พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5872/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำทั้งปรับสำหรับผู้กระทำผิดซ้ำในคดีพนัน ภายใน 3 ปี โทษปรับถือเป็นการพ้นโทษแล้ว
โทษปรับถือเป็นโทษอย่างหนึ่งในจำพวกโทษทั้ง 5 ชนิด ที่ลงแก่ผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18(5) เมื่อศาลลงโทษปรับจำเลยและมีการชำระค่าปรับครบถ้วนแล้วในวันเวลาใด ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้พ้นโทษนับแต่วันที่ชำระค่าปรับนั้นแล้ว ฉะนั้นหากจำเลยพ้นโทษปรับแล้วยังไม่ครบกำหนด 3 ปี มา กระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติการพนันนี้อีกจึงเข้าหลักเกณฑ์ต้องวางโทษทั้งจำทั้งปรับตามวิธีการที่พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา14 ทวิ บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5558/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปีต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน หากไม่จดทะเบียน สิทธิบังคับได้เพียง 3 ปี
จำเลยเช่าที่ดินของ ห. มีกำหนด 10 ปี โดยทำสัญญาเป็นหนังสือแต่ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงมีผลบังคับกันได้เพียง 3 ปี ที่จำเลยให้การว่ากำหนดเวลาเช่าที่เกินกว่า 3 ปีเป็นคำมั่นซึ่งมีผลบังคับ ห. ได้ จึงมีผลบังคับ พ. ผู้รับโอนที่ดินจาก ห. ด้วยนั้น ไม่มีบทกฎหมายรับรองสิทธิให้บังคับตามที่จำเลยให้การ ศาลชอบที่จะพิพากษาคดีได้โดยไม่จำต้องสืบพยาน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5558/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน มิฉะนั้นบังคับได้เพียง 3 ปี
จำเลยเช่าที่ดินของ ห. มีกำหนด 10 ปี โดยทำสัญญาเป็นหนังสือแต่ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงมีผลบังคับกันได้เพียง 3 ปี ที่จำเลยให้การว่ากำหนดเวลาเช่าที่เกินกว่า 3 ปีเป็นคำมั่นซึ่งมีผลบังคับ ห.ได้จึงมีผลบังคับพ. ผู้รับโอนที่ดินจาก ห. ด้วยนั้น ไม่มีบทกฎหมายรับรองสิทธิให้บังคับตามที่จำเลยให้การ ศาลชอบที่จะพิพากษาคดีได้โดยไม่จำต้องสืบพยาน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3013/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: การโอนภายใน 3 ปี & บุคคลภายนอก
จำเลยที่ 2 ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายในการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้านที่ 1 มิได้ให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และในชั้นพิจารณาก็มิได้ยื่นคำคัดค้านคำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทั้งมิได้มาศาลและนำสืบให้ศาลเห็นว่าการโอนดังกล่าวเป็นการโอนโดยสุจริต และมีค่าตอบแทน ดังนั้น จึงไม่มีเหตุที่จะแก้ตัวได้ว่า การโอนนั้นได้กระทำโดยสุจริต และมีค่าตอบแทน ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 114 ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นบุคคลภายนอก ซึ่งได้รับโอนที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทดังกล่าว จากผู้คัดค้านที่ 1 หลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสาม ขอให้ล้มละลายแล้วแม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะได้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก็ไม่ได้รับความคุ้มครองสิทธิตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 116 เพราะมิได้เป็นผู้รับโอนหรือได้สิทธิมาก่อนมีการขอให้ล้มละลาย การที่ผู้คัดค้านที่ 2 ได้โอนที่พิพาทนั้นให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ภายหลังที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามขอให้ล้มละลายต่อเนื่องกันมาอีกทอดหนึ่ง ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 จะได้รับโอนโดยสุจริต หรือมีค่าตอบแทนก็ตามย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง ตามพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116 เช่นกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่จดทะเบียน: สิทธิเช่ามีผลแค่ 3 ปี แม้สัญญาจะระบุ 8 ปี
ผู้ร้องทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกับเจ้าของเดิมพร้อมกัน 3 ฉบับรวมระยะเวลาเช่า 8 ปี เมื่อมิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมบังคับกันได้เพียง 3 ปี ตามสัญญาเช่าฉบับแรก สิทธิของผู้ร้องที่จะอยู่ในตึกแถวที่เช่าจึงมีอยู่ถึงวันครบกำหนดตามสัญญาดังกล่าว ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นเจ้าของตึกแถวและที่ดิน สิทธิของผู้ร้องก็มีอยู่คงเดิม
การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้จำเลยรื้อถอนตึกแถวที่ผู้ร้องเช่าอยู่ออกไปจากที่ดินของโจทก์ตั้งแต่ก่อนครบกำหนดสัญญาเช่านั้น มีผลยิ่งกว่าการบอกเลิกสัญญาเช่าเสียอีก ผู้ร้องจึงจะอ้างว่าเมื่อไม่มีการบอกเลิกสัญญาเช่าจึงถือว่าผู้ร้องเช่าตึกแถวต่อโดยไม่มีกำหนดเวลาไม่ได้
การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้จำเลยรื้อถอนตึกแถวที่ผู้ร้องเช่าอยู่ออกไปจากที่ดินของโจทก์ตั้งแต่ก่อนครบกำหนดสัญญาเช่านั้น มีผลยิ่งกว่าการบอกเลิกสัญญาเช่าเสียอีก ผู้ร้องจึงจะอ้างว่าเมื่อไม่มีการบอกเลิกสัญญาเช่าจึงถือว่าผู้ร้องเช่าตึกแถวต่อโดยไม่มีกำหนดเวลาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่ได้จดทะเบียน: สิทธิเช่าจำกัด 3 ปี แม้สัญญา 8 ปี เจ้าของที่ดินรื้อถอนก่อนกำหนดชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ร้องทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกับเจ้าของเดิมพร้อมกัน 3 ฉบับรวมระยะเวลาเช่า 8 ปี เมื่อมิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมบังคับกันได้เพียง 3 ปี ตามสัญญาเช่าฉบับแรกสิทธิของผู้ร้องที่จะอยู่ในตึกแถวที่เช่าจึงมีอยู่ถึงวันครบกำหนดตสัญญาดังกล่าว ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นเจ้าของตึกแถวและที่ดิน สิทธิของผู้ร้องก็มีอยู่คงเดิม การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้จำเลยรื้อถอนตึกแถวที่ผู้ร้องเช่าอยู่ออกไปจากที่ดินของโจทก์ตั้งแต่ก่อนครบกำหนดสัญญาเช่านั้น มีผลยิ่งกว่าการบอกเลิกสัญญาเช่าเสียอีก ผู้ร้องจะอ้างว่าเมื่อไม่มีการบอกเลิกสัญญาเช่าจึงถือว่าผู้ร้องเช่าตึกแถวต่อโดยไม่มีกำหนดเวลาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่จดทะเบียน สิทธิเช่ามีผลใช้ได้ 3 ปี แม้ทำสัญญา 8 ปี
ผู้ร้องทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกับเจ้าของเดิมพร้อมกัน 3 ฉบับรวมระยะเวลาเช่า 8 ปี เมื่อมิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมบังคับกันได้เพียง 3 ปี ตามสัญญาเช่าฉบับแรกสิทธิของผู้ร้องที่จะอยู่ในตึกแถวที่เช่าจึงมีอยู่ถึงวันครบกำหนดตามสัญญาดังกล่าว ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นเจ้าของตึกแถวและที่ดิน สิทธิของผู้ร้องก็มีอยู่คงเดิม
การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้จำเลยรื้อถอนตึกแถวที่ผู้ร้องเช่าอยู่ออกไปจากที่ดินของโจทก์ตั้งแต่ก่อนครบกำหนดสัญญาเช่านั้น มีผลยิ่งกว่าการบอกเลิกสัญญาเช่าเสียอีก ผู้ร้องจึงจะอ้างว่าเมื่อไม่มีการบอกเลิกสัญญาเช่าจึงถือว่าผู้ร้องเช่าตึกแถวต่อโดยไม่มีกำหนดเวลาไม่ได้.
การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้จำเลยรื้อถอนตึกแถวที่ผู้ร้องเช่าอยู่ออกไปจากที่ดินของโจทก์ตั้งแต่ก่อนครบกำหนดสัญญาเช่านั้น มีผลยิ่งกว่าการบอกเลิกสัญญาเช่าเสียอีก ผู้ร้องจึงจะอ้างว่าเมื่อไม่มีการบอกเลิกสัญญาเช่าจึงถือว่าผู้ร้องเช่าตึกแถวต่อโดยไม่มีกำหนดเวลาไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3359/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดจากสัญญาประนีประนอม หากไม่จดทะเบียนมีผลบังคับใช้ได้เพียง 3 ปี
บิดาโจทก์เคยฟ้องขับไล่จำเลย แล้วตกลงประนีประนอมกันโดยบิดาโจทก์ยอมให้จำเลยเช่าที่พิพาทมีกำหนด 5 ปี และบิดาโจทก์ถอนฟ้อง ศาลอนุญาตตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาล สัญญาประนีประนอมตามรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวเป็นสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537ระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลยด้วย เมื่อบิดาโจทก์ตายที่พิพาทเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของบิดาโจทก์ที่มีต่อจำเลย แต่ที่บิดาโจทก์กับจำเลยตกลงกันศาลมิได้พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิพิเศษใด ๆนอกเหนือจากสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ธรรมดาทั่ว ๆ ไป เมื่อมิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สัญญาเช่าจึงมีผลบังคับกันได้เพียง 3 ปี ตามมาตรา 538.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4511/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่จดทะเบียนเกิน 3 ปี สิทธิเช่าสิ้นสุด แม้ผู้ซื้อทรัพย์ต้องรับสิทธิและหน้าที่เดิม
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเข้ามาในชั้นบังคับคดีอ้างว่า ผู้ร้องเป็นผู้เช่าห้องพิพาทซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนจากเจ้าของเดิม สัญญาเช่ามีกำหนดเวลา 50 ปี โจทก์ซื้อทรัพย์พิพาทมาจากการขายทอดตลาดย่อมต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่นั้นแม้จะฟังได้ตามคำร้อง สัญญาเช่าห้องพิพาทซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนก็ก่อให้เกิดเพียงบุคคลสิทธิผูกพันเฉพาะคู่กรณีเท่านั้น และนับแต่วันทำสัญญาจนถึงวันยื่นคำร้องเกินกำหนด 3 ปีแล้ว ผู้ร้องจึงไม่อาจอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าซึ่งมิได้จดทะเบียนการเช่าขึ้นตั้งข้อพิพาทกับโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4511/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่จดทะเบียนเกิน 3 ปี สิทธิเช่าสิ้นสุด แม้ผู้ซื้อทรัพย์ต้องรับสิทธิหน้าที่เดิม
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเข้ามาในชั้นบังคับคดีอ้างว่าผู้ร้องเป็น ผู้เช่าห้องพิพาทซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนจากเจ้าของเดิม สัญญาเช่ามีกำหนดเวลา 50 ปี โจทก์ซื้อทรัพย์พิพาทมาจาก การขายทอดตลาดย่อมต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่นั้นแม้จะฟังได้ตามคำร้อง สัญญาเช่าห้องพิพาทซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทน ก็ก่อให้เกิดเพียงบุคคลสิทธิผูกพันเฉพาะคู่กรณีเท่านั้น และนับแต่ วันทำสัญญาจนถึงวันยื่นคำร้องเกินกำหนด3 ปีแล้ว ผู้ร้อง จึงไม่อาจอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าซึ่งมิได้จดทะเบียนการเช่า ขึ้น ตั้งข้อพิพาทกับโจทก์ได้