศ.2517)ออกตามความในพระราชบัญญัติ ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479เช่นอาคารพิพาทไม่มีที่จอดรถยนต์ที่ถูกต้องและเพียงพอทำให้โจทก์ออกใบอนุญาตให้ไม่ได้อาคารที่จำเลยต่อเติมดัดแปลงจึงไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงดังกล่าวได้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทและร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนอาคารพิพาทได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา42วรรคแรกและวรรคสาม(เดิม)ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารของจำเลยไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงหาใช่เป็นการวินิจฉัยและพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นไม่