พบผลลัพธ์ทั้งหมด 651 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน-ขอบเขตความรับผิด-การอนุมัติระยะเวลาศึกษาต่อเพิ่มเติม-เบี้ยปรับสูงเกินไป
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้ระบุระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ และสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์ก็มิได้ระบุเวลาที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อเช่นกัน ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศเป็นเวลา 2 ปี ครบแล้วโจทก์ได้อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ศึกษาต่ออีกเป็นเวลา 4 ปีเศษโดยมิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบ และจำเลยที่ 2 มิได้ยินยอมในการที่โจทก์อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ศึกษาต่ออีกนั้น แม้จะเป็นภาระหนักขึ้นแก่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแต่ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงในสัญญาและเป็นคนละเรื่องกับการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต่อโจทก์จะต้องคืนเงินเดือนเงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพที่ตนรับไปให้โจทก์เป็นเงิน 161,863.96 บาท และต้องเสียเบี้ยปรับอีกเท่ากับเงินทั้งหมดที่รับไปกับจะต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีสำหรับเงินต้นรวมกับเบี้ยปรับตามสัญญาด้วยนั้น เบี้ยปรับและดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นข้อสัญญาที่ระบุความเสียหายหรือความรับผิดในการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้าเมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกิน ส่วนศาลก็มีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 และเมื่อกำหนดเบี้ยปรับเป็นค่าเสียหายจำนวนพอสมควรแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องให้ค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยอีก
จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต่อโจทก์จะต้องคืนเงินเดือนเงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพที่ตนรับไปให้โจทก์เป็นเงิน 161,863.96 บาท และต้องเสียเบี้ยปรับอีกเท่ากับเงินทั้งหมดที่รับไปกับจะต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีสำหรับเงินต้นรวมกับเบี้ยปรับตามสัญญาด้วยนั้น เบี้ยปรับและดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นข้อสัญญาที่ระบุความเสียหายหรือความรับผิดในการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้าเมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกิน ส่วนศาลก็มีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 และเมื่อกำหนดเบี้ยปรับเป็นค่าเสียหายจำนวนพอสมควรแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องให้ค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำว่า “ครอบครอง” ใน พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ครอบคลุมทั้งการครอบครองเพื่อตนเองและแทนผู้อื่น
คำว่า "ครอบครอง" ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ มิได้หมายความเช่นเดียวกับคำว่า "สิทธิครอบครอง" ตาม ป.พ.พ. แต่มีความหมายกว้างกว่าโดยหมายความรวมถึงครอบครองเพื่อตนเองและครอบครองแทนผู้อื่นด้วย เพราะไม่มีกฎหมายใดจำกัดว่าต้องเป็นการครอบครองเพื่อตนเองเท่านั้นจึงจะเป็นความผิด อีกทั้งในทางอาญาการร่วมกันครอบครองก็เป็นความผิดเช่นเดียวกัน การที่จำเลยครอบครองไม้หวงห้ามเพื่อนำส่งโรงเลื่อยซึ่งเป็นนายจ้างจึงเป็นความผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3844/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเปลี่ยนแปลงตัวจำเลยเกินขอบเขตตาม ป.วิ.พ. การแก้ไขคำฟ้องต้องไม่เปลี่ยนตัวจำเลย
