พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 179/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินจากการขายทอดตลาดหลังครบกำหนด 5 ปี: เงินไม่ตกเป็นของแผ่นดินหากเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องก่อนครบกำหนด
เจ้าพนักงานบังคับคดีของศาลชั้นต้นได้ขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2532 เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายการขายทอดตลาดให้เสร็จสิ้นเสียก่อนจึงจะจ่ายเงินให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 316 ต่อมาวันที่ 7 ธันวาคม2532 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นขอรับเงินดังกล่าว และขอให้สั่งทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทำบัญชีเพื่อตรวจจ่ายให้ต่อไปนั้น เท่ากับมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเพื่อตรวจสอบและมีคำสั่งจ่ายเงินให้แก่โจทก์แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการจ่ายเงินให้โจทก์ จนเมื่อมีการตั้งสำนักงานบังคับคดีจังหวัดมหาสารคามขึ้นแยกจากงานบังคับคดีของศาลชั้นต้น โจทก์ได้ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีอีกและเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือขอให้ศาลชั้นต้นส่งเงินจำนวนดังกล่าวเพื่อจ่ายให้แก่โจทก์ ซึ่งเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รายงานให้ศาลชั้นต้นทราบการปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องการทำบัญชีและขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวตามบัญชีนั้นให้แก่โจทก์นั่นเอง อันเป็นขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเท่านั้น ศาลชั้นต้นต้องส่งเงินแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อจ่ายให้แก่โจทก์ เพราะถือว่าโจทก์ยื่นคำแถลงขอรับหรือเรียกเอาแล้วตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2532 ในเวลาที่ยังไม่พ้นระยะ 5 ปี นับแต่วันที่ถือได้ว่าเป็นเงินค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีและโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาได้ เงินดังกล่าวจึงไม่ตกเป็นของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 323
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ค้างจ่ายเกิน 5 ปี ทำให้ตกเป็นของแผ่นดิน
โจทก์แถลงขอรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลสั่งคืนตามคำพิพากษาตามยอม ศาลมีคำสั่งอนุญาต แต่โจทก์ไม่มารับ จึงเป็นเงินที่ยังค้างจ่ายอยู่ในศาล โจทก์มาแถลงขอรับอีกครั้งเมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์รับไป เงินดังกล่าวจึงตกเป็นของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 323
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าฤชาธรรมเนียมค้างจ่ายเกิน 5 ปี ตกเป็นของแผ่นดินตามกฎหมาย
โจทก์แถลงขอรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลสั่งคืน ศาลมีคำสั่งอนุญาต แต่โจทก์ไม่มารับ แสดงว่าเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ ศาลสั่งอนุญาตให้คืนแก่โจทก์ยังค้างจ่ายอยู่ในศาล โจทก์มาแถลง ขอรับเงินดังกล่าวอีกเมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ศาลสั่งอนุญาต ให้โจทก์รับไป เงินดังกล่าวจึงตกเป็นของแผ่นดินไปแล้วตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 323.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5144/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิสัญญาเช่าที่ดิน: สัญญาเช่า 5 ปีมีผลเหนือข้อตกลงด้วยวาจา 10 ปี แม้มีการลงทุนทำประโยชน์ในที่ดิน
