คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กำหนดเวลา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเกินกำหนดระยะเวลาใบอนุญาตประกอบการขนส่ง การขอบังคับคดีจึงเป็นอันตกไป
โจทก์ทั้งสองกับจำเลยตกลงร่วมเดินรถด้วยกันโดยจะนำรถยนต์โดยสารเข้าวิ่งในเส้นทางที่ได้รับอนุญาตบริษัทละเท่าๆ กัน เมื่อกรมการขนส่งทางบกออกใบอนุญาตให้จำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งสิ้นอายุวันที่ 2 พฤศจิกายน 2537 การที่โจทก์ที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ให้จำเลยบรรจุรถยนต์โดยสารของโจทก์ทั้งสองเข้าร่วมเดินรถเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2539 เป็นการขอบังคับคดีที่ล่วงพ้นเวลาที่จำเลยต้องรับผิด ศาลจึงไม่อาจบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3744/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาส่งตัวผู้ต้องหาให้อัยการเพื่อฟ้องคดีในศาลแขวง และผลของการยื่นคำร้องขอผัดฟ้องเกินกำหนด
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499 มาตรา 7 ที่บัญญัติให้พนักงานสอบสวนส่งตัวผู้ต้องหาที่ถูกจับไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลให้ทันภายในกำหนดระยะเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับนั้น เป็นบทบัญญัติเพื่อมิให้การดำเนินคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงต้องล่าช้าและทำให้ผู้ต้องหาต้องถูกควบคุมตัวไว้นานเกินสมควรแก่เหตุและความจำเป็น คดีนี้นอกจากผู้ร้องจะได้ขออายัดตัวผู้ต้องหาต่อพนักงาน-สอบสวนในคดีอื่นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2540 แล้ว และในวันเดียวกันผู้ร้องยังได้แจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ต้องหา แจ้งสิทธิของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา รวมทั้งได้สอบคำให้การผู้ต้องหาไว้ด้วย ดังนี้ กรณีหาใช่เป็นกรณีที่ผู้ร้องขออายัดตัวผู้ต้องหาแต่เพียงอย่างเดียวไม่ แต่ต้องถือว่าเป็นกรณีที่ผู้ร้องได้จับผู้ต้องหาแล้ว หรือผู้ต้องหาถูกจับแล้วตั้งแต่นั้น แม้ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวอยู่ในคดีอื่น และพนักงานสอบสวนในคดีนี้เพิ่งได้ตัวผู้ต้องหามาดำเนินคดีในภายหลัง โดยผู้ต้องหาได้รับการปล่อยชั่วคราวไปในคดีนี้ ก็คงมีผลแต่เพียงทำให้ผู้ร้องมิต้องยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499มาตรา 8 เท่านั้น แต่ผู้ร้องยังมีหน้าที่ต้องส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องผู้ต้องหาให้ทันภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับดังกล่าว และถ้าไม่สามารถฟ้องได้ทันภายในกำหนด ผู้ร้องก็จะต้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาลต่อไป เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องคดีนี้เกินกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับศาลจึงไม่อาจรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาต่อไปได้ ชอบที่ศาลจะสั่งยกคำร้องขอผัดฟ้องของผู้ร้องเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3461/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเรียกบุตรคืน – ผู้ใช้อำนาจปกครอง – การเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาพ้นกำหนด
บุคคลอื่นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1567 (4) หมายถึงบุคคลอื่นนอกจากผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรซึ่งได้แก่บิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตร
จำเลยมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตรผู้เยาว์ จำเลยจึงไม่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองของบุตรผู้เยาว์ตามกฎหมาย ย่อมไม่มีสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 1567 (1) ถึง (4) การที่จำเลยกักบุตรผู้เยาว์ไว้จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ และเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ผู้เป็นมารดาของผู้เยาว์ย่อมมีสิทธิเรียกบุตรผู้เยาว์คืนจากจำเลยได้
คำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาซึ่งเป็นการเพิ่มประเด็นจากฎีกาเดิมจะต้องยื่นภายในกำหนดเวลา 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อันเป็นกำหนดระยะเวลาการยื่นฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 247 หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวนี้แล้วจะขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาไม่ได้
จำเลยยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการยื่นฎีกาแล้ว แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาของจำเลยไว้ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3461/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเรียกคืนบุตรของผู้ใช้อำนาจปกครอง และผลของการยื่นเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาเกินกำหนด
บุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(4)หมายถึงบุคคลอื่นนอกจากผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรซึ่งได้แก่บิดา มารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตร จำเลยมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตรผู้เยาว์จำเลยจึงไม่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองของบุตรผู้เยาว์ตามกฎหมายย่อมไม่มีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(1)ถึง (4) การที่จำเลยกักบุตรผู้เยาว์ไว้จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ และเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ผู้เป็นมารดาของผู้เยาว์ย่อมมีสิทธิเรียกบุตรผู้เยาว์คืนจากจำเลยได้ คำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาซึ่งเป็นการเพิ่มประเด็นจากฎีกาเดิมจะต้องยื่นภายในกำหนดเวลา 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อันเป็นกำหนดระยะเวลาการยื่นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวนี้แล้วจะขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาไม่ได้ จำเลยยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการยื่นฎีกาแล้ว แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาของจำเลยไว้ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3345/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องกรณีลดอัตราเงินสมทบประกันสังคม ต้องยื่นอุทธรณ์ตามกำหนดเวลา หากไม่ยื่นตามกำหนด จะไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากมาตรา 85แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537บัญญัติให้ นายจ้าง ผู้ประกันตน หรือบุคคลอื่นใดที่ไม่พอใจคำสั่งของเลขาธิการหรือของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งการตามพระราชบัญญัตินี้มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ได้ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว กรณีของโจทก์เป็นการยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาซึ่งศาลแรงงานได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ในข้อ 2 แล้วซึ่งหากกรณีฟังได้ดังที่จำเลยต่อสู้ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนดังที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8วรรคท้าย ได้บัญญัติไว้ ศาลแรงงานจึงควรพิจารณาในประเด็นข้อ 2 ก่อนว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้หรือไม่ แล้วจึงวินิจฉัยในประเด็นข้ออื่นต่อไป การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่วินิจฉัยประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ก่อน ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวข้างต้นศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลแรงงาน ให้ศาลแรงงานพิจารณาและพิพากษา ใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3184/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกเงินมัดจำและการกำหนดเวลาเกิดความผิดฐานออกเช็คไร้ความสามารถ
ปัญหาว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 หรือไม่และปัญหาว่าหนี้เงินมัดจำที่จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้นั้นเป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่ แม้เป็นข้อที่จำเลยไม่ได้ยกว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
วันและเวลาเกิดการกระทำความผิด ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 คือวันและเวลาที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค หาใช่วันและเวลาที่เขียนข้อความในเช็คหรือวันที่มอบเช็คไม่โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยเขียนข้อความในเช็คพิพาทหรือมอบเช็คพิพาทให้โจทก์เวลาใด
สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยมีการวางเงินมัดจำแม้สัญญาจะซื้อขายที่ดินจะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ โจทก์ก็ฟ้องเรียกเงินมัดจำตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินคืนได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2787/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์และการแก้ไขอุทธรณ์ต้องยื่นภายในกำหนดเวลา การรับคำรับสารภาพ และรายงานการสืบเสาะพฤติการณ์
การยื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 198 ได้กำหนดให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คู่ความฝ่ายที่อุทธรณ์ฟัง อันเป็นการกำหนดระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ไว้ซึ่งต่างกับการยื่นคำฟ้องในศาลชั้นต้นที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการยื่นฟ้องไว้ ดังนั้นหากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3จะขอแก้หรือเพิ่มเติมอุทธรณ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ก็จะต้องยื่นภายในกำหนดอายุอุทธรณ์ด้วยเช่นกัน จะนำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาในศาลชั้นต้นมาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยื่นคำร้องขอแก้และเพิ่มเติมอุทธรณ์ล่วงเลยกำหนดอายุอุทธรณ์แล้ว จึงรับไว้พิจารณาเป็นส่วนหนึ่งของอุทธรณ์เดิมไม่ได้ คำแถลงประกอบคำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3มิใช่คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นเพียงคำแถลงอย่างหนึ่งซึ่งทนายจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่ได้อ่านข้อความในคำแถลงประกอบคำรับสารภาพดังกล่าว และศาลชั้นต้นไม่ได้สอบจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 ก็ตาม คำแถลงประกอบคำรับสารภาพของจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 นั้น ก็ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นเป็นผู้สั่งให้พนักงานคุมประพฤติไปทำการสืบเสาะประวัติความประพฤติ และพฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 แล้วให้พนักงานคุมประพฤติทำรายงานเสนอต่อศาล เพื่อศาลจะได้ใช้รายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติดังกล่าวประกอบดุลพินิจในการลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เมื่อศาลชั้นต้นได้แจ้งรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ทราบแล้ว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่คัดค้าน และยืนยันให้การ รับสารภาพเช่นเดิมเช่นนี้ กระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้น กระทำต่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย: กำหนดเวลาหนังสือเตือนและการลงโทษทางวินัย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ47 (4) ที่ระบุกรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยว่า ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว ซึ่งหนังสือเตือนนั้นต้องมีผลบังคับไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้รับทราบหนังสือเตือนนั้น เป็นกำหนดระยะเวลาขั้นสูงเอาไว้ว่ามิให้บังคับกันเกินไปกว่า 1 ปี เท่านั้น หาได้บังคับเป็นการตายตัวว่าจะต้องบังคับกันเป็นเวลา 1 ปี โดยเด็ดขาดไม่ นายจ้างและลูกจ้างจึงตกลงกันวางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับใช้กำหนดระยะเวลาของการเตือนเป็นหนังสือให้มีผลบังคับต่ำกว่าหรือน้อยกว่า 1 ปี ก็ได้ ไม่เป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) จึงย่อมใช้บังคับได้การที่จำเลยออกหนังสือเตือนโจทก์เรื่องการขาดงานเมื่อเดือนกรกฎาคม 2539 แล้วโจทก์ขาดงานเมื่อวันที่ 6 และ 7 พฤษภาคม 2540 อีก แต่เมื่อหนังสือเตือนของจำเลยฉบับเดือนกรกฎาคม 2539 สิ้นผลบังคับตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่โจทก์จำเลยตกลงกันตามข้อกำหนดในคู่มือสภาพการจ้างไปแล้ว กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้กระทำผิดซ้ำคำเตือนจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยเหตุนี้จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
ตามคู่มือสภาพการจ้างของจำเลยมีขั้นตอนที่จะเลือกลงโทษพนักงานเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น จำเลยมีบันทึกการลงโทษโจทก์ระบุให้สั่งพักการทำงานโจทก์เป็นเวลา 5 วัน โดยไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างวันที่ 24 ถึง28 กุมภาพันธ์ 2540 เท่านั้น หาได้มีข้อความใดระบุว่าให้ลงโทษโดยการเตือนเป็นหนังสือด้วย แม้ข้อความในตอนท้ายของบันทึกดังกล่าว แม้จะมีข้อความในลักษณะห้ามมิให้โจทก์ฝ่าฝืนและกระทำผิดอีก จึงไม่มีผลเป็นการตักเตือนเป็นหนังสือ ดังนี้เมื่อการลงโทษโจทก์เป็นการลงโทษพักงาน 5 วัน โดยไม่ได้รับค่าจ้างแล้ว จะถือว่าจำเลยได้ลงโทษโจทก์โดยการตักเตือนเป็นหนังสือรวมอยู่ด้วยอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2257/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว การฟ้องคดีภายในกำหนดเวลา และข้อยกเว้นตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 58มีความหมายว่า หากในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นจำเลย มีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่จำเลยซึ่งเป็นเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดต่างมีศาลเยาวชนและครอบครัวทั้งสองแห่ง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวศาลใด ศาลหนึ่งได้ ซึ่งก็ได้แก่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางอันเป็น ศาลที่จำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติ และศาลจังหวัดปทุมธานีแผนกคดี เยาวชนและครอบครัวอันเป็นศาลที่จำเลยกระทำความผิดฉะนั้น เมื่อคดีนี้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวน อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดปทุมธานีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดของจำเลยอยู่แล้ว จึงมิใช่กรณีที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแห่งท้องที่นอกเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นผู้ดำเนิน การสอบสวน ไม่อาจนำมาตรา 51 วรรคท้ายมาใช้บังคับได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยถูกจับกุม โดย ไม่ได้ขอผัดฟ้องหรือ ไม่ได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2250/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาควบคุมผู้ต้องหาและการผัดฟ้อง: การปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499 มาตรา 7 ที่บัญญัติให้พนักงานสอบสวนควบคุมผู้ต้องหาที่ถูกจับไว้ได้มีกำหนดระยะเวลาสี่สิบแปดชั่วโมง เป็นบทบัญญัติเพื่อมิให้ดำเนินคดีล่าช้าและผู้ต้องหาอาจถูกควบคุมไว้นานเกินสมควรแก่เหตุและความจำเป็น คดีนี้ผู้ร้องแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ต้องหาและสอบคำให้การผู้ต้องหาไว้เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2540 จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องจับผู้ต้องหาแล้ว ผู้ร้องจึงต้องส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้ฟ้องผู้ต้องหาภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมง หากไม่สามารถฟ้องได้ทันภายในกำหนด ผู้ร้องต้องขอผัดฟ้องต่อศาล เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอผัดฟ้องเกินกำหนด การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ผัดฟ้องจึงชอบแล้ว
of 99