การแก้ไขคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 179 จะต้องเป็นการแก้ไขข้อหาหรือข้ออ้างที่มีต่อจำเลย โดยการเพิ่มหรือลดทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือสละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือเพิ่มฟ้องเดิมให้บริบูรณ์มิใช่เป็นการเพิ่มหรือเปลี่ยนตัวจำเลย ซึ่งเป็นตัวบุคคลที่จะต้องระบุไว้แน่ชัดตามมาตรา 67 หากโจทก์ประสงค์จะให้บุคคลอื่นนอกจากบุคคลที่โจทก์ยื่นฟ้องเป็นจำเลยไว้ตามฟ้องเดิมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องไว้แต่เดิมแล้วโจทก์ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกบุคคลนั้นเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยเดิมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) ที่โจทก์ฟ้องบริษัท ร.เป็นจำเลยที่ 3ในคดีนี้มาตั้งแต่แรกโดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นนิติบุคคลนั้น แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องบุคคลธรรมดาเป็นจำเลยที่ 3 แต่ได้ฟ้องนิติบุคคลเป็นจำเลยที่ 3 เท่านั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 15 เมษายน 2530 ขอแก้ไขคำฟ้องเปลี่ยนชื่อบริษัท ร. จำเลยที่ 3 เป็นบริษัท ร.หรือ ว. จำเลยที่ 3 โดยอ้างว่า คำว่าบริษัท ร.เป็นชื่อในทางการค้าหรือนามแฝงหรือฉายาของ ว. แล้วต่อมายื่นคำร้องลงวันที่ 15 มกราคม 2531 ขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอแก้ชื่อจำเลยที่ 3จากบริษัท ร. หรือ ว.เป็น ว.นั้น เท่ากับเป็นการขอแก้ไขคำฟ้องจากเดิมมาเป็นฟ้องบุคคลธรรมดาเพิ่มเป็นจำเลยที่ 3 ด้วย แล้วขอแก้ไขคำฟ้องอีกครั้งหนึ่งโดยขอเปลี่ยนตัวจำเลยที่ 3 จากนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมิใช่เป็นเรื่องที่จะขอแก้ไขคำฟ้องได้เช่นนั้นตามนัยแห่งบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น โจทก์จึงขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนั้นไม่ได้ เมื่อคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องตามคำร้องของโจทก์เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบแล้ว บรรดากระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นทั้งหมดในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับ ว. หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเช่นนั้นแล้ว รวมทั้งคำสั่งของศาลชั้นต้นลงวันที่ 8 มีนาคม 2531 ซึ่งสั่งให้จำหน่ายบริษัท ร.ออกจากสำนวนความ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย ชอบที่ศาลจะเพิกถอนเสียตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 บริษัท ร.ตามฟ้องเดิมจึงยังคงมีฐานะเป็นจำเลยที่ 3 ในคดีนี้อยู่ และแม้บริษัท ร.มิได้ฎีกาขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาอื่นนอกจากคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ลงวันที่ 15 เมษายน 2530 และวันที่ 15 มกราคม 2531กับคำสั่งศาลชั้นต้นลงวันที่ 8 มีนาคม 2531 ที่ให้จำหน่ายบริษัท ร.ออกจากสำนวนความ แต่เมื่อกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการพิจารณาคดี ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 142 (5)ประกอบด้วยมาตรา 246, 247 ซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นทั้งหมดในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับ ว.หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ลงวันที่ 15 เมษายน 2530 เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3668/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตประเด็นข้อพิพาทในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และการวินิจฉัยค่าเสียหายที่มิใช่เรื่องนอกฟ้อง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ข้อแรกว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันเอาเช็คจำนวน 105 ฉบับ ของโจทก์ไปหรือไม่และข้อ 2 ว่าจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดใช้เงินตามฟ้องหรือไม่ นั้น ย่อมรวมถึงประเด็นเรื่องค่าเสียหายอันเกิดจากการเอาเช็คตามฟ้องของโจทก์ไปด้วย เพราะตามฟ้องระบุว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่โจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คที่จำเลยทั้งสองเบียดบังเอาไปการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยถึงค่าเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องนอกฟ้อง นอกประเด็น โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาว่ายักยอกเช็คหลายฉบับ ซึ่งมีเช็คตามฟ้องในคดีนี้อยู่ด้วย แม้คดีนี้จะเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวก็ตาม แต่คดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด จึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2260/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นหลังสัญญาสิ้นสุด: สิทธิคิดดอกเบี้ยตามอัตราสัญญาเดิม และขอบเขตการคิดดอกเบี้ยหลังสัญญาหมดอายุ
