คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม้ของกลาง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางต้องรอฟังว่าจำเลยกระทำผิดจริงหรือไม่ การริบก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดเป็นไปไม่ได้
ฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้และขอให้ริบไม้ยางของกลาง ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยฟังว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิด จะริบไม้ของกลางในเมื่อยังไม่มีการวินิจฉัยชี้ขาดว่า ได้มีการกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลางเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ไม่ใช่สัญญาฝากทรัพย์ อายุความ 10 ปี
กรมป่าไม้ทำสัญญาจ้างผู้รับจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลาง ซึ่งเจ้าพนักงานป่าไม้จับได้และยังอยู่ที่คอที่ถูกตัดโค่นในป่า ระบุชื่อสัญญาว่า "สัญญาจ้างเฝ้ารักษา" มีข้อสัญญาว่าผู้รับจ้างยอมรับเฝ้ารักษาไม้ของกลางโดยคิดอัตราค่าจ้างเป็นรายท่อนต่อเดือน นับแต่วันทำสัญญา ถ้าไม้ซึ่งรับจ้างเฝ้ารักษาขาดหายหรือเป็นอันตราย ผู้รับจ้างยอมให้ปรับไหมเป็นรายท่อนตามจำนวนที่สูญหายหรือเป็นอันตราย ระหว่างเวลาที่ผู้รับจ้างรับผิดชอบเฝ้ารักษา กรมป่าไม้ผู้จ้างอาจชนไม้ของกลางทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไปจากที่เดิมในเวลาใด ๆ ก็ได้ แต่ต้องแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบและทำใบรับไม้ให้ไว้ สัญญานี้เป็นสัญญาจ้างแรงงาน มิใช่สัญญาฝากทรัพย์ เพราะอำนาจการครอบครองไม้ของกลางยังอยู่แก่กรมป่าไม้ผู้จ้าง ผู้รับจ้างเพียงแต่เฝ้ารักษาระวังมิให้ผู้ใดมาลักหรือเกิดภัยพิบัติ ไม้ของกลางยังอยู่ในป่าตามเดิม ผู้รับจ้างมิได้ชักลากไปเก็บไว้ในความอารักขาของตน
สิทธิเรียกร้องค่าปรับตามสัญญาจ้างแรงงาน กฎหมายมิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นโดยเฉพาะ จึงอยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนดสิบปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลางเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ไม่ใช่สัญญาฝากทรัพย์ อายุความ 10 ปี
กรมป่าไม้ทำสัญญาจ้างผู้รับจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลางซึ่งเจ้าพนักงานป่าไม้จับได้และยังอยู่ที่ตอที่ถูกตัดโค่นในป่าระบุชื่อสัญญาว่า 'สัญญาจ้างเฝ้ารักษา' มีข้อสัญญาว่าผู้รับจ้างยอมรับเฝ้ารักษาไม้ของกลางโดยคิดอัตราค่าจ้างเป็นรายท่อนต่อเดือนนับแต่วันทำสัญญาถ้าไม้ซึ่งรับจ้างเฝ้ารักษาขาดหายหรือเป็นอันตรายผู้รับจ้างยอมให้ปรับไหมเป็นรายท่อนตามจำนวนที่สูญหายหรือเป็นอันตราย ระหว่างเวลาที่ผู้รับจ้างรับผิดชอบเฝ้ารักษากรมป่าไม้ผู้จ้างอาจขนไม้ของกลางทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไปจากที่เดิมในเวลาใดๆ ก็ได้แต่ต้องแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบและทำใบรับไม้ให้ไว้ สัญญานี้เป็นสัญญาจ้างแรงงานมิใช่สัญญาฝากทรัพย์ เพราะอำนาจการครอบครองไม้ของกลางยังอยู่แก่กรมป่าไม้ผู้จ้างผู้รับจ้างเพียงแต่เฝ้ารักษาระวังมิให้ผู้ใดมาลักหรือเกิดภัยพิบัติไม้ของกลางยังอยู่ในป่าตามเดิม ผู้รับจ้างมิได้ชักลากไปเก็บไว้ในความอารักขาของตน
