พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5025/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน - ความผิดสัญญาข้าราชการ - เหตุสุดวิสัย - การไล่ออกก่อนทำสัญญา
ปัญหาว่าการที่ พ. ไม่สามารถกลับเข้ารับราชการได้เพราะโจทก์มีคำสั่งให้ออกจากราชการ เนื่องจากการกระทำผิดวินัยก่อนจำเลยทำสัญญาค้ำประกันนั้นเมื่อปรากฏตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศในสัญญาข้อ 5 มีข้อความว่า "เมื่อข้าพเจ้าสำเร็จการศึกษาแล้วก็ดีหรือการศึกษาของข้าพเจ้าต้องยุติลงด้วยประการใด ๆก็ดี ข้าพเจ้าสัญญาว่า จะกลับมาปฏิบัติราชการตามคำสั่งของทางราชการทันที ฯลฯ" และ ข้อ 7 มีข้อความว่า "ถ้าข้าพเจ้าผิดสัญญาข้อ 5ข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินแก่กรมการศึกษานอกโรงเรียน ดังต่อไปนี้ก.ถ้าข้าพเจ้าไม่กลับเข้าปฏิบัติราชการเลย ข้าพเจ้ายอมชดใช้เงินทุน หรือเงินเดือนทั้งหมด ฯลฯ" เห็นได้ว่า วัตถุประสงค์ของสัญญาข้อ 5 และ 7 มีความมุ่งหมายว่าหาก พ.สำเร็จการศึกษาหรือการศึกษายุติลงด้วยประการใด ๆ แล้ว พ. ไม่ยอมกลับเข้ารับราชการตามคำสั่งจึงจะถือว่าผิดสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้สั่งให้ พ.ออกจากราชการจึงไม่ใช่กรณีที่พ.ไม่ยอมกลับเข้ารับราชการตามคำสั่ง ตามสัญญาในข้อ 9 ที่มีข้อความว่า "ในระหว่างที่ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อ หรือในระหว่างที่ข้าพเจ้ากลับเข้าปฏิบัติราชการต่อไปตามที่กล่าวในข้อ 5 ข้าพเจ้าประพฤติผิดวินัยจนถึงถูกไล่ออก ปลดออก หรือออกจากราชการข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินและเบี้ยปรับ" นั้น มุ่งหมายถึง ความประพฤติของ พ. นับแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไป มิได้มุ่งหมายถึงความประพฤติในอดีตแต่อย่างใดการที่โจทก์สั่งให้ พ. ออกจากราชการ ก็เนื่องเพราะความประพฤติผิดวินัยของ พ. ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญา ดังนั้นจึงไม่อาจถือได้ว่า พ.ผิดสัญญาดังกล่าวเมื่อพ. ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน พ. จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1915/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องผิดสัญญาจ้างแรงงาน เริ่มนับจากวันที่สิทธิเรียกร้องบังคับได้ ไม่ใช่วันไล่ออก
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่ติดตามทวงถามลูกหนี้และผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้แต่ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ปล่อยปละละเลยจนคดีขาดอายุความทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหาย และให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ฐานผิดสัญญาจ้างแรงงานและเรียกค่าเสียหาย อายุความของสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นเป็นต้นไปศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อนาย ส.ขาดอายุความ ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2525 และสิทธิเรียกร้องที่มีต่อนายต. ขาดอายุความตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2524 โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้นับแต่วันที่หนี้แต่ละรายดังกล่าวขาดอายุความ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2536 เป็นเวลาเกิน10 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่ออกทางวินัยและการกลับเข้าทำงานของลูกจ้างเมื่อพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญา สิทธิลูกจ้างตามข้อตกลงสภาพการจ้าง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างสหภาพแรงงานธนาคาร ออมสิน กับจำเลย (ปี พ.