นับแต่วันสิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ธนาคารโจทก์ไม่ได้ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก ทั้งจำเลยที่ 1 ไม่ได้นำเงินเข้าเพื่อหักทอนหนี้ของยอดเงินที่ค้างชำระแสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายให้ถือสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันสิ้นสุดของสัญญา หลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไป ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปีได้ อันเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปีตามพระราชบัญญัติให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 หลังจากสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปีได้ เพราะถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2174/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจประกันตัว: การตีความขอบเขตความรับผิดชอบของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ขอมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 นำโฉนดที่ดินมาประกันตัว ช. ผู้ต้องหาต่อพนักงานสอบสวนเป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2มาประกันตัวผู้ต้องหาแทนจำเลยที่ 1 มิใช่จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 มาประกันตัวผู้ต้องหาในนามจำเลยที่ 2 เองและแม้ว่าคำร้องขอประกันและสัญญาประกันจะไม่มีข้อความให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบและไม่มีลายมือชื่อของจำเลยที่ 1ด้วยก็ตาม แต่คำร้องและสัญญาดังกล่าวก็ได้ระบุเลขที่โฉนดที่ดินของจำเลยที่ 1 ไว้เป็นประกันด้วย และการทำสัญญาประกันก็เนื่องมาจากมีหนังสือมอบอำนาจเป็นส่วนสำคัญ การวินิจฉัยความรับผิดจะวินิจฉัยแต่เพียงคำร้องขอประกันและสัญญาประกันหาได้ไม่แต่ต้องวินิจฉัยหนังสือมอบอำนาจประกอบด้วย และถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 นำโฉนดที่ดินมาทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดตามสัญญาประกันด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1636/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการคิดดอกเบี้ยตามคำฟ้อง: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาให้คิดดอกเบี้ยเฉพาะส่วนที่ฟ้องร้อง
จำเลยฎีกาว่า โจทก์ฟ้องขอคิดดอกเบี้ยจากจำเลยถึงวันฟ้องเพียง 5 ปีมิได้คิดเป็นเวลา 5 ปี 7 เดือนตามที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระให้โจทก์ปัญหานี้แม้ว่าในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวไว้ ซึ่งถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ แต่เนื่องจากเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 โจทก์ฟ้องขอเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยถึงวันฟ้องเพียง 5 ปีเป็นเงิน 90,000 บาท แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยให้โจทก์นับจากวันที่ 1 เมษายน 2535 จนกว่าจะชำระเงินให้โจทก์เสร็จ ซึ่งเมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นระยะเวลาเกินกว่า5 ปีนั้น เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์: อำนาจหน้าที่และขอบเขตการฟ้องร้อง
