พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยเลิกจ้าง: งานก่อสร้างเกิน 2 ปี แม้สัญญาจ้างระบุไม่เกิน 2 ปี ก็ต้องจ่ายค่าชดเชย
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46วรรคสี่ข้อความที่ว่า"การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน2ปี"ข้อความที่ว่างานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน2ปีย่อมหมายความว่าเป็นงานทั้งหมดที่นายจ้างต้องกระทำให้แล้วเสร็จใน2ปีหาใช่หมายถึงเฉพาะระยะเวลาการจ้างที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างสำหรับลูกจ้างแต่ละคนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าทดรองบัตรเครดิต: 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34(7)
การให้บริการประเภทบัตรเครดิตเป็นวัตถุประสงค์ของธนาคารโจทก์ การที่โจทก์ให้บริการการใช้บัตรเครดิตแก่สมาชิกโดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บัตรดังกล่าวจากสมาชิก โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก และการที่โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บจากสมาชิกภายหลัง เป็นการเรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปก่อน กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปก่อน สิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวจึงมีอายุความ2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34(7)
ตามใบแจ้งยอดหนี้เอกสารท้ายฟ้อง กำหนดให้จำเลยชำระหนี้ที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไปภายในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2534 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2538 จึงพ้นกำหนด 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2540)
ตามใบแจ้งยอดหนี้เอกสารท้ายฟ้อง กำหนดให้จำเลยชำระหนี้ที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไปภายในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2534 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2538 จึงพ้นกำหนด 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2540)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องจากการให้บริการบัตรเครดิต: การชำระเงินทดรองและอายุความ 2 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34(7)
โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการสินเชื่อแก่บุคคลทั่วไปในรูปของบัตรเครดิตโดยโจทก์ออกบัตรให้สมาชิก แล้วสมาชิกของโจทก์สามารถนำบัตรไปใช้แทนเงินสดในการซื้อสินค้าบริการต่าง ๆกับเบิกเงินสดจากสถานประกอบกิจการค้าต่าง ๆ และธนาคารทั้งในและต่างประเทศ โจทก์จะเป็นผู้ชำระเงินแทนสมาชิกไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลัง การให้บริการดังกล่าวแก่สมาชิกของโจทก์ โจทก์ได้เรียกเก็บค่าบริการและค่าธรรมเนียมรายปีโจทก์จึงเป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก และการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าใช้จ่ายบัตรเครดิต: 2 ปี นับจากวันใช้จ่าย
ธนาคารโจทก์ประกอบธุรกิจในการให้บริการแก่บุคคลทั่วไปในรูปบัตรเครดิต โดยโจทก์ออกบัตรให้แก่ลูกค้าที่สมัครเป็นสมาชิกของโจทก์เมื่อเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของโจทก์แล้วสามารถนำบัตรไปซื้อสินค้าจากร้านค้าที่มีข้อตกลงรับบัตรของโจทก์โดยสมาชิกไม่ต้องชำระราคาสินค้าเป็นเงินสด แต่โจทก์จะเป็นผู้ออกเงินสำรองชำระค่าสินค้าให้แก่ร้านค้าไปก่อนตามที่ร้านค้าได้ส่งใบบันทึกการขายมาเรียกเก็บเงินจากโจทก์ จากนั้นโจทก์จึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังและสมาชิกบัตรเครดิตของโจทก์ยังสามารถนำบัตรเครดิตดังกล่าวไปถอนเงินสดจากเครื่องเบิกถอนเงินอีกภายหลังตามจำนวนที่โจทก์ได้แจ้งให้สมาชิกทราบในใบแจ้งยอดบัญชีในแต่ละงวด หากไม่ชำระหรือชำระไม่ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ระบุไว้สมาชิกบัตรดังกล่าวจะต้องชำระเบี้ยปรับและดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้กับโจทก์การให้บริการแก่สมาชิกบัตรของโจทก์ดังกล่าวโจทก์เรียกเก็บค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมสำหรับบัตรเครดิตจากสมาชิกด้วย ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจโดยรับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิกและการที่โจทก์ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้วเรียกเก็บเงินคืนจากสมาชิกในภายหลังนั้นก็เป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป จึงเป็นกรณีต้องด้วยบทบัญญัติในมาตรา 193/34 (7)แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งการเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปตามบทบัญญัติดังกล่าว กำหนดให้มีอายุความ 2 ปี
จำเลยนำบัตรเครดิตไปใช้ครั้งสุดท้ายในวันที่ 17 มกราคม 2536โจทก์ส่งใบแจ้งยอดบัญชีเรียกเก็บไปยังจำเลยแต่จำเลยไม่ชำระและโจทก์ได้แจ้งยกเลิกการเป็นสมาชิกบัตรเครดิตตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2536 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่9 พฤศจิกายน 2538 พ้นกำหนด 2 ปีแล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