ศ. 2524) ข้อ 15 วรรคหนึ่ง กำหนดว่าธนาคารฯ ตกลงแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบการ ฉบับที่ 123 ว่าด้วยวินัยของพนักงานฯ และระเบียบการ ฉบับที่ 122 ว่าด้วยการพักงานและเงินเดือนของผู้ถูกสั่งพักงานในส่วนที่ขัดแย้งหรือมิได้กำหนดไว้ในระเบียบการฯ ดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในข้อ 15.1 ข้อ 15.2 และ ข้อ 15.3 หมายความว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อ 15.3 ดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 123 ซึ่งจำเลยถือเป็นหลักเกณฑ์ในการลงโทษโจทก์ การวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิกลับเข้าทำงานตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง (ปี พ.ศ. 2524)ข้อ 15.3 หรือไม่ จึงต้องพิจารณาพร้อมกันไปกับระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 123 ข้อ 20 อันเป็นหลักปฏิบัติเฉพาะในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาเห็นว่าถ้าพนักงานที่ถูกดำเนินคดีอาญาหรือกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ระหว่างพิจารณาหรือสอบสวนจะเกิดความเสียหาย ก็ให้ผู้อำนวยการของจำเลยมีอำนาจสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อน แล้วจึงจะมีคำสั่งในภายหลัง ถ้าศาลพิพากษาว่ามีความผิดคดีถึงที่สุด หรือการสอบสวนพิจารณาได้ว่ากระทำผิดที่จะต้องลงโทษหรือไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก ก็ให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งตามระเบียบการนั้น ถ้าปรากฏว่าไม่มีมลทินมัวหมองจึงจะสั่งรับกลับเข้าทำงาน ดังนั้น คำสั่งที่อาจจะเปลี่ยนแปลงรับพนักงานที่ถูกสอบสวนเพราะกระทำผิดวินัยกลับเข้าทำงาน จะต้องอยู่ในระหว่างที่พนักงานผู้นั้นถูกสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อนซึ่งเป็นการสั่งให้ออกจากงานชั่วคราว เมื่อคดีนี้ได้ความจากการสอบสวนว่าโจทก์กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และจำเลยได้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมที่ให้ออกจากงานไว้ก่อนเป็นไล่ออกจากงาน ซึ่งเป็นคำสั่งขั้นตอนสุดท้ายในการลงโทษโจทก์ทางวินัยเสร็จไปแล้ว แม้ต่อมาพนักงานอัยการจะมีคำสั่งไม่ฟ้องโจทก์ในคดีอาญาก็ไม่ใช้อยู่ในระหว่างสั่งให้โจทก์ออกจากงานไว้ก่อนตามเงื่อนไขในระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 123 ข้อ 20 ทั้งคำสั่งไม่ฟ้องดังกล่าวก็ไม่ลบล้างความผิดวินัยของโจทก์ที่จำเลยได้สั่งลงโทษไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิอ้างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง (ปี พ.ศ. 2524) มาบังคับจำเลยให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานและจ่ายเงินเดือนในระหว่างที่ถูกสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อนให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสองของพนักงานที่ถูกไล่ออกเนื่องจากขาดงานและเกียจคร้าน หากคณะกรรมการไม่เคยมีมติไม่จ่ายเงิน
ระเบียบการของธนาคารจำเลยฉบับที่ 67 ระบุว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสองแก่พนักงาน เฉพาะกรณีตามที่ระบุไว้ในข้อ 11 คือ (1) มีเวลาทำงานต่ำกว่าห้าปี (2) ออกจากงานเพราะกระทำการทุจริตในหน้าที่หรือเพราะกระทำการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ธนาคารจำเลยต้องเสียหาย หรือเพราะเกียจคร้านไม่ตั้งใจปฏิบัติงานและคณะกรรมการของธนาคารจำเลยเห็นว่า ไม่สมควรจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสองให้ (3) ออกจากงานเพราะต้องคำพิพากษาให้จำคุก เว้นแต่ความผิดฐานลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท เมื่อโจทก์ทำงานกับจำเลยเกิน 5 ปีแล้ว แม้โจทก์จะถูกจำเลยไล่ออกจากตำแหน่งเนื่องจากโจทก์ขาดงานละทิ้งหน้าที่เกิน 15 วัน เป็นการเกียจคร้านไม่ตั้งใจปฏิบัติงาน แต่คณะกรรมการธนาคารจำเลยก็ไม่เคยมีความเห็นว่าไม่สมควรจ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์ ดังนี้ โจทก์จึงไม่ต้องด้วยข้อห้ามที่จะไม่มีสิทธิได้รับเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการเปลี่ยนแปลงโทษจากไล่ออกเป็นให้ออก มีผลนับแต่วันใด สิทธิเงินสงเคราะห์
เดิมจำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม2524 โจทก์ได้ยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ ต่อมาจำเลยได้ออกคำสั่งอีกฉบับหนึ่งมีความว่า ที่ประชุมคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยมีมติว่าการลงโทษโจทก์รุนแรงเกินไป จึงให้ยกเลิกคำสั่งเดิมเสียทั้งสิ้นและให้โจทก์ออกจากงานตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2527 ดังนี้ ข้อความในคำสั่งฉบับหลังเป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า จำเลยได้ยกเลิกคำสั่งเดิมที่ไล่โจทก์ออกจากงานนั้นทั้งหมด ไม่ให้มีผลบังคับต่อไปโดยกำหนดโทษเป็นให้ออกจากงาน เมื่อคำสั่งเดิมได้กำหนดวันเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2524 ผลของการเปลี่ยนแปลงโทษจึงต้องถือว่ามีผลบังคับตั้งแต่วันที่เลิกจ้างนั้นด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตามข้อบังคับของจำเลยนับแต่วันนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2503/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่ออกลูกจ้างฐานกระทำผิดวินัยร้ายแรง สั่งขับรถออกนอกเส้นทาง บันทึกเท็จ และละเลยความเสียหายต่อผู้โดยสาร
โจทก์เป็นนายท่ารถโดยสารประจำทางของจำเลย ได้ปล่อยรถโดยสารประจำทางคันสุดท้ายออกจากท่าอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อไปยังท่ามีนบุรีโจทก์โดยสารไปกับรถคันนั้นเพื่อกลับบ้านด้วยโจทก์สั่งให้ ช.พนักงานขับรถขับออกนอกเส้นทางเลี้ยวรถเข้าไปส่งโจทก์ที่บ้านซึ่งห่างจากถนนใหญ่ประมาณ 1 กิโลเมตร เมื่อช.ส่งโจทก์แล้วได้กลับรถ แต่รถติดหล่ม โจทก์จึงใช้รถส่วนตัวนำผู้โดยสารอีก 3 คนที่เหลืออยู่ไปส่งที่ท่ามีนบุรี หลังจากนั้นได้นำรถยกไปยกรถเสร็จประมาณ 2 นาฬิการถจึงกลับไปถึงอู่ช้ากว่ากำหนด โจทก์ได้ทำบันทึกในบิลทำงาน พขร.ของช.ว่าน้ำมันไม่ขึ้น ก.ม.4 เสร็จเวลา 2 นาฬิกา อันเป็นเท็จ และในการขับรถออกนอกเส้นทางทำให้จำเลยสูญเสียน้ำมันเชื้อเพลิงไป 2.19ลิตร คิดเป็นเงิน 15.50 บาทถึงแม้การขับรถออกนอกเส้นทางของ ช.เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยเพียงผู้เดียวก็ตาม แต่โจทก์ไม่มีอำนาจสั่งการเช่นนั้น เป็นเหตุให้จำเลยเสียหายต้องสูญเสียน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งการทำบันทึกเท็จดังกล่าวเป็นการกระทำโดยเจตนาปกปิดการกระทำผิดของโจทก์ด้วย จึงเป็นการรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาเป็นเหตุให้เสียหายแก่จำเลยอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 46 ว่าด้วยวินัย ฯ ข้อ 8.5 จำเลยมีอำนาจลงโทษไล่ออกได้ตาม ข้อ 8 ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมทั้งเป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์และเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรง ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัย: การรวมการขาดงานหลายครั้งเพื่อพิจารณาไล่ออกเป็นไปตามระเบียบ