จำเลยฎีกาว่ามิได้เบียดบังเงินค่าภาษีบำรุงท้องที่ตามใบเสร็จรับเงินรวม 3 กระทงนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและความผิดทั้งสามกระทงดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก หนังสือของอธิบดีกรมการปกครองถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดมีข้อความระบุว่า ไม่ควรให้พนักงานบัญชีมาทำหน้าที่จัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่เพราะพนักงานบัญชีมีหน้าที่รับเงินภาษีบำรุงท้องที่ที่เก็บได้ตามคู่ฉบับใบเสร็จรับเงินเพื่อลงบัญชีอยู่แล้วเช่นนี้ มิใช่ระเบียบหรือคำสั่งให้ต้องปฏิบัติตาม เป็นเพียงการซักซ้อมความเข้าใจในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่เท่านั้น ดังนั้น จำเลยจึงไม่อาจอ้างว่าจำเลยเป็นพนักงานบัญชีไม่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ตามหนังสือของอธิบดีกรมการปกครองฉบับนี้ได้ การที่จำเลยมีหน้าที่รับเงินจากลูกจ้างชั่วคราวที่ทำหน้าที่รับเงินภาษีบำรุงท้องที่ที่หมวดการคลัง เมื่อรับเงินแล้วก็ต้องมีหน้าที่ลงบัญชีด้วย ถือได้ว่าจำเลยมีหน้าที่จัดการหรือรักษาทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147 แล้ว ตามคำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายแต่เพียงว่า จำเลยมีหน้าที่เก็บเงินค่าภาษีบำรุงท้องที่จากประชาชนเท่านั้น หากแต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยมีหน้าที่ออกใบเสร็จรับเงินแก่ผู้ชำระเงินค่าภาษีบำรุงท้องที่ ลงบัญชีเงินสดและบัญชีแยกประเภท และต้องนำเงินค่าภาษีบำรุงท้องที่ที่จัดเก็บได้ในแต่ละวันไปฝากธนาคารตามระเบียบ สาระสำคัญของคำฟ้องจึงอยู่ที่ว่า จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือรักษาทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147 เท่านั้น ดังนั้นแม้ทางพิจารณาโจทก์กลับนำสืบว่าจำเลยไม่มีหน้าที่เก็บเงินค่าภาษีบำรุงท้องที่จากประชาชน หน้าที่ดังกล่าวเป็นของหัวหน้าหมวดการคลัง ซึ่งในทางปฏิบัติได้จ้างลูกจ้างชั่วคราวมาทำหน้าที่แทนก็หาเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงแตกต่างจากฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ: ข้อยกเว้นตามมาตรา 144 และขอบเขตการย้อนสำนวน
เมื่อจำเลยถูกโจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยได้ฟ้องขับไล่โจทก์ทั้งสี่ออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี ส่วนคดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 144 พิพากษายกฟ้อง การที่ศาลฎีกาได้ส่งคดีที่จำเลยได้ฟ้องโจทก์ทั้งสี่คืนไปยังศาลชั้นต้นเพื่อให้พิจารณาและพิพากษาใหม่นั้นคดีดังกล่าวเท่านั้นที่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144(4) ที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำได้ ไม่ ใช่ คดีนี้ซึ่งไม่มีกรณีเข้าข้อยกเว้นที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำได้ กรณีของโจทก์จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 80/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตค่าเสียหายจากการละเมิด: การประเมินค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการซ่อมแซมและผลกระทบจากอุบัติเหตุ
จำเลยขับรถยนต์ประมาทตัดหน้ารถไฟโจทก์เป็นเหตุให้รถไฟโจทก์ชนและเสียหายค่าใช้จ่ายในโรงงานที่โจทก์คิดเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ105.5 ของค่าแรง 1 หน่วย และค่าควบคุมอัตราร้อยละ 25 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดในโรงงาน และค่าที่โจทก์เสียไปในการสืบสวนสอบสวนเหตุที่เกิดละเมิด แม้พนักงานของโจทก์อ้างว่าเป็นระเบียบของโจทก์ให้ถือปฏิบัติโดยนำวิธีการคำนวณมาจากสถิติก็ตาม ถือไม่ได้ว่าค่าใช้จ่ายทั้งสองส่วนดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นผลจากการทำละเมิด ค่ายกรถตกรางซึ่งโจทก์คิดเป็นค่าโอเวอร์เฮดชาร์จ ค่าอาหารเลี้ยงดูผู้ปฏิบัติงานและค่าควบคุมเพิ่มขึ้นมานั้น สำหรับค่าโอเวอร์เฮดชาร์จ กับค่าควบคุมซึ่งคิดในอัตราร้อยละ 51 และร้อยละ 25 ของค่าแรงยกรถตามลำดับ โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าเกี่ยวข้องกับการซ่อมอย่างไร และมีหลักการคิดคำนวณอย่างไร จึงยังรับฟังไม่ได้ว่าเป็นค่าเสียหายที่เป็นผลโดยตรงจากการละเมิดส่วนค่าอาหารเลี้ยงดูผู้ปฏิบัติงาน โจทก์มิได้นำสืบว่าเหตุใดเมื่อจ่ายค่าแรงแล้วต้องจ่ายค่าอาหารอีกจึงเป็นค่าเสียหายที่ซ้ำซ้อน ค่าจัดรถพิเศษช่วยอันตรายซึ่งโจทก์เพิ่มค่าควบคุมเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 20 สำหรับรถโดยสารและในอัตราร้อยละ 15 สำหรับรถสินค้า พนักงานของโจทก์อ้างว่าคิดคำนวณจากระเบียบของโจทก์ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการทำละเมิดเช่นกัน.