แม้จำเลยจะมีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ในที่ดินที่เข่าและส่วนของจำเลยกับส่วนของโจทก์ยังไม่ได้แบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ ซึ่งจำเลยรับว่าได้ทำสัญญาเช่าตามที่โจทก์ฟ้องจริงแต่มิได้ผิดสัญญาจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิตามสัญญา สัญญาที่โจทก์ฟ้องเป็นเรื่องที่จำเลยตกลงทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นส่วนตัวแต่ผู้เดียวโดยลำพัง ซึ่งเป็นการประกอบธุรกิจต่างหากนอกจากเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมและโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดสัญญา จึงฟังได้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องห้ามจำเลยมิให้เข้าเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นของโจทก์ได้ จำเลยได้ทำวังกุ้งอยู่ก่อนแล้ว ได้จ้างผู้อื่นขุดดินทำคันกั้นน้ำ แต่ที่ดินแปลงที่จำเลยทำไม่พอทำวังกุ้งจึงได้มาตกลงเช่าที่ดินในส่วนของโจทก์เพิ่มขึ้น เห็นได้ว่าแม้จำเลยได้ลงทุนในการทำวังกุ้งมากก็ตามแต่จำเลยได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของตนนั่นเองสัญญาเช่ามีกำหนด 5 ปี ไม่มีข้อตกลงใด ๆ บันทึกไว้เป็นหลักฐานว่าจำเลยตกลงเช่าที่ดินโจทก์โดยมีเงื่อนไขและเงื่อนเวลา 10 ปีสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ไม่ใช่สัญญาเช่าที่เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดามีกำหนด 10 ปี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4660/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีซ้ำภายใน 5 ปี และการประเมินภาษีเมื่อไม่นำเอกสารหลักฐานมาให้ตรวจสอบ
เจ้าพนักงานประเมินท้องที่จังหวัดขอนแก่นเคยตรวจสอบบัญชีและประเมินให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มมาแล้ว ต่อมาภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ เจ้าพนักงานประเมินท้องที่สรรพากรเขต 4ซึ่งมีอำนาจจัดเก็บภาษีอากรในระดับเขต ครอบคลุมอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินจังหวัดขอนแก่นตรวจพบว่าโจทก์เสียภาษีไม่ครบถ้วน ดังนี้ เจ้าพนักงานประเมินท้องที่สรรพากรเขต 4 ชอบที่จะแจ้งประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มขึ้นได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 19,20 ข้อความตามมาตรา 19 ตอนต้นที่ว่า "เว้นแต่จะมีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในลักษณะนี้" นั้นหาได้เป็นบทห้ามมิให้เจ้าพนักงานประเมินผู้มีอำนาจทำการเรียกตรวจสอบซ้ำอีก ดังที่โจทก์ฎีกาไม่ ในชั้นไต่สวนภาษีอากรโจทก์ไม่มีหลักฐานประกอบการคำนวณเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายมาให้ตรวจ แต่โจทก์ยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคิดคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นการเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของเงินได้ของลูกจ้างโจทก์ (ตามมติของคณะกรรมการพิจารณาภาษีอากร (กพอ.) ครั้งที่ 1/2518) เช่นนี้ โจทก์จะมาอ้างภายหลังว่า การคำนวณภาษีด้วยวิธีนี้ไม่ถูกต้องไม่ได้ โจทก์อ้างว่าไม่อาจนำสมุดบัญชีและเอกสารการลงบัญชีของตนไปแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินได้เพราะถูกน้ำพัดเสียหายไปแล้วเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ตามข้ออ้างของโจทก์ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวน เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจที่จะประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 2 สำหรับรอบระยะบัญชีปีพ.ศ. 2517-2519 และร้อยละ 5 สำหรับรอบระยะบัญชีปี พ.ศ. 2520ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค้างจ่ายในศาล: สิทธิเรียกรับเงินภายใน 5 ปี หากเลยกำหนดตกเป็นของแผ่นดิน
จำเลยนำเงินมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์เป็นงวด ๆ ตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์มีสิทธิมารับเงินแต่ละงวดได้ทันทีหลังจากจำเลยนำเงินมาวาง เมื่อโจทก์ไม่มารับเงินงวดใดเงินงวดนั้น ๆ ก็เป็นเงินค้างจ่ายอยู่ในศาล การที่โจทก์เพิกเฉยไม่เรียกเอาเสียภายในห้าปีนับแต่วันที่จำเลยนำเงินมาวางศาล เงินงวดนั้น ๆ จึงตกเป็นของแผ่นดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินวางศาลค้างจ่าย ผู้มีสิทธิไม่เรียกภายใน 5 ปี ตกเป็นของแผ่นดิน
จำเลยนำเงินมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์เป็นงวด ๆ ตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์มีสิทธิมารับเงินแต่ละงวดได้ทันทีหลังจากจำเลยนำเงินมาวาง เมื่อโจทก์ไม่มารับเงินงวดใดเงินงวดนั้น ๆ ก็เป็นเงินค้างจ่ายอยู่ในศาล การที่โจทก์เพิกเฉยไม่เรียกเอาเสียภายในห้าปีนับแต่วันที่จำเลยนำเงินมาวางศาลเงินงวดนั้น ๆ จึงตกเป็นของแผ่นดิน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินวางศาลชำระหนี้ตามคำพิพากษา: กรอบเวลา 5 ปีในการเรียกร้อง มิฉะนั้นตกเป็นของแผ่นดิน
เงินที่จำเลยนำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ตามที่ศาลออกคำบังคับนั้น ถือได้ว่าเป็นเงินค้างจ่ายอยู่ในศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 323 ผู้มีสิทธิจะต้องเรียกเอาภายใน 5 ปี นับแต่วันที่จำเลยนำเงินมาวางศาล ซึ่งเป็นวันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินนั้นได้ มิใช่นับจากวันที่ผู้มีสิทธิ์ได้ทราบถึงการวางเงิน เมื่อโจทก์ผู้มีสิทธิ์มิได้เรียกร้องเอาภายใน 5 ปี จึงตกเป็นของแผ่นดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินวางศาลชำระหนี้ตามคำพิพากษา: สิทธิเรียกร้องภายใน 5 ปีนับจากวันวางเงิน
เงินที่จำเลยนำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ตามที่ศาลออกคำบังคับนั้นถือได้ว่าเป็นเงินค้างจ่ายอยู่ในศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 323ผู้มีสิทธิจะต้องเรียกเอาภายใน 5 ปี นับแต่วันที่นำเงินมาวางศาลซึ่งเป็นวันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินนั้นได้ มิใช่นับจากวันที่ผู้มีสิทธิได้ทราบถึงการวางเงิน เมื่อโจทก์ผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายใน 5 ปีจึงตกเป็นของแผ่นดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณระยะเวลาทำงานเพื่อรับเงินบำเหน็จ ต้องนับตามข้อบังคับขององค์กร โดยระยะเวลาทำงานไม่ครบ 5 ปี ไม่มีสิทธิรับ
ข้อบังคับองค์การคลังสินค้าว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพนักงาน พ.ศ. 2528 ข้อ 9 วรรค 2 ประกอบกับข้อ 11 ระบุกรณีที่พนักงานจะได้รับเงินบำเหน็จเมื่อลาออกโดยได้รับอนุญาตว่าต้องทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีบริบูรณ์ และการนับเวลาทำงานสำหรับคำนวณบำเหน็จนั้น. ให้นับตั้งแต่วันที่พนักงานเข้าประจำทำงานจนถึงวันสุดท้ายที่พ้นจากตำแหน่งหน้าที่หักด้วยระยะเวลาที่ผู้นั้นลา ดังนั้น เกณฑ์คำนวณนับเวลาทำงานของโจทก์จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์เริ่มเข้าทำงานกับจำเลยจนถึงวันที่โจทก์ได้รับอนุญาตจากจำเลยให้ลาอก ซึ่งคำนวณแล้วไม่ถึงห้าปีบริบูรณ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จ ส่วนหลักเกณฑ์ในข้อ 14 นั้น เป็นการกำหนดเพื่อคำนวณบำเหน็จที่จะจ่ายให้แก่พนักงานเมื่อพนักงานนั้นมีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จแล้ว โดยคำนวณการจ่ายตามจำนวนปีที่โจทก์ทำงาน อนุโลมให้ถือเอาจำนวนเดือนที่ถึง 6 เดือนในเศษของปีสุดท้ายนับเป็น 1 ปี มาคูณกับอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายได้ จะนำมาเป็นเกณฑ์คำนวณนับเวลาทำงานของโจทก์ที่จะมีสิทธิรับเงินบำเหน็จหาได้ไม่