ระเบียบบริษัท ฯ จำเลยว่าด้วยการลาได้กำหนดไว้ว่าพนักงานที่ขาดงานในรอบปีจะได้รับโทษทางวินัยตามลำดับ คือ ขาดงานครั้งแรกจะถูกตัดเงินเดือนร้อยละ 5 ขาดงานครั้งที่ 2 ถูกตัดเงินเดือนร้อยละ 6 ขาดงานครั้งที่ 3 ถ้าได้ขาดงานมาแล้วในครั้งที่ 1 ที่ 2 รวมกับครั้งที่ 3 เกินกว่า 10 วันให้ลงโทษไล่ออกฐานมีพฤติการณ์แสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบคำสั่งและข้อบังคับของบริษัท ฯ ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัท ฯ ขาดงาน 3 ครั้ง โดยครั้งแรกขาดงานรวม 7 วัน ครั้งที่ 2 ขาดงานรวม 1 วันครั้งที่ 3 ขาดงานรวม 6 วัน โจทก์ขาดงานทั้งสามครั้งรวม 14 วัน ต้องด้วยระเบียบข้อบังคับของบริษัท ฯ การที่บริษัท ฯ ไล่โจทก์ออกจากงาน จึงเป็นการลงโทษที่ถูกต้องตามระเบียบนั้นแล้ว หาจำเป็นต้องลงโทษตามขั้นตอนตั้งแต่การขาดงานครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ก่อนไม่ เพราะการขาดงานในครั้งที่ 1 และที่ 2 นั้น ผู้บังคับบัญชาของโจทก์ก็ทำรายงานเพื่อพิจารณาโทษของโจทก์อยู่แล้วซึ่งต้องใช้เวลาบ้าง ทั้งโจทก์ขาดงานในระยะที่ใกล้เคียงกัน บริษัท ฯ จึงนำการขาดงานทั้งสามครั้งมารวมพิจารณาลงโทษได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัยขัดกับระเบียบหรือไม่: การรวมการขาดงานหลายครั้งเพื่อลงโทษไล่ออก
ตามระเบียบของจำเลยมีความว่าพนักงานที่ขาดงานในรอบปีจักต้องรับโทษทางวินัย คือ ขาดงานครั้งแรกตัดเงินเดือนร้อยละ 5 ขาดงานครั้งที่ 2 ตัดเงินเดือนร้อยละ 6 ขาดงานครั้งที่ 3 ถ้า ได้ขาดงานมาแล้วในครั้งที่ 1 และ 2 รวมกับครั้งที่ 3 แล้วเกิน 10 วัน ให้ลงโทษไล่ออกฯ โจทก์ขาดงานครั้งแรก 7 วัน ครั้งที่ 2 จำนวน 1 วันครั้งที่ 3 จำนวน 6 วันรวม 3 ครั้ง ขาดงาน 14 วัน ผู้บังคับบัญชาของโจทก์ได้ทำรายงานเพื่อพิจารณาโทษการขาดงานครั้งที่ 1 และ 2อยู่แล้ว แต่โจทก์ขาดงานแต่ละครั้งในระยะใกล้เคียงกัน จำเลยยังไม่ทันมีคำสั่งลงโทษตามขั้นตอน โจทก์ก็มาขาดงานครั้งที่ 3 จำเลยจึงนำมารวมพิจารณาลงโทษโดยรวมการขาดงานของโจทก์ทั้งสามครั้งแล้วลงโทษไล่ออกได้ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่ออกพนักงานขับรถโดยสารเนื่องจากขับรถประมาทเสี่ยงอันตราย ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม
บริษัทจำเลยมีหน้าที่ให้บริการแก่ผู้โดยสารรถของจำเลย จำต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นประการสำคัญ การที่โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานขับรถของจำเลยขับรถโดยสารด้วยความเร็วและแซงรถหวาดเสียวในลักษณะแข่ง กันนอกจากจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกแล้ว ยังเป็นการเสี่ยงต่อภยันตรายที่ร้ายแรงอันอาจเกิดแก่ผู้โดยสารได้โดยง่าย การกระทำของโจทก์ดังกล่าวย่อมทำให้เกิดความเสียหายในด้านบริการสาธารณะของจำเลยอย่างร้ายแรง โดยไม่จำต้องให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นก่อน เป็นการฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยแล้ว จำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่ออกพนักงานขับรถโดยสารฐานประมาทเสี่ยงอันตราย มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
บริษัทจำเลยมีหน้าที่ให้บริการแก่ผู้โดยสารรถของจำเลยจำต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นประการสำคัญการที่โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานขับรถของจำเลยขับรถโดยสารด้วยความเร็วและแซงรถหวาดเสียวในลักษณะแข่งกันนอกจากจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกแล้ว ยังเป็นการเสี่ยงต่อภยันตรายที่ร้ายแรงอันอาจเกิดแก่ผู้โดยสารได้โดยง่ายการกระทำของโจทก์ดังกล่าวย่อมทำให้เกิดความเสียหายในด้านบริการสาธารณะของจำเลยอย่างร้ายแรง โดยไม่จำต้องให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นก่อน เป็นการฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยแล้ว จำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.