สิทธิเรียกร้องค่าปรับตามสัญญาจ้างแรงงาน กฎหมายมิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นโดยเฉพาะจึงอยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนดสิบปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลาง: สัญญาจ้างแรงงาน มิใช่สัญญาฝากทรัพย์ อายุความ 10 ปี
กรมป่าไม้ทำสัญญาจ้างผู้รับจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลาง. ซึ่งเจ้าพนักงานป่าไม้จับได้และยังอยู่ที่ตอที่ถูกตัดโค่นในป่า. ระบุชื่อสัญญาว่า 'สัญญาจ้างเฝ้ารักษา' มีข้อสัญญาว่าผู้รับจ้างยอมรับเฝ้ารักษาไม้ของกลางโดยคิดอัตราค่าจ้างเป็นรายท่อนต่อเดือน. นับแต่วันทำสัญญา. ถ้าไม้ซึ่งรับจ้างเฝ้ารักษาขาดหายหรือเป็นอันตราย. ผู้รับจ้างยอมให้ปรับไหมเป็นรายท่อนตามจำนวนที่สูญหายหรือเป็นอันตราย. ระหว่างเวลาที่ผู้รับจ้างรับผิดชอบเฝ้ารักษา. กรมป่าไม้ผู้จ้างอาจขนไม้ของกลางทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไปจากที่เดิมในเวลาใดๆ ก็ได้. แต่ต้องแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบและทำใบรับไม้ให้ไว้. สัญญานี้เป็นสัญญาจ้างแรงงาน. มิใช่สัญญาฝากทรัพย์. เพราะอำนาจการครอบครองไม้ของกลางยังอยู่แก่กรมป่าไม้ผู้จ้าง. ผู้รับจ้างเพียงแต่เฝ้ารักษาระวัง.มิให้ผู้ใดมาลักหรือเกิดภัยพิบัติ. ไม้ของกลางยังอยู่ในป่าตามเดิม. ผู้รับจ้างมิได้ชักลากไปเก็บไว้ในความอารักขาของตน.
สิทธิเรียกร้องค่าปรับตามสัญญาจ้างแรงงาน. กฎหมายมิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นโดยเฉพาะ. จึงอยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนดสิบปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกหนี้หลังเลิกบริษัท, อำนาจทนาย, และการตีราคาไม้ของกลาง
แม้การชำระบัญชีสิ้นสุดไปแล้ว กฎหมายยังให้เจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้สินที่บริษัทหรือผู้ถือหุ้นเป็นหนี้อยู่ได้
กรณีเรื่องนี้ว่ากล่าวกันให้บริษัทผู้ร้องต้องรับผิดเป็นเงินวางศาลเมื่อบริษัทผู้ร้องรับไม้ของกลางไปและได้ว่ากล่าวกันก่อนเลิกบริษัท ฉะนั้น ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 ประกอบมาตรา 1272 คู่กรณีจึงคงว่ากล่าวคดีกันต่อมาได้และทนายของบริษัทผู้ร้องคงมีอำนาจดำเนินคดีต่อมาตามที่ได้รับแต่งตั้งไว้ได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้บริษัทผู้ร้องนำเงินราคาไม้ของกลางที่ยังขาด 1,398,000 บาท มาวางศาลภายใน 15 วันบริษัทผู้ร้องฎีกาต่อมาได้ไม่ต้องห้ามไม่อยู่ภายในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
บริษัทผู้ร้องขอให้คิดราคาไม้ของกลาง 4 เท่าของอัตราค่าภาคหลวงราคานี้กรมป่าไม้ขายให้เฉพาะองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ซึ่งเป็นองค์การรัฐบาลเท่านั้นการตีราคาในคดีนี้ต้องถือราคาในท้องตลาดเป็นเกณฑ์ คือลูกบาศก์เมตรละ 2,050 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 555/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีว่าไม่ใช่เจ้าของ/ผู้ครอบครอง ทำให้จำเลยไม่มีสิทธิอ้างฎีกาเกี่ยวกับของกลาง
จำเลยให้การต่อสู้ว่า ไม้แปรรูปของกลางไม่ใช่ของจำเลยและจำเลยไม่ใช่ผู้ครอบครอง เมื่อศาลฟังดังนั้นและพิพากษาให้ริบไม้ของกลาง จำเลยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับของกลางที่จะยกขึ้นอ้างเป็นข้อฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 211/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอคืนไม้ของกลาง: เจ้าของไม้มีสิทธิแม้ศาลตัดสินแล้วว่าไม้เป็นไม้หวงห้าม หากพิสูจน์ได้ว่าเป็นไม้ในสวนของตน