จำเลยนำบัตรเครดิตไปใช้ครั้งสุดท้ายในวันที่ 17 มกราคม 2536โจทก์ส่งใบแจ้งยอดบัญชีเรียกเก็บไปยังจำเลยแต่จำเลยไม่ชำระและโจทก์ได้แจ้งยกเลิกการเป็นสมาชิกบัตรเครดิตตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2536 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่9 พฤศจิกายน 2538 พ้นกำหนด 2 ปีแล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6172/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าบริการโทรศัพท์: การเรียกร้องค่าบริการถือเป็นการรับทำการงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7) มีอายุความ 2 ปี
การที่โจทก์คือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เรียกเก็บค่าบริการในการใช้โทรศัพท์ ถือว่าโจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานและเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (7) มีอายุความ 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์สำหรับค่าบริการในการใช้โทรศัพท์ของจำเลยเกิดก่อนฟ้องเกินกว่า 2 ปี จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5705/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้ทำให้ อายุความสะดุดหยุดลง และโจทก์ฟ้องคดีภายใน 2 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
การที่จำเลยลูกหนี้ลงชื่อรับทราบยอดหนี้ค่าสินค้าที่ติดค้างทั้งหมดแก่โจทก์เจ้าหนี้โดยมิได้อิดเอื้อน ถือว่าจำเลยได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่โจทก์แล้ว เมื่อเป็นการรับสภาพหนี้ในเวลาก่อนที่อายุความจะครบบริบูรณ์ จึงทำให้อายุความใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์สะดุดหยุดลง โจทก์ฟ้องคดียังไม่เกินกำหนด 2 ปีคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3358/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเช่าซื้อ: สัญญาเช่าซื้อสังหาริมทรัพย์มีอายุความ 2 ปีตามมาตรา 105(6) ไม่ใช่ 10 ปี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 5 ว่าด้วยการเช่าซื้อ ไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยตรง แต่ค่าเช่าซื้อก็เป็นค่าเช่าในการใช้ทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ดังนั้น หากผู้ให้เช่าซื้อซึ่งเป็นพ่อค้าฟ้องเรียกร้องเอาค่าเช่าซื้อสังหาริมทรัพย์ (เครื่องรับโทรทัศน์) ที่ค้างชำระอยู่ จึงต้องฟ้องเสียภายในอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (6) ไม่ใช่ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3358/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเช่าซื้อ: สิทธิเรียกร้องของพ่อค้าต้องฟ้องภายใน 2 ปี ตามมาตรา 105(6)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 5 ว่าด้วยการเช่าซื้อ ไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยตรง แต่ค่าเช่าซื้อก็เป็นค่าเช่าในการใช้ทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ดังนั้น หากผู้ให้เช่าซื้อซึ่งเป็นพ่อค้าฟ้องเรียกร้องเอาค่าเช่าซื้อสังหาริมทรัพย์(เครื่องรับโทรทัศน์) ที่ค้างชำระอยู่ จึงต้องฟ้องเสียภายในอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(6) ไม่ใช่10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทำงานวันหยุด/พักผ่อนเป็นสินจ้าง อายุความ 2 ปี ไม่ใช่ 10 ปี
ค่าทำงานในวันหยุดและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแม้จะไม่ใช่ค่าจ้างตามความหมายของคำว่า 'ค่าจ้าง' ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2เพราะไม่ใช่เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานปกติของวันทำงาน หรือจ่ายให้ในวันหยุดซึ่ง ลูกจ้างไม่ได้ทำงาน แต่ก็เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายตอบแทน การทำงานนอกเวลาปกติ และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายตอบแทน แก่ลูกจ้าง กรณีที่ลูกจ้าง มิได้หยุดพักผ่อนประจำปีตามสิทธิ เงินทั้งสองประเภทนี้ นายจ้างผูกพันต้องจ่ายแก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ถือว่าเป็นสินจ้าง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 อายุความแห่ง สิทธิเรียกร้อง เอาสินจ้างหรือเงินจ้างดังกล่าว จึงอยู่ภายใต้บังคับ ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(9) ซึ่งมีกำหนด 2 ปี หาใช่มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ไม่ การที่จำเลยผิดนัดไม่จ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์นั้นเป็น เพราะจำเลยเห็นว่าตนไม่มีหน้าที่ต้องจ่าย ถือไม่ได้ ว่าจำเลยจงใจผิดนัดในการจ่ายเงินให้แก่โจทก์โดยปราศจาก เหตุอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงิน เพิ่มร้อยละสิบห้า ของเงินที่ค้างชำระทุกระยะเจ็ดวันให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 165(6) แม้ในสัญญาจะระบุเป็นสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาเช่าซื้อคือสัญญาเช่าทรัพย์ประกอบกับคำมั่นว่าจะขาย ค่าเช่าซื้อก็คือค่าเช่าในการใช้ทรัพย์สินที่โจทก์นำออกให้เช่า แม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 5 ว่าด้วยเช่าซื้อจะมิได้บัญญัติในเรื่องอายุความไว้โดยตรงก็ตาม โจทก์ก็จะต้องฟ้องเสียภายในกำหนดอายุความ 2 ปี ตามนัยแห่งประมวกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(6) (อ้างฎีกาที่ 798/2508 และ 192/2512)