ถึงแม้ศาลพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้วว่าไม่ของกลางเป็นไม้หวงห้าม จำเลยมีไว้เป็นความผิดและให้ริบไม้ของกลางแล้วก็ดี เจ้าของไม่ยอมใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 ขอคืนไม้ของกลางโดยอ้างว่าไม่ใช่เป็นไม้หวงห้าม เพราะขึ้นอยู่ในสวนของตนได้ เพราะเจ้าของไม้ไม่มีโอกาสต่อสู้คดีกับโจทก์ คำพิพากษานั้นไม่มีผลผูกพันเจ้าของไม้
เมื่อผู้ร้องร้องขอคืนไม้ของกลางในกรณีเช่นนี้ ถึงแม้ศาลแขวงสั่งยกคำร้องก็ดี ผู้ร้องมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ไม่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 22 ที่ห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2504

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 211/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอคืนไม้ของกลาง: เจ้าของไม้มีสิทธิแม้ศาลตัดสินถึงที่สุดแล้วว่าไม้เป็นไม้หวงห้าม หากพิสูจน์ได้ว่าไม้ไม่ได้มีลักษณะเป็นไม้หวงห้าม
ถึงแม้ศาลพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้วว่าไม้ของกลางเป็นไม้หวงห้าม จำเลยมีไว้เป็นความผิดและให้ริบไม้ของกลางแล้วก็ดีเจ้าของไม้ย่อมใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ขอคืนไม้ของกลางโดยอ้างว่าไม่ใช่เป็นไม้หวงห้ามเพราะขึ้นอยู่ในที่สวนของตนได้เพราะเจ้าของไม้ไม่มีโอกาสต่อสู้คดีกับโจทก์ คำพิพากษานั้นไม่มีผลผูกพันเจ้าของไม้
เมื่อผู้ร้องร้องขอคืนไม้ของกลางในกรณีเช่นนี้ถึงแม้ศาลแขวงสั่งยกคำร้องก็ดี ผู้ร้องมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 22 ที่ห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2504)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบไม้ของกลาง: ไม้ที่ชักลากโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ใช่ไม้ที่ได้มาจากการกระทำผิด จึงไม่ถูกริบ
ไม้ที่จำเลยทำการชักลากโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานไม่ใช่ไม้ที่ได้มาหรือมีไว้เนื่องจากการกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ จึงไม่ต้องถูกริบตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 74(อ้างฎีกาที่ 354/2488)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 736/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีไม้หวงห้าม: การฟ้องซ้ำกรรมเดียวกัน แม้เปลี่ยนฐานความผิด
โจทก์เคยฟ้องจำเลยหาว่านำไม้หวงห้ามเคลื่อนย้ายโดยมิได้รับอนุญาตและไม่มีใบเบิกทางของเจ้าพนักงาน จนจำเลยได้รับโทษ คดีถึงที่สุดแล้วเมื่อปรากฏว่าขณะที่จำเลยกระทำผิดในคดีก่อนนั้นจำเลยก็มีไม้ของกลางนั้นไว้ในครอบครอง โดยไม่มีตราค่าภาคหลวงอยู่แล้ว แต่โจทก์ไม่ฟ้องจำเลยในฐานมีไม้ไม่มีตราค่าภาคหลวงในคราวนั้นด้วย ครั้นเมื่อคดีก่อนนั้นถึงที่สุดดังกล่าวแล้วโจทก์จะกลับมาฟ้องจำเลยว่า มีไม้หวงห้ามของกลางนั้นไว้ในครอบครองโดยไม่มีตราค่าภาคหลวงตามวันเวลาเดียวกับที่หาว่า จำเลยกระทำผิดในคดีก่อนอีกเป็นกรรมเดียวกัน จึงเป็นเรื่องฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(4)
of 3